เรียนรู้การขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคกับ COO แห่ง Hotel Quickly | Techsauce

เรียนรู้การขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคกับ COO แห่ง Hotel Quickly

Topica Founder Institute จัดงานสัมมนาเรื่อง Scaling Beyond Home Turf ขึ้นมา ซึ่งมี Super Star ในแวดวง Startup หลายคนที่มาร่วม ประกอบด้วย Christian Mischler แห่ง HotelQuickly, แชนนอน กัลญาณมิตร แห่ง Orami, Rober Zepada แห่ง Playbasis, Jakob Pedersen จาก Playlab และ Casey Liang แห่ง Pomelo

หนึ่งในจุดที่น่าสนใจมากๆ ของช่วงนี้คือการได้เรียนรู้ว่าการขยายธุรกิจของ Hotel Quickly ออกไปในหลายๆ ประเทศช่วงเวลาเดียวกันนั้น อาทิ สิงคโปร์ อินโดฯ ไทย มาเลฯ เขาทำได้อย่างไร? Christian Mischler มาเผยให้ได้ทราบกันวันนี้ Christian

ทำไมต้องเปิด 6 ประเทศพร้อมๆ กัน?

สำหรับแอปฯ​ด้านท่องเที่ยว เรามองว่าเราต้องเปิดตัวในหลายๆ ประเทศ แรกๆ ก็คิดว่าจะเปิดในไทยก่อน แต่ไม่นานก็รู้สึกว่าควรจะต้องครอบคลุมในจุดหมายปลางทางใกล้ๆ ในต่างประเทศที่ Low cost ไปถึงด้วย ซึ่งสิงคโปร์เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ และไทยก็เป็นประเทศท่องเที่ยวที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จะเห็นได้ว่าแต่ละประเทศในแถบนี้เชื่อมโยงกันหมด ถ้าใครมาเที่ยวที่ไทยแล้วก็มักจะไปประเทศอื่นๆ เพื่อนบ้านที่ติดกัน หรืออีกอย่างน้อยก็หนึ่งประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เลยทำให้เป็นที่มาว่าทำไมพวกเราถึงตัดสินใจเปิดพร้อมๆ กันในหลายประเทศ

ความท้าทายในแต่ละประเทศเป็นอย่างไร?

แต่ละประเทศมีความหลากหลายทั้งเรื่องวัฒนธรรม ภาษา โครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะสายการบิน โรงแรม ระบบชำระเงิน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครดิตการ์ด และสมาร์ทโฟน แต่ละประเทศก็แตกต่างกันมาก ขอไล่ทีละประเทศเลย

แน่นอนว่าสิงโปร์ดูเป็นตลาดที่จะเริ่มได้ง่ายสุด แต่ก็รู้กันว่าการแข่งขันสูง และ Cost-per-install สำหรับแอปฯ แอปฯ นึงนั้นสูงมากเลยเมื่อเทียบกับตลาดอื่น

ในขณะที่บ้านเรา (ประเทศไทย) เรามีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก เราใกล้ชิดกับลูกค้าของเรา แน่นอนว่าเราต้อง Localize คือปรับให้เข้ากับคนไทยแล้ว เรายังเชิญผู้ใช้มาที่ออฟฟิสเมื่อมีการออกแอปฯ​ เวอร์ชั่นใหม่ และให้พวกเขาได้ลองใช้ดู เราจึงจะสังเกตเห็นว่าพวกเขาใช้แอปฯ อย่างไร และอะไรคือความท้าทายที่พวกเขาพบ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยพวกเรามากในการพัฒนาแอปฯ ให้ใช้งานได้ และทดสอบว่าแนวคิดเราสามารถนำไปใช้ได้จริงไหม

มาเลเซีย เราทำการแปลงภาษาเป็นมาเลฯ นะ แต่ดูเหมือนกว่า 95% เขาใช้แอปฯ เราด้วยภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้เห็นว่าตลาดนี้การปรับแต่งเรื่องภาษาดูเหมือนจะไม่จำเป็นเท่าไหร่  และทุกวันนี้ตลาดมาเลฯ ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง

อินโดนีเซีย มีความแตกต่างพอสมควร เรื่องของดีลถือว่าสำคัญในตลาดนี้ เราต้องนำเสนอส่วนลดเพื่อที่จะให้เขาจองโรงแรม เรามีโรงแรมที่เซ็นต์สัญญากับเรามากกว่า 2,000 โรงแรมในอินโดฯ ความท้าทายสำคัญในตลาดนี้คือผู้ใช้เครดิตการ์ดถือว่าน้อยเลยทีเดียว เราเชื่อมต่อกับ Doku ซึ่งนำเสนอทางเลือกอื่นในด้านการชำระเงิน อาทิ ชำระผ่านบัตร ATM ในการจองโรงแรมแทน

Screen Shot 2559-05-21 at 12.13.27 AM

เชื่อว่าหลายคนมีคำถามนี้ค้างคาในใจ Hotel Quickly จดทะเบียนในฮ่องกง แต่ทำไมถึงเลือกประเทศไทยเป็นออฟฟิศหลักในการดำเนินธุรกิจ

สำหรับ Christian แล้วเขาบอกว่า ก่อนหน้านี้เขาอยู่ Foodpanda มาก่อน และอยู่ในไทยมากว่า 4 ปี เลยทำให้เข้าใจตลาดนี้พอสมควร ตอนที่เขาเริ่ม HotelQuickly ตัวเขาเองก็ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงเทพฯ แล้ว และก็โชคดีที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOI (Board of Investment) ทำให้เขาสามารถจ้างพนักงานต่างชาติเก่งๆ ได้ แต่ถ้าว่ากันตามตรง ถ้าไม่มี BOI พวกเขาคงไม่ได้อยู่ที่นี่ เพราะการสนับสนุนในเชิง Startup เมื่อเทียบกับที่ฮ่องกงแ ละสิงคโปร์แล้ว เขายอมรับว่าที่นั่นจะโดดเด่นกว่า แต่เขาก็เห็นความเคลื่อนไหวในไทยตลอด และก็เชื่อว่าจะมีข่าวดีขึ้นเรื่อยๆ ที่นี่ และภูมิใจที่ได้ทำธุรกิจที่นี่เช่นกัน

บทความนี้เป็น Guest Post จาก Iris Leung : Director แห่ง Topica Edtech Group

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...