Founder ต้องรู้อะไร ก่อนตัดสินใจขายธุรกิจ Startup | Techsauce

Founder ต้องรู้อะไร ก่อนตัดสินใจขายธุรกิจ Startup

การเข้าซื้อกิจการมีหลากหลายรูปแบบ  อย่างเช่น เข้าซื้อหุ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และมีสิทธิบริหารกิจการ หรือซื้อเฉพาะสินทรัพย์ หรือหน่วยธุรกิจบางหน่วยที่เห็นว่าทำกำไรได้ดี มีอนาคตสดใส หรือส่งเสริมกับธุรกิจของตัวเองก็เป็นไปได้เช่นกัน ซึ่งรูปแบบการควบรวมที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละดีลธุรกิจก็จะมีรายละเอียดแตกต่างกันออกไป เพราะหลังจากปิดดีลได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปคือการปรับปรุงการบริหาร Operation ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงและเป้าหมายใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ เราจะเห็นผลกระทบต่อพนักงานในธุรกิจที่มีการควบรวมอย่างชัดเจน จึงทำให้เจ้าของกิจการจำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่า ก่อนตัดสินใจขายธุรกิจ Startup ต้องรู้อะไรบ้าง โดยบทความนี้จะพาไปดูแต่ละข้อที่จะบอกว่าต้องรู้อะไรก่อนตัดสินใจขายธุรกิจ

1.รู้จักผู้ซื้อกิจการเสียก่อน (Know your Acquirer)

สิ่งที่เจ้าของกิจการควรรู้เป็นอันดับแรกคือการประเมินผู้เข้าซื้อกิจการเสียก่อน เพราะจะทำให้เกิดการเตรียมพร้อมทั้งตัวเองและพนักงานในบริษัท เพราะบางครั้งการเข้าซื้อกิจการอาจทำให้เกิดความบาดหมางทางความคิดและมีผลกระทบต่อวัฒนธรรมองค์กรได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือต้องทำให้พนักงานเข้าใจและเข้าสู่วัฒนธรรมองค์กรรูปแบบใหม่จากผู้ซื้อกิจการ มีการพูดคุยและตกลงกับผู้ซื้อกิจการว่าจะสร้างค่านิยมแบบใดเพื่อสะท้อนองค์กรออกมาโดยไม่เสียผลประโยชน์

2.ต้องรู้ก่อนว่าทำไมถึงถูกซื้อกิจการ (Know Why You’re Being Acquired)

การเข้าซื้อกิจการมี 5 ประเภทด้วยกัน ที่เจ้าของต้องรู้ก่อนว่าทำไมและแบบใด

  • ผลิตภัณฑ์ใหม่และฐานลูกค้าใหม่ เจ้าของกิจการต้องรู้จักก่อนว่าผลิตภัณฑ์ใหม่และฐานลูกค้าใหม่ที่จะเกิดขึ้นต้องมั่นคง และควรมีการต่อรองกับผู้ซื้อกิจการเสียก่อน ไม่งั้นอาจเป็นดีลที่ล้มเหลวได้ ตัวอย่างเช่น Goldman Sachs และ GreenSky, Facebook และ Oculus, Amazon และ One Medical และ Mastercard และ RiskRecon
  • ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ แต่มีฐานลูกค้าเดิม ในประเภทนี้ เจ้าของกิจการจะได้รับการปิดดีลที่เร็วขึ้นและนำไปสู่ความสำเร็จทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ดีลประเภทนี้อาจทำให้รายได้ซับซ้อนมากขึ้น ต้องระวังและหลีกเลี่ยงให้ดี ตัวอย่างการเข้าซื้อกิจการประเภทนี้ได้แก่ Adobe และ Figma, Google และ YouTube และ Salesforce และ Slack
  • ฐานลูกค้าใหม่แต่สินค้าประเภทเดียวกัน จะเป็นการบูรณาการที่ทำให้ความสำเร็จของการเข้าซื้อกิจการสูงขึ้น มีการแชร์ความรู้ร่วมกันระหว่างผู้เข้าซื้อกับกิจการตัวอย่างเช่น PayPal และ iZettle, JPMorgan และ InstaMed และ Marriott และ Starwood
  • ผลิตภัณฑ์เดียวกันและฐานลูกค้าเดียวกัน ผู้ซื้อกิจการจะต้องการฐานลูกค้าและอาจจะกำจัดเราในฐานะคู่แข่ง ถึงแม้ว่าการเข้าซื้อกิจการแบบนี้จะถูกผสานเข้าด้วยกัน แต่ก็อาจทำให้กิจการสูญเสียความเป็นตัวตนไปได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่าง Plaid และ Quovo, Vantiv และ Worldpay และ ICE/Ellie Mae และ BlackKnight
  • ได้รับว่าจ้าง เมื่อกิจการดำเนินไปได้ด้วยดีจนบริษัทอื่นยอมเข้าซื้อกิจการอาจจะมีการว่าจ้างกิจการ ให้ดำเนินธุรกิจแทน แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นลักษณะดีลที่ไม่จำเป็นสำหรับผู้ซื้อเช่นกัน

3.รู้ว่าสิ่งที่จะขอคืออะไร (What to ask for)

ในระหว่างการเข้าซื้อกิจการที่มักจะมุ่งไปที่เรื่องของธุรกรรมทางการเงิน เช่น การประเมินมูลค่า การปรับเงินทุนหมุนเวียน การชดเชยค่าเสียหาย แต่ลิสต์ข้างล่างต่อไปนี้คือสิ่งที่เจ้าของกิจการควรทำก่อนที่จะตกลงพิจารณาการเข้าซื้อกิจการ

ค่าตอบแทนพนักงาน:  องค์กรควรปรับค่าตอบแทนพนักงานก่อนการเข้าซื้อกิจการ ไม่เช่นนั้นพนักงานของคุณจะได้รับเงินเดือนเริ่มต้น ทั้งที่ควรจะสูงขึ้นเมื่อส่วนของผู้ถือหุ้นถูกลบออกไป  ดังนั้นให้ทำการเปรียบเทียบค่าตอบแทนแล้วรอดำเนินการจนกว่าจะแน่ใจอย่างยิ่งว่าการทำธุรกรรมจะเสร็จสิ้น

ตำแหน่งพนักงาน: องค์กรจะต้องจับคู่พนักงานกับตำแหน่งและค่าตอบแทนของผู้ซื้อกิจการให้เหมาะสม แม้ในช่วงแรกผู้ซื้อจะเน้นไปที่การชดเชยเงินสดและผลประโยชน์อื่นๆ แต่ให้ดูความแตกต่างระหว่างเรื่องต่างๆ ก่อนทำแผน เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่มักจะอิงทุกอย่างตั้งแต่โบนัสและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ขององค์กร ดังนั้นควรสนับสนุนพนักงานของคุณอย่างเต็มที่

การเก็บรักษา: ต้องใช้อำนาจตัดสินใจว่าจะเก็บใครไว้ในองค์กร เพราะมันเป็นดาบสองคมที่ให้พนักงานอยู่เฉยๆและรับค่าตอบแทนไป พยายามอย่าให้เกิน 2 ปี ไม่เช่นนั้นอาจนานเกิน ซึ่งเจ้าของกิจการสามารถขอเจรจารักษากลุ่มพนักงานตามดุลยพินิจกับผู้เข้าซื้อกิจการได้ เพื่อรักษาพนักงานหลักที่อาจจะต้องการลาออกในไม่ช้าหลังการเข้าซื้อกิจการ

งบประมาณและแผนการจ้างงานที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า: การระดมเงินจากนักลงทุนเป็นเรื่องยาก แต่สามารถรอการจัดทำงบประมาณขององค์กรได้ ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ใช้งบประมาณและจำนวนพนักงานเป็นกลไกในการควบคุม ดังนั้นควรเจรจาทั้งสองอย่าง และไม่จำเป็นที่จะต้องจ้างงานใหม่ทุกครั้ง เพราะส่วนใหญ่มักมาจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายใหม่

การกำกับดูแล: ไม่ว่าจะรายงานใครก็ตาม ความอาวุโสและอำนาจของผู้จัดการคนใหม่เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ให้เจรจาขอคณะกรรมการผู้นำระดับสูงจากผู้ซื้อกิจการ ให้เข้ามาเป็นโครงสร้างใหม่จะเป็นวิธีที่ชาญฉลาดสำหรับองค์กรในการจับคู่รูปแบบกับฟังก์ชันด้วย 

Earnouts: ผู้ซื้อกิจการเข้าซื้อด้วยราคาที่เหมาะสมกับประสิทธิภาพ แต่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ขององค์กร ให้ทำงานร่วมกับทนายความด้านการควบรวมกิจการที่มีประสบการณ์ เพื่อรับเงินล่วงหน้าสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ อีกทั้งตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อตกลงระบุเป้าหมายการสร้างรายได้ที่จำเป็นทั้งหมดโดยละเอียด ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณมีสัญญาจ้างงานของคุณเอง เพื่อไม่ให้เจ้าของใหม่ไล่คุณออกหรือลดระดับ

4. มีส่วนร่วมกับบอร์ดของคุณ (Engaging Your Board)

การเข้าซื้อกิจการส่วนใหญ่เริ่มต้นที่ความสนใจในธุรกิจ ทำให้เจ้าของกิจการต้องแบ่งปันข้อมูลกับคณะกรรมการ ซึ่งทำให้คุณได้เห็นบุคลิกที่แท้จริงของนักลงทุน อย่างไรก็ตาม ภารกิจที่แท้จริงคือการหาผลลัพธ์ที่ปรับตามความเสี่ยงที่ดีที่สุดสำหรับบริษัท โดยพิจารณาจากผู้ก่อตั้ง พนักงาน และผู้ถือหุ้นร่วมกัน นี่คือที่ที่คุณจะสามารถเลือกพันธมิตรที่แท้จริงเป็นนักลงทุนในห้องประชุมคณะกรรมการของคุณ และสมาชิกคณะกรรมการอิสระสามารถให้เสียงที่มีคุณค่าเป็นพิเศษได้

หากคุณตัดสินใจที่จะมีส่วนร่วมกับผู้ซื้อสามารถทำได้ หากไม่ใช่ให้ขอความช่วยเหลือ โดยไม่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการเข้ามาเกี่ยวข้อง และหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ จนเมื่อมีสมาชิกคณะกรรมอย่างน้อยสองคนที่คุณเชื่อมั่นแล้วให้แสดงความต้องการต่อคณะกรรมการ

การขายบริษัทเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น และยิ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับชีวิตหลังการซื้อกิจการก่อนที่จะเริ่มเจรจา เจ้าของกิจการและพนักงานก็จะมีความสุขมากขึ้นไปอีก ถึงแม้ข้างหน้าจะมีอะไรที่ยิ่งใหญ่รออยู่ แต่ก็สามารถโน้มน้าวการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างได้โดยใช้แบบจำลองนี้เพื่อให้รู้ว่าควรเจรจาเมื่อใดและที่ไหนและอย่างไร


อ้างอิง

Harvard Business Review


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...