Reality Check (ตอนที่ 1) มาดูสิว่านายทุนเค้าต้องการอะไร | Techsauce

Reality Check (ตอนที่ 1) มาดูสิว่านายทุนเค้าต้องการอะไร

startup101_pic1

ภาพจาก : Endeavor.org

สำหรับบทความในตอนแรกของ Startup 101 เป็นเรื่องราวการทำความเข้าใจนายทุนถ่ายทอดโดย Guy Kawasaki หนึ่งในนักลงทุนใน Silicon Valley จากหนังสือชื่อ Reality Check และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกับบ้านเรา

Startup หลายรายอาจยังไม่เคยมีประสบการณ์การขอเงินทุนโดยตรงจากนักลงทุนในรูปแบบขององค์กร (Venture Capital หรือ VC) แต่อาจเคยขอเงินทุนในรูปแบบอื่นๆ จากช่องทางอื่นๆ โดยก่อนจะเข้าสู่เนื้อหามีคำแนะนำดีๆ ที่จะฝากกัน

  • จงอย่าสับสนระหว่างความสามารถการระดมทุนกับความสามารถการสร้างธุรกิจให้เจริญเติบโต ในทุกๆ ปีมีบริษัทนับพันนับหมื่นขอระดมทุนจากนักลงทุนในรูปแบบของ VC ซึ่งบางรายก็สามารถระดมทุนด้วยการจูงใจนายทุนได้เก่ง โดยเชื่อว่าภายในหนึ่งถึงห้าปีจะสามารถสร้างยอดขายได้จำนวนเท่านั้นเท่านี้เป็นอย่างต่ำ ส่วนอีกประเภทหนึ่งที่ไม่ผ่านการทดสอบ แต่ถ้ามองดีๆ แล้วก็อย่าพึ่งท้อใจ บริษัทประเภทหลังนี้อาจสามารถสร้างการเติบโตอย่างแท้จริงมากกว่าการระดมทุนเพียงอย่างเดียวก็ได้ แม้จะไม่สามารถสร้างยอดขายได้ถึงระดับร้อยล้านตามเป้าหมายหลักของนักลงทุนแบบ VC แต่มันก็อาจเป็นความสำเร็จเพียงพอสำหรับนักลงทุนอิสระ (Angel Investor) ดังนั้นจึงอย่าได้สับสนว่าจะก้าวต่อไปไม่ได้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง รู้จักกับรูปแบบนักลงทุน.. Angel หรือ VC ที่เหมาะกับธุรกิจใหม่ของคุณ
  • จงอย่าคาดหวังให้นายทุนเซ็นสัญญาการไม่เปิดเผยข้อมูล (NDA: Non-Disclosure Agreement) ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนแบบ VC หรือ Angel มักมองหาผู้ร่วมธุรกิจที่คล้ายคลึงกันอย่างน้อย 3 ถึง 4 ราย ซึ่งแน่นอนว่าถ้ามีการเซ็นสัญญาอาจต้องมีปัญหากัน ตัว Guy เองกล่าวว่าแม้ไอเดียบางอย่างดูน่าขโมยก็ตาม แต่มักไม่ค่อยได้ยินว่านายทุนรายใดจะเป็นคนหลอกลวงขโมยความคิดจากการเจรจาร่วมมือ พวกเค้าจะมีประสบการณ์และตระหนักว่าแม้เป็นความคิดที่ยอดเยี่ยมก็ตาม แต่การที่จะนำไปทำจริงจนสำเร็จได้นั้นไม่ใช่ง่าย (เสมือนไอเดียมีอยู่มากมายแต่ความสำเร็จอยู่ที่ใครทำจริงมากกว่านะคะ) ถ้าสุดท้ายมีการขอทำสัญญาจริงๆ (เสมือนสัญญาการแบ่งสมบัติก่อนแต่งงาน :D) โอกาสที่จะได้พบปะกับนายทุนครั้งต่อไปก็มีน้อยตามไปด้วยเช่นกัน

ที่นี้เรามาดูกันเลยดีกว่าว่าสิ่งที่นายทุนนั้นต้องการมีอะไรบ้าง

Wish-List

ภาพจาก Independentsector.org

  • โลกแห่งความเป็นจริง เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่โฟกัสที่จะนำบริษัทขึ้นตลาดหลักทรัพย์ หรือต้องการทำบริษัทให้เยี่ยมจนถูกซื้อจากบริษัทรายใหญ่อย่างรวดเร็ว แต่อย่าลืมว่า VC และนักลงทุนทั่วไปไม่ได้มีอุดมการณ์ขนาดที่อยากสร้างการมีความหมายเชิงธุรกิจหรือเปลี่ยนแปลงโลกอย่างที่คุณฝัน หรือพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นคือมันต้องทำเงินควบคู่กันไปด้วย
  • พลังในการดึงธุรกิจ  วิธีที่ง่ายที่สุดในการพิสูจน์ธุรกิจของคุณคือต้องสามารถสร้างรายได้ให้เห็นจริง สิ่งหนึ่งที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับนายทุนคือคุณมีลูกค้าในมือพร้อมเงินสดหมุนเวียนอยู่แล้ว คุณต้องแสดงพลังในการดึงธุรกิจขึ้นไปและหยุดความไม่น่าเชื่อถือในใจของนายทุนให้จงได้ พื้นฐานดังกล่าวคือคุณกำลังจูงใจให้พวกเขากระโดดข้ามความน่าเชื่อถือน่าไว้วางใจ คล้ายกับความเชื่อมั่นในการตัดสินใจกระโดดจากกระดานกระโดดน้ำข้างสระมากกว่าการตัดสินใจกระโดดจากสะพาน Golden Gate!  หากคุณยังไม่สามารถแสดงพลังที่แท้จริงในเวลานั้น อย่างน้อยก็ควรสามารถเสนอข้อมูลอ้างอิงอย่างรายชื่อลูกค้าที่พร้อมจะบอกว่า ถ้าคุณพัฒนามันขึ้นมา เราก็พร้อมจะซื้อ
  • ความชัดเจน นายทุนมักมีงานยุ่งดังนั้นคุณต้องสามารถเสนอการเจรจาที่มีเนื้อหาชัดเจน ความชัดเจนในที่นี้หมายถึงจะไม่มีคดีความใดๆ เช่น ด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ จากผู้ร่วมก่อตั้งคนเดิมที่มีปัญหากันมาก่อน เป็นต้น หากยังมีปัญหาที่นายทุนต้องการรู้และไม่ชัดเจนเหลืออยู่อีกมาก โอกาสจะให้ความสนใจในการเจรจาก็จะลดลงตามไปด้วย
  • ความตรงไปตรงมา ถ้าหากคุณยังมีปัญหาที่ไม่ใช่แก้ไขกันได้ง่ายๆ ค้างคาอยู่ก็ควรหาโอกาสพูดคุยเสีย พร้อมแนบแผนการแก้ไขปัญหานั้นๆ ไปด้วย โปรดอย่าลืมว่าสิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือข่าวร้ายที่ทำให้นายทุนประหลาดใจในตอนหลัง ตัวอย่างเช่นการร่วมทุนที่ยุ่งเหยิงเต็มไปด้วยคดีความและความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่ภายใต้หน้ากากแท้จริงของกิจการที่มองเห็น
  • ศัตรูคู่แข่ง การอ้างว่าปราศจากคู่แข่งนั้นเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจที่มีความหมายว่าคุณอาจจะยังหาตลาดแท้จริงไม่พบ นายทุนต้องการเห็นการแข่งขันบ้างเพราะสิ่งนั้นเองจะสามารถสร้างตลาดให้เกิดขึ้นจริง?? แต่ถ้าคุณยังมั่นใจว่ายังไม่มีคู่แข่งจริง ๆ (จริงหรือ?) ลองมองให้ดีว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มักจะชอบครอบคลองตลาดไปให้หมดนั้นก็มีโอกาสที่จะสร้างการคุกคามด้านการแข่งขันได้เช่นกัน

ทิ้งท้ายกันด้วยสิ่งต่างๆ ที่ควรรีบทำเป็น Checklist ไม่ว่าจะเป็นการทำแบบจำลอง (Prototype), การมีลูกค้ารายแรก, การตกลงกับหุ้นส่วนและคู่ค้าทั้งหลาย, เปิดตัวในเวลาที่เหมาะสมและทันเวลา แต่ที่สำคัญที่สุดที่ห้ามไม่ให้เกิดขึ้นโดยเร็วคือ เงินหมดเป็นอันขาด :D

คาดว่าข้อมูลเหล่านี้น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สุดท้ายอยากเชิญชวน Startup ต่างๆ มาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือเล่าประสบการณ์ที่พบเจอ แล้วพบกันใหม่ตอนที่ 2

บทความนี้เผยแพร่ครั้งแรกที่ thumbsup.in.th

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...