K PLUS ใหม่ ‘เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น’ พร้อมมี AI เป็นเบื้องหลังสำคัญ

K PLUS ใหม่ ‘เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น’ พร้อมมี AI เป็นเบื้องหลังสำคัญ

K PLUS แอป Mobile Banking จากธนาคารกสิกรไทย เป็นหนึ่งในแอปฯ ที่ครองใจผู้ใช้งานมาหลายปี ล่าสุด K PLUS พร้อมเปลี่ยนลุคใหม่ ภายใต้ Concept “เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น” โดยยังชูจุดแข็งนวัตกรรม KADE เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นระบบหลังบ้าน ที่ช่วยให้ K PLUS “รู้ใจ” ผู้ใช้งานเป็นรายบุคคลได้มากขึ้น

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2009 ธนาคารกสิกรไทยได้เปิดตัวแอปฯ ในชื่อ K-Mobile Banking PLUS ถือเป็นการปฏิวัติวงการธนาคารในสมัยนั้น ต่อมาในปี 2017 กสิกรไทยได้ปรับแบรนด์ดิ้งของโมบายแบงกิ้ง โดยเปลี่ยนชื่อและโลโก้ใหม่ ให้เรียกง่ายๆ จำง่ายๆ ว่า K PLUS ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมและปูทางให้แอปอื่นๆ ของธนาคารในตระกูล K ที่กำลังตามมา ไม่ว่าจะเป็น K PLUS SME และ K PLUS SHOP และในปีนี้ K PLUS ได้พลิกโฉมแบบ All-new โดยเปลี่ยนแอปใหม่แบบยกเครื่อง ตั้งแต่โลโก้ UX/UI และฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อผลักดันให้ K PLUS เป็น Lifestyle App ที่ลูกค้าใช้ในชีวิตประจำวัน

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

คุณพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แอป K PLUS ใหม่ ต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่ง คือ

  1. ไม่ใช่แค่เพียงแอปด้านธนาคารอย่างเดียว โดยมีการเพิ่มฟังก์ชันด้านไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้จริงมากขึ้น ได้แก่ K+ Market ที่สามารถซื้อของได้บนแอปและสามารถเลือกใช้พ้อยท์บัตรเครดิตจ่ายแทนเงินสดได้ หรือฟังก์ชันเพิ่มบัตรสมาชิกของพันธมิตรทางธุรกิจ ที่เสริมทัพเข้ามาในแอปฯ
  2. ง่ายและปลอดภัย คือ แก้โจทย์ที่เป็น Pain Point ของผู้ใช้ ได้แก่ การทำให้เมนูฟีเจอร์ต่างๆ หาได้ง่ายขึ้น ฟังก์ชันในการกดเงินโดยไม่ใช้บัตร การเปิดให้ใช้งานแอปผ่าน wifi ได้ทุกธุรกรรมตลอดเวลา โดยสามารถเปิดปิดได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  3. มี AI เป็น พื้นฐานสำคัญ นั่นก็คือ KADE หรือปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานหลังบ้าน เพื่อให้ K PLUS “รู้ใจ” ผู้ใช้งาน สามารถให้คำแนะนำการใช้งาน รวมถึงเสนอโปรโมชันและแจ้งเตือนการทำธุรกรรมต่างๆ ได้เป็นรายบุคคล

มีอะไรเปลี่ยน และอะไรใหม่บ้างใน K PLUS

    • เปลี่ยนโลโก้ K PLUS ใหม่ ให้มีความเป็นสากล ทันสมัย เข้ากับชีวิตยุคดิจิทัล
    • เปลี่ยนหน้าตา User Interface และจัดวางเมนูใหม่ ให้ใช้งานง่ายขึ้น

      • รวมปุ่มธุรกรรม (Banking) ไว้ในปุ่มเดียว ทั้งเมนูโอนเงิน เติมเงิน จ่ายบิล ถอนเงิน ขอ Statement สินเชื่อ ลงทุน และบริการอื่นๆ ซึ่งเมนูจะแสดงตามประเภทของบัญชี และบัตร (บัญชีออมทรัพย์ บัตรเครดิต บัญชีกองทุน), ใส่ PIN เพื่อเข้าสู่ปุ่มธุรกรรม (ตรงกลาง) ที่เป็นสัญลักษณ์ที่ลูกค้าคุ้นเคย

  • เปลี่ยนรูปแบบ e-Slip ใหม่ เพิ่ม QR Code เป็นลายน้ำ สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็น e-Slip ของจริง ทำได้โดย - ผู้รับโอนบันทึก e-Slip ไว้ใน Gallery - จากนั้นกดปุ่ม Scan ใน K PLUS - ตรวจสอบ โดยรายละเอียดการโอนตรงกันกับ e-Slip ที่ผู้โอนส่งมา

      • เพิ่มหน้าแรก K PLUS Today

    - แจ้งเตือนธุรกรรมการเงินที่สำคัญและที่ลูกค้าทำบ่อยๆ รวมถึงแนะนำโปรโมชัน ร้านค้าโปรด และโปรส่วนลดต่างๆ ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า - นอกเหนือนี้ K+ Today ยังแจ้งเตือนรายการอื่นๆ ที่สามารถทำผ่านทาง K PLUS เช่น Request to pay/ Pay PLUS/ การชำระค่าตั๋วหนัง และ รับส่วนลด BTS เป็นต้น

        • เพิ่มปุ่มสแกน

    - ใช้สแกนเพื่อจ่ายเงินด้วย QR Code - ใช้สแกนเพื่อตรวจสอบ e-Slip แบบใหม่ - ใช้สำหรับการถอนเงินไม่ใช้บัตร ผ่านตู้ K-ATM

          • เพิ่ม K PLUS Market

    - ช้อปออนไลน์กับสินค้าหรือบริการที่คัดสรรพิเศษในราคาพิเศษ - นำคะแนนสะสมบัตรเครดิตธนาคารกสิกรไทย มาแลกชำระเงินแทนเงินสดได้ โดยคะแนนสะสมบัตรเครดิต 1,000 คะแนน มีมูลค่า 100 บาท

          • เพิ่มฟังก์ชันถอนเงินไม่ใช้บัตร โดยมีขั้นตอนการใช้ดังนี้

    1. เลือก “ธุรกรรม” และเลือก “ถอนเงิน” ผ่านแอป K PLUS 2. เลือก จำนวนเงินที่ต้องการถอนผ่าน K PLUS 3. ไปที่ตู้ K-ATM เลือก “ถอนเงินไม่ใช้บัตร” 4. เลือก “K PLUS” บน K-ATM 5. ใช้ K PLUS สแกน QR Code ที่ตู้ K-ATM 6. กดปุ่มยืนยัน รับเงิน พร้อม Slip จากตู้ K-ATM ซึ่งฟังก์ชันนี้สามารถถอนเงินได้สูงสุด 50,000 บาท/วัน

            • เพิ่มบัตรสมาชิก (Add Member Card)

    เพิ่มบัตรสมาชิกที่ใช้เป็นประจำ ไม่ต้องพกบัตร ไม่ต้องบอกเบอร์ โดยปัจจุบันมี 2 รูปแบบ คือ - เพิ่มบัตรสมาชิก และสะสมคะแนนได้ทันที เช่น บัตร PTT Blue Card - เพิ่มบัตรสมาชิกใช้แทนบัตรพลาสติก เช่น บัตร The 1 Card

  • สามารถตั้งโอนล่วงหน้า ตั้งรายการโอนที่ทำเป็นประจำ กำหนดวันตั้งโอนเงินล่วงหน้านานสูงสุด 1 ปี ได้ 3 รูปแบบ สามารถตั้งค่าเป็นรายครั้ง รายสัปดาห์ หรือรายเดือน
  • สามารถใช้งานผ่าน wi-fi ได้ทุกฟังก์ชัน ทุกเวลา

    แล้ว KADE ทำงานอยู่ตรงไหน?

    คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)

    คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่พลิกโฉมแอป Mobile Banking ทั่วไปก็คือ AI ที่ชื่อว่า KADE ของ K PLUS ซึ่งจะเรียนรู้ และรู้จักผู้ใช้งาน ทั้งรู้จักหน้าผู้ใช้ รู้ข้อมูล รู้จักเสียง และเมื่อ KADE เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้มากขึ้นเรื่อยๆ KADE จะสามารถนำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายคนได้ เช่น

    • K PLUS Today ที่สามารถแจ้งเตือนธุรกรรมการเงินที่สำคัญที่ลูกค้าใช้เป็นประจำ และแนะนำผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชั่นที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
    • เทคโนโลยี Machine Lending ที่อยู่ใน K PLUS ทำให้ธนาคารนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอสินเชื่อส่วนบุคคล (K-Personal Loan) และสินเชื่อธุรกิจ ที่เหมาะสมกับความสามาร
    • ในการกู้และตรงกับความต้องการของลูกค้าผ่านแอปฯ K PLUS ในอนาคต K PLUS จะสามารถแนะนำการใช้จ่ายและการลงทุนที่จะเพิ่มศักยภาพทางการเงินและโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้า

    นอกจากนี้ K PLUS ยังมีโครงสร้างเทคโนโลยี Open Platform พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับช่องทางบริการและพันธมิตรในธุรกิจต่างๆ สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ต่อเนื่องและต่อยอดไปจนถึงการนำเสนอบริการใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการเสนอสินค้าและบริการที่เชื่อมต่อกับ K PLUS SHOP โดยการดึงสินค้าละบริการจาก K PLUS SHOP มานำเสนอให้กับผู้ใช้อีกด้วย

    ก้าวต่อไปของ AI บน KPLUS ในอนาคต

    การพลิกโฉม K PLUS ใหม่นี้ เป็นเพียงก้าวแรกของการปฏิวัติแอป Mobile Banking โดยในเร็วๆ นี้ ธนาคารจะมี 3 บริการล้ำๆ ที่ตั้งใจผลักดันต่อ ได้แก่

    1. Verbal Adviser ผู้ช่วยส่วนตัวที่สามารถคุย ช่วยเหลือเราได้ 2. การสแกนใบหน้าในการซื้อสินค้ากับร้าน K PLUS SHOP สามารถจ่ายเงินได้ด้วยใบหน้าของเรา 3. การสั่งงานด้วยเสียงในการโอนเงิน เช่นการจ่ายค่าทางด่วน เป็นต้น

    ทั้งหมดนี้ กสิกรไทยได้วางกลยุทธ์และเป้าหมายสำคัญคือการผลักดันการใช้งานฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ของ K PLUS เพิ่มเป็น 5-10% ภายใน 1 ปี และเพิ่มจำนวนลูกค้าของธนาคารเป็น 20 ล้านบัญชีภายใน 3 ปี

    “เป้าหมายการพัฒนา K PLUS คือ ทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ ‘รู้จักจนรู้ใจ’ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกคนมากที่สุด ศักยภาพของ K PLUS ในอนาคต จะทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้ เกิดธุรกรรมการเงินข้ามประเทศ ทำให้เราตั้งเป้าหมายว่า จะมีผู้ใช้ K PLUS ถึง 100 ล้านคนทั่วโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมกันและมีชีวิตที่ดีขึ้น” คุณสมคิดกล่าวปิดท้าย

    อ่านละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ Kasikornbank.com

    บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...