จุดสมดุลของ Social Enterprise เพื่อการช่วยโลกอย่างยั่งยืน | Techsauce

จุดสมดุลของ Social Enterprise เพื่อการช่วยโลกอย่างยั่งยืน

ในงาน Techsauce Global Summit 2018 นอกจากประเด็นด้านเทคโนโลยีและการสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จแล้ว ยังมี Session ที่นำเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนาสังคมอยู่ด้วย โดยใน Session สุดท้ายของปีนี้เป็นของ David Galipeau, Chief Impact Officer ของ UNDP และ แชนนอน กัลยาณมิตร (Shannon Kalayanamitr), Founder ของ IKIGAI Group มาพูดคุยเรื่องการสร้างธุรกิจที่มีผลกำไรควบคู่กับการสร้าง Impact ต่อปัญหาของโลกใบนี้ในหัวข้อ Be more human: Put your business where the life is

เริ่มต้นด้วยการคำนึงถึงสมดุลระหว่างกำไรและการสร้างประโยชน์

การคำนึงถึงสมดุลระหว่างกำไรและการสร้างประโยชน์เป็นประเด็นแรกที่ถูกพูดถึงโดย David และ Shannon โดย UN ได้ตั้ง Framework ที่มีชื่อว่า ESG (Environment Social Government) รวบรวมปัญหาที่จำเป็นต้องแก้ไขแบบเร่งด่วนในปัจจุบัน โดยนักลงทุนจะใช้ Framework ตัวนี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของภาคธุรกิจในด้าน Impact เพื่อประเมินการให้เงินลงทุนแก่องค์กรนั้น

โมเดลสำหรับภาคธุรกิจอย่าง ESG อาจใช้ได้เพียงบางกรณี จึงเกิดการพัฒนาโมเดลใหม่อย่าง SDG (Sustainable Development Goals) ขึ้น โดยมีมาตรฐานทั้งหมด 17 ข้อ ครอบคลุมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตไปจนถึงการสร้างความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนในด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ

องค์กรธุรกิจที่ดำเนินกิจการตามโมเดลทั้งสองอันข้างต้น ต้องคำนึงถึงทั้งผลกำไรที่เกิดขึ้นเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีนักลงทุนจำนวนมากพร้อมจะสนับสนุนองค์กรทั้ง Startup และ Corporate ที่นำโมเดล ESG และ SDG ไปเป็นเป้าหมายเพื่อดำเนินกิจการ รวมถึงต้องบริหารให้เกิด Impact ที่ดีต่อสังคมเป็นผลสำเร็จด้วย

แผนภาพโมเดล Sustainable Development Goals เครดิต: https://sustainabledevelopment.un.org/

Model จาก UN สอดคล้องกับการเติบโตของธุรกิจแค่ไหน

หากมองเผินๆ โมเดลที่ UN สร้างขึ้นนั้นเหมือนกับการทำเพื่อสังคมมากกว่าแสวงหาผลกำไร แต่ทั้ง Shannon และ David ยืนยันว่าโมเดลนี้สามารถผลักดันให้ธุรกิจเติบโตขึ้นมาได้ เพราะตั้งเป้าแก้ปัญหาที่มีคุณค่าย่อมสร้างการกระทำที่มีความหมาย ซึ่งจะดึงดูดบรรดา Talent ที่ต้องการทำงานสร้าง Impact และนักลงทุนที่อยากมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ

ยกตัวอย่างเช่น Corporate และ Startup ที่มีเป้าหมายด้านการสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จะดึงดูดบุคลากรเก่งๆ และนักลงทุนที่ให้ความสนใจเรื่องสุขภาพ ซึ่งอาจจะไม่ได้หยุดเพียงแค่ในประเทศเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสพบปะบุคลากรและนักลงทุนที่มีเป้าหมายเดียวกันจากทั่วโลก ซึ่งเปิดโอกาสการเติบโตได้มากทีเดียว

Social Entrepreneur ยังคงเป็น Entrepreneur

แม้ว่าโมเดลทั้งสองจาก UN จะทำให้บรรดา Social Enterprise มีเป้าหมายที่ชัดเจนกว่าที่ผ่านมา แต่การทำกิจการเพื่อสังคมก็ยังต้องคำนึงถึงแผนที่รัดกุมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาสูงที่สุด

วิทยากรทั้งสองยืนยันว่า Social Entrepreneur ยังคงเป็น Entreprenuer อยู่ นั่นหมายความว่าพวกเขาจำเป็นต้องทำแผนธุรกิจ กำหนดภารกิจของกิจการ และคำนึงถึงผลกำไรที่เกิดขึ้นเพื่อประคองกิจการให้อยู่รอดในระยะยาว

อันที่จริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องผิดที่ Social Enterprise จะใช้วิธีดำเนินการและบริหารแบบภาคธุรกิจอื่นๆ ทั้งการสนับสนุนการทำงานของบุคลากร การดูแลความสุขของบุคลากร การสร้าง Impact เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า และการสร้างผลกำไรเพื่อให้ดำเนินกิจการได้ต่อไป

พันธกิจสิ่งสำคัญที่ Social Enterprise ควรยึดมั่น

โมเดลทำหน้าที่เป็นเป้าหมาย ส่วนผลกำไรทำหน้าที่เป็นน้ำมันหล่อเลี้ยงให้กิจการดำเนินไป แต่สิ่งที่ผลักดันให้กิจการเพื่อสังคมทำประโยชน์ได้จริงคือพันธกิจหรือ Mission นั่นเอง

แม้ว่า Social Enterprise จะต้องทำกำไรผ่านบริการและผลิตภัณฑ์ต่างๆ แต่การใช้ผลิตภัณฑ์และบริการก็มาจากผู้คนอยู่ดี ดังนั้น คุณค่าและวัฒนธรรมที่องค์กรยึดถือก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้คนที่ได้รับทราบเกิดความเชื่อถือและยินดีเข้าใช้บริการของเรา อีกทั้ง นักลงทุนมักลงทุนในสิ่งที่มี Impact ดีๆ ต่อสังคม โอกาสได้รับการลงทุนจึงสูงขึ้น

ที่สำคัญ พันธกิจยังทำให้บุคลากรที่ดำเนินงานรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่ทำ การรับรู้คุณค่าช่วยให้บุคลากรรู้สึกพึงพอใจในงานของตัวเอง ช่วยเพิ่มทั้งความสุขในการทำงานและประสิทธิภาพของงาน การเรียบเรียงพันธกิจจึงเป็นหนทางช่วยผลักดันการดำเนินกิจการเพื่อสังคมให้ประสบความสำเร็จได้อย่างแท้จริง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...