นวัตกรรมองค์กรไม่ได้เริ่มจากการมีนวัตกรรม แต่เริ่มจาก 'คน'

นวัตกรรมองค์กรไม่ได้เริ่มจากการมีนวัตกรรม แต่เริ่มจาก 'คน'

แทบจะไม่มีองค์กรไหนเลยที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ การไม่ได้เตรียมรับกับความเปลี่ยนแปลงและโดน disrupt เสียเองนับว่าเป็นฝันร้ายของบริษัทผู้สร้างนวัตกรรมทั้งสิ้น บริษัทจะก้าวสู่อนาคตไม่ได้เลยหากไม่ได้พัฒนา และการที่จะก้าวไปได้ไกลนั้นไม่ใช่เพราะองค์กรนั้นมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุด แต่เป็นเพราะการมีผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่เปิดรับต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถนำคนในทีมให้เดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน

ก่อนหน้านี้ Techsauce ได้แนะนำ Leading Innovation Workshop คอร์สสู่การสร้างผู้นำด้านนวัตกรรม โปรแกรมช่วยพัฒนาทักษะและส่งเสริมความเป็นผู้นำนวัตกรรม สามารถผลักดันคนในองค์กรให้มีความพร้อมในการทำงาน เสมือนเป็นผู้ประกอบการให้กับบริษัทของตน การจัดเตรียมและผลักดันให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้คนในองค์กรกล้าที่จะเสนอไอเดีย เสนอตัวรับผิดชอบ รับความเสี่ยงและสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่ผลกำไรของบริษัทในบั้นปลายอย่างยั่งยืน โดยโปรแกรมนี้ได้เน้นทั้งหลักการ แนวปฏิบัติและเครื่องมือที่ผู้นำควรรู้ และยังแนะนำการใช้เครื่องมือ CO-STAR ในการสร้างคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์และบริการ (Value Proposition) โดยมีการพัฒนาเนื้อหาและกิจกรรมในโปรแกรมนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แนวโน้มธุรกิจ และบริบทเฉพาะของประเทศไทยอีกด้วย

โดยโปรแกรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ TMA (Thailand Management Association) ศูนย์รวมผู้บริหาร ผู้ประกอบการ นักธุรกิจและนักวิชาการจากหลากหลายสาขา เป็นผู้เชิญวิทยากรเข้ามาให้ข้อมูล แบ่งปันประสบการณ์และแนวคิดให้กับผู้บริหารองค์กรธุรกิจในประเทศไทย

ในครั้งนี้ Techsauce ได้มีโอกาสเข้าร่วม Workshop ที่นำโดย Laszlo Gyorffy ประธานของ Enterprise Development Group จากซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา โดย Laszlo มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในการให้คำปรึกษาและพัฒนาองค์กรในระดับโลก

Laszlo Gyorffy ประธานของ Enterprise Development Group จากซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา

สรุปองค์ความรู้สำคัญจาก Workshop

Innovation concepts and practices - หลักการและแนวปฎิบัติด้านนวัตกรรมที่ช่วยสร้างความร่วมมือ ส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการภายใน (Intrapreneurial spirit) และสร้าง ‘วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม’ (Innovation culture) ในองค์กร ไม่ว่าจะเป็น

  • เทคนิคการสื่อสารและการนำเสนอไอเดียนวัตกรรมแก่คนในทีม
  • การสร้างโอกาสในการทำงานร่วมกับคนในทีมและผลักดันให้เกิดไอเดียใหม่ๆ
  • เทคนิคการสร้างชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว (Rapid Prototyping)
  • ตัวอย่างแนวคิดและหลักปฏิบัติจากผู้สร้างนวัตกรรมระดับโลก

Roles of innovation leader — บทบาทสำคัญของผู้นำด้านนวัตกรรม ที่จะช่วยส่งเสริมบุคลากรและทีมงานในด้านทักษะนวัตกรรมต่างๆ เช่น

  • การสร้างสรรค์กระบวนการทำงานใหม่ๆ เพื่อก่อให้เกิดไอเดียในการสร้างนวัตกรรม
  • การทำงานร่วมกับฝ่ายต่างๆ (Cross-disciplinary)
  • การให้ feedback ที่เป็นกลาง อีกทั้งถามคิดถามปลายเปิดที่จะผลักดันให้เกิดนวัตกรรม
  • การมีไอเดียเป็นของตัวเองและสนับสนุนไอเดียของผู้อื่น
  • การสอบถามความเป็นไปของทีมอยู่เสมอ
  • เปิดโอกาสให้มีการทดลองและสนับสนุนการทำ Lean prototyping

“ CO-STAR ™ ” approach for value creation — แนวคิดและเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาไอเดีย โดยช่วยสร้างและนำเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์และบริการ มีดังนี้

  • Customer - ตั้งกลุ่มลูกค้า/ผู้ใช้งาน และปัญหาที่พวกเขามี นวัตกรรมสามารถช่วยพวกเขาแก้ปัญหาได้อย่างไร
  • Opportunity - โอกาสและศักยภาพในการพัฒนานวัตกรรม
  • Solution - วิธีที่จะช่วยลูกค้า/ ผู้ใช้งานในการแก้ปัญหาหรือนำไปสู่ความต้องการ
  • Team - หน้าที่ที่ต้องมีในทีม ซึ่งอาจยืดหยุ่นไปตามการพัฒนาของนวัตกรรม
  • Advantage - ข้อได้เปรียบที่องค์กรคุณมีเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น
  • Results - นวัตกรรมสุดท้ายที่ได้

Coach and feedback — เทคนิคการโค้ชและให้ feedback กับไอเดีย/โปรเจ็คอย่างมีคุณภาพ มีดังนี้

  • การให้ข้อมูลและคำแนะนำแก่ผู้สร้างนวัตกรรม ถามคำถามปลายเปิดที่จะช่วยผลักดันให้พวกเขาคิดหาวิธีแก้ปัญหาอีกทั้งความท้าทายของธุรกิจที่ต้องเจอ
  • มีการติดตามและสอบถามความคืบหน้าในแต่ละขั้นตอนของโครงการ
  • ความสามารถในการระบุในสิ่งที่ทำ ได้ผลหรือไม่ได้ผล ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
  • การยอมรับว่าความล้มเหลวเป็นบทเรียนที่สำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น ทำให้กล้าที่จะลงมือเสี่ยง อีกทั้งยังช่วยผลักดันให้เกิดนวัตกรรม

ความแตกต่างระหว่างผู้นำ (Leaders) และผู้จัดการ (Managers)

แน่นอนว่าองค์กรจะเติบโตหรือเกิดนวัตกรรมไม่ได้เลยหากปราศจากผู้นำ ความแตกต่างระหว่างผู้นำ (Leaders) และผู้จัดการ (Managers) คือผู้นำนวัตกรรมมีคุณสมบัติของการมีวิสัยทัศน์ เปิดกว้าง รับฟังไอเดียใหม่ๆ และนำคนในทีมไปสู่เป้าหมาย ส่วนผู้จัดการจะเน้นไปที่เรื่องการจัดการและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ในการสร้างองค์กรนวัตกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรจะมีบุคลากรที่มีคุณสมบัติของการเป็นทั้งผู้นำและผู้จัดการ และสามารถรักษาสมดุลของทักษะทั้งสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยหลังจากที่ Workshop จบลง Techsauce ได้มีโอกาสนั่งพูดคุยและสัมภาษณ์ Laszlo เพิ่มเติมและมีประเด็นที่น่าสนใจเป็นประโยชน์กับหลายองค์กรเป็นอย่างมาก มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

คุณสมบัติสำคัญของผู้นำที่จะช่วยส่งเสริมคนในทีมให้เตรียมพร้อมสู่การพัฒนานวัตกรรมในองค์กร

