ความยั่งยืนของสกุลเงินรูปแบบต่างๆ และผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม | Techsauce

ความยั่งยืนของสกุลเงินรูปแบบต่างๆ และผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

ในวาระที่วันสิ่งแวดล้อมโลก (World Environment Day) ซึ่งเป็นปีสำคัญของการครบรอบ 50 ปีแห่งการจัดตั้งวันคุ้มครองโลก (Earth Day) จึงเป็นโอกาสอันดีอย่างยิ่งที่จะหันมาสำรวจว่าการใช้ชีวิตประจำวันของพวกเรานั้นช่วยอนุรักษ์โลกได้อย่างยั่งยืนแท้จริงหรือไม่? และถึงแม้ว่ามันจะฟังดูไม่น่ากลัวเท่ากับรอยร้าวหรือแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกละลาย แต่การผลิตธนบัตรและเหรียญในแต่ละสกุลเงินนั้นมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของโลกเราอย่างน่าตกใจมาก


จากธนบัตรกระดาษ สู่บัตรเครดิตพลาสติก ไปจนถึงเงินคริปโต เรามาดูกันคร่าวๆ ว่าการได้มาซึ่งสกุลเงินต่างๆ นั้นส่งผลกระทบต่อโลกและความยั่งยืนของเรามากขนาดไหน?

เงินธนบัตรนั้นยั่งยืนแค่ไหน?

ตามที่สุภาษิตโบราณกล่าวไว้ “เงินไม่ได้งอกจากต้นไม้” นั้นก็จริงอยู่ แต่อย่างไรก็ตามธนบัตรกระดาษก็เป็นผลผลิตโดยตรงจากต้นไม้ จากข้อมูลกองทุนสัตว์ป่าโลก โรงงานทั่วโลกผลิตกระดาษ 400 ล้านตันในแต่ละปี และกระดาษบางส่วนนี้ถูกใช้ไปในการพิมพ์ธนบัตรซึ่งก่อให้เกิดการทำลายป่าทั่วโลก คาดกันว่าการตัดไม้ทำลายป่าเป็นสาเหตุในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 12% จากปริมาณทั้งหมด

ขั้นตอนในการพิมพ์ธนบัตรกระดาษนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างใหญ่หลวงมาก และมันไม่ได้หยุดแค่ที่โรงพิมพ์ ธนบัตรนั้นไม่คงทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเจอสภาพอากาศมันจึงเสียหายได้ง่ายและต้องถูกนำออกจากระบบหมุนเวียน ที่จริงคาดกันว่าอายุการใช้งานเฉลี่ยของแบงก์ 5 ดอลล่าร์ นั้นอยู่ที่เพียง 16 เดือนเท่านั้น

หลายประเทศได้เปลี่ยนมาผลิตธนบัตรด้วยการผสมผสานเส้นใยจากเศษผ้าฝ้าย ผ้าลินิน และกระดาษที่ได้จากการรีไซเคิลและมีคุณภาพต่ำ ซึ่งช่วยลดวัสดุในกระบวนการผลิตธนบัตรลงและตัวกระดาษเองก็ถูกนำไปรีไซเคิลต่อได้ง่ายอีกด้วย

นอกจากนั้นคุณยังต้องคำนึงถึงปัจจัยในการใช้ธนบัตรกระดาษซึ่งก่อปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ตามมาอีกประการหนึ่ง นั่นก็คือเหรียญเพราะคุณต้องทอนเงินนั่นเอง การสกัด การขุด การกัด และการถลุงโลหะเพื่อผลิตเหรียญเป็นเรื่องที่ต้องใช้พลังงานมหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อ โรงกษาปณ์ของสหรัฐประเมินว่าแต่ละปีมีโลหะมากกว่า 40,000 ตันถูกนำไปใช้เพื่อผลิตเหรียญภายในประเทศ

ไม่ว่าจะเป็นกระดาษหรือโลหะ มันชัดเจนว่าการใช้สกุลเงินทางกายภาพนั้นมีผลเสียมากมาย ทั้งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นวิถีปฏิบัติที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน หรือคำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา 

บัตรเดบิตและบัตรเครดิตมีผลต่อความยั่งยืนเพียงใด?

หากธนบัตรจากกระดาษนั้นทำลายสิ่งแวดล้อม คุณอาจคิดว่าบัตรเดบิตและบัตรเครดิตนั้นน่าจะยิ่งส่งผลที่เลวร้ายลงไปอีก เพราะอย่างไรมันก็ทำด้วยพลาสติก และช่วงนี้ก็มีกระแสของสังคมในการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ผลักดันให้ผู้คนลดการใช้พลาสติกและหันมาใช้วัสดุกระดาษแทน (ดูอย่างหลอดสิ!)

แต่ในความเป็นจริงบัตรเดบิตและบัตรเครดิตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย พวกมันเป็นทางเลือกของการชำระเงินที่ไม่ได้ดีหรือแย่กว่าธนบัตรกระดาษแต่อย่างใด หากพูดถึงในด้านความยั่งยืน

ส่วนใหญ่บัตรเครดิตและบัตรเดบิตจะทำด้วยโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ซึ่งเช่นเดียวกับพลาสติกหลายชนิด มันถูกผลิตขึ้นโดยการใช้น้ำมันปริมาณมาก และไม่สามารถรีไซเคิลได้ เพื่อผลิตบัตรเครดิตหนึ่งใบต้องใช้ปิโตเลียมประมาณ 4.25 กรัม และคาดว่าปัจจุบันทั่วโลกมีบัตรเครดิตที่ถูกใช้งานอยู่ 2.8 พันล้านใบ ซึ่งเท่ากับว่าต้องใช้น้ำมันประมาณ 79,000 บาร์เรลในการผลิตบัตรเครดิตในแต่ละปี ตัวเลขนี้ยังไม่รวมถึงการผลิตบัตรพลาสติกที่มีมูลค่าเงินในรูปแบบของบัตรกำนัล บัตรของขวัญและบัตรส่วนลดต่างๆ

อย่างไรก็ตาม บัตรพลาสติกมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานกว่าธนบัตรกระดาษ โดยมีอายุการใช้งานได้นานถึงแปดปี ซึ่งช่วยยืดเวลาการหมดอายุออกไป และยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการเก็บเกี่ยวและปลูกฝ้ายที่ใช้ในการผลิตธนบัตรนั้น จำเป็นต้องใช้พลังงานมากพอ ๆ กับที่ใช้ในการผลิตพีวีซีในปริมาณที่เท่ากันอีกด้วย 

ความยั่งยืนของ Cryptocurrency มีแค่ไหน?

การเจริญเติบโตของคริปโตช่วยพัฒนาความยั่งยืนของการผลิตสกุลเงินและการใช้งานหรือไม่? คำตอบคือมันขึ้นอยู่กับชนิดของคริปโตเคอเรนซีที่คุณกำลังพูดถึง

การผลิตและใช้งาน Cryptocurrency เช่น Bitcoin และ Ethereum จำเป็นต้องใช้กระบวนการที่เรียกกันว่า “การขุด” ซึ่งการทำธุรกรรมสำหรับ Cryptocurrency เหล่านี้จะได้รับการตรวจสอบและเพิ่มเข้าไปในบัญชีบล็อกเชนแยกประเภทดิจิตอล มันแสดงถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาและบำรุงรักษาคริปโตเคอเรนซีเหล่านี้ ซึ่งต้องอาศัยการใช้ไฟฟ้าและพลังงานจำนวนมากในการทำเช่นนั้น

การศึกษาซึ่งจัดทำขึ้นโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและมหาวิทยาลัยสต็อคโฮล์ม เกี่ยวกับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ Cryptocurrency และ Visa พบว่า Bitcoin และ Ethereum เป็นสองสกุลเงินที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในแง่ของปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อปี

รู้หรือไม่ว่าในการทำธุรกรรม 220 ล้านครั้งของ Bitcoin ต่อปี (จำนวนสูงสุดที่คาดการณ์ไว้ต่อปี) ต้องใช้ปริมาณไฟฟ้าเที่ยบเท่ากับพลังงานที่สามารถใช้กับหลอดไฟ 149 ล้านหลอดเลยทีเดียว

XRP เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Cryptocurrency ที่ไม่พึ่งพาการใช้พลังงานจำนวนมหาศาลเช่นนั้น ทำให้ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในรูปแบบของสกุลเงินคริปโตที่ยั่งยืนที่สุดเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ความยั่งยืนของ XRP

ข้อแตกต่างของ XRP จาก Bitcoin และ Ethereum คือ XRP ไม่ใช่สินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องผ่านการขุด ทุกหน่วยของสกุลเงินที่มีอยู่ในขณะนี้ได้ถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เพราะเนื่องจากการเป็นเจ้าของ Bitcoin ต้องผ่านการขุดนั่นหมายความว่า Bitcoin ใหม่ถูกสร้างขึ้นอยู่เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องโดยศูนย์ประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ และการทำเช่นนี้ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากและส่งผลต่อความไม่ยั่งยืนของพลังงานไฟฟ้าอย่างที่สุด รู้หรือไม่ว่าต้นทุนการสร้าง Bitcoin เพียงหนึ่งเหรียญเทียบเท่ากับค่าไฟหนึ่งวันของบ้านในสหรัฐเกือบสี่หลัง

ในทางตรงกันข้าม XRP เป็นสกุลเงินที่มีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนอย่างเหลือเชื่อ เพื่อเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เราขอยกเรื่องหลอดไฟก่อนหน้านี้มากล่าวอีกครั้ง พลังงานที่ใช้โดยบัญชีแยกประเภท (distributed ledger) ของ XRP จะใช้พลังงานเทียบเท่ากับหลอดไฟเพียงเจ็ดหลอด ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าสกุลเงินอื่นๆ ที่มีอยู่รวมถึงเงินคริปโต อย่างไรก็ตามสกุลเงินดั้งเดิมต่างๆ ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลกต่อไป แม้ว่าผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมของสกุลเงินเหล่านี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะมองข้ามและไม่ควรละเลยเพิกเฉยก็ตาม

เขียนบทความโดย มร.เคลวิน ลี ดำรงตำแหน่ง  Head of Southeast Asia - Ripple และประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ มีหน้าที่รับผิดชอบโดยรวมต่อการขยายธุรกิจของริปเปิลทั่วทั้งภูมิภาคนี้ และเป็นผู้นำในการเพิ่มฐานลูกค้าให้กับริปเปิลโดยอาศัยประสบการณ์มากมายที่เขาสั่งสมจากการทำงานในแวดวงภาคการเงินและการธนาคาร

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ XRP ได้จากที่นี่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...