การยึดหลัก “Outside-In” คือขั้นแรกการสร้าง Corporate Innovation แนวคิดจากบริษัท AddVentures | Techsauce

การยึดหลัก “Outside-In” คือขั้นแรกการสร้าง Corporate Innovation แนวคิดจากบริษัท AddVentures

AddVentures บริษัท Corporate Venture Capital (CVC) ในเครือ SCG เป็นหนึ่งในตัวแทนขององค์กรใหญ่จากประเทศไทยเข้าร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนกับบริษัทชั้นนำในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้หัวข้อ The Future of Corporate Innovation ที่งาน techsauce global summit roadshow ที่ประเทศ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ในช่วงเดือนเมษาและพฤษภาคมที่ผ่านมา

โดยผู้ร่วมสนทนาประกอบด้วย

  • Dr.Joshua Pas กรรมการผู้จัดการ AddVentures
  • ดุสิต ชัยรัตน์ Corporate Venture Capital Fund Manager บริษัท AddVentures
  • David Goh Manager ผู้ดูแลหน่วยงาน Digital Strategy & Innovation ของบริษัท Daimler AG บริษัทชั้นนำด้าน Automotive ของโลก
  • Ethan Pierse Managing Partner Nest VC องค์กรที่สนับสนุน Startup และจัดตั้งโปรแกรม Corporate Innovation ให้กับองค์กรขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วเอเชีย
  • Gerben Visser ผู้ร่วมก่อตั้ง FinTech Consortium ซึ่งเป็น FinTech Incubator ในเอเชีย

  

เราสรุปประเด็นที่น่าสนใจ มารวบรวมไว้ให้เป็นความรู้ที่หลายองค์กรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้ ได้แก่

  • ความท้าทายของการขับเคลื่อน Corporate Innovation คือ การที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นการค้นหาและการสร้างสิ่งใหม่ๆ ย่อมไม่ง่ายเหมือนกับองค์กรขนาดเล็ก ทั้งทรัพยากรบุคคลเองที่ต้องสร้างความตระหนัก ให้ความรู้ความเข้าใจ และยังไม่พอ เมื่อคนเริ่มเห็นตรงกัน ทำอย่างไรให้กระบวนการพัฒนาสิ่งใหม่ๆ สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง
  • องค์กร SCG ตั้งแต่บริษัทแม่ ยึดหลัก Outside-In เป็นสิ่งแรก คือมองจากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก ว่าเขามีปัญหาอะไร และเราจะช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าของเราอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการช่วยในเรื่องของผลิตภัณฑ์ บริการหรือ การปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจเพื่อตอบโจทย์พวกเขา

  • การติดตามเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ๆ เป็นเรื่องสำคัญ อาทิ สังคมผู้สูงอายุ ได้มาแล้ว ทางบริษัทเริ่มที่จะค้นหาโซลูชั่นที่ตอบโจทย์การดูแลคนกลุ่มนี้ ไม่ว่าจะเป็น packaging ที่ช่วยด้านสุขภาพ เป็นต้น
  • Corporate Innovation เรื่องความเร็วก็เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ตลาดตอนนี้ทั้งความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไวมาก องค์กรขนาดใหญ่ก็ต้องรับมือให้ทัน หนึ่งในรูปแบบความร่วมมือกับ Startup คือการที่ Startup มีจุดเด่นในเรื่องการแก้ปัญหา และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ในขณะที่องค์กรใหญ่มีศักยภาพที่จะช่วยขยายธุรกิจของ Startup ให้เติบโตได้ เป็นกลยุทธ์ที่ win-win ร่วมกัน
  • รูปแบบของการร่วมมือกันกับ Startup มีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การนำผลิตภัณฑ์ของ Startup ที่ตอบโจทย์ นำเสนอให้กับกลุ่มลูกค้าองค์กรของบริษัทอีกที, องค์กรใหญ่สามารถลงทุนในตัว Startup และร่วมกันทำงานร่วมกันในเชิงลึก ทั้งคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ร่วมกัน

นอกจากนี้ทางทีมงาน AddVentures ยังเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินเฟ้นหา Startup เป็นตัวแทนของแต่ละประเทศเพื่อเข้ามาร่วมแข่งขันในเวทีระดับเอเชียที่งาน techsauce global summit อีกด้วย

และในวันที่ 15 มิถุนายนที่จะถึงนี้ ทางบริษัท AddVentures จะเข้าร่วมเสวนากับองค์กรชั้นนำอีกหลายบริษัทที่ประเทศฮ่องกง อาทิทีมงานที่ดูแลด้าน Corporate Innovation ของบริษัท AIA และ VISA ของฮ่องกงอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ใครจะซื้อ TikTok สหรัฐฯ รวมรายชื่อมหาเศรษฐีและบริษัททีสนใจ ByteDance

ค้นพบรายชื่อมหาเศรษฐีและบริษัทที่สนใจซื้อ TikTok สหรัฐฯ จาก ByteDance พร้อมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับมูลค่า TikTok บุคคลสำคัญ และดีลที่อาจเกิดขึ้น...

Responsive image

สรุปแนวคิด Ray Dalio : AI, ปรัชญาชีวิต, การทำงาน และพลังขับเคลื่อนโลก

Ray Dalio นักลงทุน และผู้บริหาร Hedge Fund ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Bridgewater Associates ได้เข้าร่วมพูดคุยในอีเวนต์ AI House Davos ที่จัดขึ้นในงานประชุมประจำปีครั้งใหญ่อย่าง World...

Responsive image

รู้จัก ASML ผู้นำเทคโนโลยี Lithography ต้นน้ำของเทคโนโลยีชิปเปลี่ยนโลก

บทความนี้ Techsauce จะพาคุณไปสำรวจเรื่องราวของ ASML ตั้งแต่จุดเริ่มต้นจากในโรงเก็บของเล็ก ๆ สู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีที่เปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมชิประดับโลก พร้อมทั้งเจาะลึกถึ...