Startup และองค์กรขนาดใหญ่จะร่วมงานกันอย่างไรให้เกิดความสำเร็จ สรุปเนื้อหาจากงาน MIT Startup Ecosystem Conference 2018 ณ กรุงบอสตัน

Startup และองค์กรขนาดใหญ่จะร่วมงานกันอย่างไรให้เกิดความสำเร็จ สรุปเนื้อหาจากงาน MIT Startup Ecosystem Conference 2018 ณ กรุงบอสตัน

จากความร่วมมือระหว่าง AIS และแมสซาชูเส็ทส์ (Massachusetts Institute of Technology: MIT) ในการเข้าเป็นสมาชิกโปรแกรม MIT Industrial Liaison Program โดย MIT เป็นสถาบันการศึกษาระดับโลก ที่มีศูนย์วิจัยทางด้านเทคโนโลยีรวมไปถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่ง Techsauce ได้นำเสนอเรื่องราวของ Startup ไทยในโครงการ AIS The StartUp กับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากงาน MIT กันไปแล้ว นอกเหนือจากนั้น Techsauce ยังได้ร่วมเข้าฟังหลาย Session ในงานดังกล่าว ซึ่งได้สรุปเนื้อหาที่น่าสนใจมาในบทความนี้

หนึ่งใน Panel Discussion ที่ได้รับความสนใจไม่น้อย จาก Startup  และ Corporate ภายในงาน 2018 MIT  Startup  Ecosystem Conference คือ หัวข้อ “Corporate-Startup Partnerships”  ‘Startup  และองค์กรขนาดใหญ่จะร่วมงานกันอย่างไรให้เกิดความสำเร็จ’ โดยมี Marcus Dahllöf ผู้เป็น Program Director ของ MIT  Startup  Exchange พร้อมด้วย Panelist จากองค์กรขนาดใหญ่และผู้ก่อตั้ง Startup   อย่าง

  • Keith Hearon, Co-founder และ CEO จาก Poly6
  • John Kelly, Director, Empower Innovation, BAE Systems
  • Erik Mirandette, Head of Customer Success บริษัท Tulip
  • Konomi Scott, Director of Business Development, Corporate Engineering and R&D บริษัท Magna International

Keith CEO บริษัท Poly6  Startup  ด้านเทคโนโลยีสำหรับการออกแบบทางวิศวกรรม ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของผู้นำบริษัทในการเข้าถึงองค์กรขนาดใหญ่ ว่าการพบเจอและพูดคุยกันครั้งแรกนั้นสำคัญมาก  Startup  ควรจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าจะสามารถช่วยอะไรหรือเป็นประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไรได้บ้าง

เนื่องจาก Startup  ที่คลุกคลีอยู่กับองค์กรใหญ่ๆ มักจะเข้าใจปัญหาของลูกค้าเป็นอย่างดี บริษัทของเขาจึงมุ่งเน้นที่จะเป็นทำความเข้าใจตัวปัญหาและทำการวิจัยเพื่อหาต้นตอที่แท้จริงของปัญหาที่เกิดขึ้น และหาทางสร้างทางแก้ไขที่เหมาะสมขึ้นมาตอบโจทย์

คุณ Konomi บริษัท Magna International ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ได้พูดถึงมุมมองขององค์กรขนาดใหญ่ว่า สิ่งที่องค์กรมองหาคือ  Startup  ที่มีศักยภาพในการขยายและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการบริการไปได้ไกล รวมถึงสามารถนำ Solutions ที่มีไปใช้กับตลาดอื่นๆ ทั่วโลกได้

บทบาทของ startup ต่อการพัฒนานวัตกรรมองค์กร

John จากบริษัท BAE Systems ให้ความเห็นว่าองค์กรส่วนใหญ่ต่างมองหานวัตกรรมที่จะช่วยแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและยากที่สุดได้

ข้อดีของการร่วมงานกับ Startup  คือ การได้รับทราบถึงปัญหาของบริษัทผ่านการวิเคราะห์จากมุมมองของบุคคลภายนอก  พวกเขายังมีความสามารถและความคล่องตัวในการทำงานให้ถูกต้องรวดเร็ว ซึ่งทำให้องค์กรยินดีที่จะแชร์ทรัพยากรที่มีเพื่อแลกกับสิ่งเหล่านี้

ข้อเสียของการทำงานกับ Startup   คือเมื่อ Startup  มีประสบการณ์ทำงานค่อนข้างน้อย ผู้ก่อตั้งส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยชำนาญหรือเข้าใจเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้บางครั้งเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาจึงพยายามจะปกปิดไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างอันตราย เพราะความเชื่อใจและความซื่อสัตย์คือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำงานร่วมกัน

องค์กรใหญ่ควรต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับกับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพื่อคงความสัมพันธ์อันดีกับบริษัท Startup  ที่ทำงานด้วย บางครั้งบริษัท Startup  ต่างเริ่มต้นขึ้นด้วยความเชื่อที่ว่าพวกเขาจะมาเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ ทำให้บริษัทถูกขับเคลื่อนด้วยพลังงานอันเต็มเปี่ยมและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่บริษัทโตเร็วเกินไปมักมีปัญหาเรื่องทีมที่ใหญ่ขึ้นตามมาเสมอ หัวหน้าจะต้องพบกับความรับผิดชอบที่มากขึ้น มีปัญหาที่ต้องแก้ไขมากขึ้น และขั้นตอนต่างๆ ก็ซับซ้อน ยาวนานขึ้น ส่งผลให้ความสำเร็จที่เคยทำได้ลดน้อยลงไปด้วย จุดนี้แหละคือจุดที่ทำให้ Startup  หลาย ๆ เจ้ามาเจอทางตัน บางครั้งอาจเกิดความรู้สึกขวัญเสีย เมื่อการดำเนินการต่างๆ ถูกชะลอให้ช้าลงกว่าที่เคย ดังนั้นสิ่งที่จะเป็นบรรทัดฐานเพื่อดูว่า Startup  ไหนจะสามารถช่วยองค์กรใหญ่ได้จริงๆ ก็คือความสามารถที่จะเอาชนะปัญหาและความล้มเหลวในจุดนี้ได้

John  ยังกล่าวอีกด้วยว่า ควรต้องมีคนประสานงานเพื่อให้ Startup  เข้าใจปัญหาที่แท้จริงขององค์กร และเพื่อที่จะได้รู้ว่าตัวเองกำลังดีลอยู่กับอะไร

“องค์กรควรจะต้องพึงระวังว่า แม้แต่ Startup  ที่ดูเก่งที่สุดก็ไม่สามารถเสกทุกสิ่งที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที”

ทีมคือส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด

ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือ Startup   ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุด คือ บุคลากรในบริษัท John และ Konomi กล่าวว่าบางครั้ง Startup  มักจะมีเทคโนโลยีที่ล้ำมากๆ แต่กลับน่าเสียดายที่ไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ เนื่องจากคนในทีมไม่สามารถรับคำติชมได้เลย

คำแนะนำต่อ startup ที่อยากร่วมงานกับองค์กรใหญ่

Keith แนะนำว่า  Startup  ควรโฟกัสไปที่ปัญหาที่จะต้องแก้ และดูว่ามีอะไรบ้างที่เราจะสามารถสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น เขาใช้เวลาทดลองเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นขึ้นมาใหม่ และสามารถโยนมันทิ้งไปทันทีเมื่อดูแล้วมันไม่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงได้ ซึ่งเขากล่าวว่าการกล้าตัดสินใจเช่นนี้คือสิ่งที่สำคัญมากสำหรับบริษัทเกิดใหม่ทั้งหลาย

Startup ในช่วงวัยที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบอย่างไรกับการทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ

Konomi ให้ความเห็นว่า มันขึ้นอยู่กับระบบภายในของ Startup  และขนาดขององค์กร

เนื่องจากขนาดใหญ่ของบริษัทในแต่ละแผนกจึงมีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการทำอะไรตามที่พวกเขาต้องการ เขามักจะพูดคุยกับแผนก R&D ของ Startup   เกี่ยวกับแผนงาน 15 ปีขององค์กร เพื่อวัดว่าการ startup  จะมีศักยภาพในการคิดค้นและเติบโตในอนาคตหรือไม่

และด้วยความช่วยเหลือด้านทรัพยากรจากองค์กรใหญ่ ทำให้ Startup  สามารถวิเคราะห์ความท้าทายในอนาคต และวางแผนป้องกันตั้งแต่แรกเริ่มได้

องค์กรใหญ่มักทำอย่างไร เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น?

John : บริษัทขนาดใหญ่มักเรียนรู้จากความผิดพลาดมากกว่าความสำเร็จ พวกเขามักใช้เวลามากมายเพื่อวิเคราะห์สิ่งทิ่ผิดพลาดไป และคิดหาวิธีป้องกันในอนาคต

“มันมี Incubators / Accelerators เยอะแยะที่ผลิต Startup  ออกมาเพียบ แต่ไม่ค่อยมีสตาร์ทอัพที่มีคุณภาพจริงๆ เท่าไร”

เขาจึงพยายามทำงานให้ช้าลงเพื่อเพิ่มการโฟกัส และเพื่อให้แน่ใจว่าทุกสิ่งไม่มีอะไรผิดพลาด

“Poly6 เน้นย้ำเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการทำงาน แม้ว่าโปรเจคจะล้มเหลวหรือไม่เกิดขึ้น แต่ความสัมพันธ์อันดีจะยังต้องคงอยู่”  ซึ่งเขาเชื่อจากประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบริษัทใหญ่จะช่วยนำไปสู่ผลดีมากกว่าผลเสีย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...

Responsive image

เปิดดีล NVIDIA ปี 2024 ในอาเซียนไปร่วมมือใครมาบ้าง ?

NVIDIA ขยายอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2024 ด้วยการลงทุน AI Centers และการพัฒนาระบบ AI ร่วมกับพันธมิตรในอินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และไทย ขับเคลื่อนภูมิภาคสู่การเป็นศูนย์...