จริงหรือที่แอปจำเป็นต้องสร้าง "แพลตฟอร์มที่มีทุกอย่าง" ให้กับผู้ใช้?

จริงหรือที่แอพจำเป็นต้องสร้าง 'แพลตฟอร์มที่เป็นทุกอย่าง' ให้กับผู้ใช้?

ในยุคนี้ผู้คนต่างพึ่งมือถือในการใช้ชีวิตประจำวันชนิดที่เรียกว่าขาดไม่ได้ การแข่งขันในวงการสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการพัฒนาแอปพลิเคชันไม่ใช่เรื่องที่ยากเกินไปอีกต่อไป จึงไม่น่าแปลกที่จะเห็นแอปพลิเคชันบนมือถือเปิดตัวทุกวัน แต่ด้วยความท้าทายที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในยุคที่หลายอุตสาหกรรมต่างกระโดดเข้ามาแข่งขันการทำแพลตฟอร์ม แต่ละองค์กรจะทำการดึงผู้ใช้งานจำนวนมากในขณะที่ยังคงรักษาตำแหน่งในการเป็นแนวหน้าในตลาดได้อย่างไร เมื่อเกิดสถานการณ์เหล่านี้ขึ้น หลาย Startup ก็ได้เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากฐานผู้ใช้ที่มีอยู่แล้วเพื่อทำการขยายแพลตฟอร์มของตน

ในวันแรกของงาน Techsauce Global Summit 2018 เราได้รับเกียรติจากคุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE Thailand, คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานพัฒนาบริการ แอปพลิเคชันโทรคมนาคม และเครือข่าย, เอเจย์ กอร์ CTO ของ Go-Jek, และ เกรซ หยุน เซีย (Grace Yun Xia) ผู้อำนวยการ Jungle Ventures มาพูดในหัวข้อ “Race for Platformation in Asia” โดยคำถามสำคัญหลักๆ คือ การทำแพลตฟอร์มจะช่วยผู้ประกอบการในการเติบโตในตลาดเอเชียได้อย่างไร? โอกาสในการทำธุรกิจในการทำแพลตฟอร์มนั้นมีอะไรบ้าง? ความท้าทายต่างๆ ที่แต่ละองค์กรเจอและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?

แพลตฟอร์มแตกต่างจากแอพพลิเคชันบนมือถืออย่างไร

คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE Thailand

อริยะ: ในกรณีของไลน์นั้น เราเริ่มต้นจากการเป็นแอปแชทบนมือถือ หลัง 7 ปี ไลน์ได้ขยายจากการเป็นแอปมาสู่แพลตฟอร์มที่มี ecosystem ขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น LINE TV, LINE Giftshop, LINE@, LINE Games, LINE Pay และอื่นๆ ซึ่งในขณะนี้ได้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่ได้ให้ความสำคัญกับผู้ใช้ก่อนเป็นอันแรก

เอเจย์: คล้ายกันกับกรณีของ Go-Jek เราเริ่มดำเนินการในตลาดที่มีโครงสร้าง unstructured ให้บริการ ride-sharing และ food-sharing ในระยะแรกได้มีผู้เข้าใช้แอปจำนวนมาก เนื่องจากมันได้ช่วยเข้าไปแก้ปัญหาให้ผู้คนได้ ไม่ว่าใครจะลืมของไว้ที่บ้านและต้องการให้คนนำมันไปส่ง บ้างต้องการอาหารไปส่งยังออฟฟิศ ทั้งหมดนี้ Go-Jek สามารถช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าได้ จากการที่เราได้ทำการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าว่าสิ่งที่พวกเขาต้องการคืออะไร ทำให้เราสามารถหาโอกาสในการเข้าไปยังตลาดใหม่ๆ ได้

ทำไม Startup จำนวนมากถึงผันตัวมาเป็นแพลตฟอร์ม

เกรซ หยุน เซีย (Grace Yun Xia) ผู้อำนวยการ Jungle Ventures

เกรซ: หลายกรณีที่เราเห็นหลายแอปพลิเคชันไม่สามารถอยู่เพียงลำพังได้อีกต่อไป ยกตัวอย่างในกรณี WeChat ที่ได้เปลี่ยนตัวเองจาก closed-loop ไปสู่ open-loop Startup โดยการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Startup อื่นๆ เพื่อมอบบริการในด้านการคมนาคม, ธุรกรรมทางการเงิน, ride-sharing และอีกมาก จริงอยู่ที่ว่า ธุรกิจมีมีความจำเป็นที่จะต้องเป็นพาร์ทเนอร์กับธุรกิจอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องคำนึงด้วยว่าในทุกๆ ธุรกิจไม่สามารถที่จะเป็นพาร์ทเนอร์กับทุกคนหรือกับใครก็ได้

เอเจย์: เราเพิ่งจะได้ทำการทดลองมันกับแผนธุรกิจของเราไปนี่เอง อีกทั้งยังให้ได้เล็งเห็นถึงโอกาสจากฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่ของเรา ในเดือนมกราคม 2017 มีคนโหลดแอปเรามากว่า 30 ล้านครั้ง และในปี 2018 Go-Jek ได้มีเซอร์วิสที่พร้อมให้บริการบนแพลตฟอร์มของเรากว่า 18 เซอร์วิส และจะมีเพิ่มมาอีก 2 ในช่วงปลายปีนี้ Go-Jek วางแผนที่จะขยายไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราไม่ได้ต้องการที่จะไปแข่งขันกับใคร เพียงแค่ต้องการร่วมมือกับ Startup อื่นๆ และเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้คนในพื้นที่

อริยะ: เมื่อไม่นานมานี้ LINE ได้ทำการปล่อยบริการใหม่ที่เรียกว่า LINE JOBS ถูกพัฒนาโดย Startup ไทย ซึ่งเป็นตัวอย่างของการใช้แพลตฟอร์มอย่างมีประสิทธิภาพ จริงๆ แล้วการทำแพลตฟอร์มนั้นไม่ควรจะเป็นเป้าหมายไปสักทีเดียวหรือต้องคิดว่าจะเป็นแพลตฟอร์มให้ได้ แพลตฟอร์มนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบริษัทประสบความสำเร็จในการสร้าง ecosystem โดยมีฐานผู้ใช้ขนาดใหญ่รองรับ

อราคิน: ผมมาจากบริษัทโทรคมนาคม ซึ่งต้องทำการดีลกับแพลตฟอร์มในวงกว้าง ผมสามารถพูดได้ว่าการระบบธนาคารนั้นจะเป็น mobile-first ในเร็วๆ นี้ ซึ่งการทำ big data analytics นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ ธนาคารจะต้องเริ่มเข้ามาทำแพลตฟอร์ม

ในอนาคตจะเป็นยุคของแพลตฟอร์มสำหรับทุกอย่างหรือเปล่า

เอเจย์ กอร์ CTO ของ Go-Jek

เกรซ: ในฐานะที่เป็น VC เรามีความคาดหวังว่า Startup จะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยตัวเองได้ ซึ่งถ้าหากว่าพวกเขาประสบความสำเร็จในการทำแพลตฟอร์มด้วยก็เป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญเช่นกัน มันเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่ได้เห็นเหล่า Startup ร่วมมือกับบริษัทใหญ่ อย่างไรก็ตาม Startup ไม่จำเป็นที่จะต้องกลายเป็นแพลตฟอร์มถ้าพวกเขาไม่มีตลาดที่จะเข้าถึง ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไม VC จึงไม่สามารถทำการลงทุนใน Startup และบริษัทใหญ่ทุกบริษัทอีกทั้งไม่สามารถเป็นพาร์ทเนอร์กับทุก Startup ได้ สิ่งสำคัญก็คือจะต้องทำการดูด้วยว่าแต่ละธุรกิจนั้นจะไปด้วยกันได้หรือเปล่า ไม่อย่างนั้นจะเป็นการเสียเวลาและทรัพยากรณ์ไปโดยเปล่าประโยชน์

เอเจย์: แพลตฟอร์มของ Go-Jek นั้นได้สร้างผลกระทบด้านสังคมขนาดใหญ่ในอินโดเซีย โดยมีเป้าหมายในการเชื่อมต่อผู้คนด้วยจุดประสงค์ที่มีร่วมกัน สำหรับเราแล้ว ความสะดวกสบายนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ในกรณีนี้แน่นอนว่าการทำแพลตฟอร์มนั้นให้ผลประโยชน์ทั้งกับ Go-Jek และกับลูกค้าของเราด้วย อย่างไรก็ตาม แอพพลิเคชั่นไม่จำเป็นว่าจะต้องผันตัวเองเป็นแพลตฟอร์มทั้งหมด ในบางกรณีการเปลี่ยนแปลงอาจจะนำไปสู่ความเสียหายด้วยซ้ำ ตลาดในแต่ละประเทศนั้นมี pain point และมีวิธีการแก้ปัญหาที่ต่างกันออกไป และ Startup จะต้องทำความเข้าใจและหาทางแก้ไข pain point นั้นให้ได้

ในกรณีของความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูล แพลตฟอร์มจะทำอย่างไรกับข้อมูลที่ได้รับมา

อริยะ: เราใช้ข้อมูลที่เราได้มาทำการวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคเพื่อที่จะทำการพัฒนาบริการและประสบการณ์ที่ลูกค้าได้รับให้ดียิ่งขึ้น

เอเจย์: เห็นด้วยกับคุณอริยะ เราไม่ได้นำข้อมูลมาใช้ในจุดประสงค์อื่นนอกจากการพัฒนาธุรกิจของเราเพื่อให้ลูกค้าได้รับบริการที่ดีขึ้น

เอเชียจะขึ้นมาเป็นผู้นำเทรนด์นวัตกรรมต่อจาก Silicon Valley หรือเปล่า

คุณอราคิน รักษ์จิตตาโภค ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานพัฒนาบริการ แอปพลิเคชันโทรคมนาคม และเครือข่าย

อราคิน: จริงๆ แล้วมันไม่ได้สำคัญว่านวัตกรรมจะเกิดขึ้นที่ไหน นวัตกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมา และจะสร้างโซลูชั่นแก้ไขปัญหานั้นให้สำเร็จได้อย่างไร

อริยะ: ส่วนตัวแล้ว มองจีนในฐานะผู้นำในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ เพราะหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นในจีน

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...