Reality Check (ตอนที่ 2) ศิลปะการเขียนบทสรุป (Executive Summary) เพื่อนำเสนอนายทุน | Techsauce

Reality Check (ตอนที่ 2) ศิลปะการเขียนบทสรุป (Executive Summary) เพื่อนำเสนอนายทุน

document

เมื่อพูดถึงแผนธุรกิจที่จะนำเสนอนายทุน หนึ่งในส่วนที่สำคัญมากนั่นก็คือ Executive Summary ที่จะสรุปเนื้อหาสำคัญต่างๆ ให้นายทุนเข้าใจได้ สำหรับบทความนี้เราจะกล่าวถึงการเขียน Executive Summary ว่าหัวข้ออะไรที่ควรครอบคลุมถึง อะไรที่ควรทำและไม่ควรทำ โดยเรียบเรียงจาก The Art of Executive Summary ในหนังสือ The Reality Check โดย Guy KawasakiExecutive Summary นั้นถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะพูดเกี่ยวกับธุรกิจของคุณค่ะ มันเป็นเสมือนใบเบิกทางและช่วยดึงความสนใจนายทุนทั้งหลาย โดยเนื้อหาสาระใน Executive Summary ควรจะประกอบไปด้วย

  • ปัญหา - ชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในตลาดให้ชัดเจน, คุณจะเข้าไปแก้ไขอะไร, และบอกว่าธุรกิจของเราจะส่งมอบคุณค่า (Value Proposition) อะไรให้กับลูกค้า เช่น การเพิ่มรายได้ ลดค่า ใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นต้น
  • วิธีแก้ไข - คุณกำลังแก้ไขปัญหานี้อย่างไร หรือจับโอกาสนี้อย่างไร
  • โมเดลธุรกิจ - ใครจะเป็นลูกค้าคุณ และคุณจะทำเงินได้อย่างไร
  • ความมหัศจรรย์ที่แฝงอยู่ - อะไรที่ทำให้บริษัทของคุณดูพิเศษ
  • กลยุทธ์การตลาดและการขาย - กลยุทธการเข้าสู่ตลาดของคุณเป็นอย่างไร
  • การแข่งขัน - คุณกำลังแข่งขันกับใคร ?อะไรที่คุณทำได้แต่พวกเขาทำไม่ได้ ชูจุดเด่นตรงนั้นออกมาค่ะ
  • แผนงานต่างๆ - แผนการเงินในสามปีข้างหน้าเป็นอย่างไร สมมติฐานและตัวชี้วัดที่จะทำให้ถึงเป้าหมายเหล่านั้นได้อย่างไร
  • ทีมงาน - ทีมงานของคุณมีใครบ้าง พวกเขามีจุดเด่นด้านใด
  • สถานะและระยะเวลา - สถานะของโครงการของคุณอยู่ที่ตรงไหนแล้ว และใกล้ถึงเป้าหมายแล้วหรือยัง

Executive Summary นี้ความยาวก็ไม่ควรเกินสองหน้าเพราะจุดประสงค์คือการขายโครงการไม่ใช่บรรยายบริษัทนะคะ การขายความคิดของคุณมากกว่าสองหน้ากระดาษนั้นนอกจากผู้อ่านจะไม่ทนอ่านแล้ว มันเหมือนกับสรุปเนื้อหาไม่เป็นด้วย และต่อไปนี้เป็นคำแนะนำ, เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ที่ช่วยคุณเขียน Executive Summary ให้น่าสนใจมากขึ้น

  • บรรจงสร้างหัวข้อที่จูงใจ ตรงนี้สำคัญมากค่ะ หัวข้อของคุณต้องทำให้น่าดึงดูด, ดูน่าสนใจ, สร้างความแตกต่างและกระชับได้ใจความ
  • อย่าแนบไฟล์ presentation จงเก็บไว้สำหรับการประชุมกันต่อหน้า เพราะมันอาจเป็นการฝังตัวเอง
  • อย่าใช้คำว่า ลิขสิทธิ์ มากกว่าหนึ่งครั้ง ไม่มีนายทุนคนใดเชื่อว่าลิขสิทธิ์สามารถปกป้องบริษัทได้ พวกเขาควรได้ยินเพียงครั้งเดียวก็พอ
  • อย่าอ้างว่าคุณกำลังอยู่ในตลาดหลักหลายพันล้าน จากการศึกษาไม่ใช่ทุกบริษัทจะอยู่ในตลาดนับพันล้าน จากประสบการณ์ของ Guy กล่าวว่าเค้าสนใจอ่าน Executive Summary ของบริษัทที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่ขนาดนั้นมากกว่า
  • อย่าอ้างว่าคุณจะสร้างบริษัทให้โตเร็วแบบสุดๆ แผนงานที่นำเสนอส่วนใหญ่เท่าที่ Guy เคยเห็นมักคุยว่าสามารถโตเร็วกว่าบริษัทยักษ์ใหญ่รายนั้นรายนี้ เค้าแนะนำว่าการอยู่บนพื้นฐานที่เป็นไปได้ดูดีกว่าอยู่สูงเกินไปเพราะถ้านายทุนพอใจความคิดของคุณเขาก็จะเชื่อว่าคุณจะสามารถทำได้มากกว่านั้น แต่ถ้านายทุนไม่ชอบความคิดของคุณแผนงานใดๆ ก็ไม่มีความหมาย
  • อย่าสร้างภาพลวงตาว่าเป็นโครงการที่หาได้ยาก เจ้าของธุรกิจบางรายชอบบอกว่าเป็นโครงการที่หาได้ยาก หารู้ไม่ว่าจะเป็นการขู่ไม่ให้นายทุนลงทุนทันที  เพราะหากเป็นของหายากจริงคุณคงได้ทำเงินไปแล้ว แต่ถ้าไม่จริงความน่าเชื่อถือของคุณจะลดลงไปทันที

ลองนำมาใช้เป็น Checklist เมื่อต้องเขียน Executive Summary ของแผนธุรกิจนะคะ เพราะมันเป็นรากฐานสำคัญที่จะระดมทุนให้สำเร็จ แล้วพบกันใหม่ในตอนถัดที่ 3 ค่ะ :D

บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกที่ thumbsup.in.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Secure Corporate Internet บริการใหม่ที่ ‘ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล’ เข้าใจทุกเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ของธุรกิจ จาก AIS Business

บทความนี้ Techsauce อยากชวนมารู้จักกับ Secure Corporate Internet อินเทอร์เน็ตองค์กรที่มีระบบรักษาความปลอดภัยครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง บริการใหม่เพื่อธุรกิจในยุคดิจิทัล!...

Responsive image

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาหาอนาคต สู่การใช้ AI อย่างชาญฉลาดบนความรับผิดชอบ

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future นำเสนอเนื้อหาสุด Exclusive จากทั้ง 3 Stage โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากทั้งไทยและต่างประเทศ เจาะเวลาหาอนาคต สู่ก...

Responsive image

Ertigo สตาร์ทอัพไทยที่อยากแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าเป็นผู้ให้บริการ TeleRehab ในอาเซียน

ERTIGO สตาร์ทอัพไทยที่ต้องการแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าการเป็นผู้ให้บริการ Telerehab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...