เจาะลึกทุกประเด็นใน MIT Media Lab Southeast Asia Forum 2022 งานสัมมนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับภูมิภาค | Techsauce

เจาะลึกทุกประเด็นใน MIT Media Lab Southeast Asia Forum 2022 งานสัมมนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับภูมิภาค

เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2022 ที่ผ่านมา MIT Media Lab หน่วยงานด้านวิจัยชั้นนำของโลก ร่วมกับ KBTG องค์กรเทคโนโลยีในเครือธนาคารกสิกรไทย และธนาคารกรุงเทพจัดงาน  MIT Media Lab Southeast Asia Forum 2022 งานสัมมนาด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับภูมิภาค โดยได้รับการสนับสนุนจากทรู คอร์ปอเรชั่น,  MIT Alumni Association และ MQDC ภายใต้ธีม ‘Beyond the Elephant in the Room’ หรือ ‘ช้างในห้อง’

ช้างในห้องตัวนี้เปรียบเหมือนความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ แต่กลับมักถูกมองข้าม เป็นช้างแห่งยุคสมัยที่ได้ฉายภาพเทคโนโลยีแห่งอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Extended Intelligence (AI), Hybrid Realities (Xverse), Augmented Creativity, Cyborg Health ,Smart Materials, Digital Currency, Space Exploration, และ Sustainability นำเสนอโดย Speakers ชั้นนำจาก MIT ที่ล้วนแล้วแต่เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลก

ในบทความนี้ Techsauce สรุปประเด็นที่น่าสนใจในแต่ละเซสชั่นมาให้ผู้อ่านทุกท่านได้ติดตาม และวิ่งไล่ตามเทรนด์เทคโนโลยีแห่งอนาคตไปด้วยกันกับเรา

Day 1: Unlocking Possibilities

สำหรับงานวันแรก ซึ่งจัดขึ้น ณ True Digital Park West Building ชั้น 3 เป็นการพูดคุยเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่สร้างและนำเสนอเพื่อให้มนุษยชาติได้ใช้ประโยชน์เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า เช่น 

X-Verse: Being Digital + Digital Beings 

โอกาสและความท้าทายในการสร้างความเป็นจริงแบบผสม (Hybrid Reality) ที่โลกดิจิทัลผสานเข้ากับ โลกทางกายภาพและชีวภาพ เซสชันนี้มุ่งเน้นไปที่วิธีที่เครื่องมือดิจิทัลสามารถปรับปรุงชีวิตของเราและเข้าใจโลกปัจจุบันได้ดีขึ้น

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจคือการใช้งาน Future Me และ TeleAbsence (การจดจำและเชื่อมโยงกันหลังความตาย) และ Sensor Portals ในสถานที่และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

X-Verse is not a place, but it’s an experience.

คุณ Pat Pataranutaporn, PhD Candidate, MIT Media Lab & KBTG Fellow นักศึกษาปริญญาเอกชาวไทยคนแรกในสาขา Fluid Interfaces ที่ MIT Media Lab กล่าวถึงประเด็นสำคัญที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะวิธีที่ AI สามารถปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ของมนุษย์ เชื่อมโยงมนุษย์กับอดีตและอนาคต และยกระดับศักยภาพของมนุษย์ได้ด้วยการใช้ Virtual Humans

Creativity Across Scales: Co-Creating Communities of Possibilities

เซสชั่นนี้พุ่งความสนใจไปที่ประเด็นความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ และวิธีที่เราใช้มันเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิตของเรา และยกระดับสังคมของเรา ด้วยแนวคิดหลักเกี่ยวกับชีววิทยาสังเคราะห์, Scratch, Octoplay และ Generative AI  ซึ่งได้ช่วยจุดประกายความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมในหมู่ผู้ชมอย่างแท้จริง

