10 ปี LINE กับการเป็นแพลตฟอร์มที่ยกระดับชีวิตดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย | Techsauce

10 ปี LINE กับการเป็นแพลตฟอร์มที่ยกระดับชีวิตดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

ย้อนกลับไปในปี 2011 ยุคเริ่มต้นของสมาร์ทโฟน และการเข้ามาของ 3G 4G ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย เราต่างเห็นการเข้ามาของแอปฯแชท ที่เข้ามาสร้างโลกไร้พรมแดน ที่ทำให้การติดต่อสื่อสารกลายเป็นเรื่องง่ายบนออนไลน์ แน่นอนว่าตำนานที่เข้ามาพลิกโฉมรูปแบบการสื่อสารของคนไทยในวันนั้น หนีไม่พ้น LINE และได้กลายเป็นแอปฯหลักในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนไทยในเวลาต่อมา

“คุย - ประชุมงาน - ช็อปปิ้ง - สั่งอาหาร - จ่ายเงิน - ดูซีรีส์ - อ่านข่าว” ในหนึ่งวันบน LINE แพลตฟอร์มเดียว

10 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยมียอดผู้ใช้ LINE กว่า 49 ล้านราย (ณ มีนาคม 2564) เปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทย จากที่เวลาจะคุยกันต้องโทรคุย ก็กลายเป็นแชทได้ตลอด 24 ชั่วโมง ให้การสื่อสารเป็นเรื่องที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย อยากคุยเมื่อไหร่ หรือที่ไหนก็ได้

จากก้าวเล็กๆ ของ LINE ที่เข้ามาในชีวิตคนไทย จนกระทั่งปัจจุบันสามารถพัฒนาและขยายการให้บริการครอบคลุมมากกว่าการเป็นแอปฯสื่อสาร โดยได้เข้ามาในฐานะโครงสร้างพื้นฐานของชีวิต (Life Infrastructure) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในยุคดิจิทัลที่ขาดไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ช็อปปิ้งผ่าน LINE SHOPPING หรือ LINE Official Account ของแบรนด์ร้านค้าต่างๆโดยตรง, สั่งอาหารผ่าน LINE MAN , อ่านข่าวผ่าน LINE Today , ดูซีรีส์ผ่าน LINE TV , จ่ายเงินผ่าน Rabbit LINE โอนเงินด้วย LINE BK ฯลฯ และอีกหลายบริการ

เรียกได้ว่า  LINE เข้ามาอยู่ในทุกอนูชีวิตประจำวันของเรา โดยที่สามารถทั้ง “คุย - ประชุมงาน - ช็อปปิ้ง - สั่งอาหาร - จ่ายเงิน - ดูซีรีส์ - อ่านข่าว” ในหนึ่งวันบน LINE แพลตฟอร์มเดียว

และถ้าหากมองภาพใหญ่ในเชิงธุรกิจ  LINE เองก็เป็นแพลตฟอร์มที่มี Ecosystem ที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยด้วยกลุ่มประชากรผู้ใช้ เครื่องมือและโซลูชั่นมากมายที่เข้ามาตอบโจทย์และช่วยให้ทุกหน่วยงานตั้งแต่ SMEs บริษัทขนาดใหญ่ ไปจนถึงหน่วยงานภาครัฐพาตัวเองก้าวเข้าสู่การทำงานในโลกดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเห็นปัจจุบันแทบทุกหน่วยงานต่างก็เลือกใช้ LINE เป็นช่องทางหลักขององค์กรด้วยกันทั้งสิ้น

LINE ปฏิวัติโลกธุรกิจ ผู้นำ Chat Commerce สร้างการเติบโตที่ยั่งยืน

ผลวิจัยจาก Boston Consulting Group (BCG) รายงานว่า ประเทศไทยคือผู้นำของตลาด Social Commerce ด้วยผลสำรวจอัตราการซื้อสินค้าออนไลน์ของคนไทยกว่า 40 % ผ่าน Social Media หนึ่งในนั้นคือ LINE 