Laszlo ได้สรุปคุณสมบัติหลัก 3 คุณสมบัติไว้ได้แก่

  • สามารถรักษาสมดุลทั้งธุรกิจหลักให้สามารถทำกำไร ในขณะเดียวกันก็ทำการปรับและรับมือกับธุรกิจที่ในอนาคตอาจจะเปลี่ยนไปจากที่เป็นอยู่อย่างสิ้นเชิง
  • มีความเป็นทั้ง ​Leaders และ Managers มีวิสัยทัศน์สามารถคาดการณ์ความเป็นไปในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นนี้ได้ มีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจน สามารถโน้มน้าวให้คนในทีมมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน และรู้จักบริการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สร้างสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ การสร้างกิจกรรมและผลักดันให้คนในองค์กรเป็นคนมีความคิดเป็นระบบ อีกทั้งมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาธุรกิจหลักหรือสร้างธุรกิจใหม่ในอนาคตได้

สาเหตุหลักที่ทำให้ Corporate Innovation ล้มเหลว และสิ่งที่องค์กรต้องเตรียมรับมือ

จากประสบการณ์ที่ Laszlo ได้ทำงานร่วมกับหลายองค์กรมา สิ่งที่ผมเห็นบ่อยสุดมีด้วยกัน 4 ประเด็น

  • การไม่ให้ความสำคัญอีกทั้งละเลยต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว Laszlo ได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจ จากการสอบถามพนักงานในองค์กรหนึ่งในเรื่องที่ว่า อะไรคือสิ่งที่พวกเขาคิดว่ามีผลต่อการทำให้องค์กรโดน disrupt มากที่สุด กว่า 70 เปอร์เซ็นตอบว่า ‘สตาร์ทอัพ’ แต่เป็นที่น่าแปลกใจเพราะมีเพียงแค่ 7 เปอร์เซ็นเท่านั้นที่ได้ให้ความสำคัญในการติดตามความเป็นไปของสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมของตน แม้รู้ว่าจะมีผลต่อความอยู่รอดของพวกเขาในอนาคตก็ตาม
  • การลงทุนในนวัตกรรมไม่เพียงพอ ทั้งในเรื่องของงบประมาณ การขาดทรัพยากรมนุษย์ การไม่มีวัฒนธรรมองค์กรที่จะทำให้เกิดโมเมนตัมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ แทนที่จะให้ความสำคัญและใส่ใจกับโปรเจคเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง พวกเขากลับปฏิบัติกับมันราวกับว่าเป็นเพียงของเล่นชั่วคราว
  • การไม่เปิดรับและกำจัดไอเดียใหม่ๆ ก่อนที่มันจะมีโอกาสได้เติบโต หลายองค์กรต้องตระหนักว่า กว่าที่พวกเขาจะมาถึงจุดนี้ต้องเริ่มต้นจากจุดเล็กๆ ก่อนเช่นกัน
  • พนักงานไม่มีเวลาในการทำโปรเจคที่จะเป็นการสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เราอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ไอเดียนั้นน่าสนใจ ไอเดียนั้นก็น่าทำ แต่ไม่มีเวลาเลย” ด้วยงานที่รัดตัวในแต่ละวัน ทำให้พนักงานแทบจะไม่มีเวลาในการค้นหาไอเดียใหม่ๆ ดังนั้นไม่ว่าจะก่อร่างโปรเจค จะพรีเซนต์ หรือจะไปทำการ pitch ที่ไหนนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ดังนั้นผู้นำต้องให้พื้นที่และเปิดโอกาสให้พนักงานได้สร้างสรรค์ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ

ตัวอย่างบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่อำนวยต่อการเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

การมาทำงานเพื่อให้เสร็จในแต่ละวันนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนทราบดี ในปัจจุบันคนเริ่มหันมาให้ความสำคัญต่องานที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ อีกทั้งงานที่สามารถสร้างคุณค่าต่อตัวเองและต่อสังคมมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว Laszlo ได้ยกตัวอย่าง โมเดลการทำงาน 70/20/10 ของ Google ที่แบ่ง 70% ออกเป็นทำงานที่เป็นธุรกิจหลักของบริษัท 20% ทำโปรเจคที่ต่อยอดจากธุรกิจหลัก ส่วนอีก 10% พนักงานสามารถสร้างโปรเจคที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน ที่เปิดโอกาสให้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อาจเป็นงานอดิเรกหรือโปรเจคส่วนตัว

แนวทางการทำงานและสร้างความร่วมมือระหว่าง Corporate และ Startup เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

Startup เป็นแหล่งรวมของไอเดีย นวัตกรรม และกลุ่มคนที่มีความสามารถ โดย Laszlo ได้แนะนำแนวทางที่ Corporate สามารถเรียนรู้และทำงานร่วมกับ Startup เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับทั้งสองฝ่ายได้ดังนี้

  • เข้าร่วมโครงการ Accelerator และ Incubator เช่น Plug and Play ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพแอคเซอเลอเรเตอร์และ Corporate Innovation Platform ระดับโลกที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในซิลิคอนวัลเลย์ สหรัฐอเมริกา
  • สร้างสภาพแวดล้อมและพื้นที่สร้างสรรค์ในองค์กร ที่เปิดให้พนักงานได้แลกคุย พบปะ และออกไอเดียใหม่ๆ
  • ตั้ง Venture Fund โดยการลงทุนในสตาร์ทอัพในอุตสาหกรรมเดียวกัน สร้าง Startup เพื่อเป็นโมเดลกรณีศึกษาการทำธุรกิจให้คนองค์กร

คำแนะนำสำหรับองค์กรไทย

Think Big. Start Small. Learn Fast. Create Value ตั้งเป้าหมายใหญ่ เริ่มจากจุดเล็กๆ เรียนรู้ให้เร็ว และสร้างคุณค่า

Laszlo ได้ทิ้งท้ายสำหรับองค์กรไทย โดยเน้นย้ำเรื่องการตั้งเป้าหมายให้ใหญ่ แม้สุดท้ายจะไม่ไปถึงเป้าหมายแต่อย่างน้อยก็ได้เขยิบเข้าใกล้มันอีกก้าว การเตรียมพร้อมรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การเรียนรู้จากความล้มเหลวและความสำเร็จอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญคือการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในสังคม

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก OLDK แพลตฟอร์มจองนัดทำกายภาพบำบัดที่บ้าน ช่วยดูแลผู้ป่วย-ผู้สูงอายุ จองได้ทั่วประเทศไทย

ในยุคที่สังคมสูงวัยกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการบริการทางการแพทย์ที่เข้าถึงง่ายและสะดวกสบายก็เพิ่มสูงขึ้นตาม โดยหนึ่งในโซลูชันจากบริษัทสตาร์ทอัพไทยที่น่าสนใจก็คือ ‘OLDK’ ...

Responsive image

ชวนรู้จัก Project Digits ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สินค้าใหม่ Nvidia ราคาเริ่มต้น 100,000 บาท

พบกับ Project Digits ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ AI ตั้งโต๊ะจาก Nvidia ที่เปิดตัวในงาน CES 2025 ออกแบบมาสำหรับนักวิจัย AI และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ด้วยพลังประมวลผลระดับ 1 เพตาฟลอป ราคาเริ่มต...

Responsive image

โตโยต้าเปิดตัว Woven City เมืองนวัตกรรมแห่งอนาคต เดินหน้าสู่บริษัท Mobility เต็มตัว

ในงาน CES 2025 โตโยต้าได้ประกาศความสำเร็จของโครงการ “Woven City” เฟสแรก ซึ่งเป็นเมืองนวัตกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อทดลองและพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคต...