บัญชีและกฏหมายควรรู้ (สรุปเนื้อหาสำคัญจากงาน Startup CEO Forum) | Techsauce

บัญชีและกฏหมายควรรู้ (สรุปเนื้อหาสำคัญจากงาน Startup CEO Forum)

Screen Shot 2559-02-19 at 10.57.26 AM

ปลายปีที่ผ่านมา Invent จับมือร่วมกับ mai จัดสัมมนาครั้งใหญ่สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ Tech Startup เนื้อหาของงานจะเกี่ยวกับการให้ความรู้เรื่องธุรกิจ 3 ด้านหลักที่ CEO ของ Startup ควรต้องรู้ อันได้แก่ การทำบัญชี ความรู้กฎหมาย และรูปแบบธุรกิจ จาก 3 วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ

ในงานได้รับเกียรติจากคุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ mai เป็นผู้กล่าวเปิดงาน อีกทั้งในตอนท้ายของงานยังมาพูดคุยและตอบคำถามกับทุกท่านอีกด้วย

ในช่วงแรกของการสัมมนาได้รับเกียรติจากคุณอรประไพ สุขุมาลจันทร์ partner Grant Thornton Thailand พูดคุยเรื่องการทำบัญชี ในหัวข้อ “Accounting 101 for Entrepreneur”

Accounting 101 for Entrepreneur

คุณอรประไพ กล่าวว่าปัญหาที่มักพบเจอบ่อยๆ ใน Startup คือมองข้ามในเรื่องของการจัดทำงบการเงินให้ถูกต้องและมุ่งความสนใจไปที่การพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์​ แต่การที่ธุรกิจจะเติบโตไปได้นั้นการจัดทำงบการเงินที่ถูกต้องมีความสำคัญอย่างมาก ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การยื่นงบการเงินกับกรมสรรพากรเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดเท่านั้น แต่งบการเงินที่ดีจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในเชิงธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รวมถึงสามารถตรวจสอบสถานะและความสามารถในการดำเนินธุรกิจของบริษัทได้ตลอดเวลา

ก่อนที่นักลงทุนจะเข้าไปลงทุนใน Startup นักลงทุนจะมีการทำ Financial Due Diligence ซึ่งในส่วนนี้หลายคนเข้าใจว่าเป็นการเข้าไปรีวิวหรือตรวจสอบตัวเลขทางบัญชีเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ววัตถุประสงค์หลักของการการทำ Financial Due Diligence คือจะมองลงไปว่ามีปัจจัยอะไรที่จะเป็นความเสี่ยงรวมถึงผลกระทบจากความเสี่ยงที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคต ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์ในอนาคต และหาวิธีการที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว

ดังนั้นตัวงบการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะนำมาใช้พิจารณา  ถ้างบการเงินไม่ถูกต้อง ซึ่งมักพบเห็นได้บ่อยในธุรกิจขนาดเล็ก อาจต้องให้ทางAuditor เข้าไปช่วยรีวิวและตรวจสอบตัวเลขให้ถูกต้องก่อนการวิเคราะห์ โดยงบการเงินไม่ได้เพียงแค่สะท้อนถึง Net Profit แต่ดูลึกไปถึงสภาพคล่องของบริษัท บางบริษัทตัวเลขกำไรสวย แต่ปรากฎว่าเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ดำเนินธุรกิจกลับไม่มี

สรุปสิ่งที่อยากแนะนำให้กับ Startup คือ

  1. ธุรกิจ Startup ส่วนใหญ่มีพนักงานน้อย และต้อง outsource งานส่วนบัญชีออกไป หลายครั้งมีการลง Booking ค่าใช้จ่าย การรับรู้รายได้ที่ไม่ตรง ผู้ประกอบการควรใส่ใจและเข้าไปรีวิวด้วย  อย่าปล่อยให้ทางบัญชีดูอย่างเดียวไม่ได้ และถ้าเป็นไปได้ควรปิดงบทุกเดือน หรือทุกไตรมาส
  2. ควรมีงบการเงินที่ช่วยให้ผู้บริหาร Monitor Performance ของบริษัทตัวเองได้ และเมื่อต้องขอระดมทุนจะได้มีข้อมูลตรงนี้ให้พร้อม
  3. ควรมี Management Report ต่างๆ เช่น Sales Report, Payment Report
  4. นำระบบ Petty Cash มาใช้
  5. การชำระเงินหลักๆ ให้ใช้ระบบเช็คหรือการโอนเงินผ่าน Internet Banking
  6. Transaction ต่างๆ ควรอ้างอิงจาก Market Price
  7. มีการ Set ค่ามาตรฐาน ค่าตอบแทนต่างๆ สำหรับผู้บริหารอย่างสมเหตุสมผลและชัดเจน

กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา

ส่วนช่วงที่สองได้รับเกียรติจากคุณวงศกฤต กระจ่างสนธิ์ ที่ปรึกษา Hunton & Williams มาพูดคุยในหัวข้อ “กฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา” โดยเนื้อหาหลักๆ จะมุ่งเน้นที่การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า (Trademark) ส่วนเครื่องหมายการค้าจะว่าด้วยเครื่องหมายที่ได้รับการคุ้มครอง และหลักปฏิบัติของการสร้างเครื่องหมายการค้า โดยมีตัวอย่างของกรณีศึกษาต่างๆ มากมายมาให้ได้ชมกันในช่วงสัมมนา

เนื้อหาสำคัญสำหรับ Startup ที่มักสงสัยและได้รับการอธิบาย ได้แก่

  • ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีโดยไม่ต้องจดทะเบียน ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหลังจากที่สร้างสรรค์งานขึ้นมา (แต่เครื่องหมายการค้าต้องไปจดทะเบียนเพื่อป้องกัน) กรณีที่เป็นผู้สร้างสรรค์ร่วมกัน อย่าง co-fouder แล้ววันนึงเกิดต้องแยกย้ายไม่ได้ทำธุรกิจด้วยกัน การจะถือว่าได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์นั้น ไม่ใช่แค่เสนอความคิด หรือพูดลอยๆ ออกมา คุณต้องมั่นใจและมีการพิสูจน์ได้ว่าคุณ contribute เข้ามาให้เกิดงานจริงๆ แต่ก็เป็นไปได้ว่าในบางครั้งก็ทำสัญญาที่ชัดเจนไปเลยแต่แรก เอาสัญญาไปพิสูจน์ได้ต่อศาลว่าเป็นข้อตกลงกันตั้งแต่ต้นว่าจะทำงานชิ้นนั้น ชิ้นนี้ร่วมกัน แต่ถ้าเป็นกรณีลูกจ้าง หรือจ้างทำของ จ้าง programmer ถ้าคุณเป็น Startup แนะนำว่าให้ทำสัญญาจ้างให้ชัดเจน ว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวเป็นของบริษัท ไม่มีสิทธินำไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่
  • มีคนสอบถามเข้ามาว่ารูปแบบธุรกิจนั้น ถ้ามีคนลอกเลียนแบบถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งรูปแบบธุรกิจ เปรียบเสมือนกับแนวความคิด โดยกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น ไมได้คุ้มครองความคิด ทฤษฎี วิธีการ และขั้นตอนต่างๆ
  • เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ เครื่องหมายการค้าที่เราใช้ หรือจะใช้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำ ผลิตภัณฑ์ให้เสร็จก่อน คุณอาจไปจดทะเบียนไว้ก่อน เพื่อป้องกันคนมาใช้ก่อน แล้วค่อยผลิต แต่ต้องมั่นใจว่าผลิตสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด ไม่เช่นนั้นจะโดนโต้แย้งและแจ้งขอเพิกถอนได้เช่นกัน

เตรียมตัวกันให้พร้อมก่อนขอระดมทุน คำแนะนำดีๆ จากงาน Startup CEO Forum สำหรับบทความถัดไปจะเกี่ยวกับการสรุปเนื้อหาสำคัญในช่วงสำคัญของงาน Sustainable Business Model for Startup CEO โดยคุณธนพงษ์ ณ ระนอง อย่าลืมติดตามกันเช่นเคย

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...

Responsive image

เปิดตัว ‘รถบินแยกร่าง’ XPeng ผสมเครื่องบินกับรถตู้ รุ่น Land Aircraft Carrier ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท

XPeng Aero HT เปิดตัว Land Aircraft Carrier รถบินได้แบบแยกร่างสุดล้ำที่ CES 2025 พร้อม eVTOL พับเก็บได้ ใช้งานง่าย ราคาต่ำกว่า 10 ล้านบาท วางแผนผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2026...