ปี 2025 กำลังจะมาถึงพร้อมกับคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี บทความนี้สรุปและอธิบายเทรนด์สำคัญจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่านผ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ Techsauce เพื่อให้เห็นภาพรวมและความเชื่อมโยงของเทคโนโลยีที่จะกำหนดทิศทางอนาคต
คุณเรืองโรจน์ มองว่าปี 2025 จะเป็นปีแห่ง Agentic AI ซึ่งเป็น AI ที่ไม่เพียงแต่ประมวลผลข้อมูลมหาศาลได้ แต่ยังสามารถตัดสินใจเอง และมีปฏิสัมพันธ์กับทั้งมนุษย์และ AI ด้วยกันเองได้อย่างอิสระ การเปลี่ยนผ่านนี้จะส่งผลกระทบต่อรูปแบบธุรกรรมต่างๆ อย่างมหาศาล
ตัวอย่างเช่น AI Agent อาจทำหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อขายสินค้า หรือเจรจาสัญญาแทนเราได้ สามารถวางแผนและดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายได้ เหมือนมีผู้ช่วยที่เป็น AI ที่ทำงานได้จริง สามารถเข้าใจบริบท, วิเคราะห์สถานการณ์, ปรับตัวตามสภาพแวดล้อม, และโต้ตอบกับทั้งมนุษย์และ AI อื่นๆ ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม การมอบอำนาจการตัดสินใจให้กับ AI ย่อมนำมาซึ่งความท้าทายด้าน จริยธรรม (AI Ethical) และความโปร่งใส (Mechanistic Interpretability) เราจำเป็นต้องเข้าใจกระบวนการคิดและการตัดสินใจของ AI เพื่อให้มั่นใจว่า AI จะทำหน้าที่อย่างถูกต้องและเป็นธรรม รวมถึงการวางกรอบกฎหมายและข้อบังคับเพื่อควบคุมการใช้งาน AI อย่างรับผิดชอบ
นอกจากนี้ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญ AI จะถูกนำมาใช้ทั้งในแง่รุกและรับ ทั้งเพื่อโจมตีและป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนมากขึ้น ส่วน Spartial Computing จะเป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เชื่อมโยงโลกจริงและโลกดิจิทัลเข้าด้วยกันอย่างแนบเนียน สร้างประสบการณ์เสมือนจริงที่สมบูรณ์แบบ
ขณะที่ Next-Generation Data Center จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่รองรับการประมวลผลข้อมูลมหาศาล และ AI Reasoning จะยกระดับความสามารถของ AI ในการให้เหตุผลและอธิบายสิ่งต่างๆ ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้น
คุณเรืองโรจน์ยังคาดการณ์ว่าฟองสบู่ AI อาจแตกในปีหน้า แต่จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก่อนที่ AI จะพัฒนาไปอีกขั้น โดยมีเทรนด์สำคัญอื่นๆ ที่น่าจับตามอง ได้แก่
ทางฝั่งคุณอรนุช ในฐานะผู้ประกอบการ และได้เห็นเทรนด์เทคโนโลยีสำคัญผ่านงานต่างๆ ทั่วโลก ได้เน้นย้ำ 3 เทรนด์หลักที่ธุรกิจไทยควรให้ความสำคัญ ได้แก่
1. การนำ AI มาใช้เพื่อสร้าง Product Innovation และ Process Improvement เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ลดต้นทุน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจทุกขนาด
2. Climate Tech เทคโนโลยีเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย
3. Health Tech เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพที่ครอบคลุมตั้งแต่การป้องกัน การรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ โดยเน้นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตลอดช่วงชีวิต โดยเทคโนโลยีสุขภาพจะเข้าไปอยู่ในทุกช่วงวงจรชีวิต ตั้งแต่การป้องกัน รักษา และฟื้นฟู โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน และเทรนด์ผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องได้รับการพัฒนาและนำไปใช้อย่างแพร่หลาย
อีกหนึ่งเทรนด์ที่น่าจับตามองคือ การใช้ AI ในภาคบริการและการท่องเที่ยว คุณอรนุช กล่าวถึงการนำ AI มาใช้ในภาคบริการ เช่น โรงแรมและการท่องเที่ยว เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า แม้ AI จะไม่สามารถทดแทน Human Touch ได้ทั้งหมด แต่งานหลังบ้านและงานบริหารจัดการต่างๆ สามารถนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้
รวมทั้งยังกล่าวถึงการทำ Digital Transformation ในกระบวนการทำงาน โดยคุณอรนุช แนะนำให้ธุรกิจไทยนำดิจิทัลเทคโนโลยีและ AI มาใช้ในการปรับปรุง Process ในองค์กร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดความผิดพลาดจาก Human Error โดยมองว่าเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้ธุรกิจบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้
ทางฝั่งคุณการดี ในฐานะนักอนาคตศาสตร์ ได้นำเสนอมุมมอง 5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะพลิกโฉมโลกในปี 2025 ได้แก่
1. Ambient AI หรือ AI ที่จะผสานรวมเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา เช่น Wearable Device ที่ช่วยดูแลสุขภาพ
2. Humanoid หุ่นยนต์ที่เหมือนมนุษย์ ซึ่งจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น
3. Extended Reality (XR) ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ Metaverse หรือ AR/VR แต่จะสร้างประสบการณ์เสมือนจริงที่หลากหลายและสมจริงยิ่งขึ้น
4. Neurotechnology เทคโนโลยีที่ช่วยให้เราเข้าใจการทำงานของสมองมากขึ้น ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในหลายด้าน ตั้งแต่การตลาด การรักษาโรค ไปจนถึงการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์
5. Quantum Computing เทคโนโลยีที่จะปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ ด้วยความเร็วในการประมวลผลที่เหนือชั้น คุณการดีเน้นย้ำว่าประเทศไทยควรเตรียมความพร้อมรับมือกับ Quantum Revolution ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน และการพัฒนาทักษะบุคลากร รวมถึงการส่งเสริม Lifelong Learning เพราะทักษะในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งสำคัญคือการทำความเข้าใจอนาคต ปรับตัวให้ทัน และมองหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า
คุณการดีเน้นย้ำว่า ประเทศไทยต้องเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วยการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน และการพัฒนาทักษะบุคลากรให้พร้อมสำหรับยุค Lifelong Learning รวมถึงการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแบบ Decentralization เพื่อให้สามารถปรับตัวและคว้าโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด