เจาะโลกอนาคตการเงินในยุค Cloud | Techsauce

เจาะโลกอนาคตการเงินในยุค Cloud

เจาะลึกความเปลี่ยนแปลงแห่งโลกการเงิน จากกระดาษสู่โลกการเงินในยุค Cloud กับบทบาทของเทคโนโลยีในโลกการเงินยุคใหม่และกรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงเทรนด์การเงินที่น่าสนใจจากต่างประเทศ  กับคุณธิดาพร สันติมานะวงศ์ Senior Director, ASEAN & SAGE Cloud Engineering, ออราเคิล

ในงาน Virtual Event FinTech Trends in the Era of the Cloud เจาะโลกอนาคตการเงินในยุค Cloud ด้วยความร่วมมือระหว่าง Oracle และ Techsauce 

ภาพรวมการเปลี่ยนแปลงโลกการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

คุณธิดาพรได้ยกตัวอย่างถึง ‘ตู้บุญเติม’ ว่าเป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของการเข้าถึงบริการด้านการเงิน (Financial Inclusion) โดย ‘ตู้บุญเติม’ เป็น FinTech และ TechFin รูปแบบหนึ่ง ที่นำเทคโนโลยีทางการเงินให้เข้าถึงผู้บริโภคมากที่สุดในแง่ของการใช้บริการ สามารถเข้าถึงกลุ่มคนและสามารถทำให้ชีวิตของพวกเขาดีขึ้น เพิ่มความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมได้

ส่วนสำหรับคำถามถึงความเปลี่ยนแปลงในโลกการเงินของภูมิภาคนี้ คุณธิดาพรกล่าวว่าการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ในภูมิภาคนี้ เติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมกับความท้าทายที่สูง แต่หลายๆ ธุรกิจก็มองเห็นโอกาสมากมายและศักยภาพในการแข่งขันในภูมิภาคนี้

ปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้บริโภคผนวกเอาเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะการทำงาน การใช้จ่าย การเสพสื่อบันเทิง เพราะฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่า พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปนั้น เป็นหนึ่งในปัจจัยที่มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล และมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าสามแสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในด้านของอัตราการเติบโตก็มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 3-5 ปี

และสำหรับโลกของการเงิน คุณธิดาพรกล่าวว่ามีผู้เล่นสำคัญเจ้าใหญ่อยู่ 4 เจ้า ได้แก่

  1. Financial Service Player เช่น ธนาคาร บริษัทประกันภัย 

  2. FinTech โดยผู้เล่นกลุ่มนี้ นอกจากจะเป็นผู้ให้บริการในการทำธุรกรรมทางการเงินแล้ว กลุ่มธุรกิจนี้ยังมีข้อมูลอยู่ในมือจำนวนมาก เช่น ผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน (Payment) หรือ InsurTech 

  3. Consumer Tech Platform เช่น ธุรกิจโซเชียลมีเดีย บริการเรียกรถออนไลน์ และกลุ่ม e-Commerce 

  4. Consumer Player  เช่น กลุ่มโทรคมนาคม ค้าปลีก 

ซึ่งต่อจากนี้เราคงได้เห็นความร่วมมือระหว่างผู้เล่นต่างๆ ในกลุ่มธุรกิจนี้มากขึ้น และจะสามารถสร้างผลประกอบการมหาศาล โดยความเคลื่อนไหวอาจเริ่มจากกลุ่มธนาคารก่อน โดยคุณธิดาพรมองว่าการร่วมมือกันของผู้เล่นเพียงสองเจ้า จะสามารถสร้างมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมได้อย่างมหาศาล

กรณีศึกษาที่น่าสนใจจากประเทศในภูมิภาค 

คุณธิดาพรกล่าวว่า สำหรับประเทศที่เป็นผู้นำด้าน FinTech ของโลกอาจจะต้องยกให้กับประเทศในอเมริกาเหนือหรือยุโรป แต่ถึงอย่างนั้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีตัวอย่างประเทศที่เป็นผู้นำทางด้าน FinTech หรือ TechFin เช่นกัน ซึ่งก็คือที่สิงคโปร์ 

โดยคุณธิดาพรได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่น่าสนใจ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงินในสิงคโปร์ โดยเฉพาะเรื่อง InsurTech ด้าน Payment และที่โดดเด่นอย่างมาก ก็คือการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสิงคโปร์นับเป็นจุดศูนย์กลางสำคัญของภูมิภาคนี้

ข้อมูลจากธนาคารโลกระบุว่า สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐสูง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการลงทุน การสนับสนุนสตาร์ทอัพ และปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับเหล่าผู้พัฒนา อย่างความเอื้ออำนวยทางด้านภาษี ทั้งหมดนี้ทำให้ประเทศสิงคโปร์มี FInTech ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดมาจากโปรแกรม FinTech Accelerator มากกว่า 20 ราย แม้สภาวะการแข่งขันภายในประเทศจะสูงมากก็ตาม

ส่วนในประเด็นเรื่องของการทำ Digital Banking นั้น คุณธิดาพรกล่าวว่า ธนาคารใหญ่ๆ ในประเทศสิงคโปร์มีการทำ Digital Banking มามากกว่า 5 ปีแล้ว และล่าสุดเมื่อปีที่แล้วมี Digibank ที่ได้รับการอนุญาตให้ดำเนินธุรกรรมทางด้านการเงินถึง 4 ราย โดยรายที่น่าสนใจมากที่สุดคือการจับมือระหว่าง Singtel ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของสิงคโปร์กับ Grab ซึ่งเป็น Consumer Tech Platform ทางคุณธิดาพรให้ความเห็นว่านี่เป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างธุรกิจที่น่าจับตามองมากที่สุดครั้งหนึ่ง เพราะเป็นการร่วมกันของสองบริษัทใหญ่ที่ต่างฝ่ายต่างก็มีทั้งข้อมูลและฐานลูกค้าอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก

เทคโนโลยี Cloud จะเข้ามาขับเคลื่อนโลกการเงินอย่างไร 

สำหรับคำถามนี้ คุณธิดาพรให้ความเห็นว่า โลกของการเงินในปัจจุบัน โดยเฉพาะในยุคสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ที่ทำให้ Digital Transformation เกิดเร็วขึ้น โลกของการเงินต้องตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และ FinTech จะเข้ามาตอบโจทย์ปัญหาที่กำลังเจอและช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย 

โดยคุณธิดาพรยกตัวอย่างกรณีของตู้บุญเติมอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นการนำเครื่องมือที่ใช้ทำธุรกรรมทางการเงินเข้าไปหาผู้บริโภค และทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย ทโดยการนำตู้ไปไว้ทั่วทุกมุมของถนนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งความแตกต่างในการเข้าถึงลูกค้าได้ทุกพื้นที่นี้เองที่เป็นความแตกต่างที่ทำให้ตู้บุญเติมประสบความสำเร็จ

ในแง่มุมของเทคโนโลยี คุณธิดาพรได้กล่าวถึงผลสำรวจของ Financial service technology ปี 2020 ของ PriceWaterhouse ซึ่งระบุว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งมี 4 การพัฒนาที่คุณธิดาพรมองว่าน่าสนใจ  

  1. FinTech จะขับเคลื่อนไปตาม Business Model 

  2. Digital become Mainstream 

  3. Customer’s Intelligence is very important  ใครรู้จักลูกค้าดีกว่า ได้เปรียบ 

  4. Public cloud จะเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน เพราะระบบการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ ที่ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง การดูแลระบบ การลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่ง Hybrid Cloud ที่สามารถเลือกเก็บได้ตาม service ต่างๆ ซึ่งเป็นระบบที่ได้รับความนิยมมากในภูมิภาคนี้ 

จากการเกิดขึ้นของนวัตกรรมต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราทราบว่าข้อมูลจัดเป็นขุมทรัพย์ที่สำคัญแห่งโลกยุคใหม่อย่างแท้จริง และ IoT, Big data, ระบบบริหารคลังข้อมูล หรือ MVP (Minimum value product) จะต้องนำมาสร้างพัฒนาด้วยข้อมูลให้เกิดขึ้นได้จริงในระยะเวลาที่รวดเร็วที่สุดเพื่อแข่งขันกันอย่างดุเดือดทั้งในปัจจุบันและโลกอนาคตข้างหน้า ซึ่งในปัจจุบันการนำข้อมูลไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สนองความต้องการของผู้บริโภคในทันทีได้เกิดขึ้นแล้วในสิงคโปร์นั่นเอง

ตัวอย่างของการนำเทคโนโลยี cloud มาขับเคลื่อนโลกการเงินต่อมาคือ ส่วนของ software as a services ที่เป็นแกนแนวคิดที่สำคัญทั้งในด้านการเงิน หรือ HR  ที่ทาง Oracle ได้มีการนำแนวคิดนั้นมาพัฒนาจนองค์กรมีรูปแบบบริการที่เรียกว่า Data as a service ที่เป็นจุดแข็งซึ่งสามารถส่งข้อมูลบน Cloud ของบริษัทอันมหาศาลไปเป็นตัวเลือกให้ผู้ใช้งานหรือลูกค้าให้เลือกใช้บริการดังกล่าวตามความต้องการของตนเองและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่าเดิมจากจ่ายค่าบริการเท่าที่ใช้งานอย่างไร้พรมแดนนั่นเอง 

โลกของ Defi ตอนนี้เป็นอย่างไร 

คุณธิดาพรกล่าวว่า Defi หรือ Decentralized Finance ซึ่งหมายถึงระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง เป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อน เพราะจะเป็นพื้นฐานและเป็นพาหนะที่จะพา FinTech หรือ TechFin เข้าไปหาผู้บริโภค การนำธุรกรรมทางการเงินเข้าไปหาผู้บริโภคแแบบไร้ตัวกลาง เช่นกรณีของตู้บุญเติม  ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัวที่ทำได้จากทุกที่บนโลก ประหยัดจากการค่าใช้บริการเท่ากันทุกที่ไม่ว่าจะเป็นที่ใด และไร้พรมแดนด้วยความยืดหยุ่นจากการ Scale up and Scale down ได้ตามที่เหมาะสมซึ่งทำได้ในทุกระบบที่ต้องการสร้างให้เป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ Defi ซึ่งในจุดนี้เทคโนโลยีระบบ Cloud ที่สามารถประมวลผลได้รวดเร็วเปรียบได้กับยานพาหนะที่จะเข้ามาขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมซึ่งเป็นหัวใจสำคัญหลักใน Defi ที่จะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอันไม่มีที่สิ้นสุดได้อย่างรวดเร็ว

Citizen Data Scientist กับการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านข้อมูล

ข้อมูลเปรียบได้กับขุมสมบัติสำหรับภาคธุรกิจที่จำเป็นต้องรู้จักลูกค้าหรือผู้บริโภคของตนเอง เราจะเห็นว่าในช่วงเวลา 5-10 ปีที่ผ่านมา แต่ละองค์กรพยายามวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้ากันอย่างเต็มที่ เพราะ KYC (Know your Customers) กลายมาเป็นปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นทำแคมเปญทางการตลาด หรือการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ดังนั้นในปัจจุบันการเข้าถึงลูกค้าไม่ใช่แค่ต้องสร้างความประทับใจแต่ต้องเข้าไปนั่งในใจลูกค้าให้ได้

ทางด้านคุณคุณธิดาพร ผู้มีประสบการณ์ด้านการวิเคราะห์ระบบและข้อมูลที่เป็น Big Data มามากกว่า 30 โปรเจกต์รอบเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า Data Scientist มีบทบาทสำคัญอย่างมาก โดยทาง Oracle พบว่าสิ่งที่เรามองข้ามไม่ได้เลยก็คือประสบการณ์ของหน้างาน ซึ่งหมายถึงคนที่รู้จักและคลุกคลีกับลูกค้ามานาน เพราะถึงแม้พวกเขาจะไม่ได้มีพื้นฐานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลโดยตรง แต่เขาคือผู้ที่รู้จักข้อมูลและธรรมชาติของมันมากกว่าใคร

โดย Citizen Data Scientist คือทีมที่มีการประสานงานร่วมกันระหว่าง Data scientist ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูล กับคนหน้างานที่มีประสบการณ์ รู้จักผู้บริโภคและธรรมชาติของข้อมูลดี โดยเมื่อเรานำทีมงานสองกลุ่มนี้มาประสานเข้าด้วยกัน จะทำให้เราได้โปรเจกต์ที่มีประสิทธิภาพ และทาง Data scientist จะสามารถสร้างโมเดลวิเคราะห์และต่อยอดข้อมูลไปได้เรื่อยๆ 

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า Citizen Data Scientist คือการพัฒนาที่มีความยั่งยืน คุณธิดาพรปิดท้ายในเรื่องนี้ว่า ถ้าองค์กรของเราต้องการสร้างความแตกต่าง อาจต้องพิจารณาใช้ Citizen Data Scientist เข้ามาช่วย

แล้วโซลูชั่นของ Oracle จะเข้ามาสนับสนุนธุรกิจด้านการเงินได้อย่างไร

ในขั้นแรก คุณธิดาพรเกริ่นถึง Financial Service Platform โดยในภูมิภาคเอเชียที่ทาง Oracle ได้เข้าไปประสานงาน จะเริ่มจากการเป็น Plug and Play Banking-as-a-Services หน่วยงานธนาคารหน่วยงานที่ทำด้านการเงินโดยตรง ได้รับใบอนุญาตให้ทำธุรกิจในด้านนี้แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือองค์กรเหล่านี้ไม่สามารถสร้าง FinTech ให้เติบโตได้ ดังนั้นจึงพยายามจะปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็น Banking-as-a-Services โดยให้ FinTech ในระบบนิเวศเข้ามาร่วมมือกัน โดยเป็นการเชื่อมต่อกันแบบ API ซึ่งการเชื่อมต่อกันเช่นนี้ต้องอาศัยระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากในทุกขั้นตอน

โซลูชั่นที่ขับเคลื่อนโดย Oracle เน้นการทำงานที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีทั้งบริการ Blockchain, Credit Risk, API Banking, Payment ฯลฯ และที่สำคัญคือ GDPR หรือ Customer Right ให้ความสำคัญในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย สร้างความมั่นใจให้กับ FinTech มากขึ้น 

ในปัจจุบัน Oracle มีคลังข้อมูลอยู่ทั้งหมดอยู่ใน 30 เมืองทั่วโลก และภายในสิ้นปีนี้จะมีเพิ่มขึ้นอีก 8 คลัง ที่สำคัญที่สุดคือหากมีการเคลื่อนย้ายของแอปพลิเคชันในระบบ ราคาจะเท่ากันทุกที่ ทำให้ต้นทุนมีความคงที่ ซึ่งคุณธิดาพรกล่าวว่านี่จะเป็นข้อที่ช่วยสนับสนุน FinTech ในทุกๆ ภูมิภาค นอกจากนี้ ยังเป็นการทำงานใน Oracle Cloud Infrastructure Gen 2 นวัตกรรมล่าสุดที่จะครอบคลุมการทำงานด้าน FinTech ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น

โดย Oracle Cloud Infrastructure Gen 2 นวัตกรรมเวอร์ชันล่าสุดนี้นั้น ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าใช้บริการและเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้มากมาย เช่น Core Infrastructure(Storage, Networking, Compute, Containers และ OS/VMWARE) สามารถพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือบริหารคลังข้อมูลด้วยตนเองได้ โดยใช้เพียง 1 SKU หรือเท่ากับ Universal Credit เท่านั้น อีกทั้งทาง Oracle จะมีฝ่ายเซอร์วิสคอยให้บริการผู้ใช้อยู่ตลอดเมื่อเกิดปัญหาหรือต้องการอะไรเป็นพิเศษ ดังนั้นแล้ว Oracle จะเป็นเหมือนทั้งคู่ค้า คู่คิด และพันธมิตรของบริษัท

คุณธิดาพรได้ทิ้งท้ายว่า สำหรับผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี Oracle Cloud Infrastructure สามารถศึกษาวิธีการใช้งานและคอร์สเทรนนิ่งได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่เว็บไซต์ของ Oracle ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึง 31 ธันวาคมนี้







ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...