ทำความรู้จัก 3 ทีมจากงาน StartupWeekend BKK 2015 Travel Edition | Techsauce

ทำความรู้จัก 3 ทีมจากงาน StartupWeekend BKK 2015 Travel Edition

ผ่านพ้นกันไปแล้วสักพัก กับงาน StartupWeekend Bangkok 2015 Travel Edition เราได้มีโอกาสไปพูดคุยกับแต่ละทีมหลังจากผ่านพ้นช่วงงานดังกล่าวไปแล้ว 1 เดือน เพื่อสอบถามความคืบหน้าว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง ลองไปติดตามกันค่ะ ทีม Zero-BaggageIMG_7863

ทีมงานยังคงจำได้ถึงบรรยากาศในค่ำคืนนั้น เมื่อการประกาศผลว่าทีมชนะเลิศ Zero-Baggage คือทีมชนะเลิศ มาพร้อมทั้งเสียงเฮทั่วห้อง และน้ำตาแห่งความปลื้มปิติ

ทีมงาน Zero Baggage กล่าวว่า แรงบันดาลใจของไอเดียนี้มาจาก ความต้องการที่จะปฎิวัติการเดินทาง หากเราเดินทางไปแต่ตัวโดยที่เราไม่ต้องนำอะไรไปเลยจะเป็นอย่างไรกันนะ

Zero-Baggage จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้คุณเข้าใจถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น เสื้อผ้าการแต่งกายของแต่ละพื้นที่ โดยที่คุณไม่ต้องพกอะไรติดตัวไปเลย!

Pain point ที่ว่าทำไมเราต้องเก็บสัมภาระอะไรมากมาย การเดินทางไปยังจุดหมายที่เราต้องการนั้นทำไมเราจึงไม่สามารถเที่ยวหรือขึ้นรถโดยสารได้โดยที่เราไม่ต้องขนของอะไรไปเลย ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราเกิดไอเดียขึ้น เริ่มต้นด้วยการส่งเสื้อผ้าในท้องถิ่นนั้นๆ ให้ถึงมือคุณได้อย่างง่ายดายซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน อย่างแรกคือฟรีการเดินทางและอีกอย่างคือคุณจะพบกับประสบการณ์ใหม่ๆ

โดยสิ่งที่อยู่ บนในแพลตฟอร์ตมีดังนี้

  1. แอปฯ ที่คุณสามารถจองเสื้อผ้าออนไลน์ได้ก่อนการเดินทาง (หากคุณเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นก็จะมีผลิตภัณฑ์ในย่านดังเช่น Harajuku เป็นต้น
  2. ฟรี ! สัมภาระ
  3. เลือก - ส่งคืน เสื้อผ้าจากเครื่องจัดจำหน่ายได้สะดวก

โดยบริการจะเน้นไปที่การเดินทางในแบบ hop-on/off between cities เป็นส่วนใหญ่โดยการใช้ระบบการขนส่งของท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ญี่ปุ่น, ยุโรป เป็นต้นโดยนี้คือแนวทางการแก้ปัญหาของการจัดสัมภาระที่มากเกินไปทำให้การเดินทางเป็นเรื่องที่ยากลำบาก Zero-Baggage จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ไม่ต้องกังวลกับการจัดเตรียมเสื้อผ้าในทุกที่ของการเดินทาง

ทีมงาน Zero-Baggage ประกอบด้วย วิรัชสัณห์ ธิติเลิศเดชา, วชิรา คิมหสวัสดิ์, ประกฤษฎิ์ ตันธวัชกุล, อรวริศร์ เผดิมปราชญ์, พศุตม์ เมฆะสุวรรณโรจน์, ปิยฉัตร ศรไพศาล, นีลุบล รัตน์วงศ์โสภา, ไชยกร ศรีศักดิ์วรากุล

ทีม Tour- now

IMG_7852

มาต่อกันที่ทีมที่ 2 กับทีม Tour-now ทีมรองชนะเลิศอันดับ 1  ทีม Tour-now แชร์ว่าในทีมงานมีคนที่ทำงานสายธุรกิจท่องเที่ยว และมักได้รับการสอบถามเรื่องที่พักจากลูกค้าในนาทีสุดท้ายเสมอๆ แต่ไม่สามารถช่วยได้ ทำให้ทีมงานเห็นโอกาสที่น่าเข้าไปอุดช่องโหว่ ด้วย Pain Point นี้เลยพัฒนาโซลูชั่น Tour-now บริการในลักษณะของ Market Place ค้นหาทัวร์ถูกใจได้ในระยะเวลาอันสั้น (ภายใน 24 ชั่วโมง) ผ่านสมาร์ทโฟนของผู้ใช้เอง โดยสามารถรู้ตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่เพื่อให้แน่ใจว่าคำแนะนำที่ได้นั้นเป็นจริงในระยะเวลาที่กำหนดไว้และยังเป็นสุดยอดเทคนิคที่อนุญาตให้ Suppliers สามารถปรับปรุงบริการของพวกเขาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ความน่าสนใจของบริการคือ จองห้องพักได้ในนาทีสุดท้ายของการเดินทาง เช่นสามารถจองได้ในคืนนั้นและสามารถทำได้ในทันที คล้ายแอปฯ อย่าง Golfdigg แต่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน

ทีมงาน Tour-now ประกอบด้วย Simon Philipp, Bindu Jamal, ชนินทร เพ็ญสูตร, ตฤณ นิลกรณ์ และ ชินธิป แต้มแก้ว

ทีม Homecook

IMG_7847

และทีมรองชนะเลิศอันดับ 2 คือทีม Homecook ผู้พัฒนา Event-based Platform ที่ให้เอเยนทัวร์หรือนักท่องเที่ยวสามารถจองที่นั่งผ่านทางเว็บไซต์ หรือแอปฯ เพื่อสัมผัสประสบการณ์อาหารสุดพิเศษในรูปแบบการทำอาหารในบ้าน นอกจากเป็นประสบการณ์ชั้นเยี่ยมแล้ว ยังคงคุณค่าที่น่าจดจำอีกด้วย

โดยสิ่งที่เขาพูดถึงจากการเข้าร่วมกิจกรรมนี้คือ การเรียนรู้ตลอดระยะเวลา 54 ชั่วโมง ทำให้เรานำกระบวนการคิดแบบ Startup คือการเรียนรู้กระบวนการ Pitching ไอเดีย , การพัฒนาผลิตภัณฑ์ , การเรียนรู้การทำงานเสมือนกับการเริ่มต้นธุรกิจจริงๆ เลย

ทีมงาน Homecook ประกอบด้วย : พอล อากค์, จูเลี่ยน เบโทเมีย, ปวีณา ปาเทลา, ธุวรักษ์ ปัญญางาม, ปัญจมพล กรรณสูต, อิศเรศ ประจิตต์มุทิตา, ดาริน สุทธพงษ์, กิตติ ปริยอัครกุล, ศิริกุล แก้วขาว และ กาญจนดา โอภาสยานนท์

สิ่งที่ได้จากการเข่าร่วมโครงการในครั้งนี้

IMG_7867

ผู้เข้าร่วมการแข่งขันจากหลายๆ ทีมพูดถึงความรู้สึกและสิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ว่าการหมั่นพัฒนาตนเองอยู่เสมอเป็นเรื่องสำคัญไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมสัมมนาหรือโครงการ SWBKK ก็ทำให้ได้เรียนรู้อุตสาหกรรมและเป็นเหตุการณ์จำลองธุรกิจก่อนเริ่มในสนามจริงที่ดีมาก หากมีโอกาสหรือมีเวลาหลังจากจบการแข่งขันครั้งนี้ทุกคนหวังว่าจะกลับมาต่อยอดไอเดียอีกครั้ง และสิ่งที่ได้จากการมาร่วมงาน StartupWeekend นี้คือการที่การทำการบ้านอย่างหนักเพื่อการเตรียมตัวในการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ความกระตือรือร้นและอีกมากมายที่ต้องเรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นและความกล้าหาญออกจากพื้นที่ Comfort Zone มาสวมวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการอย่างจริงจัง เราต้องรู้จักกล้าลองทำอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา ในโลกของ Startup ไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบและความไม่สมบูรณ์แบบนั้นแหละที่เป็นที่มาของโอกาสให้เราได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาสิ่งดีๆ เพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับสังคมต่อไป

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เตรียมพบกับงาน SEA Blockchain Week 2024 (SEABW) ยกขบวนกูรูผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อกเชน และ Web 3 ระดับโลกกว่า 100 คน มาร่วมพูดคุยแบ่งปันประสบการณ์ที่เมืองไทย

Southeast Asia Blockchain Week หรือ SEABW งานด้านบล็อกเชนสุดยิ่งใหญ่ระดับภูมิภาค ที่เตรียมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในวันที่ 24-25 เมษายน 2567 ซึ่งจะจัดขึ้น ณ True ICON HALL ช...

Responsive image

กระทรวง AI : เมื่อ AI อันตรายเกินกว่าจะปล่อยไว้ โลกเร่งออกกฎควบคุม

AI กลายเป็นสิ่งที่ต้องถูกควบคุมด้วยกฎหมาย และต้องถูกจับตาดูโดยหน่วยงานของรัฐบาลอย่าง ‘กระทรวง AI’ ที่มีอำนาจ และความสำคัญไม่แพ้หน่วยงานอื่น ๆ แต่ทำไม AI ต้องถูกควบคุมโดยรัฐบาล ? กร...

Responsive image

สำรวจ orbix เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียนและจักรวาล Digital Asset ของ Unita Capital

ทำความรู้จักแพลตฟอร์ม orbix กระดานเทรดนี้ต่างจากที่อื่นตรงไหน หัวใจสำคัญของการเปิด ‘เมืองหลวงแห่งโอกาสของคริปโตเนียน (The Capital of Kryptonian)’ คืออะไร รวมไว้ในบทความนี้แล้ว...