ยกตัวอย่างเช่น คนรุ่นใหม่ เราจะทำอย่างไรเพื่อให้การเรียนรู้ด้านสร้างสรรค์ของพวกเขาเริ่มเกิดขึ้นมาได้? ในเซสชั่นนี้ ศาสตราจารย์ Mitchel Resnick ศาสตราจารย์ด้านการวิจัยการเรียนรู้ของ LEGO Papert, MIT ได้ยกตัวอย่างแอปพลิเคชัน Scratch และ Octoplay นวัตกรรมที่ทำให้เด็ก ๆ สามารถคิด สร้าง และแบ่งปันจินตนาการของตนเองผ่านผลงานศิลปะเสมือนจริง เขาเชื่อในการเชื่อมโยงกันทั่วโลก ไม่ใช่แค่กับผู้สอนเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ปกครองและผู้กำหนดนโยบายด้วย

Cyborg Health: From Dream Engineering to Nano-Robotics

ด้วยความกังวลเรื่องสุขภาพที่เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัยโรค เซสชั่นนี้เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีด้านสุขภาพแห่งอนาคต ที่จะกำหนดนิยามใหม่ให้กับระบบการดูแลสุขภาพ ผ่านการอยู่ร่วมกันและการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร

นอกจากนั้นยังพุ่งเป้าไปที่ประเด็นการใช้เทคโนโลยีในโลกการแพทย์ปัจจุบัน เช่น Fascia ที่ปรับปรุงการนอนหลับให้ดีขึ้น ไปจนถึงอุปกรณ์ไฟฟ้านาโนที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคในระยะแรกและมาตรการป้องกันในการดูแลสุขภาพ ซึ่งเปลี่ยนมุมมองความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันอย่างแท้จริง

เรื่องสุขภาพในปัจจุบัน นอกจากทางกายแล้ว ยังครอบคลุมไปถึงด้านจิตด้วย เซสชั่นนี้มีการยกตัวอย่างการใช้ AI เพื่อวินิจฉัยโรคในระยะแรก สร้างมาตรการป้องกันโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาพของเรา ตั้งแต่อะไรที่เป็นพื้นฐาน เช่น รูปแบบการนอนหลับที่ดีขึ้น ไปจนถึงการค้นหายาสำหรับนักบินอวกาศ

ศาสตราจารย์ Deblina Sarkar ผู้เชี่ยวชาญด้าน Nano-Cybernetic Biotrek หนึ่งใน Speaker ของเซสชั่นนี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่สำหรับการอยู่ร่วมกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับเครื่องจักรเพื่อเปลี่ยนแปลงการดูแลสุขภาพ

ผลงานบางส่วนของเธอมุ่งเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับความเสื่อมของระบบประสาท เช่น พาร์กินสันและอัลไซเมอร์ ด้วยการใช้ Spatio-Temporally Precise Brain Stimulation แม้ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้ 100% แต่ก็สามารถทำให้อาการทุเลาลงได้ ในที่สุด ในแง่บวก สิ่งประดิษฐ์ของ Sarkar สามารถนำไปใช้กับทุกกลุ่มอายุที่แตกต่างกัน แม้กระทั่งเด็กทารก

Defying Gravity: From Space Exploration to Democratization

ในอดีตอวกาศเป็นเพียงฝันของมนุษย์ แต่ในเซสชั่นนี้เป็นการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะช่วยให้การสำรวจอวกาศเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น รวมถึงแนวคิดการสำรวจอวกาศและผลกระทบที่มีต่อโลกอันเป็นที่รักของเราและมนุษยชาติ

ศาสตราจารย์ Danielle Wood ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในคณะ Media Arts & Sciences ของ MIT Media Lab และผู้เชี่ยวชาญด้านระบบวิศวกรรมการบินและอวกาศ ได้กล่าวว่า 

 Space is for all of us. Let’s increase accessibility and make sure everything is safe for the next generation.

ด้วยความคิดดังกล่าว การประดิษฐ์ BioSuit ของศาสตราจารย์ Dava Newman และ Electronic Textile Conformable Suit ของ Irmandy Wicaksono นักศึกษาปริญญาเอกผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสื้อผ้าอิเล็กทรอนิกส์, Sensor เเละ Smart Fabrics จึงเข้ามามีส่วนร่วมในการทำให้การสำรวจอวกาศเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์ Dava Newman, Director, MIT Media Lab คิดว่า แทนที่จะมุ่งความสนใจไปที่การใช้ชีวิตในอวกาศ มนุษย์ควรสนใจสิ่งมีชีวิตบนโลกให้มากขึ้น

Day 2: Endless Possibilities 

หลังจากร่วมฟังความเป็นไปได้ที่จะปลดล็อกขีดจำกัดการพัฒนาของมนุษย์ด้วยเทคโนโลยีแล้ว เรามาไปต่อด้วยกันในวันที่สอง ซึ่งเป็นการแสดงวิสัยทัศน์และไอเดียด้านเทคโนโลยีที่ใกล้ตัวเรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเมืองอัจฉริยะ, สกุลเงินดิจิทัล, ปัญญาประดิษฐ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ก่อนการบรรยายจะเริ่ม มีการแสดง Dance Performance with Tapis Magique หรือ พรมทออิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถสร้างข้อมูลเซ็นเซอร์สามมิติ ตามท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายและแรงที่กดลงไปบนพรม และสามารถสร้างคลื่นเสียงออกมาได้  ดำเนินการแสดงโดย Pichet Klunchun Dance Company ซึ่งคุณ Irmandy Wicaksono ได้ร่วมสร้างสรรค์การแสดงนี้ด้วย

นอกจากนั้น เราได้รับเกียรติจาก ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร และศิษย์เก่าปริญญาโท คณะวิศวกรรมโยธา จาก MIT มากล่าวต้อนรับและร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในการดูแลเมืองด้วยเทคโนโลยี และการสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ประชาชนด้วยนวัตกรรมด้วย

ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กล่าวว่า การมุ่งเน้นและให้ความสำคัญไปที่เทคโนโลยีมากกว่าผู้คน ทำให้เมืองนี้ไม่สามารถพัฒนาได้อย่างเหมาะสม

You need to create trust among people to improve the development of the city.


จากนั้น ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ทิ้งข้อความไว้ให้ผู้ฟังคิดถึงแนวคิด‘People-centric’ หรือคิดถึงผู้ใช้งาน ประชาชน เป็นศูนย์กลาง ก่อนที่จะคิดถึง ‘City-centric’ หรือการพัฒนาเมืองเพียงอย่างเดียว

E-Topia: Sustaining Cities with Smart Technologies

ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์อัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ อาคารอัจฉริยะ หรือแม้แต่บ้านอัจฉริยะ ทุกสิ่งรอบตัวเราทุกวันนี้ดูฉลาดและพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด  ไฮไลท์ในเซสชั่นแรกของวันนี้ จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับเทคโนโลยีพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น การใช้ดาวเทียมในการจัดการทรัพยากรที่ดีขึ้น หรือ แอพพลิเคชันอัจฉริยะที่ช่วยติดตามภัยพิบัติ เป็นต้น

Dr. Luis Alonso, MIT Media Lab นักวิทยาศาสตร์การวิจัยในกลุ่ม City Science ได้จุดประกายความคิดว่า เราจะสามารถลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์แต่ละคนก่อได้อย่างไร ผ่านการออกแบบเมืองของเรา และเทคโนโลยีอัจฉริยะ เพื่อให้เหมาะกับความต้องการของแต่ละบุคคลมากขึ้น

Dr. Luis Alonso ได้เสนอแนวคิดของการมีพื้นที่ใช้สอยขนาดกะทัดรัดแต่สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพของการเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งนั่นไม่เพียงแต่เป็นเรื่องใหม่เท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ใช้สอยอย่างมากอีกด้วย ในการลดคาร์บอนไดออกไซด์ เราจำเป็นต้องใช้พลังงานให้น้อยที่สุด กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดินทางไปทำงานหรือรับประทานอาหารนอกบ้านควรได้รับการออกแบบอย่างละเอียดผ่านแผนภูมิทัศน์และการพัฒนาของเมือง

การใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะไม่ได้พบเฉพาะในการวางผังเมืองเท่านั้น แต่ยังพบได้ในกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ศาสตราจารย์ Danielle Wood เน้นย้ำถึงวิธีที่เราสามารถใช้ดาวเทียมเพื่อติดตามกิจกรรมการทำเหมืองทองเพื่อบรรเทาปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า เราจึงมั่นใจได้ว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะสามารถยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีได้

ท้ายที่สุด ศาสตราจารย์ Dava Newman ผู้ริเริ่ม 'Climate Pocket' ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถติดตามภัยพิบัติล่วงหน้า ได้สนับสนุนให้เราเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ที่ไม่ว่าสถานการณ์จะตื่นตระหนกเพียงใด เราสามารถเปลี่ยนแปลงมันได้

Interest of Values: Digital Currency, Web3 and Trustworthy Network

เซสชั่นนี้จะพาผู้อ่านไปสำรวจความเป็นไปได้และความท้าทายของ Decentralized Networks หรือการสร้างเครือข่ายแบบกระจายศูนย์ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานมีความเชื่อมั่นในการใช้งาน และสามารถสร้างคุณค่าจากมันได้

การใช้ AI เพื่อสร้างเครือข่ายแบบกระจายอำนาจนั้นเป็นกระบวนการที่ใช้เวลานานและซับซ้อน โดย Guy Zyskind, PhD Candidate และผู้ช่วยวิจัยที่ MIT Media Lab ในสาขา Human Dynamics ผู้สนใจศึกษาเรื่อง Data, Privacy และ Bitcoin เสนอว่า เพื่อให้แนวคิดนี้สำเร็จ มันจำเป็นต้องครอบคลุมปัญหาทั้งหลาย ซึ่งที่ MIT ได้ทำงานเรื่องนี้กันมากว่าทศวรรษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ความสามารถในการขยายเครือข่าย ความเป็นส่วนตัว ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน

ขณะที่ Ziv Epstein, PhD Candidate, MIT Media Lab นักศึกษาปริญญาเอกจาก MIT Media Lab  ได้เสนอไอเดีย ‘Prompting Accuracy’ ซึ่งเป็นวิธีการกระจายอำนาจเพื่อป้องกันข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ที่แพร่กระจายบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน และเพื่อให้เครือข่ายแบบกระจายอำนาจประสบความสำเร็จ การพัฒนา Web3 และ Prompting Accuracy จึงต้องดำเนินไปพร้อมกัน

ด้วยเป้าหมายที่จะขยายขนาดของเครือข่าย Web3/Decentralized จึงมีการใช้จ่ายหลายพันล้านดอลลาร์ในการวิจัยเพื่อให้แน่ใจว่าจะเกิดขึ้นจริง แม้จะใช้เวลานานแต่ผลลัพธ์ก็ค่อนข้างน่าพอใจ นั่นคือผู้ใช้งานสามารถติดตามการดำเนินงาน ข้อมูล และแม้แต่หลักฐานการทำธุรกรรม แนวคิดหลักก็คือคือการทำงานร่วมกัน ระหว่างมนุษย์และ AI

ดังที่ Dr. Luis Alonso, MIT Media Lab นักวิทยาศาสตร์การวิจัยในกลุ่ม City Science กล่าวว่า “หากปราศจากมนุษย์ที่ทำงานร่วมกัน AI และเทคโนโลยีอื่นๆ ก็จะไม่สามารถเป็นจริงได้”

Extended Mind: From Artificial Intelligence to Intelligence Amplification

AI ไม่ได้มาแทนที่เรา แต่จะใช้ชีวิตร่วมกับเรา เซสชั่นนี้เป็นการให้คำตอบว่า AI จะใช้ชีวิตร่วมกับมนุษย์อย่างไร และจะช่วยยกระดับความฉลาดของมนุษย์ได้อย่างไรบ้าง

ด้วยความสามารถและความต้องการที่เพิ่มขึ้นใน AI พวกเราส่วนใหญ่กลัวว่าแรงงานมนุษย์จะถูกแทนที่ด้วย AI โดยศาสตราจารย์ Pattie Maes ศาสตราจารย์ด้าน Media Arts & Sciences ของ MIT ผู้นำด้านการวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interaction) และปัญญาประดิษฐ์  ยืนยันว่าไม่ต้องกังวล เพราะแทนที่จะถูกแทนที่ มนุษย์จะได้รับการปรับปรุงและเติมเต็มศักยภาพด้วยการพึ่งพา AI ซึ่งแปลว่าเราต้องทำงานร่วมกัน

โดยตัวอย่างที่น่าสนใจคือ รายงานที่ชี้ว่ามนุษย์เชื่อคำแนะนำทางการแพทย์จาก AI มากกว่าที่จะเชื่อจากแพทย์ของพวกเขาเอง มันไม่ได้หมายความว่า AI จะเข้ามาแทนที่แพทย์ แต่หมายความว่าถึงเวลาแล้วที่แพทย์หรือวิชาชีพอื่นใดจะพัฒนาขีดความสามารถของตนเองขึ้นมา และในที่สุดเราทุกคนก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งรวมถึงการอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ด้วย

นอกจากนี้ Guy Zyskind  PhD Candidate, MIT Media Lab ยังกล่าวเสริมถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีนี้ว่า “ด้วย AI ที่ทำงานร่วมกันแบบกระจายศูนย์ เราได้ระบบที่ดีขึ้นซึ่งจะช่วยให้เราฝึกโมเดล AI รุ่นต่อไปที่จะขยายและเพิ่มความฉลาดของเรา”

Material Alchemist: Bits, Atoms, Magic

เซสชั่นสุดท้ายของวันที่ 2 นั้น  มุ่งเน้นไปที่ความก้าวหน้าทางวัสดุศาสตร์ (Material Sciences)  ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทอ ไบโอซีเมนต์ และอนุมูลอะตอม มาผสานรวมกัน

ศาสตราจารย์ Hiroshii Ishii  ผู้ก่อตั้ง “Tangible Media Group” และเป็นผู้บุกเบิกการผสมผสานระหว่างโลก ดิจิทัลเเละโลกทางกายภาพ ทำให้เกิดเเนวคิดเรื่อง Tangible Interfaces ได้นำเสนอผลงานชิ้นเอกของเขาซึ่งได้มาจากการใช้วัสดุอย่างเช่น Frozen Atoms, Tangible Pixels และ Radical Atoms

นอกจากนั้น ในเซสชั่นนี้ Irmandy Wicaksono, PhD Candidate, MIT Media Lab นักศึกษาปริญญาเอกผู้เชี่ยวชาญเรื่อง เสื้อผ้าอิเล็กทรอนิกส์, Sensor เเละ Smart Fabrics ได้นำเสนอ 'Tapis Magique' หรือ พรมทออิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถสร้างข้อมูลเซ็นเซอร์สามมิติ ตามท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกาย และแรงที่กดลงไปบนพรม และสามารถสร้างคลื่นเสียงออกมาได้

และท้ายที่สุด Dr. David Kong, Director, Community Biotech Initiative  นักชีววิทยาสังเคราะห์และผู้อำนวยการ The Community Biotechnology Initiative (CBI) ได้สรุปเซสชั่นนี้โดยนำเสนอผลงานการใช้แบคทีเรียในการผลิตซีเมนต์ และเน้นถึงความสำคัญของความสัมพันธ์ของเรากับธรรมชาติอีกด้วย เพราะในขณะที่เรากำลังก้าวไปสู่โลกแห่งเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น เรามักจะสูญเสียความรู้สึกของธรรมชาติไปพร้อมกัน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...

Responsive image

สำรวจ orbix เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียนและจักรวาล Digital Asset ของ Unita Capital

ทำความรู้จักแพลตฟอร์ม orbix กระดานเทรดนี้ต่างจากที่อื่นตรงไหน หัวใจสำคัญของการเปิด ‘เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียน (The Capital of Kryptonian)’ คืออะไร รวมไว้ในบทความนี้แล้ว...

Responsive image

นับถอยหลัง Bitcoin Halving Month พร้อมแนวคิดการลงทุนของคนรุ่นใหม่ ในงาน Bitkub Meetup 2024: The Halving Month

กลับมาอีกครั้งกับงาน Bitkub Meetup 2024 ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ: The Halving Month ร่วมนับถอยหลังสู่เดือนแห่ง Bitcoin Halving บทความนี้จะพาไปเจาะลึกถึงประวัติศาสตร์ของ Cryptocurrency แ...