Digital Skill หรือ ทักษะด้านดิจิทัล อีกหนึ่งคำศัพท์ที่ทุกคนต้องเคยได้ยินจนคุ้นหู และกลายเป็นคำพูดติดปาก เนื่องจากในยุคปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหน ล้วนแต่มี “เทคโนโลยีดิจิทัล” เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งในชีวิตประจำวันที่ทุกคนใช้สมาร์ทโฟนจับจ่ายใช้สอยบนโลกออนไลน์ ติดต่อสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดีย ไปจนถึงใช้พื้นที่บนอินเทอร์เน็ตในการทำงาน ที่ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนรุ่นไหน เพศอะไร ก็ล้วนใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งสิ้น
หากมองดูภาพรวมในประเทศไทย นับตั้งแต่มีการระบาดของโควิด-19 “เศรษฐกิจดิจิทัล” ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากรายงานของ e-Conomy SEA 2021 ที่จัดทำโดยความร่วมมือของ Google, TEMASEK และ Bain & Company ชี้ว่า ในช่วงปี 2020 จนถึงครึ่งปีแรกของปี 2021 มีคนไทยหันมาใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นกว่า 9 ล้านคน โดยเฉพาะการซื้อ-ขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งตลาด E-commerce ของไทยได้รับการคาดการณ์ว่าจะพุ่งสูงไปถึง 3.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2025 หรือเติบโตเฉลี่ยปีละ 14% และจากพฤติกรรมการช้อปออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้งาน e-Wallet เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยคาดการณ์ว่าจะเพิ่มจำนวนจาก 18.6 ล้านคนในปี 2021 เป็น 41.9 ล้านคนในปี 2025
ทั้งนี้มีหลายปัจจัยที่ให้คนไทยเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ทั้งการออกนโยบายช่วยเหลือจากรัฐบาล อย่างเช่น โครงการคนละครึ่ง ที่เป็นตัวช่วยให้คนไทยได้คุ้นชินกับเทคโนโลยีดิจิทัล การต้องปรับตัวมาทำงานแบบ Work from Anywhere ใช้งานโลกออนไลน์ในการสื่อสาร เรียนรู้ ไปจนถึงสร้างอาชีพ อย่างที่เราได้เห็นว่ามีอาชีพใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย
อย่างไรก็ตาม คนไทยยังคงเรียกได้ว่า ขาดทักษะทางด้านดิจิทัล ซึ่งจากรายงานของ World Economic Forum พบว่า 49.8% ของคนไทยวัยทำงานมองว่าตนเองยังขาดทักษะใหม่ ๆ โดยเฉพาะด้านดิจิทัล ต้องการที่จะพัฒนาทักษะด้านนี้เพื่อให้เข้ากับการทำงานในปัจจุบัน และเพื่อให้มีทักษะติดตัวต่อไปในอนาคต โดยผลสำรวจยังพบว่า มีเพียง 54.9% ของแรงงานไทยที่มีความรู้ทักษะดิจิทัล ซึ่งยังตามหลังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอย่างเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย หรืออาจกล่าวได้ว่ายังมีแรงงานไทยจำนวนเกือบครึ่งที่ยังขาดทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพในปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าทักษะดิจิทัลนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีผลไปถึงการใช้ชีวิตประจำวันของทุกคน อีกทั้งองค์กรยังคงมีความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านนี้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบของผู้ที่มีความพร้อมด้านดิจิทัลที่จะสามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันนี้ได้
แล้วถ้าเราเป็นหนึ่งบุคคลที่สามารถใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลได้ แต่ไม่ได้มีความชำนาญมากนักจะทำอย่างไร? จะนำทักษะและความชอบที่มีอยู่มาปรับใช้กับอาชีพการทำงานอย่างไร? แล้วจะเริ่มต้นเรียนรู้ทักษะจากที่ไหน?
