Reality Check (ตอนที่ 4) ศิลปะการเขียนแผนธุรกิจ | Techsauce

Reality Check (ตอนที่ 4) ศิลปะการเขียนแผนธุรกิจ

Business Plan

ภาพจาก : okcompany.info

แผนธุรกิจเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญว่าด้วยเรื่องของการวิเคราะห์ของตลาด ธุรกิจตนเอง การวางแผน วิสัยทัศน์ ทีมงานและอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งมีส่วนหนึ่งในการนำเสนองานต่อนายทุน Startup 101 ในสัปดาห์นี้จะนำไปพบกับคำแนะนำดีๆ อีกครั้งของ Guy Kawasaki ใน หนังสือ Reality Check ว่าวิธีการเขียนแผนธุรกิจที่ดีนั้นควรเป็นเช่นไร

ให้สนใจที่ Executive Summary ให้มาก Executive Summary ไม่ว่ามีเพียงหนึ่งหรือสองหน้าเป็นหัวใจของการวางแผนธุรกิจ ถ้าบทสรุปนำมาเสนอไม่ยอดเยี่ยมพอ ไม่สามารถดึงดูดสายตานักลงทุนได้ นักลงทุน มักไม่สนใจอ่านต่อไปเพื่อขอดูว่ามีใครบ้างที่โดดเด่นในทีมงานของคุณ รูปแบบธุรกิจเป็นอย่างไร และทำไมสินค้าคุณถึงสามารถสร้างความโดดเด่นออกมาได้ คุณควรสนใจและใช้ความพยายามในส่วนนี้ให้มากถึง 80% ดีกว่าไปสร้าง Excel Spreadsheet ที่คนอ่านไม่รู้เรื่องและน้อยคนที่จะเชื่อ

เขียนเพื่อเหตุผลที่ถูกต้องทั้งหมด คนส่วนใหญ่เขียนแผนธุรกิจเพื่อดึงดูดนักลงทุนเพื่อระดมเงินทุน แต่ VC ส่วนมากตัดสินใจว่าเอาหรือไม่เอาในช่วง pitching มากกว่า เหตุผลสำคัญในการเขียนแผนธุรกิจแม้นไม่ใช่จุดประสงค์เพื่อระดมทุน แต่มันก็เป็นการบังคับให้ทีมผู้บริหารต้องกำหนดแผนธุรกิจที่จับต้องปฏิบัติได้อย่างเรื่องของวัตถุประสงค์ (อะไร),กลยุทธ์ (อย่างไร), กลวิธีต่างๆ (เมื่อไร, ที่ไหน, ใคร)

เขียนด้วยความพยายามของคนๆ เดียว แม้การสร้างแผนธุรกิจควรระดมจากความพยายามของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องในคณะผู้บริหารของบริษัทก็ตาม แต่ที่ดีที่สุดก็ควรเขียนโดยบุคคลคนเดียวอย่าง CEO จากเหตุผลมันเป็นเรื่องลำบากมากในการตัดต่อและตัดแปะหลายๆ ส่วนของหลายๆ คนให้เข้ากันแล้วออกมาเป็นเอกสารเดียวกันที่อ่านแล้วเข้าใจ

ให้เริ่มจากการนำเสนอก่อนแล้วค่อยเขียนแผน คนส่วนใหญ่มักสร้างแผนธุรกิจและมันกลายเป็นความล้มเหลวด้วยความยาวหกสิบหน้า แนบท้ายอีกห้าสิบหน้า เต็มไปด้วยศัพท์เทคนิคมากมาย สิ่งที่ควรเริ่มคือการนำเสนอที่น่าสนใจเสียก่อน แล้วจึงนำมาเขียนเป็นแผนธุรกิจตาม อย่าลืมว่าแผนธุรกิจที่ดีควรกรองมาจากการนำเสนอที่ดี แต่การนำเสนอที่ดีไม่ใช่กลั่นมาจากแผนธุรกิจที่ดี เพราะการปรับเปลี่ยนการนำเสนอนั้นทำได้ง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจนั่นเอง ลองทดลองปรับการนำเสนอหลายๆ ครั้งดูว่าอันไหนใช้ได้อันไหนใช้ไม่ได้ ปรับเปลี่ยนจนกว่าเห็นว่าดีแล้วจึงค่อยเขียนเป็นแผน ลองคิดง่ายๆ ว่าการนำเสนอเสมือนเป็นโครงร่างและแผนคือเนื้อความเต็ม คงไม่มีใครไปเขียนเนื้อความเต็มก่อนที่ไปเขียนโครงร่างหรอกจริงไหม

ทำให้กระชับชัดเจน ความยาวของแผนธุรกิจที่ดีควรอยู่ราว 20 หน้าหรือน้อยกว่านั้นซึ่งรวมถึงสิ่งที่แนบท้ายด้วย ทุกๆ 10 หน้าที่เกินจาก 20 หน้าจะยิ่งลดโอกาสที่มันจะถูกเอาไปอ่านถึง 25% ความจริงการทำแผนธุรกิจก็เพื่อชักจูงนายทุนให้มีการดำเนินการต่อไป เมื่อความคิดที่ยิ่งกระชับแผนก็ต้องยิ่งสั้น เมื่อแผนยิ่งสั้นคนก็จะอ่านจบยิ่งเร็วขึ้น

จำกัดตนเองให้เขียนโครงการด้านการเงินไว้เพียงหน้าเดียวพร้อมตัวเลขหลักๆ แผนธุรกิจมากมายมักบรรจุโครงสร้างการเงินถึง 5 ปีด้วยยอดสูงสุดเป็นหลักร้อยล้านพร้อมรายการปลีกย่อยที่ไม่สำคัญรวมอยู่ด้วย ใคร ๆ ก็รู้ว่าตัวเลขเหล่านั้นล้วนเป็นหลักลอยมาจากอากาศทั้งสิ้น ทางที่ดีควรลดภาพลวงตาใน Excel ให้เหลือหน้าเดียวและเน้นเฉพาะการคาดการณ์ของตัวเลขหลักๆ ในธุรกิจของคุณจริงๆค่ะ อาทิเช่นจำนวนลูกค้าที่จ่ายเงิน เป็นต้น ตัวเลขหลักๆ เหล่านี้ต่างหากที่แสดงให้เห็นอย่างถ่องแท้ถึงข้อสมมติทั้งหลายของคุณนั้นน่าเชื่อ

เขียนอย่างรอบคอบสุขุม และทำอย่างเร่งด่วน Clayton Christensen ผู้เขียน The Innovators Dilemma (ใน Harvard Business School Press, 1997) กล่าวไว้ว่าเมื่อคุณเขียนแผนธุรกิจนั้นให้เขียนด้วยความสุขุมรอบคอบ รู้ในสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ อย่างไรก็ตามการเขียนด้วยความรอบคอบไม่ได้หมายความว่าคุณยึดติดกับข้อมูลและปิดกั้นโอกาสใหม่ๆ โดยขณะที่เริ่มนำแผนไปใช้คุณก็ต้องมีความคล่องตัวและรวดเร็ว รู้จักปรับตัวเข้ากับตลาดได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงและเรียนรู้เพิ่มเติมทุกขณะ

จงจำไว้ว่าแผนธุรกิจคือเอกสารทำงานชื้นหนึ่ง แต่ไม่ใช่สิ่งที่มากำหนดให้เราบริหารธุรกิจและต้องยึดติดกับมันตลอดเพราะเมื่อเวลาผ่านไปสถานการณ์ก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ เราต้องรู้จักปรับตัวและรับมือให้ทันมากกว่า

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ thumbsup.in.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...