ลำดับเหตุการณ์การจับกุม CFO Huawei โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ลำดับเหตุการณ์ Meng Wanzhou รองประธานและ CFO ของ Huawei ถูกจับกุมโดยสหรัฐฯ

  • ลำดับเหตุการณ์เข้าจับกุม Meng Wanzhou รองประธานและCFO บริษัท Huawei
  • ท่าทีของสหรัฐอเมริกาต่อสินค้าโทรมานาคมและอุปกรณ์เทคโนโลยีจาก Huawei และ ZTE

หลังจากที่มีเหตุการณ์ Meng Wanzhou CFO และรองประธานผู้เป็นลูกสาวของผู้ก่อตั้งบริษัท Huawei Technologies Co Ltd ถูกควบคุมตัวในประเทศแคนาดา ซึ่งหลายๆคนคาดการณ์ว่าเกิดจากประเด็นที่ Meng Wanzhou ได้ทำการละเมิดมาตราการคว่ำบาตรของสหรัฐที่มีต่อประเทศอิหร่าน

เราจะสรุปเหตุการณ์ข่าวของ Huawei หลังจากที่มีประเด็นดราม่ามาอย่างยาวนานตลอดสัปดาห์ วันนี้เรามาไล่เรียงเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นให้ผู้อ่านได้เข้าใจกันค่ะ

ภาพจาก CNN.com

2007 พบว่ามีการเชื่อมโยงทางการเงินและอื่นๆกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง Huawei และ Skycom ในช่วงที่ Meng Wanzhou ดำรงตำแหน่งเลขานุการของบริษัท

2008 - 2009 Meng Wanzhou ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการของ บริษัท Skycom Tech ในฮ่องกง

2010 มีรายงานว่า Skycom Tech ทำการขายสินค้าเป็นจำนวน 1.3 ล้านยูโรให้กับบริษัท Mobile Telecommunication Co of Iran ถึงแม้ว่าจะมีมาตารการคว่ำบ้านของสหรัฐต่ออิหร่านอยู่ก็ตาม

ซึ่ง Huawei รายงานว่า Skycom Tech นั้นถือเป็นบริษัท Partner ของตน แต่อย่างไรก็ตาม Meng Wanzhou กล่าวว่าการทำงานของพวกเขาถือว่าฏิบัติตามกฏของการค้าและทั้ง Huawei และ Skycom ก็เป็นเพียงคู่ค้าทั่วไปเท่านั้น แต่ทางอัยการระบุว่า Skycom Tech ถือเป็นบริษัทลับ ๆ ของ Huawei

2016 ZTE อีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ บริษัทด้านธุรกิจโทรศัพท์มือถือและโทรคมนาคมของจีนถูกตรวจสอบยอดขายสินค้าที่ขายให้แก่อิหร่านและมีความผิดในฐานละเมิดกฏหมายสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน

ก.พ. 2018 - รัฐบาลสหรัฐฯเริ่มออกมาเตือนห้ามใช้สินค้าจาก ZTE และ Huawei เพื่อความปลอดภัย

มิ.ย. 2018 -  ZTE บริษัทด้านธุรกิจโทรศัพท์มือถือและโทรคมนาคมของจีนยอมรับความผิดและถูกปรับเป็นจำนวนหนึ่ง 1.19 พันล้านเหรียญ

เม.ย. 2018 -  มีคำสั่งห้ามบริษัทในอเมริกาทำการค้ากับ ZTE  บริษัทด้านธุรกิจโทรศัพท์มือถือและโทรคมนาคมของจีน หลังเหตุการณ์ละเมิดกฏหมายสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน

มี.ค. - ก.ย. 2018 -  สหรัฐฯ และจีนเกิดปัญหาด้านการค้า  

ส.ค. 2018 - รัฐบาลสหรัฐอเมริกาและออกเตรเลียได้ออกมาประกาศห้ามหน่วยงานรัฐใช้อุปกรณ์ที่มาจาก Huawei และอีก 4 บริษัทของจีน ด้วยเกรงจะเกิดปัญหาด้านความปลอดภัย

ออสเตรเลียแบน Huawei-ZTE ห้ามขายอุปกรณ์เครือข่าย 5G หวั่นกระทบความมั่นคง

พ.ย. 2018 - สหรัฐอเมริกาเชิญชวนประเทศพันธมิตรยกเลิกใช้อุปกรณ์จาก Huawei ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ

ส.ค.- พ.ย. 2018 -  จีนและสหรัฐอเมริกาจัดการเจรจาด้านการค้าอย่างต่อเนื่องแต่ยังคงไม่ข้อสรุปและมีการหยุดชั่วคราว

1 ธ.ค. 2018 - ทางการแคนาดาได้เข้าจับกุม Meng Wanzhou ตามสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนของทางสหรัฐฯ ซึ่งแน่นอนว่าข่าวนี้สร้างความไม่พอใจเป็นอย่างมากให้กับทางรัฐบาลจีนเนื่องจากในช่วงเดียวกันนั้นเอง รัฐบาลจีนได้ร่วมทำข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกาในการสงบศึกทางการค้าในการประชุมสุดยอด G-20 ที่ประเทศอาร์เจนตินา

ต่อมาศาลสูงแห่งรัฐ British Columbia ของแคนาดามีกำหนดพิจารณาคำร้องขอประกันตัวเพื่อปล่อยตัว Meng Wanzhou ในวันที่ 10 ธ.ค. 2018

6 ธ.ค. 2018 -  นายกรัฐมนตรีแคนาดากล่าวว่า เขาไม่ทราบเรื่องนี้มาก่อนและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเข้าจับกุม Meng Wanzhou โดยระบุว่าตนเพิ่งได้รับทราบแผนการจับกุมจากสหรัฐอเมริกามาเพียงไม่กี่วัน และในวันเดียวกันนั้นเองรัฐบาลสหรัฐฯ ออสแตรเลีย และนิวซีแลนด์ได้มีการพิจารณาการใช้งานอุปกรณ์ที่มาจากทาง Huawei

10 ธ.ค. 2018 -  จีนเผยว่าเหตุการณ์เข้าจับกลุ่ม Meng Wanzhou  CFO และรองประธาน ลูกสาวของผู้ก่อตั้งบริษัท Huawei ในแคนาดาอาจนำไปสู่ผลอันร้ายแรงต่อแคนาดาพร้อมความรับผิดชอบอันใหญ่หลวง และเรียกร้องให้แคนาดาไม่ส่งตัว Meng Wanzhou สู่สหรัฐอเมริกา

ล่าสุดศาลสูงแห่งรัฐ British Columbia ของแคนาดาประกาศเลื่อนการพิจารณาคำร้องออกไปเป็นวันอังคารที่ 11 ธ.ค. 2018

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้อาจนำไปสู่ปมปัญหาขัดแย้งทางการค้าของทั้ง 2 ประเทศนี้ เนื่องจาก Huawei ถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ขับเคลื่อนเทคโนโลยีจีนและยังครองตลาดในหลากหลายประเทศทั่วโลก และสหรัฐฯ เองก็มีหลากหลายสินค้านำเข้าและส่งออกกับประเทศจีนเช่นกัน มาติดตามกันต่อไปว่าสถานการณ์อันร้อนแรงอยู่ในตอนนี้จะมีการคลี่คลายลงหรือจะยิ่งปะทุจนเป็นข้อพิพาทครั้งใหญ่

ภาพ cover จาก Reuters

อ้างอิงข้อมูลจาก Reuters[1], Reuters[2] , Reuters[3]The Guardian , BBC[1], BBC[2], Thansettakij

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...