‘Starlink เกิดมาเพื่ออุดช่องว่างของ 5G และ FTTx’ Elon Musk คิดจะทำอะไรในโลกอินเทอร์เน็ต ? | Techsauce

‘Starlink เกิดมาเพื่ออุดช่องว่างของ 5G และ FTTx’ Elon Musk คิดจะทำอะไรในโลกอินเทอร์เน็ต ?

Elon Musk มหาเศรษฐีระดับโลก ผู้ก่อตั้ง Tesla และ SpaceX ได้ไปปรากฏตัวแบบ Virtual บนเวทีระดับโลกอย่างงาน Mobile World Congress 2021 หรือ MWC21 ณ เมืองบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยการเข้าร่วมงานในครั้งนี้ ทาง Elon Musk ได้พูดถึงประเด็นของ Starlink โครงการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูง ของบริษัท SpaceX ที่พร้อมจะให้บริการในทุกภูมิภาคทั่วโลกแล้ว (ยกเว้นประเทศในแถบขั้วโลก) ภายในเดือนสิงหาคมปี 2021 นี้ โดยเขาได้อัปเดตความคืบหน้า และพูดถึงเป้าหมายต่อไปของการเกิดขึ้นของ Startlink ซึ่งทีม Techsauce ได้รับเชิญในการเข้าร่วมงานแบบ Virtual จะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามสรุปประเด็นที่ Elon Musk พูดบนเวที MWC21 ดังนี้

Elon Musk on MWC21

ความคืบหน้าของ Starlink 

SpaceX ได้มีการปล่อยดาวเทียมไปแล้วกว่า 1,500 ดวง ทำให้ตอนนี้มีโครงข่ายดาวเทียมที่ครอบคลุมทั้งโลก ยกเว้นเพียงบริเวณขั้วโลกเหลือ และขั้วโลกใต้ และมีการทดลองใช้ระดับเบต้าไปแล้วใน 12 ประเทศตามภูมิภาคต่าง ๆ 

โดยตอนนี้มีผู้ใช้งานที่เป็น Active Users ของ Starlink อยู่ที่ 69,420 คน ซึ่ง Elon Musk หวังไว้ว่าจะสามารถเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานให้ได้ถึง 500,000 คนภายในระยะเวลา 12 เดือนข้างหน้านี้ 

Elon Musk กล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้ได้ทำข้อตกลงกับผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมรายใหญ่ในประเทศ แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อได้ โดยตอนนี้เครือข่ายดาวเทียมของ Starlink มีอัตราการส่งข้อมูลอยู่ที่ 30 Terabit / sec (1 terabit = 1012bits = 1000000000000bits = 1000 gigabits) และกำลังพัฒนาให้มีค่า Latency หรือการวัดความล่าช้าระหว่างจุดสองจุด อยู่ในช่วงที่ต่ำกว่า  20 มิลลิวินาที (1 มิลลิวินาที เท่ากับ 0.001 วินาที)

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ SpaceX ก็ยังต้องลงทุนอีกมหาศาล ซึ่งคิดเป็นเงินประมาณ 5 พันล้าน ถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ 

นอกจากนี้ทางบริษัท SpaceX ยังตั้งเป้าที่จะปล่อยดาวเทียม Starlink เพิ่มอีกในปีหน้า เพื่อให้สามารถส่งสัญญาณได้ทั่วโลกรวมทั้งขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ โดยในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้จะมีการปล่อยยาน Starship ขึ้นไปบนวงโคจรด้วย

อ่านเพิ่มเติมและทำความรู้จักเกี่ยวกับ Starlink ได้ที่ Techsauce

MWC21

ข้อจำกัด และความท้าทายของ Starlink

ข้อจำกัดที่พบเป็นหลัก ๆ ของทั่วโลกในตอนนี้คือ ความยากลำบากในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และ 5G ทำให้ Starlink อยากจะเข้ามาแก้ปัญหาในจุดนี้ 

ส่วนความท้าทายของฝั่ง SpaceX ตอนนี้นั่นคือ ค่าใช้จ่ายและการลงทุนที่สูง ตามที่กล่าวไปข้างต้น เงินทุนก่อนที่จะมีสภาพคล่องที่เป็นบวกอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และทาง SpaceX ตั้งใจที่จะลงทุนต่อเนื่องไปอีกกว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ Elon Musk ยังได้กล่าวอีกว่า ต้นทุนของ Starlink ต่อผู้ใช้งาน 1 คนนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 ดอลลาร์ แต่ในการเปิด Pre-order นั้นมีราคาอยู่ที่ประมาณ 500 ดอลลาร์ ซึ่งราคาต่ำลงมากว่าต้นทุนเป็นเท่าตัว ทำให้ทีมงานของ Starlink ต้องปรับมาดำเนินการด้วยเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่มีราคาต่ำลง

เป้าหมายของ Starlink

ทุกวันนี้มีคนกว่า 3.7 พันล้านคนที่ไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และยิ่งมีการระบาดของโควิด-19 อินเทอร์และการเชื่อมต่อสู่โลกออนไลน์นั้นกลายเป็นอีกส่วนหนึ่งของมนุษย์ไปแล้ว ด้วยความหวังที่จะแก้ปัญหาในจุดนี้ จึงเกิดเป็น Starlink เครือข่ายอินเทอร์เน็ตดาวเทียมความเร็วสูงที่จะมาช่วยให้ทุกคนบนโลก แม้ในพื้นที่ห่างไกลให้สามารถเข้าถึงโลกออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย

สำหรับ Starlink แล้ว Elon Musk กล่าวเพิ่มไว้ว่า จะมาสนับสนุนกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่าง ๆ ให้สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งจะเข้ามาช่วยให้ทุกคนในทุกพื้นที่รวมทั้งพื้นที่ห่างไกล ซึ่งผู้ใช้งานในพื้นห่างไกลเหล่านี้นับเป็น 3-5 % ของประชากรทั้งโลก ให้ได้เข้าถึงการเชื่อมต่อระดับ 5G ได้อย่างง่ายดาย

“Starlink จะเข้ามาอุดช่องว่างของ 5G และ Fiber Optic Internet  (FTTx) ซึ่งหลายพื้นที่ในโลกยังเข้าถึงไม่ได้นั่นเอง และด้วยระบบที่เป็นการส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ซึ่งดาวเทียมเหล่านี้ตั้งอยู่ในวงโคจรต่ำกว่าดาวเทียมของผู้ผลิตอื่น ๆ หรืออยู่ใกล้กับโลกมากกว่าดาวเทียมอื่น ๆ ถึง 60 เท่า ทำให้ทุกคนสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เร็วแรง และมีค่า Latency ต่ำได้” Elon Musk กล่าว 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

AI จะเป็น ‘ผู้กอบกู้’ หรือ ‘ผู้ทำลาย’ การ์ตูนญี่ปุ่น

เมื่อประตูสู่วัฒนธรรมและเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นอย่าง อนิเมะและมังงะกำลังถูก AI แทรกแซง อนาคตของวงการนี้จะเป็นยังไง ?...

Responsive image

เจาะลึกเทรนด์ Spatial Computing จุดเปลี่ยนสำคัญสำหรับองค์กรยุคใหม่

Spatial Computing คือเทคโนโลยีที่ผสานโลกเสมือนจริงและโลกจริงเข้าด้วยกัน ซึ่งมีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานขององค์กรในยุคดิจิทัล ตั้งแต่การออกแบบผลิตภัณฑ์ไปจนถึงการฝึกอบรมและ...

Responsive image

ถอดกลยุทธ์ ‘ttb spark academy’ ปั้น Intern เพิ่มคนสายเทคและดาต้า Co-create การศึกษาคู่การทำงานจริง

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เห็น Pain Point ว่าประเทศไทยขาดกำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Workforce) และธนาคารก็ต้องการคนเก่ง Tech & Data จึงจัดตั้ง ‘ttb spark academy’ เพื่อปั้น ...