Transformation ของ ‘วิชาช่าง’ Upskill ด้วยคอร์สเรียนออนไลน์จากสยามเทค | Techsauce

Transformation ของ ‘วิชาช่าง’ Upskill ด้วยคอร์สเรียนออนไลน์จากสยามเทค

เรามักจะพูดถึง Digital Disruption ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมในเชิงธุรกิจเป็นหลัก แต่สำหรับด้านภาคการศึกษาอันเป็นต้นทางในการผลิตบุคลากรรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะการศึกษาคือฐานรากในการจัดเตรียมคนให้มีความพร้อมสำหรับทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ยุคสมัยที่เปลี่ยนโลกไปสิ้นเชิง อย่างรวดเร็ว และไม่มีที่สิ้นสุด

หนึ่งในกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจในการทำ Digital Transformation สำหรับภาคการศึกษาเกิดขึ้นกับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) วิทยาลัยวิชาชีพที่กำลังปรับสู่ Digital Transformation Vocational School เริ่มต้นต่อยอดจากจุดแข็งในหลักสูตรของทางวิทยาลัย ปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนให้เท่าทันสมัย พร้อมจับมือพาร์ทเนอร์นำหลักสูตรเผยแพร่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ ในโครงการ ‘Siam Advanced Program’ หรือ SAP นำร่องด้วยหลักสูตรที่ผนวกความเชี่ยวชาญของวิทยาลัยเข้ากับเทรนด์อนาคต ได้แก่ Smart Home, Drone, Lifestyle Blogger และ Algorithm ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของหลักสูตรจะไม่เฉพาะเจาะจงแค่นักศึกษาในวิทยาลัย แต่รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจเรื่องการ Reskill และ Upskill ของตัวเองด้วย

การร่วมมือกับพาร์ทเนอร์เองถือเป็นกลยุทธ์สำคัญ และเป็นรูปแบบซึ่งเราได้เห็นในหลายตัวอย่างของการทำ Digital Transformation ที่ประสบความสำเร็จ การเอาจุดแข็งของแต่ละฝ่ายมาผสานกันจนเกิดเป็น Solution ใหม่ๆ อย่างการปรับหลักสูตรวิชาชีพเพื่อเผยแพร่สู่แพลตฟอร์มออนไลน์ของทางสยามเทค ก็มีการจับมือกับพาร์ตเนอร์อย่าง SkillLane ซึ่งมีจุดเด่นการเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่แข็งแรง และที่ผ่านมา SkillLane ก็ได้ช่วยยกระดับด้านการศึกษาให้กับองค์กรและสถาบันการศึกษาชั้นนำมาแล้วหลายแห่ง

ชวนคุยกับ รศ.ดร.จอมพงศ์  มงคลวนิช ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) และ คุณเอกฉัตร อัศวรุจิกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และผู้ร่วมก่อตั้ง SkillLane การร่วมมือในครั้งนี้ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่าเรื่องของ Transformation นั้นมีรายละเอียดที่ต้องลงลึก และมีการดำเนินกลยุทธ์อย่างไรบ้าง

รศ.ดร.จอมพงศ์  มงคลวนิช ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค)

รศ.ดร.จอมพงศ์  มงคลวนิช  ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (สยามเทค) "ผมคิดว่าตอนนี้ในประเทศไทยมีคนจำนวนเยอะมากที่ต้องการ Reskill และ Upskill " 

ความเป็นมาของโครงการ SAP

ปัจจุบันเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก ไลฟ์สไตล์ของนักศึกษาก็มีการเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อยเช่นกัน ในการเรียนเองก็ไม่เหมือนในอดีตแล้ว เช่นการเรียนที่แต่ก่อนไม่ต่อเนื่อง ต้องรอถามความรู้จากครู แต่วันนี้เทคโนโลยีได้เอื้อให้ทุกอย่างง่ายขึ้นแล้ว ทางเราก็พยายามคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อ Transform ให้การเรียนของเราสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ซึ่งเราก็ Transform ทั้งหมดสามส่วนด้วยกัน อันแรกคือ People Transformation เราต้องพัฒนาปรับเปลี่ยนอาจารย์ของเราให้มีความเป็นโค้ช ไม่เพียงจะนำความรู้มาให้เด็ก แต่ต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้พื้นที่ในการลองผิดลองถูก ซึ่งในที่นี้อาจารย์เองก็ต้องมีพื้นที่ในการลองผิดลองถูกด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ทดลองรูปแบบการสอนรูปแบบใหม่ๆ และยังต้องมีการร่วมมือกับสถานประกอบการต่างๆ เพื่อเอาความรู้ใหม่ๆ เข้ามาสอน

อันที่สองคือ Space Transformation สมัยก่อนพื้นที่หลักในสถาบันการศึกษาต่างๆ คือพื้นที่ในการ Lecture ใช้ในการสอนเป็นหลัก แต่วันนี้เราต้องปรับให้เป็นพื้นที่ของการเรียนรู้มากขึ้น สร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พื้นที่ของการเรียนรู้ร่วมกัน ไปจนถึง Virtual Space ที่สามารถทำให้แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ได้แบบ Real Time

สุดท้ายคือ Technology Transformation นำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ เอา application ต่างๆ มาช่วยสร้างทั้งกระบวนการเรียนรู้ และระบบการจัดการต่างๆ ภายใน เช่นการลงทะเบียน ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นที่มาในการที่เราสร้างความร่วมมือกับแพลตฟอร์มต่างๆ เช่นกับ SkillLane ที่เข้ามาช่วยสร้างการเรียนรู้ผ่านทางออนไลน์

เบื้องต้นประกอบด้วย 4 วิชา ได้แก่ Smart Home ซึ่งต่อยอดจากพื้นฐานหลักสูตรด้านอิเล็กทรอนิกส์ของเรา พัฒนาการใช้เทคโนโลยีเข้ามายกระดับการอยู่อาศัย เรื่องของระบบอัตโนมัติต่างๆ ที่ช่วยทั้งในด้านของความสะดวกสบาย และแน่นอนคือเรื่องของการประหยัดพลังงาน อันที่สองคือ Drone ต่อยอดมาจากความรู้แบบช่างดั้งเดิมของเราเช่นกัน ซึ่งในอนาคตอุตสาหกรรม Logistics หรือการเกษตรก็จะมีความต้องการทักษะด้านนี้อีกมาก อันที่สามคือ Lifestyle Blogger ที่เกี่ยวข้องกับภาควิชาคอมพิวเตอร์และภาคการตลาดของเรา ก็เป็นความรู้ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถมีอาชีพได้ตั้งแต่ที่ยังเรียนอยู่ สุดท้ายคือ Algorithm จุดเริ่มต้นของการทำ Coding เรียนรู้วิธีคิดแบบนักพัฒนา ทั้งการวางแผน การวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา ซึ่งก็จะได้รับความร่วมมือกับสปีคเกอร์ที่เชี่ยวชาญจากภายนอก 

ความรู้เหล่านี้เราเผยแพร่สู่คนภายนอกด้วยเช่นกัน และเราก็ได้ SkillLane เข้ามาช่วยในด้านการวางกลยุทธ์ด้านการตลาดว่าต้องทำอย่างไรจึงจะตอบโจทย์

อาจารย์ไม่เพียงจะนำความรู้มาให้เด็ก แต่ต้องสามารถสร้างแรงบันดาลใจ ให้พื้นที่ในการลองผิดลองถูก ซึ่งในที่นี้อาจารย์เองก็ต้องมีพื้นที่ในการลองผิดลองถูกด้วยเช่นกัน

ซึ่ง 4 รายวิชาที่กล่าวถึงนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้น อนาคตเราจะเห็นการต่อยอดไปในทิศทางใดได้บ้าง

ในส่วนของการ Transform คงไม่สามารถทำและหยุดได้ เพราะความต้องการของอุตสาหกรรม สังคม เศรษฐกิจก็มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องปรับให้ทัน และมีวิชาใหม่ๆ เข้ามาเสริม เช่นตอนนี้สิ่งที่เรารู้เลยว่าเด็กกำลังขาดมากๆ คือในส่วนของความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการเจรจาโน้มน้าว

สามแกนที่เราตั้งใจจะปรับคือ People, Space และ Technology เป็นเรื่องที่จะเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา และผมคิดว่าสิ่งที่ท้าทายคือการเรียนการสอนที่ทำกันในวันนี้ อีกสามสี่ปีผ่านไปยังใช้ได้อยู่หรือไม่ เราเลยต้องมีเรื่องของ Transformation และ Update ตลอดเวลา ซึ่งการเรียนรู้ตลอดเวลา เรียนรู้ตลอดชีพนี้ก็เป็นสิ่งที่เราจำเป็นต้องปลูกฝังให้กับนักศึกษาด้วยเช่นกัน

สิ่งที่เรารู้เลยว่าเด็กกำลังขาดมากๆ คือในส่วนของความคิดสร้างสรรค์ และทักษะการเจรจาโน้มน้าว

กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการ SAP ที่ไม่ใช่แค่ในวิทยาลัย แต่รวมไปถึงการตอบโจทย์คนทำงานที่อยาก Reskill - Upskill

นอกจากนักศึกษาในวิทยาลัยจะได้รับประโยชน์อยู่แล้ว เราจะขยายผลไปสู่คนข้างนอกด้วย เพราะผมคิดว่าตอนนี้ในประเทศไทยมีคนจำนวนเยอะมากที่ต้องการ Reskill และ Upskill ซึ่ง SAP จะตอบโจทย์ในเรื่องนี้ เราเองก็จะหาวิชาชีพใหม่ๆ ที่คิดว่าตอบโจทย์ความต้องการของคน และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์แบบนี้เพิ่มขึ้น หรือในส่วนของการเรียนในรูปแบบที่ต้องมีพื้นที่ในการลงมือทำ และต้องสอนแบบ face to face การจะขยายไปในส่วนนั้นก็อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งผมเชื่อว่าการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่ต้องปรับตลอดเวลา

คุณเอกฉัตร อัศวรุจิกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และผู้ร่วมก่อตั้ง SkillLane

คุณเอกฉัตร  อัศวรุจิกุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ และผู้ร่วมก่อตั้ง SkillLane "Digital Disruption ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเราไม่รู้อนาคตอีกต่อไป เราอาจจะตกงาน เราอาจจะไม่มีสกิลที่ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคปัจจุบันอีกต่อไปก็ได้"

SkillLane มีบทบาทอย่างไรในโครงการ SAP

ในส่วนของเนื้อหาจะมาจากหลักสูตรของทางวิทยาลัยเป็นหลัก ส่วนเราจะช่วยดูเรื่องการออกแบบเนื้อหาให้เข้ากับการเรียนในรูปแบบออนไลน์ เช่นเรื่องของจำนวนชั่วโมงเรียนต่อรายวิชาควรมีความยาวเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม รวมถึงในส่วนของการถ่ายทำและตัดต่อวิดีโอหลักสูตร ก็จะเป็นการ support ที่มาจากทาง SkillLane

สำหรับหลักสูตรที่ออกแบบมา เบื้องต้นคาดว่าผู้เรียนจะสามารถมีความเข้าใจ และนำไปต่อยอดได้ในระดับไหน

ในแต่ละรายวิชาก็จะแตกต่างกันออกไป ในขั้นตอนของการออกแบบหลักสูตรเราก็จะมาคุยกันเพื่อตั้งเป้าหมายก่อนว่าต้องการให้ผู้เรียนได้รับอะไรจากการเรียนในหลักสูตรนั้น ซึ่งเราไม่ได้เน้นเนื้อหาเพียงอย่างเดียว แต่เน้นว่าเมื่อเรียนจบแล้วต้องเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริง อย่างเช่นหลักสูตร Drone ก็ตั้งเป้าหมายกันเอาไว้ว่าเมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะสามารถสร้าง Drone ของตัวเองได้เลย หรืออย่าง Smart Home เมื่อจบหลักสูตรก็สามารถทำให้บ้านของตัวเองมีความเป็น Smart Home ขึ้นมาได้

เมื่อเรียนจบแล้วต้องเอาความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริง อย่างเช่นหลักสูตร Drone ก็ตั้งเป้าหมายกันเอาไว้ว่าเมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจะสามารถสร้าง Drone ของตัวเองได้เลย

แพลตฟอร์มของ SkillLane มีหลักสูตรความรู้ที่หลากหลายมาก สำหรับหลักสูตรของ SAP เองมีความโดดเด่นและแตกต่างจากหลักสูตรอื่นๆ ในแพลตฟอร์มอย่างไร

คอร์สเรียนในแพลตฟอร์มของเรามีความหลากหลายมาก ตั้งแต่การลงทุน, ธุรกิจ, การตลาด ไปจนถึงการเรียนดนตรี ซึ่งคอนเทนต์ที่เน้นเทคโนโลยีจากสยามเทคเป็นรูปแบบที่ไม่เคยมีในแพลตฟอร์มของเรามาก่อน เรามองว่านี่เป็นการร่วมมือกันทางพาร์ตเนอร์ที่ดี เพราะทางสยามเทคเองก็ต้องการแพลตฟอร์มเผยแพร่ความรู้ที่มี SkillLane เองก็พยายามหาคอนเทนต์ดีๆ มาอยู่ในแพลตฟอร์มของเรา

คิดว่าหลักสูตรของ SAP จะตอบโจทย์ Pain Point ตลาดแรงงานไทยที่คนต้องการ Upskill -ReSkill ได้มากน้อยแค่ไหน

ผมเชื่อว่าจะสามารถช่วยได้เยอะเลยทีเดียว อย่างปัญหาที่เราเข้ามาแก้โดยเฉพาะคือปัญหาด้านเวลาและสถานที่ การเรียนออนไลน์ช่วยกำจัดข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ออกไปจากการเรียนรู้ของคนที่สนใจ 

แต่ก่อนถ้าคนทำงานอยากจะเรียนอะไรสักอย่างหนึ่ง เขาอาจจะต้องหยุดงานหรือแม้กระทั่งลาออกจากงานเพื่อมาเรียนเลย รูปแบบการเรียนออนไลน์จะช่วยให้คนสามารถทำงานไปด้วย เรียนไปด้วยได้

อยากฝากอะไรให้ผู้อ่าน สำหรับเรื่องของการเรียนรู้แห่งอนาคต

การเกิด Digital Disruption ทำให้การเรียนรู้เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะเราไม่รู้อนาคตอีกต่อไป เราอาจจะตกงาน เราอาจจะไม่มีสกิลที่ตอบโจทย์ธุรกิจในยุคปัจจุบันอีกต่อไปก็ได้ การที่เรามีความรู้ และรู้วิธีการเรียนรู้อย่างรวดเร็วจะช่วยเป็นอาวุธสำคัญให้กับตัวเราเองได้

SAP นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับด้านการศึกษาแห่งอนาคต จุดเด่นของหลักสูตรที่พัฒนามาจากวิทยาลัยวิชาชีพ ประกอบกับรูปแบบการสอนออนไลน์ที่ใช้เวลาเรียนไม่นานนัก เปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา น่าจะเป็นโครงการที่ตอบโจทย์การเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะของผู้คนสมัยนี้ ที่สำคัญคือนี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปรับตัวในรูปแบบของ ‘วิชาชีพออนไลน์’ ที่จะมีการต่อยอดไปอีกในอนาคต มากไปกว่านั้นกรณีความร่วมมือของสยามเทคและ SkillLane ครั้งนี้น่าจะเป็นหนึ่งในกรณีศึกษาของการขับเคลื่อน Ecosystem ภาคการศึกษาไทยที่น่าจับตามอง


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...