SCB 10X หัวใจสำคัญของการปรับตัวและสร้างนวัตกรรมนั้นไม่ใช่เทคโนโลยีแต่ คือ ‘คน' | Techsauce

SCB 10X หัวใจสำคัญของการปรับตัวและสร้างนวัตกรรมนั้นไม่ใช่เทคโนโลยีแต่ คือ ‘คน'

Digital Transformation ไม่ใช่คำที่ไกลตัวอีกต่อไป หลายบริษัทจำเป็นต้องทำการปรับตัวและสร้างนวัตกรรมเพื่อตามผู้อื่นให้ทัน อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามกับการริเริ่มที่ว่าต้องเริ่มจากจุดไหน?

ในงาน Techsauce Global Summit 2020 ที่ผ่านมา คุณกวีวุฒิ เต็มภูวภัทร หัวหน้าทีมอเวนเจอร์แห่ง SCB 10X ได้แบ่งปันประสบการณ์กับการก่อตั้งองค์กร ตั้งแต่การรวมรวมเงินทุน สู่การสร้างวัฒนกรรมองค์กรต่อไป

scb10x

ธนาคารไทยพานิชย์ (SCB) คือหนึ่งในสถาบันทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ด้วยอายุการประกอบการมากกว่า 100 ปี จึงทำให้ธนาคารไทยพานิชย์ มีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก และเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน ที่โลกแห่งการเงินมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและเพื่อให้ทันกับกระแสความต้องการของผู้บริโภคที่จะ ธนาคารไทยพานิชย์ได้มีการก่อตั้งลงทุนใน startup เอกชน รวมไปถึงการก่อตั้ง startup ของตนเอง (SCB ABACUS) เพื่อการสร้างนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีอีกด้วย

หนึ่งใน startup ที่มีแนวโน้มดีที่สุดภายใต้การลงทุนของพวกเขาคือ SCB 10X ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาของ startup ไทย ให้ทัดเทียมกับเหล่าแนวหน้าของโลก และ SCB 10X ก็ยังคงตามหาบริษัท startup ไทย เพื่อที่จะช่วยเหลือด้านการพัฒนา โดยต้องเป็นไปตามแนวทางพัฒนา 3C&4E ที่พวกเขาตั้งขึ้น

3C หรือสามศักยภาพ ได้แก่

  1. เทคโนโลยีบล็อคเชน
  2. Design thinking และ Lean startup
  3. ความเป็นเลิศด้านการกำกับดูแล (Regulatory excellence)

4E หรือสี่ระบบนิเวศ ได้แก่

  1. FinTech และการบริการทางการเงิน
  2. ระบบการเงินไร้ตัวกลาง (DeFi - Decentralized finance)
  3. การใช้ชีวิตและการทำงานในยุคดิจิตอล
  4. การดูแลสุขภาพในยุคดิจิตอล

ด้วยหลักการ 3C และ 4E ที่มุ่งเน้นด้านการสร้างนวัตกรรม ความสร้างสรรค์ และการร่วมมือกัน ซึ่งถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการลงทุน และ SCB 10X ยังต้องการมองหา startup ใหม่ๆ ที่พวกเขาจะช่วยพัฒนาในสามด้าน ได้แก่

  1. การลงทุน - เพื่อการสร้างเทคโนโลยีในอนาคต
  2. การเริ่มต้น - เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนในการสร้างหรือริเริ่มธุรกิจ
  3. การร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ - เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

นอกจากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น SCB 10X ยังมีความใส่ใจในด้านความเร็วในการทำงานอีกด้วย ซึ่งคุณกวีวุฒิ กล่าวว่า SCB 10X นั้น ต้องการให้บริษัทนั้นนำเสนอผลลัพธ์ได้เร็วกว่าบริษัททั่วไปได้ถึง 5 เท่า โดยการทำงานด้วยความเร็วนี้ จะช่วยลดความเสี่ยงและยังส่งเสริมให้มีการเรียนรู้จากความผิดพลาด รวมไปถึงการแก้ไขปรับตัวได้ดีขึ้น (Fail Cheap and Fast)

คุณกวีวุฒิยังได้กล่าวอีกว่า “มันไม่ใช่งานที่คุณต้องทำตั้งแต่หนึ่งถึงร้อย แต่ยังมีบางอย่างที่สำคัญกว่าวิธีการทำงาน มันคือคน” เพราะฉะนั้น SCB 10X ไม่ได้ต้องการที่จะพัฒนา เพียงในด้านของการสร้างผลิตภัณฑ์หรือการทำงานเท่านั้น แต่ยังมีด้านของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อความยั่งยืน

SCB 10X จึงยึดแนวทางการทำงาน จากศูนย์ไปหนึ่ง โดยอาศัยการใช้ทรัพยากรมนุษย์อย่างคุ้มค่าร่วมกับการทำงานที่สร้างคุณค่าและความหมายให้กับทุกคน ซึงในสภาพความเป็นจริงนั้น การทำงานหลายๆประเภท สามารถเร่งให้สำเร็จเร็วขึ้นได้ แต่หนึ่งสิ่งที่ควรละเว้นไว้คือการจ้างงาน เพราะการจ้างงานนั้น มีความหมายมากกว่าการเลือกคนเข้ามาร่วมในทีม แต่ยังมีผลไปถึงด้านสร้างผลลัพธ์อีกด้วย ซึ่งการจ้างคนที่เหมาะสมนั้น จะช่วยในเรื่องของการทำงานเป็นอย่างมาก เนื่องจากคุณจะสามารถมั่นใจในการทำงาน และยังลดความจำเป็นที่จะต้องคอยดูแลการทำงานอีกด้วย

ด้วยแนวทางการทำงานที่บริษัทยึดถือนี้ มีผลต่อการทำงานภายในองค์กรเป็นอย่างมาก ซึ่งทำให้ SCB 10X กลายเป็นแหล่งรวมบุคคลากรมากความสามารถ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำและบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก นอกจากนี้ พวกเขายังมีสัมพันธไมตรีที่แน่นแฟ้นกับโรงเรียนแพทย์ ด้วยแผนการที่จะร่วมช่วยเหลือในการพัฒนาด้านการดูแลสุขภาพอีกด้วย

ผู้คนในสถานที่ทำงานควรจะมีความหลากหลาย เพราะถ้าทุกคนในสถานที่ทำงานมีประสบการณ์และคุณลักษณะที่เหมือนกัน การคาดหวังถึงนวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ คงเป็นเรื่องยาก

ในการประกอบธุรกิจทุกประเภท จำเป็นต้องมีการผสมผสานร่วมกันในทั้งเรื่องการใช้ความคิด จริยธรรม และการลงมือทำ ซึ่งส่วนผสมนี้ ไม่ได้มีสูตรสำเร็จที่ตายตัว และทุกบริษัทต้องหาสูตรที่เหมาะสมกับตัวเองให้ได้ 

เมื่อมองลึกลงไปถึงวัฒนธรรมองค์กรภายใน SCB 10X เพื่อที่จะให้ไปถึงเป้าหมายสูงสุด บริษัทจึงมีหลักการ “BOOST” หรือ Boldness (ความกล้าหาญ), Open (ความใจกว้าง), Ownership (การร่วมเป็นเจ้าของ), Speed (ความรวดเร็วในการทำงาน) และ Trust of Impacts (การยอมรับในผลกระทบ) เพื่อการสร้างนวัตกรรมแห่งอนาคต พวกเขายังมีการเลือกใช้แนวคิดการทำงาน  Agile and Scrum (ทำทีละนิดแต่ทำบ่อยๆ เพื่อลดโอกาสผิดพลาด และมุ่งเน้นการสื่อสารเป็นหลัก) ในทุกๆ วันของการทำงาน พวกเขายังต้องมีการประชุมในทุกเช้า เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ คุณกวีวุฒิ ยังได้เสริมต่ออีกว่า ผู้ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในที่ทำงานก็มีความสำคัญ ไม่แพ้บุคคลากรในบริษัท เพราะพวกเขาคือผู้สร้างบรรยากาศการทำงานให้มีความคิดสร้างสรรค์และเอื้อต่อการผลิตชิ้นงานที่มีคุณภาพอีกด้วย

เพื่อที่จะสร้างนวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง ทุกสิ่งล้วนเริ่มมาจากความคิดริเริ่มทั้งสิ้น และเมื่อคุณมีความสงสัยหรือไม่มั่นใจในนวัตกรรมของตัวเอง คุณควรที่จะมองข้ามปัญหาไป และเริ่มรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้อื่น การฟูมฟักความคิดนั้น จะเกิดขึ้นได้เมื่อคุณเริ่มรับฟังผู้อื่น และเก็บสะสมคำแนะนำนั้นๆ ไปเพื่อพัฒนานวัตกรรมต่อไป ซึ่งในช่วงเวลานี้ ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีความจำเป็นอย่างมาก เมื่อคุณสามารถสร้างคำตอบที่คุณพอใจได้แล้ว ต่อไปคือการเข้าสู่ช่วงการผลิตชิ้นงานนวัตกรรม ซึ่งการรับฟังผลตอบรับก็ยังมีความจำเป็นอยู่เสมอ โดยจะมีทั้งกลุ่มลูกค้าที่มีความเข้าใจในตัวผลงาน และอีกกลุ่มที่จะเกิดคำถามหรือความไม่เข้าใจ การรับฟังและพัฒนาจะเป็นจุดสำคัญ ที่จะช่วยหล่อหลอมนวัตกรรมของคุณให้เป็นผู้นำในตลาดโลกต่อไป

ในโลกธุรกิจสมัยใหม่ การก่อตั้งองค์กรควรจะเล็งเห็นถึงประโยชน์ต่อผู้คนเป็นหลัก แล้วผู้คนจะสร้างผลลัพธ์ที่คุณอาจจะคาดไม่ถึง

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างคอนเทนต์ที่น่าสนใจภายในงาน Techsauce Global Summit 2020 เท่านั้น ติดตามสรุปไฮไลท์ session ที่น่าสนใจได้เร็วๆ นี้หรือติดตามรายละเอียดได้ที่ http://summit.techsauce.co

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...