นี่อาจเป็นความรู้ด้านธุรกิจออนไลน์ ที่ผู้ให้สัมภาษณ์มีความเท่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา! จากแร็ปเปอร์โลกออฟไลน์ มาสู่การสร้างสรรค์ Community และธุรกิจออนไลน์ กลุ่ม Rap is Now กำลังทวีความร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ อะไรคือสิ่งที่ทำให้พวกเขาสามารถพัฒนาผลงานจนมีชื่อเสียงและแฟนๆ ติดตามอย่างไม่ขาดสายได้ กรณีศึกษาที่ทุกคน โดยเฉพาะ SMEs ที่สนใจเรื่องธุรกิจออนไลน์ ห้ามพลาด!
จริงอยู่ที่ Innovation เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำธุรกิจในยุคดิจิตอล แต่วันนี้เราจะพาคุณไปดูว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของ Innovation ใหม่ๆ คุณก็สามารถสร้างธุรกิจออนไลน์ที่ยอดเยี่ยมได้
สำหรับผู้อ่านบางท่านที่อาจจะยังไม่ทราบเกี่ยวกับ Rap is Now พวกเขากล่าวว่าเป็น Thai Rapper’s Village หรือ สังคมที่รวบรวมคนที่มีใจรักในการแร๊ป จากแฟนเพจเล็กๆ ที่มีคนกดไลค์หลักร้อย ปัจจุบันกลายเป็น 7 แสนไลค์แล้ว พวกเขามีโปรเจค Rap Battle จัดขึ้นหลายโปรเจค เช่นโปรเจค The War Is On ที่ยกระดับ Underground Rap Battle ที่เคยเห็นกันตามผับ ตามปาร์ตี้ ฮิปฮอป มาสู่รูปแบบเกมโชว์สนุกๆ ที่มีแฟนคลับติดตามผลงานมากมาย
จากการสัมภาษณ์ คุณโจ้ ศวิชญ์ สุวรรณกุล ผู้ก่อตั้ง และ Art Director ของ Rap is Now สรุปเป็นประเด็นที่น่าสนใจได้ดังนี้
เหตุผลที่ผมเลือกทำด้านนี้ เนื่องจากตอนสมัยเด็กผมเคยทำเพลงฮิปฮอปขาย ตอนแรกเริ่มต้นจากเราต้องการจัดมีตติ้งปาร์ตี้รวมแร็ปเปอร์ให้มาเจอกัน เราโปรโมทปาร์ตี้ผ่านช่องทางออนไลน์โดยรวมคนในออนไลน์ที่เรารู้จักและไปปาร์ตี้กันจริงๆ เริ่มทำตั้งแต่ที่ยังไม่มี Facebook ตอนนั้นปี 2009 มีทีมกันอยู่สามคน เราใช้เพียงเว็บบอร์ดในการติดต่อสื่อสาร จากนั้นเราก็หยุดกันไปก่อนเนื่องจากตอนนั้นเราเรียนปี 4 และไม่ค่อยมีเวลา หลังจากที่เงียบกันไปและได้ไปทำงานประจำของแต่ละคน พอได้ทำงานประจำแล้วก็เบื่อกันบ้าง เพื่อนคนนึงก็เลยโทรมาชวนให้กลับไปเริ่มทำกันใหม่ ซึ่งที่เกิดได้อีกครั้งก็มาจากที่เพื่อนลากไปที่บ้านและเริ่มทำงานนี้อีกครั้งโดยไม่ได้ตั้งตัวเลย ตอนนั้นปี 2012 เราได้เริ่มทำออนไลน์เป็นเรื่องเป็นราวจริงๆ เนื่องจากมีสื่อ Social network ต่างๆ เช่น Hi5, Facebook เข้ามา ช่วงนั้นเว็บบอร์ดก็เริ่มหายไป Social network จึงเป็นสื่อเดียวที่สามารถรวบรวมคนได้
เรามีไอเดียใหม่นอกจากงานมีตติ้ง Reunion เราคุยกันว่าอยากทำ Audio rap battle แล้วก็เลยตัดสินใจทำเลย ใช้ชื่องานว่า Knock ‘Em Out เราสร้างเพจ Facebook ให้คนรู้จักช่วยแชร์ ช่วยโปรโมต ซึ่งเริ่มแชร์จากคนเพียง 1-2 คน คนเก่าๆ ที่เคยรวมตัวกันใน Reunion ครั้งก่อนก็ตื่นเต้น อยากมารวมตัวกันอีกครั้ง แต่สิ่งที่ได้เห็นจากการทำครั้งนี้คือ มีเด็กวัยรุ่นหน้าใหม่ที่เข้ามาร่วมเล่นกับเราในครั้งนี้ด้วย มีคนสนใจและสมัครเข้ามาเรื่อยๆ สุดท้ายเราได้คัดผู้เข้ารอบชิงชนะเลิศมาจัดปาร์ตี้ที่ร้าน Tha Beatlounge มีคนไปร่วมงานเยอะจนล้นร้านเลย ประมาณ 350 คน ตั้งแต่นั้นมาคนก็จดจำว่า Rap is Now คือ Rap Battle เลย ไม่ใช่แค่จัดปาร์ตี้แล้ว เราพยายามปรับปรุงรูปแบบรายการให้โดนใจมากยิ่งขึ้น ใช้ช่องทางวิดีโอในการสื่อสารจากแต่ก่อนที่เป็นเพียงคลิปเสียงเท่านั้นพอรู้ว่าแร็ปเปอร์สามารถอัปโหลดคลิปลง YouTube ได้รูปแบบรายการจึงเปลี่ยนและนี้ก็เป็นสิ่งที่พลิกวงการแร็ปเปอร์ให้ต่างไปจากเดิมเลยและเป็นรายการแรกที่เปิดตัวเป็นในรูปแบบมวยปล้ำที่ทำให้หลายคนตื่นเต้น
เพื่อนผมที่ร่วมทำนั้นเขาทำ Production ที่เป็น TV Online จึงเสนอว่าเราน่าจะใช้สื่อ YouTube ในการโปรโมทงาน Battle ส่วนเรื่องเสียงแร็ปเราใช้ Sound cloud ซึ่งเมื่อก่อนสามารถใช้ได้ดีเนื่องจากเป็นยุคที่เรียกว่ายุค Audio battle แต่หยุดใช้ไปเนื่องจากพฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป คนชอบวีดีโอ และภาพมากขึ้น โจทย์ของเราจึงเป็นการทำคอนเทนต์ประเภทนี้ จึงทำใส่ YouTube เป็นหลัก และใช้ Facebook ในการสร้าง Community
ในเรื่องงาน Production เราเน้นที่ความเท่ คุณภาพของการทำ Production ทำให้ตัวแบรนด์แข็งแรง เนื่องจากพวกผมเรียนมาทางดีไซน์ โดยผมจบนิเทศศิลป์ที่ม.กรุงเทพ และทำงานอยู่ที่ GMM Grammy เป็น Art Director กับ Creative ของค่ายเพลง เลยคิดว่าเรื่องภาพลักษณ์เป็นส่วนสำคัญเท่าๆ กับคอนเทนท์ที่ดี
ด้วยช่องทางหลัก ๆ มี 3 ช่องทางคือ Facebook, Instagram และ YouTube ช่องทางหลักอันดับหนึ่งของเราก็จะเป็น YouTube โดย Teaser แรกเราใส่ความคิดสร้างสรรค์มากไปหน่อย ซึ่งอาจทำให้เข้าใจยาก จึงปรับลดลงและเสียงตอบรับก็ดีขึ้นเรื่อยๆ ครับ ช่วงแรกเรายังไม่ค่อยมีคลิปลง YouTube เท่าไหร่ เพราะว่ามีเพียงคลิปแค่ช่วงตัดสินเท่านั้น แต่ตอนนี้เราทำงานเป็นเวลา เป็นระบบมากขึ้น เลยต้องจ้างคนมาตัดต่อ แล้วปล่อยคลิปออกมาเป็นเวลาที่ชัดเจน
ความจริงนอกจาก Battle แล้ว ยังมีอีกหลายรูปแบบที่ทำได้ เคยมีทางรายการทีวีติดต่อให้ทำเป็นรายการออนแอร์ประมาณ 45 นาที แต่ปรากฏว่าสุดท้ายไม่ได้ทำด้วยกันเพราะรายการไม่มีงบ ตอนนั้นรายการจะมี 3 ช่วงคือ 1.สัมภาษณ์แร็ปเปอร์ 2.นำท่อนแรปที่แต่งขึ้นไปใส่กับเพลงอื่น 3. ช่วง Battle ซึ่งเป็นช่วงที่เราคิดว่าเวิร์คสุด เราจึงตัดสินใจทำกันเองและคิดว่าเวลา 15 นาทีเป็นช่วงที่เพียงพอ
เราแทบไม่ซื้อ Ad เลย เนื่องจากผลที่ได้รับไม่ค่อยใกล้กับเป้าหมายเราเท่าไหร่ เพราะเรารู้ว่าคนที่สนใจเราจริงๆ มีไม่เยอะในช่วงแรกๆ ไม่น่าจะช่วยเราขนาดนั้น จึงอาศัยสร้าง Community ใช้วิธีปากต่อปาก
เมื่อปลายปี 2015 เรามียอดไลค์แฟนเพจประมาณ 5 หมื่น แต่ตอนนี้กลายเป็น 7 แสนไลค์ เนื่องจากมี “ปรากฏการธีรเดช” เขาเป็นแฟนรายการของเราคนนึง ซึ่งคุณธีเดชเขาดูดคลิปของเราไปปล่อยใน Facebook และตัดหัวท้ายตอนช่วงที่เราพูดออกไป ปรากฏว่าพอตื่นเช้ามาคลิปคุณธีรเดชถูกแชร์ไป 400,000 กว่าแชร์ พอดีว่ามีเน็ตไอดอลคนดังมาแชร์ต่อ ทำให้กลายเป็น Viral ไปอย่างรวดเร็ว พอการแชร์เยอะขึ้นทำให้กลุ่มเป้าหมายเปลี่ยนกลายเป็นกลุ่มเด็กเพิ่มมากขึ้น เราไม่มีปัญหานะ แต่ถ้าผู้ปกครองคอยแนะนำในการดูจะเป็นเรื่องดีมาก เนื่องจากเนื้อหาบางอย่างจะตรงและรุนแรง หลังจากเหตุการณ์นั้นไม่เพียงแต่ช่องทาง Facebook เท่านั้นแต่ YouTube ก็มียอดผู้ติดตามขึ้นเยอะมากด้วยเช่นกัน เราจึงเบนมาใช้ช่องทางนี้เพิ่มมากขึ้นในช่วง Season 2
ปัจจุบันเรามีการวางแผนการทำงานเป็น Timeline อย่างชัดเจน และตอนนี้เราวางแผนเป็นรายวันโดยวางแผนการทำงานยาวไปถึงปีหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง พอดีเมื่อปีก่อนมีสมาชิกใหม่ที่มาร่วมในทีม เป็นเจ้าของออฟฟิศแถวทองหล่อ เขาบอกว่าเขาอินเนื่องจากตอนเด็กก็เคยทำเพลงมา เขามาร่วมทีมกับเราโดยนำระบบการจัดการการดำเนินงานในการทำงาน ในการคุยกับลูกค้าและบริหารธุรกิจ วางนโยบายไว้เป็นระบบ เหมือนมี Operating System จากแต่ก่อนแค่พูดคุยกัน พอมีคนที่มีประสบการณ์ในการทำงานทำธุรกิจมาช่วย ตอนนี้จึงมีการวางนโยบายเพื่อที่ทำให้การทำงานเป็นระบบระเบียบมากขึ้น
Rap is Now มีรายได้จากการขายบัตรอีเวนต์ และจากสปอนเซอร์ โดยรายได้หลักมาจากการขายของเป็นหลัก ถ้าเรื่องบัตรนั้นจะเป็นเหมือนการขายที่นำมาสนันสนุนงานอีเวนต์ในแต่ละงานมากกว่า สินค้าที่เราขายโดยส่วนมากมักทำเป็นเครื่องแต่งกายและมีการประกาศผ่าน Facebook โดยปล่อยเป็นเวลาเพื่อให้เกิดการเกาะติดสถานการณ์ ลูกค้าที่รอคอยสามารถรู้ได้ว่าวันนี้เราจะปล่อยสินค้าออกขาย แต่ในอนาคตอาจมีของกระจุกกระจิกอย่างเช่น สติ๊กเกอร์ รายได้ของการขายของออนไลน์คิดเป็น 60% ของรายได้ทั้งหมดของเรา
เราเริ่มเปิด Rap is now Store มาตั้งแต่ 2013 โดยเริ่มจากการขายโดยใช้ Inbox ของ Facebook แต่ด้วยความที่ใช้งานค่อนข้างยาก ไม่เหมาะกับการใช้ขายของ ผมจึงไปหาเครื่องมือที่เหมาะสมและเข้ากับบริษัทนั้นคือ BentoWeb เราให้ความสำคัญกับการใช้งาน และรูปลักษณ์หน้าตาด้วย ซึ่ง BentoWeb ดูดีและเหมาะสมที่จะมาใช้เปิด Store เนื่องจากดีไซต์ของเว็บค่อนข้างเข้ากับเรา
เหตุผลหลักที่เราทำ Rap is now Store เพราะจะได้นำรายได้ที่ได้จากการขายผลิตภัณฑ์มาจัดอีเวนต์เหมือนการนำเงินมาต่อเงิน ปกติก่อนหน้าที่จะจัดงานอะไรจะมีการลงเงินลงขันกันและพอขายเสร็จถึงจะแบ่งกัน เราจึงทำให้เป็นรูปแบบการขายให้เรียบร้อยเป็นระบบซักหน่อย และเตรียมจะจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในเร็วๆ นี้
ในเรื่องการผลิตเสื้อ ผมเป็นคนที่ผลิต ดีไซน์ และตรวจสอบคุณภาพเสื้อผ้า รวมถึงการจัดส่งต่างๆ ไปด้วยตอนนี้ผมเริ่มการจัดส่งของตนเองโดยส่งผ่านไปรษณีย์ไทย เพิ่มเติมในส่วนของ BentoWeb ซึ่งผมใช้บริการมาเป็นปีที่ 2 แล้วครับด้วยดีไซน์ และระบบที่สนันสนุนเราได้ดี
อายุเฉลี่ยประมาณ 18 - 23 ปี แต่ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าที่เป็นเด็กมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ มีตั้งแต่เด็กประถมที่ขอให้พ่อแม่ช่วยซื้อของให้ ซึ่งทำให้เราเริ่มทำเสื้อไซส์เด็ก รวมถึงเสื้อครอปผู้หญิงในอนาคต
ปกติมักจะใช้ฟีเจอร์จัดเตรียมของ พิมพ์ใบสั่งซื้อ บ่อยเป็นพิเศษ แต่ก่อนผมไม่ทราบทำให้งานช้ามาก ผมเลยลองเล่นกับระบบดูรู้สึกว้าวมากๆ! เนื่องจากแบ่งแยกให้เป็นไซส์ S, M, L พิมพ์ใบเสร็จและใบปะหน้าออกมา แต่ถึงอย่างนั้นผมยังคงเขียนขอบคุณลูกค้าด้วยตนเองก่อนจัดส่งแต่ละกล่องนะ ฮ่าๆ เพราะเรายังรู้สึกว่าเราอยากแสดงถึงความจริงใจต่อลูกค้า
มีกราฟที่เป็นตัวบอกข้อมูลต่างๆ เรามีการเก็บข้อมูลลูกค้าเป็นรายบุคคลที่เป็นคนใช้งานและทำการสั่งซื้อเนื่องจาก Facebook แสดงได้เฉพาะคนที่ติดตาม และการสั่งซื้อทำให้รู้ว่าปัญหาหลักของลูกค้าอยู่ตรงจุดไหนทำการปรับปรุงให้ง่ายต่อการใช้งานมากขึ้น มีระบบ POS เรามีการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ไว้โดยการเก็บการสั่งซื้อ ที่อยู่ที่ไหนเคยสั่งครั้งที่แล้วเมื่อไหร่, สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้าเนื่องจากเรามี Discount code, Super Discount, ระบบแต้มสะสม
ในปีนี้ตั้งเป้าหมายว่าจะเพิ่มยอดคนติดตามใน YouTube ให้ได้ประมาณ 1 ล้าน Subscibers เรามักจะย้อนกลับไปมองที่ข้อผิดพลาดที่เคยเกิดขึ้นแล้วนำมาปรับปรุงลองไปเรื่อยๆ จนเจอกับสิ่งที่เข้ากับคนดูรายการมากที่สุด จนตอนนี้แร็ปเปอร์ทุกคนมีแฟนเพจเป็นของตัวเอง เราสามารถสร้างฐานแฟนคลับให้แร็ปเปอร์ได้อีกทั้งยังมีรายได้ที่แบ่งให้จากการขายเสื้อที่แร๊ปเปอร์จะได้อีกทางหนึ่ง และแร็ปเปอร์เมื่อมีแฟนคลับก็จะต้องรู้จักวางตัวมากขึ้นด้วยซึ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดถือว่าเป็นอะไรที่วินวินทั้งสองฝ่าย
เป้าหมายหลักและสิ่งที่ Rap is now อยากเห็นคือวงการแร็ปเปอร์สามารถสร้างรายได้ทำเป็นอาชีพเหมือนกับวงการดนตรีอื่นๆ ผมเลยมองว่าแท้จริงแล้วเราขาดการสนับสนุนอย่างเป็นหลักเป็นแหล่ง อย่าง Battle นั้นเราอยากให้มองว่าเป็นกีฬาประเภทนึง ซื่งมันคือการแข่งขันทุกคนต้องโชว์ทักษะมาสู้กัน และทำให้แร็ปเปอร์คนอื่นๆ ได้พัฒนาทักษะของตัวเองให้มากขึ้น สุดท้ายนี้ Rap is now คือ Community ให้ชาวแร็ปเปอร์ได้มีศูนย์กลางในการมาเจอกัน
“เป็นแบรนด์ที่ฉลาดในการใช้คอนเทนท์ในการสื่อสารกับลูกค้าได้ดี และจัดการเรื่องของ Community อย่างลงตัวมาก เพราะร้านอื่นมักเน้นขายผลิตภัณฑ์ของตนเองอย่างเดียว หากเมื่อไรก็ตามที่มี Fanpage เป็นของตัวเองและมีคนติดตาม ก็จะช่วยให้สามารถหารายได้ได้ตลอด เรื่อง Community จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ”
Rap is Now ถือเป็นกรณีศึกษาที่ดี เรื่องพลังของ Content, Community การใส่ไอเดียต่อยอด และการวางแผนทำงานเป็นทีม หวังว่ากรณีศึกษาในครั้งนี้จะให้เกร็ดความรู้และแรงบันดาลใจแก่ทุกท่านค่ะ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด