Startup Accelerator กำลังเป็นโมเดลที่หลายๆ องค์กรให้ความสนใจ แต่ใครจะไปคิดว่า สถาบันที่ดูเก่าแก่อย่าง "พิพิธภัณฑ์" ก็มี Case study ของการแปลงโฉมตนเองสู่ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพเช่นกัน
เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่าพิพิธภัณฑ์ อย่างเช่น New Museum, ACMI, และ Te Papa กำลังนำโมเดลของ Accelerator, Incubator, Co-working Space มาใช้ เพื่อรวบรวมผู้ประกอบการ developers และนักนวัตกรรมมารวมกัน
...นั่นแปลว่าพิพิธภัณฑ์ไม่ได้มีไว้ชมเพียงอย่างเดียว แต่มีไว้ช่วยให้ลงมือทำด้วย
ในปี 2014 พิพิธภัณฑ์ New Museum ใน New York ได้ก่อตั้ง NEW INC มันถูกขนานนามว่า "Incubator แห่งแรก ที่ขับเคลื่อนโดยพิพิธภัณฑ์" พื้นที่ co-working นี้เป็นบ้านที่มีผู้เช่ามากกว่า 100 รายใน ที่สร้างสรรค์ในหมวดศิลปะ การออกแบบ และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ พิพิธภัณฑ์ New Museum เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่นำลักษณะ co-working มาทดลองกับสถาบันของพวกเขา สมาชิกเข้าใช้โดยจ่ายเงินสำหรับการเป็นสมาชิก และมีการเข้าถึงชุมชนที่มีแนวความคิดคล้ายคลึงกัน
ในแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของพิพิธภัณฑ์เน้นย้ำว่า "Incubator นี้อยู่ใน Series ล่าสุดในชุดของโครงการที่พัฒนาโดยสถาบันการศึกษาที่จะท้าทายขอบเขตสำหัรบพิพิธภัณฑ์ในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการผลิตความคิดสร้างสรรค์และเสริมสร้างสถานที่ที่สื่อความหมายของนวัตกรรม"
สภาที่ปรึกษา NEW INC ประกอบด้วยนักลงทุนกระเป๋าหนักอย่างเช่น John Maeda, Neri Oxman, Fred Dust แห่ง IDEO, Yancey Strickler แห่ง Kickstarter และ Andrew Weissman แห่ง USV
ผู้เช่าส่วนใหญ่เป็นศิลปิน และเอเจนซี่ แต่ Startup อย่างเช่น NewHive, Monegraph, SIREN และ Niio ได้เรียก NEW INC ว่าเป็นบ้านมากว่าปีแล้ว และได้รวบรวบการระดุมนับล้านใน Seed funding
การที่พิพิธภัณฑ์ลงทุนใน Startup แสดงให้เห็นถึงวิถีคิดที่เปลี่ยนไป
ในปีเดียวกันนั้น Minneapolis Institute of Arts หนึ่งในพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นการทดลองกับคอนเซ็ปต์ของ co-working ด้วยการทำ Hothouse นอกจากนี้ยังทำโครงการ "Entrepreneur in Residence" (ผู้ประกอบการอาศัยร่วมกัน) แห่งแรกโดยพิพิธภัณฑ์ แม้ว่าโครงการทั้งสองดูเหมือนจะจางหายไป แต่พิพิธภัณฑ์ก็ได้มี “Venture Innovation Director" ซึ่งเป็นอันดับแรกของหน้าที่ และหนึ่งในคนที่อาศัยอยู่ในทีมผู้นำ
ในปี 2016 Australian Centre for the Moving Image เปิดตัว ACMI X เพื่อรวบรวมครีเอทีฟแห่ง Melbourne และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้เช่ากับพนักงานของพิพิธภัณฑ์ และศูนย์ศิลปะร่วมสมัย Contemporary Arts Center ใน New Orleans เพิ่งประกาศแผนการที่จะเปิด co-working space ชื่อว่า The shop
ในปี 2016 Te Papa พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของนิวซีแลนด์เปิดตัว Mahuki เพื่อบ่มเพาะ Startups สายวัฒนธรรม จาก 34 แอปพลิเคชั่น จาก 10 บริษัท ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งชอง "Accelerator โดยพิพิธภัณฑ์" แห่งแรกของโลก หนึ่งในเป้าหมายของพิพิธภัณฑ์คือกระบวนการของทีมงานที่สร้างสรรค์จะช่วย Te Papa อยู่และแก้ปัญหาความท้าทายของพวกเขา แต่ละบริษัทได้รับ 2 หมื่นดอลล่าร์ รวมทั้งการเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญของพิพิธภัณฑ์ ของสะสม และฐานผู้เข้าชมในการแลกเปลี่ยนสำหรับสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 6
"Te Papa เหมือนโรงไฟฟ้าที่ผลิตความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานกับบริษัทที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้จะนำความคิดใหม่เข้ามาผสมผสาน พวกเราได้ทำการบ้านของเราและเรารู้ว่ามีความจำเป็นที่จะสนับสนุนนวัตกรรมสำหรับภาควัฒนธรรมทั้งในระดับโลกและในประเทศ" ประกาศจาก CEO ของพิพิธภัณฑ์ Rick Ellis ในการดำเนินงานเปิดตัวการขับเคลื่อนของเขา
จะเห็นได้ว่า นอกเหนือจากรูปแบบ Co-working พิพิธภัณฑ์ยังลงทุนในธุรกิจ Startup ก็เป็นแนวคิดใหม่อีกแนว
แทนที่จะลงทุนใช้จ่ายไปกับการพัฒนาภายใน ที่อาจจะไม่ยั่งยืน หรือเข้าไม่ถึง critical mass การลงทุนกับทีมนักพัฒนาจะช่วยให้พัฒนาโปรดักส์ได้ในราคาประหยัดกว่า และไม่ต้องวุ่นวายกับกฏระเบียบ หรือความล่าช้าเดิมของบริษัท
การทำงานร่วมกันระหว่างพิพิธภัณฑ์และบริษัททางด้านเทคโนโลยีที่เห็นได้ชัด อย่างเช่น Artsy, Cuseum, Electric Objects และ Estimote โดยที่ Startup เหล่านี้ ทั้งหมดมีระดับของความร่วมมืออย่างลึกซึ้งกับพิพิธภัณฑ์ศิลปะ พิพิธภัณฑ์ที่ลงทุนใน Artsy คงรู้สึกปลื้มปิติยินดีที่เห็นบริษัทที่มุ่งเน้นไปทางด้านงานศิลปะที่ระดมทุนไปมากกว่า 50 ล้านดอลล่าร์ และกลายเป็นผู้นำตลาด และการที่มีหลายร้อยพิพิธภัณฑ์ทั่วโลกกำลังใช้ฮาร์ดแวร์จาก Estimote คงเห็นได้ว่าโมเดลความร่วมมือนี้เป็นเรื่องใกล้ตัว และไม่ไกลเกินเอื้อม
สำหรับสถาบันการศึกษาเอง มหาวิทยาลัยและมูลนิธิต่างๆ ก็มีการลงทุนในธุรกิจ Startup เช่น Stanford, MIT, NYU, Purdue และ University of California Stanford ลงทุนมานานกว่าทศวรรษ และพอร์ตของพวกเขาประกอบด้วย SeatGeek, Zipline และอื่น ๆ กว่า 50 ชิ้นงาน Innovation Venture Fund ของ NYU ซึ่งเป็นกองทุนมูลค่า 20 ล้านดอลล่าร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2010 ได้นำเงินเข้า Clarifai, numberFire และ Framed Data ยิ่งไปกว่านั้นมูลนิธิอย่าง Gates, Ford, Knight and Thiel กระตือรือร้นที่จะลงทุนในธุรกิจ Startup
ยังมีวิธีการที่พิพิธภัณฑ์สามารถกระจายการลงทุนของพวกเขา หลายแห่งได้ลงทุนกับหุ้น, กองทุนรวม, กองทุนป้องกันความเสี่ยง, ส่วนของการลงทุนภาคเอกชนและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ในปี 2009, The J. Paul Getty Trust สถาบันด้านงานศิลปะที่ร่ำรวยที่สุดของโลกตั้งเป็นประเด็นใหญ่ขึ้นมา มูลค่าของเงินบริจาคของพวกเขาลดลงมากกว่าร้อยละ 25 ในปีเดียว
พิพิธภัณฑ์โดยปกติแล้วจะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนมากนัด ถ้าไม่นำโดยนักลงทุน Startup ผู้มีประสบการณ์ อะไรที่เสี่ยงอยู่แล้วจะกลายเป็นความเสี่ยงที่ยิ่งกว่า กับคำกล่าวที่ว่าประมาณร้อยละ 90 ของ Startups ล้มเหลว ถึงแม้ว่าจะมีโฆษณาชวนเชื่อและมนต์เสน่ห์ของการลงทุนร่วมทุน แต่ก็มักมีรายงานว่าส่วนใหญ่ของ VCs จะได้กำไรน้อยกว่าการลงทุนอื่นๆในตลาด
มีกองทุนมากมายที่ไม่ได้เป็น "lead" ในการลงทุนในบริษัทระยะเริ่มต้น แม้แต่กองทุน Knight Enterprise ภายใต้มูลนิธิ Knight Foundation ซึ่งมีเฉพาะผู้จัดการและที่ปรึกษาเช่น Joi Ito และ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Facebook อย่าง Chris Hughes ยังแทบจะไม่ค่อย lead เลย ถ้างั้นทำไมพิพิธภัณฑ์ถึงจะมาเป็นคน lead เองล่ะ?
การลงทุน 20,000 ดอลล่าร์จากพิพิธภัณฑ์อาจจะเหมาะสมที่สุดเมื่อเป็น 20,000 ดอลล่าร์สุดท้ายในรอบการระดมทุน 1 ล้านดอลล่าร์ และอาจจะดีกว่าในรอบถัดๆ ไป มีนักลงทุนจำนวนมากที่จะไม่ลงทุนในบริษัทเว้นแต่บริษัทจะเป็นบริษัทที่ได้ลงทุนแล้วกว่า 500,000 ดอลล่าร์ หรือแม้กระทั่ง 1 ล้านดอลล่าร์ กว่าจะสร้างทีมเพื่อสร้างตลาดและการขายผลิตภัณฑ์ของพวกเขา ทำไมถึงต้องรีบเข้าไปเสี่ยงล่ะ?
หากพิพิธภัณฑ์มุ่งมั่นที่จะลงทุนใน Startup เพื่อประโยชน์จากผลตอบแทนทางการเงิน ก็ควรลงทุนในกองทุนแรกเริ่มที่มีอยู่ซึ่งจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีบันทึกการติดตามผลและทรัพยากรที่จะช่วยบริษัทในการเจริญเติบโตหรือร่วมลงทุนพร้อมกับพวกเขา หรือไม่ก็ co-invest ร่วมกับพวกเขา
ผู้เขียนคิดว่าสิ่งที่ New Museum และคนอื่น ๆกำลังทำในรูปแบบของ co-working เป็นวิธีที่น่าสนใจที่จะลงทุนด้วยทุนของพวกเขาในปริมาณน้อย (พื้นที่, สถานที่, ค่าสร้างแรงบันดาลใจ) และส่งเสริมให้เกิดการ "จุดเชื่อมต่อ" ทางความคิดสร้างสรรค์ การแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน นอกเหนือจากกระแสของรายได้ใหม่, พนักงานพิพิธภัณฑ์มีการเข้าถึงการสร้างนวัตกรรมที่พวกเขาต้องการอย่างอื่น และนวัตกรรมมีสภาพแวดล้อมที่สร้างสรรค์เพื่อปล่อยออกไป
จับตามองเส้นทางใหม่ของสถาบันทางวัฒนธรรม ทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรม การทำ partnership และสร้างช่องทางรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งหมดที่กำลังเน้นบทบาทของพวกเขาเป็นจุดเชื่อมต่อสำหรับความคิดสร้างสรรค์ในศตวรรษที่ 21
แปลและเรียบเรียงจาก TechCrunch.com
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด