เมื่อองค์กรเอกชนหันมาให้ความสำคัญเรื่อง ความยั่งยืน (Sustainability) มากขึ้น หากแต่บริษัทส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจว่า จะต้องดำเนินการในด้านไหน อย่างไร และเนื่องจากเส้นทางธุรกิจของแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกัน การเปลี่ยนผ่านสู่ ธุรกิจที่ยั่งยืน (Sustainable Business) จึงไม่มีแนวทางให้ยืดถือปฏิบัติตามแพทเทิร์นแบบ 100% ได้ ด้วยเหตุนี้ ยูโอบี (UOB) ธนาคารชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชีย จึงร่วมมือกับ PwC ออกแบบเครื่องมือออนไลน์ที่เรียกว่า ‘UOB Sustainability Compass’ หรือ เข็มทิศเป้าหมายความยั่งยืนของธนาคารยูโอบี ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs เริ่มต้นเส้นทางแห่งความยั่งยืนด้วยความเข้าใจ และสามารถวางแผนดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้ถูกทิศทาง พร้อมขั้นตอนที่นำไปปฏิบัติได้จริง
เพื่อให้เห็นอรรถประโยชน์ของเครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืนดังกล่าว ทีมเทคซอสจึงได้สัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Commercial Banking ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย และ คุณพณิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institutions และ ESG Solutions ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย แบบอินไซด์ แล้วนำมาถ่ายทอดเป็นบทความให้ทุกคนได้เข้าใจเครื่องมือออนไลน์ UOB Sustainability Compass เพื่อให้ SMEs สัญชาติไทยสามารถนำไปเป็นแนวทางปรับแผนธุรกิจเพื่อเริ่มต้นการจัดการด้านความยั่งยืนได้
คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เป็นสองผู้ให้สัมภาษณ์ ที่ร่วมเปิดเผยว่า ‘UOB Sustainability Compass’ เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วยแก้ Pain Point ของ SMEs ซึ่งมาจากผลสำรวจ UOB Business Outlook Study 2024 ที่พบว่า SMEs ไทยส่วนใหญ่ตระหนักว่า การทำธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืนเป็นเรื่องสำคัญ หากแต่ไม่สามารถเริ่มต้นจัดการด้านความยั่งยืนได้ทั้งหมดเพราะมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน บ้างเพราะขาดความรู้ความเข้าใจ บ้างกังวลเรื่องต้องใช้ต้นทุนสูง บ้างก็ขาดความพร้อมและการสนับสนุนทางการเงิน ฯลฯ
UOB จึงสร้าง UOB Sustainability Compass หรือ เข็มทิศเป้าหมายความยั่งยืนของธนาคารยูโอบี ขึ้น โดยร่วมกับ PwC ปรับคำถาม 14 ข้อ ให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย เพื่อให้ SMEs ได้ประเมินว่า ธุรกิจของตนดำเนินอยู่ในจุดไหนของความยั่งยืน โดยหลังการตอบคำถาม ระบบจะประมวลผลคำตอบออกมาเป็นรายงานที่บอกว่า ธุรกิจอยู่ใน ระดับเริ่มต้น (Starter), ระดับกลาง (Intermediate) หรือ ระดับสูง (Advanced) ซึ่งจะมาพร้อมกับรายงานสรุปแนวทางเบื้องต้นเพื่อนำไปปรับแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ตลอดจนแนะนำสินเชื่อด้านความยั่งยืนของ UOB ที่ SMEs สามารถเข้าถึงได้ ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อเพื่ออาคารสีเขียว (Green Building), สินเชื่อเพื่อเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities), สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) สินเชื่อเพื่อการค้าต่างประเทศและเงินทุนหมุนเวียน (Sustainable Trade Finance) สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนเพื่ออุตสาหกรรมอาการและเกษตรกรรม (Sustainable Finance for Food and Agribusiness) และสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance)
“การจัดการเรื่องความยั่งยืนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ SMEs เราเชื่อในศักยภาพของ SMEs แต่ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง ทั้งด้านบุคลากรและความรู้ด้านความยั่งยืน การใช้ตัวช่วยหรือพาร์ตเนอร์ที่มีความสามารถด้านนี้จึงเป็นทางลัดที่จะพอช่วย Kick start จุดเริ่มต้นนี้ได้ ด้วย UOB Sustainability Compass” คุณอัมพรเปิดประเด็น
การสนับสนุนลูกค้าในเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งในกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธนาคารที่ต้องการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืน (Drive Growth Sustainably) เพราะธนาคารไม่เพียงแต่บริหารจัดการขอบเขตที่อยู่ภายใต้ของธนาคาร แต่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่ลูกค้าเช่นเดียวกัน
สำหรับผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ธุรกิจ SMEs ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่มียอดขายระหว่าง 240 - 7,500 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ
“หนึ่ง UOB ต้องการเพิ่มความตระหนักรู้ให้ SMEs เข้าใจว่า เรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องที่ไม่ช้าก็เร็วทุกธุรกิจจะต้องทำ แต่ธุรกิจก็สามารถวางแผนการจัดการได้ และสอง UOB Sustainability Compass สามารถช่วยให้ SMEs รู้ว่า ธุรกิจของตนอยู่ตรงไหนในเรื่องของความยั่งยืน พร้อมทั้งให้แนวทางในการวางแผนและจัดการ และเมื่อ SMEs ต้องการจัดการเรื่องความยั่งยืน UOB ก็มีโซลูชันทางการเงินที่พร้อมจะสนับสนุน” คุณอัมพรกล่าว
คุณพณิตตราอธิบายเพิ่มเติมว่า รายงาน UOB Sustainability Compass ครอบคลุม 8 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มธุรกิจการบริการด้านสุขภาพ กลุ่มธุรกิจโลจิสติกส์ กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจบริการ และกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมและเทคโนโลยี
“สิ่งที่ UOB Sustainability Compass ต้องการให้ผู้ตอบแบบสอบถามทราบก็คือ รู้ว่าธุรกิจตัวเองอยู่ตรงไหนในเรื่องของความยั่งยืน หากต้องการเพิ่มระดับความยั่งยืนต้องทำอย่างไร ต้องทำอะไรเพิ่มเพื่อให้ไปถึงจุดนั้น ตลอดจนเข้าใจถึงความคาดหวังจากผู้มีส่วนได้เสีย ซึ่งจะทำให้ SMEs สามารถวางแผนได้ว่า จะกำหนดการลงทุนด้านความยั่งยืนอย่างไร และเมื่อไร และหาก SMEs ใดกำลังมองหาแหล่งเงินทุนด้านความยั่งยืน UOB ก็พร้อมที่จะสนับสนุนเต็มที่”
คุณพณิตตราอธิบายต่อว่า นอกเหนือจาก UOB Sustainability Compass ทาง UOB ประเทศไทย ยังมีโครงการ Sustainability Innovation Programme (SIP) เพื่อส่งต่อความรู้ให้แก่ลูกค้าธนาคาร โดยในปี 2567 UOB ได้ร่วมมือกับ PwC ในการให้คำแนะนำการวางกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน และยังมีพันธมิตรอีกหลากหลายองค์กรมาร่วมถ่ายทอดความรู้ อาทิ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI), องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ช่วยให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรม SIP ได้รับความรู้ในเรื่องของความยั่งยืนและมีโอกาสได้สร้างเครือข่ายธุรกิจ (Networking) เพิ่มเติม ผ่านโปรแกรมดังกล่าว
สำหรับ UOB มีความตั้งใจที่จะสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถนำกลยุทธ์ความยั่งยืนมาใช้ (Adopt Sustainability Strategy) ได้ โดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในเรื่องของการสนับสนุนด้านเงินทุน แต่เป็นการสนับสนุนที่ครบวงจร ตั้งแต่การส่งเสริมด้านความรู้ ความเข้าใจ Know-How การเข้าถึงผู้ให้บริการผ่าน U-Series Solutions และ Greentech Accelerator ตลอดจนการสนับสนุนเงินทุนเพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน
“UOB Sustainability Compass เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและจะช่วยได้มาก คุณไม่จําเป็นต้องเป็นลูกค้าเรา แค่ทําแบบสอบถามออนไลน์ 14 ข้อ ก็จะสามารถรับรายงานที่จะใช้เป็นแนวทางเพื่อสร้างกลยุทธ์ความยั่งยืน นอกจากนี้ ทุก SMEs สามารถติดต่อเข้ามาที่ UOB เพื่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ หรือผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืน ซึ่ง UOB’s Relationship Management (RM) จะสามารถแนะนำ และสร้างความเข้าใจเพิ่มเติมได้” คุณอัมพรกล่าว
ปัจจุบัน UOB มี กรอบแนวคิดสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Finance Framework) ครอบคลุมกิจกรรมด้านความยั่งยืนสำหรับหลายอุตสาหกรรม โดย SMEs ที่มีแนวคิดริเริ่มเรื่องของความยั่งยืน หรือมีแผนการทำกิจกรรมใดๆ อยู่ใน Framework ด้านความยั่งยืนของ UOB สามารถติดต่อเข้ามาเพื่อรับคำปรึกษาได้
และเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนได้ง่ายขึ้น UOB ยังได้พัฒนาโซลูชันทางการเงิน ที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงกิจกรรมสีเขียวได้ง่ายมากขึ้นผ่าน U-Series Solutions โดยมีทั้ง
U-Solar โซลูชันทางการเงินแบบบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในธุรกิจ
U-Energy โซลูชันการเงินแบบบูรณาการที่ขับเคลื่อนการพัฒนาและการนำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานมาใช้ในอาคาร
U-Drive โซลูชันการเงินแบบบูรณาการสำหรับระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
คุณพณิตตรากล่าวเสริมว่า “สำหรับ UOB เรามีความตั้งใจที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การทำธุรกิจอย่างยั่งยืนได้ และเราเชื่อว่า UOB Sustainability Compass สามารถเป็นคู่มือที่ดีในการเริ่มต้นการจัดการเรื่องความยั่งยืน และเรายังจะพัฒนาโซลูชันทางการเงิน และรวบรวม Ecosystem partners เพิ่มเติมเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการตามแผนด้านความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
“นับถึงปัจจุบัน มีธุรกิจมากกว่า 1,200 รายที่ได้ใช้ UOB Sustainability Compass แล้ว” คุณอัมพรให้ข้อมูลเพิ่มในตอนท้ายของการสัมภาษณ์
มโนห์รา แบรนด์ผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร มีสินค้าที่ออกสู่ตลาด เช่น ข้าวเกรียบกุ้ง ข้าวเกรียบปลา ข้าวเกรียบเผือก ข้าวเกรียบฟักทอง ฯลฯ โดยสินค้ามี 2 ประเภท คือ Ready to Eat ข้าวเกรียบสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน และ Uncooked ข้าวเกรียบแผ่นดิบที่ต้องนำไปทอดก่อนบริโภค ซึ่งแบบ Ready to Eat ส่งจำหน่ายตามร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ห้างท้องถิ่นทั่วไป ส่วนแบบ Uncooked จัดจำหน่ายตามโรงแรม ร้านอาหาร แต่ทั้งสองแบบมีจำหน่ายทั้งในไทยและต่างประเทศ อาทิ จีน กลุ่มประเทศใน AEC สหรัฐอเมริกา ยุโรป กลุ่มตะวันออกกลาง
คุณวราภรณ์ วังวิวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท มโนห์ราอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด เล่าว่า มโนห์ราเป็นแบรนด์เก่าแก่ที่กำลังก้าวสู่ปีที่ 61 และใช้บริการทางการเงินกับ UOB มานานกว่า 20 ปี ซึ่งตลอดมา มโนห์ราให้ความสำคัญเรื่องความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง และได้รับการจัดอันดับให้เป็น Green Industry (อุตสาหกรรมสีเขียว) ระดับที่ 2 จากกระทรวงอุตสาหกรรม จากการที่บริษัทมีนโยบายการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พนักงานมีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงาน รวมถึงการทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นในไลน์การผลิตของบริษัท
กอปรกับ UOB ได้นำเสนอโซลูชันด้านความยั่งยืนโดยให้ทดลองใช้ ‘UOB Sustainability Compass’ ทำให้มโนห์รารู้ขอบเขตธุรกิจ และได้รับรายงานกลับมาว่า มโนห์รามีความเข้าใจและดำเนินงานด้านความยั่งยืนอยู่ใน ระดับกลาง (Intermediate) ต่อมาจึงได้ขอ สินเชื่อสีเขียว (Green Loan) จาก UOB เพื่อดำเนินการติดตั้งโซลาร์รูฟในช่วงต้นปี 2567
“เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสนใจเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น ทำให้คู่ค้าบางรายในบางประเทศก็ขอ Certificates ว่าเราทำอะไรเพื่อความยั่งยืนบ้าง เพื่อทำให้เขามั่นใจว่า เราใส่ใจสังคม การอยู่ร่วมกัน และ Global Warming เราจึงคุยกับคู่ค้าในเรื่องการประหยัดพลังงาน การวางแผนใช้วัตถุดิบ รวมถึงสินค้าที่เราผลิตก็มาจากพลังงานสะอาด” คุณวราภรณ์กล่าว
มโนห์รายังให้ความสำคัญเรื่องการลงทุนในเครื่องจักรที่มีความก้าวหน้ามากขึ้นทุกปีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในไลน์การผลิต และเพราะการลงทุนในเครื่องจักรประสิทธิภาพสูงจำต้องใช้เงินลงทุนสูง บริษัทจึงจัดสรรเงินลงทุนเองส่วนหนึ่ง ขอสินเชื่ออีกส่วนหนึ่ง โดยมี UOB เป็นธนาคารคู่ค้ารายสำคัญ
“การทำเรื่องความยั่งยืนต้องมีมาตรวัด Before & After ซึ่งต้องคาดการณ์และ Submit Proposal ของเราต่อ UOB แล้วว่า จะใช้เงินไปในด้านไหน แล้วจะลดอะไรได้เท่าไหร่ ซึ่งสิ่งที่เราได้ก็เป็นที่พึงพอใจ มีประสิทธิภาพจริงตามที่คาดหวังไว้ จากการที่เราใช้สินเชื่อ UOB สองส่วน ส่วนแรกคือ นำมาพัฒนาศักยภาพการผลิต ในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรที่ใช้บรรจุสินค้า สมมติว่าใช้ไฟที่ยูนิตเท่ากัน ในระยะเวลาเท่ากัน จะประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม แต่ได้ผลผลิตจากการบรรจุสินค้าเพิ่ม จากเดิมที่เครื่องจักรเคยบรรจุได้นาทีละ 30-40 ซอง ก็เพิ่มเป็น 60-120 ซอง ผลลัพธ์ (Outcome) ที่ได้จึงมากกว่าเดิมและทำให้ Cost per unit ของเราลดลง ส่วนที่สอง โซลูชัน U-Solar ที่เราขอสินเชื่อมาลงทุนติดตั้งโซลาร์รูฟที่โรงงานทั้ง 3 โรง หลังจากติดตั้งแล้วค่าไฟลดลงมากกว่า 20% ด้วยซ้ำไป เห็นตัวเลขชัดเลยว่า เราประหยัดเงินไปได้เท่าไหร่” คุณวราภรณ์กล่าวสรุป
คุณเอกอรุณ มงคลสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.ที.การยาง จำกัด เปิดเผยว่า แอล.ที.การยาง เป็นผู้ผลิตและส่งออกยางแผ่นรมควัน (Ribbed Smoked Sheet) ยางแผ่นรมควันอัดก้อนขนาดเล็ก (Small Ribbed Smoked Sheet Bale) ซึ่งจัดเป็นสินค้าทางการเกษตร โดยมีกำลังการผลิต ณ ปัจจุบัน 36,000-40,000 เมตริกตันต่อปี สำหรับลูกค้าต่างประเทศที่บริษัทส่งยางแผ่นเป็นสินค้าออก อาทิ Michelin, Bridgestone, Triangle, Toyo Tires ในประเทศไทยก็จะมี TOKAI, OTANI, Senjury Tire, Huayi และนอกจากธุรกิจผลิตยางแผ่นแล้ว แอล.ที.การยางยังมีบริการขนส่งยางพาราและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อซัพพอร์ตกันในกลุ่มธุรกิจ
การพัฒนาธุรกิจและปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานต่างๆ รวมถึงกฎระเบียบทางการค้าเรื่อยมา ทำให้ แอล.ที.การยางได้รับการรับรองตามมาตรฐาน ISO 9001: 2015 ทั้งยังได้รับการรับรองจาก EcoVadis ซึ่งเป็นการรับรองระดับ Silver (เงิน) ที่ลูกค้าอย่าง Bridgestone ให้การยอมรับว่า บริษัทดำเนินงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ แอล.ที.การยางยังมีชื่ออยู่ใน Rubberway ของ Michelin แพลตฟอร์มด้านความยั่งยืนในระบบซัพพลายเชนของยางธรรมชาติ ที่ใส่ใจตั้งแต่การปลูกยางพารา ซึ่งอยู่ต้นน้ำไปยังการแปรรูป และจัดจำหน่ายยาง ซึ่งเป็นธุรกิจที่อยู่ปลายน้ำ
อีกเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งคือ กฎระเบียบว่าด้วยผลิตภัณฑ์ปลอดการตัดไม้ทำลายป่า EUDR (EU Deforestation - Free Regulation) ซึ่ง แอล.ที.การยางปฏิบัติตามและผ่านการตรวจสอบแล้ว เพราะ EUDR เป็นมาตรการที่จะมีผลบังคับใช้ปลายปี 2568 กับกลุ่มสินค้า 7 ชนิด ได้แก่ ยางพารา น้ำมันปาล์ม โกโก้ ไม้ กาแฟ ถั่วเหลือง และวัว โดยเงื่อนไขการนำสินค้าเข้าไปจำหน่ายในยุโรปได้ ต้องครบทุกข้อ ดังนี้
ดังนั้น การได้รับเหรียญจาก ‘EcoVadis’ การมีชื่ออยู่ใน ‘Rubberway’ และผ่านมาตรการ ‘EUDR’ จึงเป็นเครื่องการันตีว่า วัตถุดิบยางพาราที่ แอล.ที.การยางนำมาผลิตแผ่นยาง มาจากแหล่งกำเนิดหรือแปลงปลูกที่มีหลักฐานแน่ชัด มีการขึ้นทะเบียนถูกต้อง การดำเนินธุรกิจยังปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนด ครบทั้ง ด้านการตรวจสอบย้อนกลับวัตถุดิบ ด้านสิ่งแวดล้อม แรงงานและสิทธิมนุษยชน จริยธรรม และการจัดซื้ออย่างยั่งยืน และมุ่งทำอย่างเต็มกำลังเพื่อเป็นบริษัทยั่งยืน
แอล.ที.การยาง มีความต้องการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันอย่างยั่งยืน โดยอาศัยการประเมินและจัดการความเสี่ยงด้าน ESG อย่างเป็นระบบ จึงทดลองใช้เครื่องมือ ‘UOB Sustainable Compass’ แล้วพบว่า บริษัทดำเนินงานด้านความยั่งยืนอยู่ใน ระดับกลาง (Intermediate) และได้ข้อเสนอแนะจาก UOB ที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทในด้านการมุ่งสู่ความยั่งยืนและการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ UOB เสนอผลิตภัณฑ์ UOB Green and Sustainable Trade Financing ที่บริษัทจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านดอกเบี้ย ในกรณีที่ แอล.ที.การยาง ได้รับคะแนนจากการประเมินผลการดำเนินงาน (Performance) โดย EcoVadis ที่มากกว่าเดิม
ปัจจุบัน ยอดขายของ แอล.ที.การยางประมาณ 50% สอดคล้องกับมาตรฐาน EUDR และสามารถสืบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกได้ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากธุรกิจยางแผ่นรมควันต้องอาศัยความร้อนจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นกระบวนการที่ยังคงก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่สูง แอล.ที.การยางจึงมุ่งปรับเปลี่ยนหรือพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน ลดคาร์บอนฟุตพรินต์ ตลอดจนปรับการจัดการโลจิสติกส์สู่ภาคขนส่งคาร์บอนต่ำ โดยตั้งเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2570
นอกเหนือจากนี้ การที่บริบททางการเมือง-การค้าโลก ซึ่งสัมพันธ์กับเป้าหมายด้านความยั่งยืน ส่งผลให้กฎระเบียบทางการค้าเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คุณเอกอรุณจึงให้ข้อมูลเพิ่มในตอนท้ายว่า แอล.ที.การยางใช้วิธีปรับเปลี่ยนนโยบายและกำหนดเป้าหมายใหม่ทุกปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ขับเคลื่อนนวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจ และลดการปล่อยคาร์บอนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
เพราะการเดินหน้าสู่ ‘ความยั่งยืน’ ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่เมื่อมี ‘UOB Sustainability Compass’ เข้ามาเป็นตัวช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถรับรู้ได้ว่า ธุรกิจของตัวเองนั้นอยู่ในระดับไหนของการดำเนินงานด้านความยั่งยืน หากคุณผู้อ่านเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นผู้นำ หรือเป็นผู้บริการองค์กรที่มีความสนใจ เครื่องมือนี้ สามารถเข้าใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา ด้วยการตอบแบบสอบถามที่ https://forms.uobthailand.com/eservices/uobgroup/sustainability/compass-th.html
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด