สรุปงาน LINE HACK 2018: เมื่อ LINE API สร้าง Product สุดเจ๋งได้หลากหลาย แล้วใครคือผู้ชนะ? | Techsauce

สรุปงาน LINE HACK 2018: เมื่อ LINE API สร้าง Product สุดเจ๋งได้หลากหลาย แล้วใครคือผู้ชนะ?

LINE HACK 2018

เมื่อวันที่ 15-16 กันยายนที่ผ่านมา LINE ประเทศไทย ได้จัดการแข่งขัน LINE HACK 2018 ซึ่งเป็นการแข่งขัน Hackathon ที่ทาง LINE ประเทศไทยจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท พร้อมลุ้นเป็นทีมตัวแทนจากประเทศไทยเข้าแข่งขัน LINE BOOT AWARDS ที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดย LINE HACK เคยจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2016 ซึ่งทีมที่ชนะเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ได้กลายมาเป็นทีมนักพัฒนาแห่ง LINE ประเทศไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการวันนี้อีกด้วย

LINE HACK 2018 ครั้งนี้ เปิดให้นักพัฒนา แฮคเกอร์ สตาร์ทอัพ รวมถึงบุคคลทั่วไปที่ชื่นชอบในเทคโนโลยีที่ผ่านเข้ารอบ ได้ทดลองใช้งาน LINE Messaging API แล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับบริการหรือเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิด Product หรือบริการใหม่ๆ ที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้งาน LINE ในประเทศไทยที่มีอยู่หลายล้านคน โดยหลักๆ งานนี้เน้นความคิดสร้างสรรค์หรือไอเดียล้ำๆ ในการคิดบริการใหม่ๆ เจ๋งๆ เพื่อนำไปประกวดในเวทีต่างประเทศได้นั่นเอง

LINE HACK 2018

โดยงาน LINE HACK ในปีนี้ยังได้รับเกียรติจาก GDG Thailand (Google Developer Group Thailand) มาร่วมเป็นพาร์ทเนอร์เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของไทยให้ก้าวไกลไปพร้อมกับทาง LINE ประเทศไทย อีกด้วย

โดยรายชื่อและผลงานสุดเจ๋งของ 12 ทีมที่เข้ารอบ ได้แก่

  1. AI WORK CONNECT - พัฒนาระบบสมัครงานที่มี AI และ Chatbot เข้ามาช่วยจับคู่ทักษะทางวิชาชีพกับประเภทของงาน ทำให้การคัดเลือกเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น  และแจ้งผลให้ผู้สมัครทราบโดยทันที
  2. And Yet It Compiles - พัฒนา NILA (Naturally In LINE: Agile) ซึ่งเป็น Chatbot ที่ช่วยให้การประสานงานภายในทีมนักพัฒนาซอฟต์แวร์ (Team Collaboration) เป็นไปโดยง่ายขึ้น มีการวิเคราะห์การคุยกับ Chatbot เพื่อแนะนำ Actions จากบทสนทนาที่พิมพ์มาก่อนหน้านี้
  3. CatCat - พัฒนา Chatbot สำหรับจองตั๋วเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมหรือ Event ต่างๆ โดยจะรันบน Stellar Blockchain และนำ AI ช่วยในการประมวลผล
  4. C OUT - พัฒนาการส่งข้อความ LINE แบบไม่ใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ในกรณีสัญญาณโทรศัพท์เกิดล่มจากภัยพิบัติต่างๆ โดยสามารถต่อเข้าอุปกรณ์ IoT ที่มีอยู่ทั่วประเทศ โดยใช้ Lora IoT Network เข้ามาช่วยในการพัฒนาเครือข่าย IoT ให้เกิดได้ง่ายขึ้น
  5. GAOGAO - พัฒนา KhunRent ซึ่งเป็น Chatbot เชื่อมระหว่างเจ้าของอพาร์ทเมนต์และผู้อยู่อาศัย ทำให้การเรียกเก็บเงินและจ่ายค่าห้องเช่าผ่าน Rabbit LINE Pay เป็นเรื่องง่ายขึ้น รวมถึงมีแพลตฟอร์มให้ติดตามการชำระเงินได้อีกด้วย
  6. Happii - พัฒนา Otter Bid แพลตฟอร์มที่นำคนที่ต้องการซื้อและขายของมือสองให้มาเจอกันและปิดการขายได้ใน LINE Chatbot
  7. Hodor - พัฒนา EventComet ซึ่งเป็นระบบสร้าง Event ที่มีทั้งระบบหลังบ้านสำหรับผู้จัด Event และสำหรับผู้ซื้อตั๋วเข้าร่วม Event โดยติดตามผู้เข้าร่วมงานแต่ละคนผ่าน LINE Beacon
  8. NYTU - พัฒนา Chef Brown เป็น Chatbot ที่เปรียบเสมือนผู้ช่วยด้านสุขภาพที่ติดตามพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การทานอาหาร พร้อมทั้งออกแบบการทานอาหาร-ออกกำลังกายให้เหมาะกับแต่ละคนได้
  9. Secretary - พัฒนา REIKA (เลขา) ซึ่งเป็น Chatbot แก้ปัญหากลุ่ม LINE ที่มีมากจนเราตามข้อความในกลุ่มไม่ทัน จึงสร้างขึ้นมาเพื่อจัดการเรื่อง Party ที่เกิดขึ้นในกลุ่ม LINE เพื่อแจ้งเตือน Party ที่จะมีขึ้นได้ รวมถึงสามารถ Vote เลือกร้านอาหาร และแจ้งเตือนคนที่ไม่ได้โหวตให้มาร่วมโหวตได้
  10. Seekster - พัฒนา LINE Restaurant ซึ่งเป็นระบบที่ดึงข้อมูลจากร้านอาหาร เพื่อทำให้ลูกค้าสั่งอาหารและรีวิวร้านอาหารได้ รวมถึงมีระบบหลังบ้านที่แสดงให้เห็นว่าสินค้าใดบ้างที่ลูกค้าสั่งหรือจ่ายเงินไปแล้ว
  11. Taamkru - พัฒนาระบบที่ชื่อว่า “ถามครู” ซึ่งเป็นระบบจัดการภายในโรงเรียน ตั้งแต่ตรวจสอบการเข้าเรียน หรือนักเรียนอยู่บริเวณใดของโรงเรียน ไปจนถึงการตรวจสอบหากนักเรียนมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมก็จะส่งข้อมูลแจ้งผ่าน LINE ของผู้ปกครองหรือฝ่ายปกครองได้
  12. เผือกหอม - พัฒนา LINE JUKEBOX ซึ่งเป็นการทำระบบโหวตเพลงที่อยากเปิดในร้านอาหารบน Chatbot ซึ่งถ้าอยากให้เพลงที่เราต้องการได้เปิดก็สามารถซื้อเครดิตเพิ่มได้โดยจ่ายผ่าน Rabbit LINE Pay

LINE HACK 2018

กรรมการตัดสินประกอบด้วย (1) คุณซินหมิง จ้าว หัวหน้าทีมนักพัฒนา LINE ประเทศไทย (2) คุณพีรพล สง่าเมือง หัวหน้าฝ่ายบริการใหม่ LINE ประเทศไทย (3) คุณชินิชิโระ อิซาโกะ Chief Evangelist จาก LINE คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น (4) คุณพฤทธิสิทธิ์ ประทีปะวณิช หัวหน้าฝ่ายจัดการแพลตฟอร์มและบริการ LINE ประเทศไทย และ (5) คุณวิทยา อัศวเสถียร Community Manager จาก GDG Thailand ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้บริหารที่คร่ำหวอดในวงการ Tech ทั้งจากฝั่งไทยและจากญี่ปุ่นมาเลยทีเดียว

การแข่งขัน LINE HACK ครั้งนี้ แต่ละทีมมีเวลา 7 นาทีเพื่อปล่อยของและนำเสนอผลงานได้อย่างเต็มที่ หลังจากนั้นอีก 5 นาทีจะเป็นเวลาตอบคำถามจากคณะกรรมการ

LINE HACK 2018

โดยทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศ คือ ทีม And Yet It Compiles ผู้พัฒนา NILA (Naturally In LINE: Agile) ได้รับเงินสด 100,000 บาท พร้อมกับเป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน LINE BOOT AWARDS 2018 ที่ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงจะได้รับ LINE@ Pro+ พร้อม APIs เป็นเวลา 1 ปี มูลค่ารางวัลรวมมากกว่า 500,000 บาท

จุดเด่น: เป็น Chatbot ที่ช่วยจัดการกระบวนการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบ Agile ผ่านการสื่อสารกันตามปกติของสมาชิกในกลุ่ม LINE โดย NILA จะฟังและวิเคราะห์บทสนทนาต่าง ๆ ที่ถูกพูดคุยกันผ่าน LINE แล้วใช้ AI ช่วยในการสร้าง แก้ไข มอบหมาย หรือติดตามงาน และเชื่อมต่อข้อมูลงานต่างๆเข้ากับบริการของ JIRA ให้แบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถแสดงรายงานต่างๆ ตามที่ต้องการได้อีกด้วย

