คลัง เตรียมเสนอใช้ ม.44 ออก 'กม. Startup' ยกเว้น Capital Gain Tax จูงใจนักลงทุน

ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในฐานะกรรมการคณะกรรมการส่งเสริมรัฐวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) แห่งชาติที่มีนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ โดยจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ออกกฎหมายเพื่อใช้สนับสนุนผู้ประกอบการ Startups ได้อย่างรวดเร็วภายในปีนี้ และคาดว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ได้ในต้นปี 61

สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายจะมีการให้สิทธิพิเศษทางภาษีเพิ่มเติม โดยเสนอให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้จากส่วนต่างการขายหุ้น (Capital Gain) เป็นเวลานาน 5-10 ปี เพื่อจูงใจให้นักลงทุนไทยและต่างประเทศเข้ามาลงทุนใน Startups มากขึ้น

ดร.พันธุ์อาจ กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีกับ Startups โดยการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 5 ปี และยกเว้นภาษีเงินได้ของกองทุนร่วมทุน (VC) เป็นเวลา 10 ปี อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของธุรกิจเกิดใหม่ การดำเนินการในช่วง 1-2 ปีแรกจะมีผลขาดทุน ทำให้เจ้าของกิจการไม่ได้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์จากภาษีนี้เต็มที่มากนัก ซึ่งการเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษี Capital Gain จะทำให้เจ้าของกิจการรวมถึงผู้ร่วมลงทุนได้รับประโยชน์จากภาษีมากขึ้น

นอกจากนี้ สาระสำคัญของกฎหมาย ยังมีการตั้งคณะกรรมการส่งเริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรีประธาน เพื่อกำหนดนโยบายของการสนับสนุน Startups ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นการรวมกฎหมายของหลายกระทรวง ขณะเดียวกัน ยังมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบและนวัตกรรมสำหรับธุรกิจ Startups ใหม่ที่ยังไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีกฎหมายรองรับให้ดำเนินกิจการในประเทศไทย ให้เข้ามาใช้ศูนย์นี้ทดสอบการทำธุรกิจ ก่อนที่จะได้รับพิจารณาความเหมาะสมให้มีการดำเนินการถูกต้องในกฎหมายต่อไป

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ประกอบการ Startups จดทะเบียนและดำเนินการ 1,500 ราย ในจำนวนนี้เป็น Startups VC จำนวน 500 ราย และยังมีธุรกิจ Startups อีก 8,500 รายที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ซึ่งหากกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ คาดว่าจะจูงใจให้ผู้ประกอบการกลุ่มนี้จดทะเบียนดำเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้น และจะสามารถดึงเงินจากนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในธุรกิจ Startups มากขึ้น จากปัจจุบันมีเงินลงทุนทั้งเอกชนและภาครัฐ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐหลังกฎหมายบังคับใช้

ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวจะประกอบด้วย 4 หมวด คือ

  • หมวดที่ 1 นิยามของ Startups คือ กิจการที่จดทะเบียนไม่เกิน 60 เดือน หรือ 5 ปี ต้องทำธุรกิจที่มีนวัตกรรม มีการวิจัยและพัฒนา
  • หมวดที่ 2 คณะกรรมการ
  • หมวดที่ 3 สิทธิประโยชน์
  • หมวดที่ 4 โครงการตั้งศูนย์ทดสอบธุรกิจ Startups

นอกจากนี้เรายังได้รับข่าวดีอีกเรื่องคือ ร่าง พรบ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ประกอบด้วยประเด็นหลักที่ช่วยเหลือ Startup อย่าง ESOP, Vesting Preferred Shares กำลังเตรียมเข้าครม. แล้ว

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คืนชีพ Dire Wolf หมาป่าที่สูญพันธ์ไปเมื่อ 12,500 ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ทำได้อย่างไร ?

Dire Wolf คือชื่อของหมาป่าสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อราว 12,500 ปีก่อน และในวันนี้ พวกมันได้กลับมามีชีวิตอีกครั้งอย่างน่าทึ่ง ในฐานะที่บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ Colossal Bioscie...

Responsive image

คอมตัมคอมพิวติ้ง ตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว ? สรุปความก้าวหน้าควอนตัมจากงาน NVIDIA GTC 2025

งาน NVIDIA GTC 2025 เป็นปีแรกที่มีการจัดเวทีพูดคุยเกี่ยวกับควอนตัมคอมพิวติ้งโดยเฉพาะ (Quantum Day) ซึ่ง NVIDIA ในฐานะเจ้าภาพ และผู้ขับเคลื่อนการประมวลผลแบบ Accelerated Computing จึ...

Responsive image

ญี่ปุ่น ใช้ AI และเทคโนโลยีอะไร ในการรับมือแผ่นดินไหว ?

เหตุแผ่นดินไหวในเมียนมาที่ส่งผลกระทบมาถึงประเทศไทย สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงด้านแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้นในประเทศ แม้ประเทศไทยจะไม่ใช่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง แต่เหตุการณ์ดังกล...