Amazon ประกาศทุ่มเงินกว่า 700 ล้านเหรียญ upskill บุคลากร 1แสนคน

Amazon ประกาศทุ่มเงินกว่า 700 ล้านเหรียญ upskill บุคลากร 1แสนคน มองสถาบันศึกษาพัฒนาคนไม่ทัน

Amazon ประกาศแผน 6 ปีทุ่มเงินกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่ออบรมบุคลากรกว่า 100,000 คนด้วยกัน เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เข้ามา โดย Amazon ออกมาประกาศว่าแรงงานสหรัฐฯ ต้องมีทักษะที่เปลี่ยนไป โดยเน้นทักษะด้านเทคโนโลยีมากขึ้นกว่าที่เคยมีมาในอดีตแม้เดิมทีคนคนนั้นอาจไม่ได้ทำงานสายเทคโนโลยี (Non-Technology) มาก่อนก็ตาม เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้พวกเขาได้งานที่ดีและมีรายได้ที่สูงขึ้น โดยไม่ได้หวังพึ่งพาสถาบันการศึกษาแบบเดิมอย่างเดียว แต่ตัว Amazon เองก็ตั้งสถาบันศึกษาขึ้นมาเองอย่าง Amazon Technical Academy และ Machine Learning University

ความต้องการด้านทักษะสายเทคโนโลยี

จากข้อมูลถิติที่ผ่านมาของ Amazon  โดยตลอดช่วง 18 ปีที่ผ่านมามีตำแหน่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายที่นอกเหนือจาก  Software Developer Engineer อาทิเช่น Hardware Engineers และ Industrial Designers ในปี 2006 Data Scientists ในปี 2010 Network Development Engineers  ในปี 2014 และ System Development Engineer ในปี 2016 เป็นต้น

ในขณะที่งานที่เติบโตเยอะที่สุดสายเทคโนโลยี คือ Data Scientist 505% Solution Architect 454% ที่ทิ้งห่างอันดับ 3 Network Development Engineer 214%

ส่วนตำแหน่งที่ไม่ใช่ Non-Technology ตำแหน่งที่เติบโตมากที่สุดคือ Data Mapping Specialist 832% ทิ้งห่างอันดับ 2 งานใน Fulfilment Center (logistics coordinator, transportation specialist, process improvement manager เป็นต้น) 406% และ Program Manager 259% แต่ด้วยโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ดูเหมือนสาย Non-Technology ต้องมีทักษะในการทำงานกับเทคโนโลยีมากขึ้นอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้ อย่างทักษะการทำงานร่วมกับ Robots ในสายการผลิตให้ได้

ในขณะที่เมื่อดูชื่อตำแหน่ง ตำแหน่งไหนมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดใน Amazon นั่นคือ สาย Robotics อาทิ. Robotics Software Engineer, Director Robotics AI, Robotics Hardware Development Engineer และ  Robotics Applied Scientist เพิ่มขึ้น 30 เท่าตัวตั้งแต่ปี 2014 ตามมาด้วยตำแหน่งที่มีขื่อว่า Language อย่าง Language Engineer ไปจนถึง Language Data Researcher โตขึ้น 23 เท่าตัว

ปัจจุบันเราเริ่มเห็นองค์กรใหญ่ในสหรัฐฯ ตั้งสถาบันการศึกษาเพื่ออบรมพนักงาน ในทักษะด้านเทคโนโลยีเองเลย เพราะมองว่าสถาบันศึกษากว่าจะผลิตบุคลากรออกมาป้อนสู่ตลาดนั้น ดูจะไม่ทันกาลเสียแล้ว กว่าจะเรียนจบพวกเขาไม่ได้แข่งขันกันเองกับมนุษย์ด้วยกันในตลาดแรงงาน แต่ยังแข่งกับ AI ที่เริ่มทำงานแทนมนุษย์ในหลายๆ ส่วนด้วย อย่างไรก็ตามก็มีคนกังวลว่าบริษัทเหล่านี้จะเข้ามามีอำนาจเหนือวงการศึกษามากเกินไปไหม และสร้างประโยชน์เพื่อเอื้อให้กับองค์กรตนเอง โดยการตั้งสถาบันศึกษาควรเข้ามาช่วยเฉพาะเรื่องตลาดแรงงานที่ขาดแคลนในระยะสั้นเท่านั้น แต่ภาคการศึกษาเองต่างหากที่ต้องรีบปรับตัวและปรับรูปแบบเพื่อป้อนบุคลากรให้ทันด้วยโมเดลและกระบวนการใหม่ๆ อ่านแล้วก็น่าตกใจ เพราะที่เรากำลังพูดถึงนี้คือ ระบบการศึกษาในสหรัฐฯ ที่ยังต้องปรับตัว หันมามองบ้านเราแล้วคิดเห็นกันอย่างไรบ้าง?

ที่มา: Amazon Career Choice, The Amazon Blog,FastCompany

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...