LINE HACK 2018

ส่วนทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 คือ ทีม เผือกหอม ผู้พัฒนา LINE JUKEBOX หรือเพลย์ลิสต์ที่ผู้ใช้สามารถโหวตเพลงที่อยากเปิดในร้านอาหารได้ผ่าน Chatbot ได้รับเงินสด 50,000 บาท พร้อมกับได้รับ LINE@ Pro+ พร้อม APIs เป็นเวลา 1 ปี

จุดเด่น: สามารถโหวตเพลง และ ดูอันดับ Chart เพลงผ่าน LINE Front-End Framework ได้แบบ Real-Time รวมถึงมีรูปแบบการสร้างรายได้ให้ทางร้าน ด้วยการเพิ่มเครดิตสำหรับการโหวตจากการสั่งอาหารภายในร้าน และจ่ายเงินผ่าน Rabbit LINE Pay นอกจากนี้ยังมีบริการแนะนำเพลงจากการถ่ายรูปหน้า แล้วใช้ AI วิเคราะห์อารมณ์จากใบหน้า เพื่อแนะนำเพลงที่ตรงกับอารมณ์ให้ด้วย

LINE HACK 2018

ส่วนทีมที่ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 คือ ทีม NYTU ผู้พัฒนา Chatbot ให้กลายเป็นผู้ช่วยด้านสุขภาพผ่าน LINE ได้รับเงินสด 20,000 บาท พร้อมกับได้รับ LINE@ Pro+ with APIs เป็นเวลา 1 ปี

จุดเด่น: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ LINE เข้ากับอุปกรณ์ IoT เช่น การใช้ LINE Beacon ที่มีระยะทำการระยะใกล้ 30 เซนติเมตร ตรวจสอบว่าใครกำลังยืนอยู่บนเครื่องชั่งน้ำหนัก และเมื่อเรารู้ว่าใครกำลังยืนอยู่ก็สามารถส่งค่าน้ำหนักกับ LINE ID ของผู้ใช้คนนั้นไปที่ระบบหลังบ้าน เพื่อคำนวนดัชนีมวลกาย และบอกผลกลับมาที่ LINE ของผู้ใช้คนนั้น

LINE HACK 2018

นอกจากนี้ยังมีการมอบรางวัลจาก GDG Thailand ให้กับทีมที่เป็น Spolight ในการแข่งขันครั้งนี้ จากคือ ทีม Hodor ผู้พัฒนาระบบจัดการ Event ด้วยการใช้ Chatbot

คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย กล่าวว่า “การแข่งขันครั้งนี้ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่เกิดขึ้น อยากจะฝากทุกคนว่าการแข่งขัน Hackathon มันไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะต้องผ่านการคัดเลือกมาจากหลายทีม ก็อยากให้เราเจอกัน รวมถึงเรียนรู้ซึ่งกันและกันด้วย”

โดยคุณอริยะเล่าต่อว่า ก่อนหน้านี้เรายังไม่แข็งแกร่งเรื่องการสร้าง Community ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับวงการ Tech ในบ้านเรา แต่ในวันนี้เราก็พยายามกิจกรรมเพื่อสร้างชุมชนนักพัฒนาให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยล่าสุดเรามีการจัดอีเว้นท์สำคัญๆ มากมาย ทั้ง LINE Developer Meetup ซึ่งเรามีไปเป็นครั้งที่ 2 แล้ว เมื่อวันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา และก็เพิ่งจัดงาน LINE HACK 2018 ในครั้งนี้ขึ้นมา

“นอกจากนี้ในงาน dtac Accelerate batch 6 ที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าทาง LINE จะมี LINE Ventures ซึ่งเป็น Corporate Venture Capital ที่เข้าไปลงทุนกับ Startup ที่อยู่ทั่ว Southeast Asia รวมถึง LINE SCALEUP โครงการที่ทาง LINE ประเทศไทยเองสร้างขึ้นมา มุ่งเน้นการสนับสนุน Startup ไทยโดยเฉพาะ  โดยทั้งสองโครงการนี้ เราจะสนับสนุนการในด้านการให้ข้อมูล ความรู้ต่างๆ และลงทุนใน Startup อีกด้วย เพราะเราพยายามจะทำให้ครบวงจรจริงๆ นี่คือสิ่งที่พวกเราจะเห็นจาก LINE มากขึ้นในปี 2018 และปีต่อๆ ไปด้วย” คุณอริยะ กล่าว

เปิดใจทีมผู้ชนะ LINE HACK 2018

LINE HACK 2018

ทีม And Yet It Compiles ผู้พัฒนา NILA (Naturally In LINE: Agile) ซึ่งเป็น Chatbot ที่ช่วยให้การประสานงานภายในทีม (Team Collaboration) เป็นไปโดยง่าย มีการวิเคราะห์การคุยกับ Chatbot เพื่อแนะนำ Actions จากบทสนทนาที่พิมพ์มาก่อนหน้านี้ เช่น หากมีการพูดให้แก้บั๊ก ก็จะแนะนำสิ่งที่ควรทำต่อให้ รวมถึงเข้าไปแก้โค้ดที่อยู่ในระบบ Version Control ผ่าน LINE ได้อีกด้วย

สมาชิกในทีมประกอบด้วย Mr.Charles Allen, Mr.Antony Harfield, คุณสมจินตนา กอบุตร, คุณกุลธิดา ศรีปานะ และคุณดวงใจ เทียวพานิช

ทางทีมเล่ากับ Techsauce ว่าแรงบันดาลใจของการทำ Chatbot ตัวนี้ขึ้นมา เนื่องจากพบว่าระหว่างการทำงานเป็นทีมร่วมกันหรือ Team Collabration นั่นคือ ผู้ใช้งาน และ Product Owner (ผู้พัฒนาผลิตภัณฑ์) ทุกคนใช้ LINE คุยกับลูกค้า ลูกค้าก็แจ้งปัญหาเข้ามา แล้วทางทีมก็นำ Task หรือปัญหาแจ้งกลับเข้ามาที่ทีมพัฒนา เช่น ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมที่พัฒนา (Bug) และสิ่งต่างๆ ที่เขาอยากเปลี่ยน ซึ่งปัญหาที่พบก็คือ Task เหล่านี้มันหายหรือตกหล่นไป เพราะมีการแจ้งเข้ามาเป็นจำนวนมาก ในระหว่างกระบวนการ Agile นั่นเอง

LINE HACK 2018

เราก็เลยอยากให้มีอะไรที่มากกว่า Chatbot ธรรมดา ที่ปกติแล้วเราก็คุยตรงกับบอทอยู่แล้ว อยากให้มี Chatbot ที่ฟังและสามารถวิเคราะห์สิ่งที่ได้ยินจากผู้ใช้งานมาเก็บไว้ในระบบ Tracking ที่ชื่อ JIRA โดยเชื่อมผ่าน API ของ LINE ที่มีให้เลือกใช้มากมาย เช่น Flex Message ที่ยืดหยุ่นต่อรูปแบบข้อความต่างๆ มากขึ้น

ตัวระบบหลังบ้านของ NILA รันบน Node.js ซึ่งทางทีมระบุว่าไม่เคยใช้มาก่อน แต่ก็เอามาลองใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ ส่วนหนึ่งทางทีมก็มองว่าเวลาการแข่งขันที่จำกัดก็เป็นเหมือนข้อดีอย่างหนึ่ง คือ เป็นตัวเร่งหนึ่งที่ทำให้ทีมอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากขึ้น ซึ่งก็หมายถึงการเรียนรู้ API ของ LINE ด้วยเช่นกัน

LINE HACK 2018

นอกจากนี้ทางทีมผู้พัฒนา NILA ยังมองว่า ไม่มีอะไรสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ในระหว่างการพัฒนา Product ทุกอย่างเราต้องมาเรียนรู้ด้วยตัวเราเอง เราถึงจะรู้ว่าเราต้องทำอะไร ในการแข่งขันนี้ก็เช่นกัน ถ้ามัวแต่กลัวแล้วก็ไม่กล้าเริ่ม มันก็จะไม่มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น เราก็ไม่ควรกลัวไปก่อนเพราะเรายังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันจะออกมายังไง และพอเราเริ่มทำมันออกมาได้ เราก็จะสามารถก้าวสู่ขั้นต่อไปได้อย่างไหลลื่น

อยากฝากให้ทุกคนที่จะมาแข่งขันในปีหน้าว่า ถ้ามีความตั้งใจ แล้วมีเป้าหมายเดียวกัน  เราก็จะไปถึงจุดหมายเดียวกันได้

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...