โดยเฉพาะหลังจากมีการระบาดของ Covid-19 พบว่าประชาชนจำนวนมาก มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ แทนการซื้อ สินค้าที่ร้านค้าและห้างสรรพสินค้า ส่งผลให้มูลค่าของ E-Commerce มีแนวโน้มเติบโตแบบก้าวกระโดดในปี 2563 และมีโอกาสที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมดังกล่าวอาจเป็นการเปลี่ยนแปลงระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้ E-Commerce มีบทบาทมากขึ้นต่อภาคการค้าของไทยในอนาคต พร้อมทั้งยังระบุว่า หนึ่งใน Social Platform ที่มีบทบาทในธุรกิจ E-Commerce คือ LINE ทั้งในรูปแบบของการสื่อสาร (Chat Commerce) และการชำระเงินผ่าน Rabbit LINE Pay

LINE Chat Commerce

หากเรามาเจาะกัน จะเห็นได้ว่าบทบาทการเป็น Life Infrastructure ในเชิงธุรกิจของ LINE นั้น มีความโดดเด่นไม่แพ้ในเชิงไลฟ์สไตล์ เนื่องจาก LINE ถือเป็นอีกหนึ่งคันเร่งให้เกิด  Digital Transformation ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ช่วยให้ธุรกิจและองค์กร เปลี่ยนผ่านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกลยุทธ์  Chat Commerce สร้างการเติบโตที่ยั่งยืน จะเห็นได้จากกลุ่มธุรกิจองค์กรมากมายที่เลือกใช้ LINE เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • กลุ่มธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ - แบรนด์ใหญ่ต่างสร้างการเปลี่ยนแปลงโดย Transform สู่ดิจิทัลผ่าน LINE เช่น ธุรกิจ Banking ที่สร้าง Mobile banking ผ่าน LINE แทนสาขา, ธุรกิจ Retail ในการสร้าง Chat & Shop ผ่าน LINE แทนห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้า เป็นต้น และในสถานการณ์ COVID-19 กลุ่มโรงพยาบาลต่างๆ ก็ใช้ LINE เป็นช่องทางสำคัญที่สื่อสารแบบ Official กับกลุ่มผู้ใช้งานที่ต้องการสอบถามข้อมูลบริการทางการแพทย์ และเข้าถึงบริการต่างๆ ของทางโรงพยาบาลได้อย่างครบครัน ไม่เว้นแม้แต่แบรนด์ Luxury ระดับสากลมากมาย ต่างก็หันมาใช้ LINE Official Account เพื่อการสื่อสาร การขายและให้บริการที่เข้าถึงคนไทย

  • กลุ่ม SMEs - ช่องทางการสื่อสารที่ถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ทั้งซื้อขายและสร้างแบรนด์บนโลกดิจิทัล รวมไปถึงเป็นช่องทางในการดูและรักษาลูกค้าระยะยาว

  • กลุ่มภาครัฐ - ศูนย์รวมการเข้าถึงข้อมูลและบริการจากทางภาครัฐ และการสื่อสารแบบ Official จากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานด้านสาธารณสุข อย่างหมอพร้อม หรือสบายดีบ็อต หน่วยงานด้านสาธารณูปโภค การตรวจสอบและชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ก็มีการเปิดให้บริการผ่าน LINE เป็นต้น

นอกจากนี้ LINE ยังเป็นแพลตฟอร์มเดียวที่สามารถ transform กลุ่มธุรกิจเอกชนและกลุ่มภาครัฐให้ก้าวเข้าสู่ดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเครื่องมือและโซลูชั่นส์ที่ตอบโจทย์ Digital Behaviour ของคนไทย ทั้ง LINE Official Account ที่มีฟีเจอร์รองรับแบรนด์และองค์กรไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ , LINE Ads Platform โซลูชั่นส์ด้านโฆษณาบนแพลตฟอร์ม LINE รวมถึงเครื่องมือช่วยบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์อย่าง MyShop, MyRestaurant และ MyCustomer ที่จะเปิดตัวเร็วๆนี้

MyShop ตัวช่วยสำคัญของผู้ค้าออนไลน์ หนุน Social Commerce คึกคักในช่วง COVID-19

จากรายงานของ We Are Social พบว่า คนไทยช็อปออนไลน์เป็นอันดับ 3 ของโลก โดย LINE เล็งเห็นการเติบโตของ E-Commerce ในประเทศไทยมาโดยตลอด และโดยเฉพาะพฤติกรรมของผู้ใช้ที่นิยมการซื้อขายผ่าน Social Media หรือที่เรียกกันว่า Social Commerce จึงได้เปิดให้บริการ LINE SHOPPING เพื่อเป็นแหล่งรวมร้านค้าโซเชียล เปรียบเสมือน Marketplace ให้ผู้ใช้ค้นพบดีลดี ๆ ไอเทมเด็ด ๆ ได้ง่ายดาย โดยผู้ใช้งานสามารถคลิกซื้อสินค้าพร้อมชำระเงินได้ ครบ จบในที่เดียว และต่อมายังได้พัฒนา MyShop เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับผู้ประกอบการใช้จัดการร้านค้าบน LINE OFFICIAL ACCOUNT แบบครบวงจร และทำธุรกิจบน LINE ได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

LINE SHOPPING จึงนับว่าถูกออกแบบมาเพื่อ Social Commerce ตอบโจทย์ร้านค้าและนักช็อปออนไลน์ชาวไทย ที่ชื่นชอบความใช้ง่าย และสะดวกสบาย บนความคุ้นเคยที่ผู้ใช้มีต่อแพลตฟอร์ม LINE เป็นทุนเดิม เห็นได้จากในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้พ่อค้าแม่ค้าที่เดิมมีช่องทางการขายหลักผ่านหน้าร้านแบบ Offline ต้องขยับมาขาย Online แพลตฟอร์มเองก็ได้รองรับให้สามารถเปิดร้านค้าออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว โดยภายในหนึ่งปี มีการเชื่อมต่อใช้ เครื่องมือ MyShop เพิ่มสูงขึ้นถึง 257% เพื่อช่วยบริหารจัดการหน้าร้านและหลังร้านบนออนไลน์ และยอดขายบน LINE SHOPPING ก็เติบโตพุ่งขึ้นกว่า 200% และมีสินค้าหลากหลายประเภทให้เลือกซื้อ ทั้ง สินค้าแฟชั่น, สินค้าสุขภาพและความงาม, สินค้าแกดเจ็ต, สินค้าของใช้ในบ้าน และ อุปกรณ์กีฬา ฯลฯ

นอกจากนี้ LINE ยังจัดกิจกรรมเสริมความรู้และผลักดันผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs บนโลกดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง ทั้ง LINE Certified Coach กูรูด้านดิจิทัลที่ได้รับการคัดเลือกและรับรองจาก LINE ประเทศไทย ที่คอยช่วยชี้แนะ ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม LINE ในการทำธุรกิจยุคดิจิทัล , โครงการ LINE Market Fest, โครงการ รายการเสริมความรู้ SME Biz Talk, กิจกรรม SME Boot Camp, งาน LINE FASHION ANNUALE 2021, โครงการ ‘ห้างททท. ช้อปฟินกินเที่ยวทั่วไทย’ และอีกมากมาย

LINE สร้างความแข็งแกร่งให้อุตสาหกรรม ด้วยการส่งเสริมคนพันธ์ุ Tech ในเมืองไทย

นอกจากมีส่วนช่วยในการผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลแล้ว LINE เองก็ได้ผลิตทีมนักพัฒนาของตนเองตั้งแต่ปี 2017 โดยมุ่งเป็นศูนย์รวมความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้แก่นักพัฒนาและบุคลากรภายนอกอย่างต่อเนื่อง

โดย LINE ให้ความสำคัญกับการสร้างนักพัฒนาไทยอย่างโดดเด่น เริ่มต้นจากการเข้าซื้อกิจการ Startup ไทยคือ DGM59 ผู้ชนะการแข่งขัน LINE HACK ปี 2016 พร้อมแต่งตั้งทีมนักพัฒนาครั้งแรกในไทย ต่อเนื่องด้วยการสร้าง LINE Developers Thailand ซึ่งเป็น Community แหล่งรวมนักพัฒนาหรือ Developer คนไทยเพื่อพูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีร่วมกัน และหลากหลาย, กิจกรรมเสริมความรู้ ทักษะให้นักพัฒนาไทยมาอย่างต่อเนื่องทั้งในรูปแบบบทความ, คลิปวิดีโอ, Podcast และคอร์สออนไลน์  รวมไปถึงอีเวนท์ใหญ่ อย่าง LINE Thailand Developer Conference ซึ่งจะเห็นได้ว่า LINE ได้ให้ความสำคัญกับ Developer เป็นอย่างมาก

ปัจจุบันอาชีพ Developer เป็นอาชีพที่หลายบริษัทมีความต้องการสูง การสร้างกลุ่มนักพัฒนาของ LINE ทำให้คนเข้าใจ Tech Company มากขึ้น ทั้งยังช่วยสร้าง Community ของสายอาชีพที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการในตลาดสูงนี้มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ LINE ยังมีทีม Developer Relations หรือ Tech Evangelist หรือเรียกสั้นๆ ว่า DevRel แบบที่บริษัท Tech Company ใหญ่ๆมี เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีให้คนนอกสามารถเรียนรู้ประยุกต์ใช้ LINE ที่มีการเปิด API นำไปพัฒนา สร้างบริการ นวัตกรรมใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง

ก้าวต่อไปของ LINE - TO THE NEXT

จากการที่การเข้ามาของเทคโนโลยีนั้น ได้มีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงเทคโนโลยี ซึ่งพลังของแพลตฟอร์มอย่าง LINE กำลังมุ่งสู่ การเป็น Life Infrastructure โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการดำเนินชีวิตในทุกมิติด้วย Ecosystem ที่พร้อม ไม่ว่าจะเป็นการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล ตั้งแต่ตื่นนอน ยันเข้านอน รวมถึงการยกระดับธุรกิจด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ครบครัน ด้วยโซลูชั่นที่ทุกคนเข้าถึงได้ สามารถสร้างรากฐานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ในภาพรวม 

สำหรับก้าวต่อไป LINE ในการพัฒนา Ecosystem ให้พร้อมยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ 3 แกนหลัก ได้แก่ 

  •  ด้านธุรกิจและบริการ มุ่งเน้น 3 แกนหลัก คือ

  1. OMO (Online Merges Offline) - สร้างความแข็งแกร่งให้กับประสบการณ์ไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้ทั่วประเทศแบบ OMO หรือนัยนึงก็สามารถเรียกได้ว่าเป็น Online Merges Offline ตัวอย่างเช่น บริการของ LINE MAN ที่ควบรวมกับ Wongnai สร้างแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่และไลฟ์สไตล์ที่แข็งแกร่ง 

  2. ยกระดับ Financial Experience ให้คนทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยผู้ใช้งาน LINE สามารถ “แชท - โอน - ยืม - จ่าย” ได้บนแอป LINE จบครบในที่เดียว โดยไม่ต้องออกข้ามไปแอปพลิเคชั่นอื่น ตัวอย่างเช่น บริการของ LINE BK และ Rabbit LINE Pay

  3. มุ่งสู่การเป็นผู้นำด้าน  Social commerce ที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ขายและลูกค้า สร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่แตกต่างด้วยด้วย Chat Commerce และช่วยให้ร้านค้าดำเนินธุรกิจได้อย่างไร้รอยต่อด้วย LINE Ecosystem ที่แข็งแกร่ง ได้แก่ LINE Official Account, MyShop และ Rabbit LINE Pay

นี่อาจเป็นเพียงส่วนสำคัญส่วนหนึ่ง ที่ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา LINE ได้เข้ามาผสานเป็นส่วนหนึ่งกับชีวิตของคนไทยจนแยกไม่ออก ตั้งแต่ตื่นนอน คือแพลตฟอร์มแรกๆ ที่เราเปิดอ่าน และสื่อสารตลอดวัน จะประชุมหรือทำงาน ก็ยังแยกกับ LINE ไม่ได้ รวมทั้งการสั่งอาหาร รับชมความบันเทิง อีกทั้ง LINE ยังช่วยในการดำเนินชีวิต ที่ทั้งองค์กรแบรนด์ใหญ่ใช้เป็นช่องทางสื่อสารและทำธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ที่สามารถใช้โซลูชั่น จาก LINE ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามกันต่อว่า LINE จะสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อขับเคลื่อนชีวิตดิจิทัลของคนไทยในมิติใดได้อีกในอนาคต

บทความนี้เป็น  Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...