นับว่าเป็นโอกาสดีสำหรับ “ทุกคน” ที่จะได้มีช่องทางเพื่อสร้างหรือเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับทุกเพศ ทุกวัย เมื่อ Sea (ประเทศไทย) ได้จับมือกับพันธมิตร นำความชำนาญที่ Sea มีมาต่อยอดเป็นแพลตฟอร์มให้คนไทยได้เข้าไปเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะด้านดิจิทัลบนเว็บไซต์ ในโครงการ Sea Academy แหล่งต่อยอดการเรียนรู้และทักษะดิจิทัลสู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน ซึ่งได้เปิดตัวไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2022 ที่ผ่านมาเนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของ Sea (ประเทศไทย) ภายใต้คอนเซปต์ “Growing Digital Skills for All” มุ่งหวังให้คนไทยเข้าถึงความรู้ และสามารถนำความรู้และทักษะดิจิทัลที่สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละบุคคลไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ในโอกาสที่ Sea (ประเทศไทย) ครบรอบ 10 ปี เรายังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมไทย และต่อยอดโครงการพัฒนา Human Capital Development ที่มาจากความเชี่ยวชาญทางธุรกิจของ Sea (ประเทศไทย) อย่างยั่งยืน โดย Sea Academy จะเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญที่ช่วยผลักดันและส่งเสริมความรู้และทักษะดิจิทัล (Digital Education) และช่วยให้คนไทยเข้าถึงความรู้ทักษะดิจิทัล และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน สร้างความสะดวกสบาย รายได้ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลไปด้วยกัน
คุณมณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Sea (ประเทศไทย)
โดย Sea Academy จะมีการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่ Gaming & Esports, E-commerce และ Digital Finance ซึ่งล้วนเป็นความชำนาญของ Sea ที่ได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์ม รวมไปถึงช่องทางต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ 3 ด้านนี้มาอย่างต่อเนื่อง ทั้ง Garena, Shopee และ SeaMoney
โดยเนื้อหาในบทเรียนที่ทุกคนจะได้สัมผัสมีดังนี้
อย่างที่ทราบกันดีว่า Sea คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มและพัฒนาเกมอย่าง Garena ได้มองเห็นโอกาสในกีฬาอย่าง Esports และต้องการที่จะพัฒนาเยาวชนให้สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพในวงการเกมและ Esports ผ่านสื่อการเรียนการสอน พร้อมกับให้คำแนะนำในการเล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 บทเรียนย่อยได้ดังนี้
เปิดโลกเศรษฐกิจดิจิทัล ผ่านการเรียนรู้การใช้แพลตฟอร์ม Shopee ในแบบที่ง่าย ๆ เหมาะสำหรับมือใหม่ หรือแม้แต่วัยเกษียณ รวมถึงสอนเทคนิคการใช้เครื่องมือการตลาดบน Shopee อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อต่อยอดเป็นธุรกิจบนโลกออนไลน์
SeaMoney หนึ่งในแพลตฟอร์มทางการเงินของ Sea ที่นับว่าประสบความสำเร็จ และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยของโลกการเงินยุคดิจิทัล ที่จำเป็นสำหรับทุกคน โดยจะเปิดให้มีการเรียนรู้พื้นฐานทางการเงินดิจิทัลและการใช้เครื่องมือทางการเงินดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย กับบทเรียน Digital Finance 101 แหล่งเรียนรู้การเงินดิจิทัลสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการเรียนรู้พื้นฐานทางการเงินดิจิทัล และการใช้เครื่องมือทางการเงินดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ
และไม่ต้องกังวล เพราะทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย สามารถเข้าไปค้นหาความรู้ใหม่ ๆ สร้างทักษะด้านดิจิทัลกันได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายบนเว็บไซต์ Sea Academy
ซึ่งโครงการ Sea Academy นี้ได้อยู่ภายใต้ความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความรู้และทักษะดิจิทัล (Digital Education) ที่ดำเนินมาแล้วกว่า 3 ปี อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการผลักดันยุทธศาสตร์ 10 in 10 ของ Sea (ประเทศไทย) ที่ต้องการจะสร้าง Digital Talent 10 ล้านคน ใน 10 ปี โดยได้มีการจัดทำกิจกรรมเพื่อการศึกษาและสังคมมากกว่า 100 โครงการ ปัจจุบัน Sea (ประเทศไทย) สามารถเข้าไปสร้างเสริมทักษะดิจิทัลด้านต่าง ๆ ให้แก่คนไทยได้แล้วราว 4.18 ล้านคน ซึ่งมีทั้งนักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป และวัยเกษียณ
โดยทาง Sea (ประเทศไทย) จะมีการพัฒนาและต่อยอดไปเรื่อย ๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้เข้าถึงทักษะด้านดิจิทัล และทางเว็บไซต์ Sea Academy จะมีการเพิ่มเนื้อหาใหม่ ๆ ที่น่าสนใจอย่างต่อเนื่องให้เหมาะกับผู้ที่สนใจหาความรู้ทุกเพศ ทุกวัย อีกทั้งยังเตรียมที่จะร่วมมือกับหลากหลายพันธมิตรทางด้านต่าง ๆ เพื่อช่วยส่งต่อความรู้และทักษะดิจิทัลให้สังคมไทยต่อไป เพราะ Sea (ประเทศไทย) ยังคงมุ่งมั่นที่จะสร้าง Digital Talents ในประเทศไทยให้ได้ตามเป้า 10 ล้านคนที่วางเอาไว้อีกด้วย
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด