Decarbonization คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อเป้าหมายด้านสาธารณูปโภคและดิจิทัลกริด | Techsauce

Decarbonization คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรต่อเป้าหมายด้านสาธารณูปโภคและดิจิทัลกริด

ในขณะที่สาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าทั่วโลกได้ปรับสมดุลสายการผลิตพลังงานให้สอดคล้องกับแหล่งพลังงานหมุนเวียน และด้วยความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศให้ได้อย่างรวดเร็ว จึงมีการเรียกร้องให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคทำงานหนักขึ้น นอกจากเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียน หรือเลิกใช้แหล่งพลังงานที่ก่อมลพิษคาร์บอนแล้ว สาธารณูปโภคต้องบริหารจัดการกริดให้แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดคาร์บอน ( Decarbonization )ได้ในเชิงรุกมากขึ้น

Decarbonization

Decarbonization หมายถึงอะไร และทำไมสาธารณูปโภคทั้งหลายต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง

เมื่อพูดถึงการจำกัดโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5°C และการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดูเหมือนจะมีการใช้คำที่สลับสับเปลี่ยนกันหลากหลาย ในขณะที่เรากำลังดำเนินการเรื่องของการลดการปล่อยคาร์บอน (decarbonization) สร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน (carbon neutrality) การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) นั้น คำเหล่านี้ก็จะถูกใช้สลับกันไปมา ซึ่งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) ได้ให้คำจำกัดความคำศัพท์เหล่านี้ไว้อย่างชัดเจน

Net-zero emission นอกจากครอบคลุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ทั้งหมด หากยังอ้างถึงการสร้างสมดุลในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กับการกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกไปได้ภายในเวลาที่กำหนด

Carbon neutrality โดยหลักการแล้วเป็นเรื่องเกี่ยวกับคาร์บอนอย่างเดียว สอดคล้องตามข้อมูลจากสภายุโรป สภาพอากาศ หรือความเป็นกลางของคาร์บอน จะบรรลุได้ก็ต่อเมื่อ “ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ มีปริมาณเท่ากับที่ถูกกำจัดออกไปด้วยมาตรการต่าง ๆ ทำให้บรรลุจุดสมดุลที่ศูนย์ หรือที่เรียกกันว่า carbon footprint เป็นศูนย์” 

Decarbonization คือกระบวนการที่ประเทศ บุคคล หรือหน่วยงานใดก็ตาม มุ่งเป้าเพื่อให้บรรลุการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลจนเหลือศูนย์ สำหรับภาคพลังงาน หมายถึงการลดการปล่อยคาร์บอนต่อหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่สร้างขึ้น เพื่อลดความเข้มข้นของคาร์บอนนั่นเอง

สาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า มีส่วนร่วมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนทั้งหมดทั่วโลกในอัตรา 25 เปอร์เซ็นต์ จึงทำให้มีบทบาทสำคัญในการมุ่งสู่อนาคตคาร์บอนต่ำ  Renewable Energy World ได้อธิบายแนวทางเฉพาะด้านไว้ 2-3 แนวทาง ที่สาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าสามารถทำให้บรรลุการปล่อยคาร์บอนในปริมาณต่ำ “เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอน สาธารณูปโภคต่าง ๆ จะต้องนำกลยุทธ์หลายอย่างมาใช้ เช่น การดักจับคาร์บอน ระบบการค้าคาร์บอน และการลงทุนเทคโนโลยี และแหล่งพลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ” 

การจัดระเบียบภาคการไฟฟ้า คือหัวใจหลักของการลดการปล่อยคาร์บอนได้ทั่วระบบเศรษฐกิจ และสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า ก็มีบทบาทสำคัญมากในการทำให้เรามั่นใจว่ากำลังก้าวไปบนเส้นทางแห่งอนาคตอันสดใส ในขณะที่การบรรลุเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำคือเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ สาธารณูปโภคและประเทศต่าง ๆ ก็พร้อมมุ่งไปให้ถึงจุดนั้น โดยในปี 2018 Xcel Energy ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นสาธารณูปโภครายใหญ่รายแรกของอเมริกาที่ให้คำมั่นต่อ net-zero ด้วยวิสัยทัศน์ของการมอบไฟฟ้าที่ปลอดคาร์บอน 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 และในปี 2019 Arizona Public Service (APS) ก็ตามมาด้วยการเป็นสาธารณูปโภคแห่งที่สองของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศเป้าหมายในการมอบพลังงานไฟฟ้าปลอดคาร์บอน ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดแบบ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2050 เช่นกัน  โดยสหราชอาณาจักร เป็นประเทศเศรษฐกิจหลักรายแรกในปี 2019 ที่ให้คำมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2050 โดยมีการออกแผน Ten Point Plan เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อมุ่งสู่การปฏิวัติภาคอุตสาหกรรมสีเขียว

ที่ Schneider Electric นอกจากการนำโซลูชันระบบบริหารจัดการกริดชั้นนำในตลาดมาช่วยลูกค้า เช่น Xcel และ APS แล้ว เรายังดำเนินการเชิงรุกด้วยการกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอนของเราเอง ไม่ว่าจะเป็นการบรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในการดำเนินงาน การสาธิตความเป็นกลางด้านคาร์บอนในระบบนิเวศที่ขยายให้ครอบคลุมยิ่งขึ้นภายในปี 2025 รวมถึงการบรรลุเป้าหมายด้านซัพพลายเชนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 เช่นกัน

การใช้ประโยชน์จากดิจิทัลกริด

แนวทางดั้งเดิมในการผลิตและกระจายไฟฟ้าไม่อาจสร้างอนาคตใหม่ที่ให้พลังงานสะอาดมากขึ้นได้ เป้าหมายของความเป็นกลางด้านคาร์บอน จะช่วยปรับปรุงทุกแง่มุมของอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภค โดยเฉพาะเรื่องการบริหารจัดการกริด  หากคุณทำงานด้านสาธารณูปโภคที่กำลังวางแผนเกี่ยวกับอนาคตคาร์บอนต่ำ ให้ลองพิจารณาว่าการปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลในสามประเด็นต่อไปนี้ จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายของคุณได้อย่างไร 

Decarbonization

การบริหารจัดการแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์

แหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ หรือ DER (Distributed Energy Resource) คือหน่วยเล็ก ๆ ที่สร้างพลังงาน โดยเป็นการดำเนินการภายในพื้นที่ และเชื่อมต่อกับกริดพลังงานที่ใหญ่กว่าในเรื่องการกระจายพลังงาน โดยจะประกอบไปด้วยแผงโซลาร์ ระบบกักเก็บพลังงานในรูปแบตเตอรี่ ยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ โหลดที่มีระบบควบคุม ฯลฯ สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ พลังงานที่ได้จาก DER นั้นถูกสร้างขึ้นและมีไว้สำหรับใช้ในพื้นที่

เมื่อโลกเคลื่อนไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ การนำ DER มาใช้ นับเป็นความท้าทายต่อการดำเนินงานด้านสาธารณูปโภค รวมถึงบูรณาการด้านทรัพยากรและการวางแผน ประเด็นนี้ทำให้การปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัล และระบบออโตเมชั่นสำหรับกริดถือเป็นสิ่งจำเป็น โดยสาธารณูปโภคสามารถตรวจสอบและประเมินสถานะทั้งในปัจจุบันและในอนาคตได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วางรูปแบบกิจกรรมแบบเรียลไทม์และคาดการณ์ได้ รวมถึงบริหารจัดการและควบคุมได้อย่างเหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ สาธารณูปโภคต้องสามารถควบคุมและกระจายการสร้างไฟฟ้าพร้อมส่งมอบผ่านระบบดิจิทัล อีกทั้งปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยของพลังงาน ทั้งคุณภาพและความน่าเชื่อถือ

เชื่อมโยงระบบบริหารจัดการการดำเนินงานและระบบริหารธุรกิจด้วย ADMS

ระบบบริหารจัดการการกระจายพลังงานที่ล้ำหน้า หรือ ADMS (Advanced Distribution Management System) คือการเชื่อมโยงระหว่างระบบบริหารจัดการการดำเนินงาน (OT) และระบบบริหารจัดการข้อมูล (IT) และถือเป็นกลยุทธ์พื้นฐานสำหรับการเป็นสาธารณูปโภคที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดย ADMS จะช่วยให้ระบบสาธารณูปโภคสามารถบริหารจัดการกริดได้ดียิ่งขึ้น ครอบคลุมถึงเรื่องการตรวจสอบ การวิเคราะห์ ควบคุม การเพิ่มประสิทธิภาพ การวางแผน และเครื่องมือที่ฝึกอบรม ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งหมดในการเป็นตัวแทนเครือข่ายกระจายไฟฟ้า (เช่น คู่เสมือนดิจิทัล หรือ Digital Twin) การรวมระบบบริหารการกระจาย (DMS) ระบบบจัดการกระแสไฟฟ้าขัดข้อง และระบบควบคุมและประมวลผลข้อมูลแบบรวมศูนย์ หรือ SCADA ไว้ในโซลูชันเดียว โดยจะช่วยให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคได้รับประโยชน์สูงสุดจากสมาร์ทกริด หรือโครงข่ายอัจฉริยะที่ก้าวหน้า

โฮเซ่ ริโอ บลองโก จาก Schneider Electric ยังได้อธิบายต่อถึงแพลตฟอร์ม ADMS 

แพลตฟอร์ม ADMS จะทำหน้าที่จัดการโมเดลเครือข่ายการกระจายไฟฟ้าแบบบูรณาการ รวมถึงสินทรัพย์ต่าง ๆ ด้วยการเผยแพร่และรับข้อมูลจากระบบงานภายนอก ด้วยองค์ประกอบ DER หรือแหล่งพลังงานแบบกระจายศูนย์ ที่กระจายตัวอยู่ในเครือข่ายกระจายไฟฟ้า เช่นแหล่งผลิตไฟฟ้าที่กระจายตัวอยู่ตามที่ต่าง ๆ ระบบจัดเก็บ ยานยนต์ระบบไฟฟ้า และไมโครกริดต่าง ๆ รวมถึงอุปกรณ์ในฝั่งผู้ใช้งาน เช่น บ้านอัจฉริยะ โปรแกรมตอบสนองความต้องการใช้งาน ตัวแทนคนกลางรายใหม่ ๆ ในตลาดที่มีการควบคุมกำกับดูแล จึงทำให้แพลตฟอร์ม ADMS กลายเป็นเสาหลักที่เป็นพื้นฐานการดำเนินการทุกวันสำหรับตัวแทนจำหน่าย

สุดท้าย โซลูชัน ADMS จะค่อย ๆ รวมเรื่องการวิเคราะห์ และฟีเจอร์แมชชีนเลิร์นนิ่งเข้ามา โดยจะช่วยเพิ่มความสามารถให้กับขั้นตอนการประมวลผลแบบดั้งเดิมที่ใช้ในการจำลองสถานการณ์และวางแผน รวมถึงขั้นตอนการประมวลผลในระบบออนไลน์เพื่อปรับการดำเนินงานได้เหมาะสมเต็มประสิทธิภาพ

เป้าหมายของการลดการเกิดคาร์บอนจะบรรลุได้ด้วยการมีมุมมองที่ชัดเจนเกี่ยวกับระบบงานในปัจจุบันและมุมมองในการนำไปปฏิบัติสำหรับอนาคต การนำประโยชน์ของ ADMS มาเชื่อมโยงกับธุรกิจและการดำเนินงาน นอกจากจะช่วยปรับปรุงการบริหารจัดการกริดในภาพรวมแล้ว ยังช่วยผลักดันสู่การปฏิรูปที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทีละน้อยได้ในที่สุด

ขยายการใช้งานสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้สูงสุด

การปฏิรูปสู่ดิจิทัล ไม่ใช่เป็นเรื่องของคำว่ามากขึ้นเพียงอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงการเพิ่มแหล่งพลังงานมากขึ้น หรือสินทรัพย์มากขึ้นเสมอไป แต่ยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่มีอยู่ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลให้การกระจายพลังงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและให้ผลลัพธ์สู่เป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจกในภาพรวม

การปรับระบบบริหารจัดการสินทรัพย์เป็นดิจิทัล ช่วยให้หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคที่มีเป้าหมายในการสร้างความเป็นกลางด้านคาร์บอน สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากสินทรัพย์ทั้งที่มาจากการดำเนินงาน ฝ่ายเทคนิค การเงิน และแหล่งภูมิสารสนเทศได้ดียิ่งขึ้น ฝ่ายปฏิบัติการสามารถเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าจะต้องดำเนินการซ่อมบำรุงที่ไหนอย่างไร เพื่อให้หลีกเลี่ยงการเกิดไฟฟ้าขัดข้อง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรในส่วนคนทำงานได้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงอย่างการเกิดดาวน์ไทม์โดยไม่มีการวางแผนได้ และสามารถตรวจพบการแทรกแซงในส่วนการซ่อมบำรุงที่ราคาแพง พร้อมแก้ไขได้ทันก่อนที่จะคุกคามถึงเสถียรภาพของกริดและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค

เช่นเดียวกับคนทั่วไป ที่ไม่อยากเสียเงินไปกับการติดแผงโซลาร์ให้กับบ้านธรรมดา หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคก็เช่นกัน ต้องมั่นใจว่าสินทรัพย์ในปัจจุบันได้รับการปรับเปลี่ยนอย่างเหมาะสมตลอดช่วงเวลาในการปฏิรูปสู่ดิจิทัล

สาธารณูปโภคปรับกระบวนการดำเนินงานของกริดสู่ระบบดิจิทัล เพื่อสร้างความยั่งยืน

การปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลช่วยสร้างศักยภาพในการปฏิรูปสู่ความเป็นกลางด้านคาร์บอนของอุตสาหกรรมด้านสาธารณูปโภค ซึ่งหากไม่ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศได้ ตัวอย่างต่อไปนี้จะช่วยให้เห็นภาพว่า จริงๆ แล้วการปรับกระบวนการสู่ดิจิทัลจะช่วยให้สาธารณูปโภคก้าวไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนได้อย่างไร

โครงการสร้างอนาคตของเมืองในเซาเปาโล

หัวใจของโครงการสร้างอนาคตของเมือง ซึ่งเป็นโครงการของ Enel คือการสร้าง Network Digital Twin ที่แรกในอเมริกาใต้ ซึ่งคู่เสมือน หรือ Twin คือโมเดลดิจิทัลแบบ 3D ที่จำลองโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้าในพื้นที่ ด้วยการใช้เซ็นเซอร์หลายพันตัวที่ติดตั้งอยู่ในกริดของจริง ซึ่งแต่ละตัวจะสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของกริดแบบเรียลไทม์ไปยังตัวแทนจำหน่ายและผู้ที่มีส่วนร่วมในพื้นที่ ท้ายที่สุดแล้ว Digital Twin จะถูกนำมาใช้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานและประสิทธิภาพ รวมถึงการประหยัดค่าใช้จ่าย

โครงการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการปรับเครือข่ายไฟฟ้าสู่ระบบดิจิทัล รวมถึงอาคาร และระบบโครงสร้างพื้นฐานของเมือง สามารถพัฒนาในห้องปฏิบัติการที่มีอยู่ได้ ทั้งพลเมือง ผู้ประกอบการ เทศบาลเมือง และมหาวิทยาลัย สามารถร่วมสร้างสรรค์โซลูชันนวัตกรรมที่เชื่อมต่อกับระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในพื้นที่ได้ เช่น เรื่องของโมบิลิตี้ ความปลอดภัย การลดของเสีย การรักษาความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมของเมือง

การนำประโยชน์จากเทคโนโลยีล้ำหน้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับมลรัฐเท็กซัส

Austin Energy ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคของชุมชนรายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ในสหรัฐอเมริกา ให้บริการแก่ผู้อาศัยที่อยู่รอบเมืองหลวงของเท็กซัสนับหลายล้านราย ทั้งนี้ Austin Energy ได้นำเทคโนโลยีล้ำหน้ามาใช้ รวมถึงการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล โดยมุ่งเป้าที่การเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน สร้างโครงข่ายพลังงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้น อีกทั้งช่วยปรับปรุงเรื่องความน่าเชื่อถือ

การดำเนินงานตามภารกิจ ด้วยความรู้และเข้าใจว่า ADMS สามารถช่วยให้ตัดสินใจดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น ด้วยการผสานข้อมูลจากหลายล้านจุดรวมอยู่ในประสบการณ์ผู้ใช้เพียงจุดเดียว จึงทำให้ Austin Energy เลือก Schneider Electric เป็นผู้ติดตั้งระบบ ADMS ให้

ผลลัพธ์ที่ได้ คือการปรับกระบวนการสู่ระบบดิจิทัลและระบบออโตเมชั่นที่ดียิ่งขึ้น โดยช่วยให้สาธารณูปโภคเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์และมองเห็นการดำเนินงานได้ดีขึ้น  นอกจากนี้ ADMS ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืนของ Austin Energy ที่รวมถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้ 55 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2025   ทั้งนี้การนำ ADMS มาปรับใช้แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญที่นำไปสู่กริดที่ให้ความเป็นอัจฉริยะมากขึ้น และเป็นตัวอย่างแก่หน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น ๆ ที่กำลังมุ่งไปสู่การสร้างโลกที่ให้ประสิทธิภาพด้านพลังงาน ให้ความยืดหยุ่นและยั่งยืนมากขึ้น

บทสรุป

ในขณะที่หลายหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคเริ่มแถลงเป้าหมายความเป็นกลางด้านคาร์บอน ซึ่งต้องรองรับด้วยการดำเนินการที่จำเป็นเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน สาธารณูปโภคจำต้องเพิ่มการลงทุนในแนวทางใหม่ ๆ เพื่อบริหารจัดการธุรกิจ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบงาน พนักงาน ลูกค้าและผู้มีส่วนร่วมรายใหม่ของธุรกิจ อีกทั้งต้องมีการวางแผนการสำหรับอนาคตคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ยังต้องปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินให้ได้ภายใน 2030 รวมถึงทบทวนแผนงานในการสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซแห่งใหม่ พร้อมให้การสนับสนุนพลังงานสะอาดให้เร็วยิ่งขึ้น

แนวทางใหม่ ๆ และเทคโนโลยีดิจิทัล จะช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการกริดได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น พร้อมปรับปรุงการบริการและความน่าเชื่อถือสำหรับผู้บริโภคเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมต่อไป เพื่อให้ net zero กลายเป็นจริงขึ้นมาได้

บทความโดย สก็อตต์ โคห์เลอร์, รองประธานฝ่ายกลยุทธ์ นวัตกรรมและการตลาด ส่วนโซลูชันดิจิทัลกริด ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...