ทรัพย์สินทางปัญญาของ Startup กับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดย Matra Law | Techsauce

ทรัพย์สินทางปัญญาของ Startup กับความคุ้มครองตามกฎหมาย โดย Matra Law

hammer-802298_640

“Software ที่สร้างขึ้นมาได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาอย่างไรบ้าง?” เป็นหนึ่งในคำถามสำคัญที่กลุ่ม Startup ในประเทศไทยควรทราบ แต่ก่อนจะลงลึกไปกว่านั้น เบื้องต้นในบทความนี้จะขออธิบายภาพรวมเบื้องต้นก่อนว่าทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร? เหมือนหรือต่างกับลิขสิทธิ์ไหม?

โดยทั่วไป ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) เป็นทรัพย์สินประเภทหนึ่งที่ไม่มีรูปร่าง แต่กฎหมายให้ความยอมรับนับถือว่ามีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมได้ ด้วยเหตุนี้กฎหมายจึงมีบทบัญญัติรับรองความเป็นเจ้าของ สามารถโอนซื้อขายแลกเปลี่ยนได้จริง และได้รับคุ้มครองเพื่อไม่ให้ผู้อื่นนำทรัพย์สินทางปัญญาของตนไปลอกเลียนหรือไปใช้โดยไม่สุจริต

ทรัพย์สินทางปัญญาได้รับความคุ้มครอง

ตามกฎหมายหลายฉบับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ  เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ความลับทางการค้า เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ทรัพย์สินทางปัญญาของคุณจะได้รับความคุ้มครองได้ก็ต่อเมื่อมีการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมแล้วเท่านั้น เพราะลำพังเพียงแค่ความคิดสร้างสรรค์ที่ยังอยู่ในจินตนาการยังไม่ถือว่ามีการแสดงออกแต่อย่างใด

เช่น Software ในมุมมองของกฎหมายไทยถือเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนึ่งซึ่งสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แต่ลำพังเพียงแต่จินตนาการถึง Software ที่มีความสามารถพิเศษซักอย่างหนึ่งย่อมไม่อยู่ในข่ายได้รับความคุ้มครอง เพราะขาดการแสดงออกที่ทำให้กฎหมายรับรู้ได้

อนึ่ง กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเป็นกฎหมายภายในประเทศ ดังนั้นความคุ้มครองจึงขึ้นอยู่กับว่าประเทศในประเทศนั้นๆ กำหนดให้ความคุ้มครองอย่างไรเพราะแต่ละประเทศอาจกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันได้

สรุป ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นคำกว้างๆ ที่ใช้เรียกความคิดสร้างสรรค์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง ส่วนจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายใดจะต้องไปดูประเภทของทรัพย์สินทางปัญญานั้นด้วย เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ลิขสิทธิ์จึงเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งนั่นเอง

matralawIP

ครั้งหน้าจะมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับ Startup ว่าจะได้รับความคุ้มครองอย่างไร และถ้า Startup รับจ้างพัฒนา software ให้ผู้ว่าจ้าง ลิขสิทธิ์จะเป็นของใคร? รวมถึงในทางกลับกัน ถ้าลูกจ้างของ Startup พัฒนา software ให้ ลิขสิทธิ์จะเป็นของใครกันแน่?

เกี่ยวกับผู้เขียนบทความ

Matra Law ทีมผู้เชี่ยวชาญและติดตามกระแสทางด้านกฎหมาย ทำให้กฎหมายเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายขึ้น สามารถติดตามได้ที่ facebook.com/MatraLaw และ http://www.matralaw.com

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องจุดเด่นดิจิทัล โซลูชันของ WHAUP ระบบบริการสาธารณูปโภคและพลังงานอัจฉริยะ

ทำความรู้จักโซลูชันบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ แนวคิดการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและพลังงานแห่งอนาคต ภายใต้ บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP บริษ...

Responsive image

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover : เลือกตั้งสหรัฐฯ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย รุกสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม

บทสรุปการสัมภาษณ์ Dr. Ted Gover ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่กำลังจะมีขึ้น ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-ไทย และความท้าทายสำคัญสำหรับทั้...

Responsive image

เผยแนวโน้มและผลกระทบของ AI ผ่านมุมมองของนักวิจัยชั้นนำแห่ง MIT Media Lab “พีพี-ดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร”

เทคโนโลยี AI ส่งผลดีหรือผลเสียต่อมนุษย์? เจาะลึกมุมมองที่เกี่ยวกับแนวโน้มและผลกระทบจาก AI ไปกับดร.พัทน์ ภัทรนุธาพร (พีพี) นักวิจัยไทยแห่ง MIT Media Lab และ KBTG Fellow ที่จะมาแบ่งแ...