กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัย เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้น เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือจากนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่ในประเทศไทย ถึงแม่เลี้ยงเดี่ยวที่กำลังลี้ภัยและดูแลครอบครัวเพียงลำพัง
โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) กับ คุณแวววรรณ กันต์นันท์ธร ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร บริษัท โรสโกลด์ (ไทยแลนด์) จำกัด นอกจากนั้นยังมีกลุ่มนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่ และผู้มีชื่อเสียงในประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของกองทุนฯ จำนวนมากเพื่อขับเคลื่อนการทำงานด้านมนุษยธรรมระดับโลกสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชีวิตผู้ลี้ภัยหญิงและครอบครัว
กองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่เพื่อผู้ลี้ภัยนั้น ได้รับการจัดตั้งเป็นครั้งแรกในประเทศออสเตรเลีย เพื่อสร้างเครือข่ายนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่ มาร่วมส่งต่อและสร้างการเปลี่ยนแปลงแก่ผู้หญิงทั่วโลก โดยเฉพาะแม่เลี้ยงเดี่ยวที่กำลังลี้ภัย และต้องเป็นเสาหลักเดียวของครอบครัว
เพื่อสานต่อและขยายเครือข่ายผู้นำหญิงรุ่นใหม่ UNHCR และ แนวคิดการแบ่งปัน “จากผู้หญิงถึงผู้หญิง” จึงจัดตั้งกองทุนนี้ในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นประเทศที่สองในโลก
โดยจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งกองทุนนั้น ก็เพื่อส่งเสริมบทบาทและพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงยุคใหม่ที่ประสบความสําเร็จทางธุรกิจ ผ่านการให้ที่แตกต่างและเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นใหม่ของ UNHCR
เพื่อเชื่อมโยงผู้ให้และผู้รับ ผ่านการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการทำงานด้านมนุษยธรรมระดับโลก พลิกชีวิตครอบครัวแม่เลี้ยงเดี่ยวที่กําลังลี้ภัยทั่วโลก
โดยเริ่มต้น เงินค่าสมาชิกรายปีของกองทุนฯ จะถูกแปรเปลี่ยนเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนผ่านโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินของ UNHCR ในประเทศจอร์แดน ให้แม่เลี้ยงเดี่ยวชาวซีเรียที่กำลังลี้ภัยและดูแลครอบครัวเพียงลำพังได้ตัดสินใจค่าใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็นที่สุดของครอบครัวอย่างมีศักดิ์ศรี อีกทั้งยังเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในชุมชน และช่วยเหลือผู้ลี้ภัยได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย
การจัดตั้งกองทุนนักธุรกิจหญิงรุ่นใหม่ในประเทศไทยเพื่อผู้ลี้ภัยนั้น ได้รับความสนใจจากผู้หญิงนักธุรกิจและผู้มีชื่อเสียงในไทยจำนวนมาก โดยมีสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่ร่วมสนับสนุนกองทุนและพัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น เช่น มาดามพัดซัง-พลอยนภัส ศรีสำราญโชค, คุณเมย์-วาสนา อินทะแสง, คุณแคท-ซอนญ่า สิงหะ, คุณมิหมี-อรนุช เลิศสุวรรณกิจ, คุณฐปณีย์ เอียดศรีไชย, คุณเต้-ปิยะรัฐ กัลย์จาฤก, คุณเล็ก-กรกนก ยงสกุล, คุณปอ-ศีกัญญา ศักดิเดช ภาณุพันธ์, คุณเฟื่องลดา-สรานี สงวนเรือง, คุณถิรนันท์ อรุณวัฒนกูล, คุณญาดา ปิยะจอมขวัญ, คุณหลุยส์ เตชะอุบล และอีกมากมาย
นอกจากจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้แล้ว สมาชิกของกองทุนฯ จะมีโอกาสติดต่อกับผู้ลี้ภัยหญิงที่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ เป็นเวลา 4-8 สัปดาห์ ผ่านแอปพลิเคชัน คอนเน็คติ้ง เวิลด์ส (Connecting Worlds) ที่ UNHCR พัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมโยงโลกของผู้บริจาคและผู้รับในคนละซีกโลกเข้าด้วยกัน ถือเป็นแอปพลิเคชันแรกของโลกที่เปิดโอกาสให้สมาชิกกองทุนฯ และผู้ลี้ภัยหญิงชาวซีเรียในประเทศจอร์แดนสามารถแลกเปลี่ยนข้อความและรูปภาพถึงกันโดยตรง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ และความคิดสร้างสรรค์ไปด้วยกัน
“นอกจากเทคโนโลยีและนวัตกรรมจะมีประโยชน์ในโลกธุรกิจแล้ว ยังสามารถใช้เพื่อการเชื่อมโยงคนที่อยู่กันคนละมุมโลกเข้าด้วยกันได้” คุณมิหมี-อรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย จำกัด กล่าวถึงประสบการณ์ตรงในการใช้แอปพลิเคชันนี้
“เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีคุณค่าทางจิตใจผ่านการเชื่อมโยงคนในแต่ละมุมโลกเข้าด้วยกัน การส่งข้อความง่าย ๆ ในกับผู้ลี้ภัย มีความหมายที่ยิ่งใหญ่มากสำหรับพวกเขา ถือเป็นต้นแบบของการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ทุกคนไม่ว่าเป็นใครก็สามารถปฏิบัติภารกิจด้านมนุษยธรรมได้ค่ะ”
ด้วยการสมัครสมาชิกรายปี 72,000 บาท เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่แม่เลี้ยงเดี่ยวชาวซีเรียที่ลี้ภัยในประเทศจอร์แดนและครอบครัวให้พวกเธอได้ใช้จ่ายตามความขาดแคลนของตนเอง อาทิ การศึกษาของลูก ค่าเช่าบ้าน และการรักษาพยาบาล เป็นต้น ในฐานะสมาชิกกองทุนฯ คุณจะได้เข้าร่วมสัมมนาเพื่อพัฒนาตนเองและธุรกิจ และเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานด้านมนุษยธรรมในระดับโลกร่วมกับนักธุรกิจหญิงที่ประสบความสำเร็จในระดับประเทศอีกมากมาย
ร่วมเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงอีกมากมายได้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับคุณ ได้ที่ www.unhcr.org/th/leading-women-fund
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด