ส่องแผนยุทธศาสตร์ 'Made in China 2025' จาก 'โรงงานของโลก' สู่ 'แหล่งผลิตสินค้านวัตกรรมของโลก'

ส่องแผนยุทธศาสตร์ 'Made in China 2025' จาก 'โรงงานของโลก' สู่ 'แหล่งผลิตสินค้านวัตกรรมของโลก'

นับตั้งแต่ปี 2015 จีนได้ผลักดันยุทธศาสตร์ Made in China 2025 (MIC 2025) มุ่งปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตของจีนจาก “โรงงานของโลก” เป็น “แหล่งผลิตสินค้านวัตกรรมของโลก” เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมภาคการผลิต โดยมุ่งเน้น 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคตเพื่อการสร้างนวัตกรรมในการผลิต

อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปลายปี 2018 รวมถึงในที่ประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีนปี 2019 รัฐบาลจีนไม่มีการกล่าวถึง ยุทธศาสตร์ MIC 2025 ในที่สาธารณชน เพราะจีนถูกสหรัฐฯ วิจารณ์ว่ายุทธศาสตร์ดังกล่าวก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมในการแข่งขันทางธุรกิจ อย่างไรก็ดี การที่รัฐบาลจีนไม่ได้กล่าวถึง MIC 2025 ไม่ได้หมายความว่าจีนจะล้มเลิกเป้าหมายที่จะยกระดับอุตสาหกรรม แต่เป็นเพียงการแสดงท่าทีที่จะปรับแผนยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศมากยิ่งขึ้น รวมถึงการลดปริมาณเงินสนับสนุนที่รัฐบาลให้แก่บริษัทและรัฐวิสาหกิจจีน โดยในการประชุมสภาผู้แทนฯ นั้น นายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง ยังย้ำถึงเจตนาที่จะผลักดันเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีการระบุไว้ใน MIC 2025 เดิม

อีไอซีมองว่าอุตสาหกรรมไทยสามารถใช้ประโยชน์จากแผน MIC 2025 ทั้งในด้านการส่งออก การลงทุน และการนำเข้า โดยเฉพาะด้านการส่งออก บริษัทจีนในอนาคตจะไม่เป็นเพียงโรงงานประกอบชิ้นส่วนอีกต่อไป แต่จะมุ่งเน้นด้านการผลิตสินค้าคุณภาพสูงโดยใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้โครงสร้างของสินค้าส่งออกไทยไปจีนจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามไปด้วยเพราะไทยมีความเชื่อมโยงด้านการค้ากับจีนที่สูง ภาคการส่งออกไทยคงจะไม่สามารถส่งออกเพียงแค่วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์เพื่อให้จีนนำไปประกอบเพื่อส่งออกต่อเหมือนที่ผ่านมา แต่บริษัทไทยจำเป็นต้องเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตของตัวเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะต้องพัฒนาการส่งออกสินค้าที่มีความซับซ้อนและใช้นวัตกรรมมากขึ้นและเชื่อมโยงกับห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมแห่งอนาคตของจีน

อุตสาหกรรมแห่งอนาคตภายใต้ยุทธศาสตร์ MIC 2025 ที่มีความสอดคล้องกับหลายอุตสาหกรรมภายใต้ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรเทคโนโลยีชีวภาพ การบิน หุ่นยนต์ ยานยนต์สมัยใหม่ ดิจิทัล และการแพทย์ จีนมีแผนพัฒนาที่เน้นการสร้างชาติ ผลักดันบริษัทในประเทศสอดคล้องกับไทยที่เน้นการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ จึงมีศักยภาพในการร่วมมือกันในด้านการค้าและการลงทุน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...