บทความโดย : คุณอุกฤษฏ์ ตุลยนิติกุล Business Development Manager บริษัท โทเคน เอกซ์ จำกัด
หากลองคิดดู NFT ได้เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในช่วง 2 ปีหลังที่ผ่านมา โดยได้อานิสงส์มาจากการเสนอราคาการประมูลผลงานของศิลปิน Beeple ที่เป็นศิลปินชื่อดังด้าน “ดิจิทัลอาร์ท” ในผลงานที่ชื่อว่า Everydays: The First 5000 Days โดยที่ผลงานดังกล่าวสามารถปิดราคาขายจากการประมูลไปได้กว่า 69.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวกว่า 2,300 ล้านบาท ซึ่งได้สร้างปรากฎการณ์สะเทือนวงการศิลปะ และวงการ NFT เป็นอย่างมาก เพราะราคาดังกล่าวถือว่าเป็นราคาที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และยังทำให้คนนอกวงการ NFT หันมาสนใจใน NFT มากขึ้น แต่ก่อนที่จะลงลึกในรายละเอียดเรื่องรูปแบบของ NFT ที่มีการใช้งานในปัจจุบัน ขอเกริ่นก่อนว่า
NFT คืออะไร แล้วจะพาผู้อ่านไปพบกับลักษณะการใช้งานที่น่าสนใจเกี่ยวกับ NFT มากขึ้นในช่วงท้ายของบทความ
NFT คือ Non-Fungible Token ซึ่งแปลตามตัว คือ เป็นโทเคนที่ไม่สามารถทดแทนกันได้ “มีเพียงหนึ่งดียว” การมี NFT 2 อันที่หน้าตาของรูปภาพเหมือนกัน แต่ก็สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่แตกต่างกันได้ แม้ว่าจะเป็นรูปเดียวกัน ซึ่งต่างกันกับ Fungible Token หรือเหรียญ Cryptocurrency เช่น Bitcoin หรือ Ethereum ที่ทุกเหรียญมีลักษณะเดียวกัน สามารถทดแทนกันได้
และด้วยความที่สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาที่แตกต่างกันได้ ทำให้ NFT เหมาะกับการใช้งานกับผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ มีจำกัด และต้องการตรวจสอบแหล่งที่มา ด้วยลักษณะดังกล่าวผู้อ่านอาจยังไม่เห็นภาพว่า NFT สามารถนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ประเภทใดได้บ้าง วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่า NFT สามารถนำไปใช้ในงาน หรือผลิตภัณฑ์แบบไหน แม้ว่าตัวอย่างที่ผู้เขียนยกมา อาจไม่ใช่ทั้งหมดที่ NFT สามารถทำได้ แต่อยากให้ผู้อ่านนำตัวอย่างดังกล่าวไปต่อยอดเพื่อสร้างไอเดีย หรือประยุกต์ใช้กับธุรกิจตนเองเพื่อเป็นก้าวแรกสู่โลกดิจิทัลได้มากขึ้น โดยตัวอย่างเป็นอะไรบ้างนั้น เรามาดูกัน
ผู้เขียนขอแบ่งลักษณะการใช้งานของ NFT กว้างๆ ออกเป็น 3 จุดประสงค์ด้วยกัน คือ NFT เพื่อการสะสม / NFT เพื่อการใช้งาน / NFT เพื่อการสะสมและใช้งาน (โดยการจัดจุดประสงค์นี้เป็นการจัดโดยใช้ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนเอง)
เกิดมาสำหรับการสะสมโดยเฉพาะ ซึ่งมาจากคุณลักษณะที่เฉพาะ มีจำกัด และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของ NFT ได้ โดยจะพบ NFT ลักษณะนี้ได้กับงาน ศิลปะ การ์ดที่เก็บโมเมนท์ต่างๆ ในรูปแบบวีดีโอขนาดสั้น เช่น การแข่งขันบาสเก็ตบอล หรือมวย เป็นต้น โดยวันนี้เราขอหยิบตัวอย่างของ NFT เพื่อการสะสม มาให้ดู 3 ตัวอย่างด้วยกัน
เป็น NFT ที่ใส่การใช้งานหรือสิทธิ์ต่างๆ เพิ่มลงไปในตัว NFT ทำให้ผู้ถือสามารถใช้งานได้จริง โดยเป็นได้มากกว่าเพียงของสะสม เช่น NFT ที่เปิดโอกาสให้คนที่ถือ สามารถมีปฎิสัมพันธ์กับ Community ได้ โดยผู้ถือทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกับทิศทางและการตัดสินใจเกี่ยวกับอนาคตของโปรเจค เช่น ผู้ถือ NFT ของโครงการมีสิทธิ์ในการโหวตลักษณะของโปรเจคถัดไปที่โครงการจะทำ โดยสิทธิ์ดังกล่าวจะจำกัดให้สามารถมีได้เฉพาะสำหรับที่ผู้ถือ NFT เท่านั้น เป็นต้น
เมื่อ NFT มีการพัฒนาไปเรื่อยๆ ทำให้หลายแบรนด์ นักสะสม และนักพัฒนา NFT จำนวนมาก เริ่มหันมาเพิ่มลักษณะการใช้งาน ผสานกับรูป NFT ที่สวยงามน่าสะสม ทำให้คนที่ซื้อ NFT สามารถทำได้ทั้งการเก็บสะสม การเก็งกำไร หรือการมีส่วนร่วมกับการใช้งานที่หลากหลายของ NFT Project นั้นมากขึ้น โดยผู้เขียนจะขอยกตัวอย่าง “NFT เพื่อการสะสม แล้วพัฒนาเพื่อการใช้งาน” ดังนี้
สังเกตว่าในช่วงเวลานี้โปรเจค NFT จะเริ่มมีแบรนด์ดังๆ ทยอยกันเข้ามาจับตลาดนี้กันอย่างครึกครื้น บางแบรนด์ก็ทำเพื่อทดสอบตลาด บางแบรนด์ก็มีแผน (Roadmap) ที่วางไว้อย่างยาวไกลในอนาคต บางโปรเจคที่มาจากดีไซน์เนอร์ที่วาด Art Collection ขึ้นมา ก็ตั้งเป็น Decentralized Autonomous Organization (DAO) ที่ให้ผู้ที่ลงทุนมีส่วนร่วมกับทิศทางและอนาคตของโปรเจคอย่างแท้จริง
โดยพัฒนาการของโปรเจค NFT ต่างๆ ดำเนินการกันอย่างรวดเร็วมาก และแต่ละโปรเจคก็มีอายุกันยังไม่ถึง 2 ปีเลยด้วยซ้ำ ซึ่งหากผู้อ่านเป็นผู้ลงทุน การศึกษาในตลาดดังกล่าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ การศึกษารูปแบบการใช้งานที่เกี่ยวข้อง การศึกษามูลค่าตลาดเทียบกับโปรเจคลักษณะใกล้เคียงว่าเป็นอย่างไร
และหากผู้อ่านเป็นแบรนด์ หรือเป็นศิลปินผู้ที่กำลังสนใจทำ NFT Collection หรือ NFT ที่เกี่ยวกับแบรนด์ อาจเริ่มจากการวิเคราะห์ก่อนว่า NFT สามารถพัฒนาปฎิสัมพันธ์ระหว่างลูกค้า และตัวศิลปะ/แบรนด์ ได้อย่างไร และมีรูปแบบการใช้งานอื่นนอกจากการสะสมหรือไม่? การใช้งานดังกล่าวจะเป็นเช่นไร? คอมมูนิตี้ที่ถือ NFT จะมีส่วนร่วมได้อย่างไรบ้าง? แล้วการมีส่วนร่วมดังกล่าวต้องการระบบซัพพอร์ทอย่างไร?
อย่างที่ผู้อ่านทราบดี เทคโนโลยีบล็อกเชน โลกสินทรัพย์ดิจิทัล และ NFT มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การอัพเดทข่าวสาร ศึกษาข้อมูลเป็นประจำ หรือมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำแนะนำจะสามารถช่วยให้คุณเข้าสู่ตลาดดิจิทัลและอยู่ในตลาดนี้ได้อย่างปลอดภัยและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดย Token X ในฐานะ ICO Portal ที่ให้บริการ Tokenization แบบครบวงจร ยินดีให้คำปรึกษาและพัฒนาโซลูชันให้กับองค์กรที่สนใจที่จะก้าวเข้าสู่โลกแห่งสินทรัพย์ดิจิทัล
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด