7 เรื่องควรจ่ายและไม่ควรจ่าย สำหรับสตาร์ทอัปมือใหม่ | Techsauce

7 เรื่องควรจ่ายและไม่ควรจ่าย สำหรับสตาร์ทอัปมือใหม่

สำหรับสตาร์ทอัปที่เพิ่งก่อตั้ง การควบคุมค่าใช้จ่ายคือสิ่งที่ชี้เป็นชี้ตาย เพราะมันจะบอกได้ว่าบริษัทของคุณจะไปรอดหรือไม่ ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่ควรจ่าย เพราะจ่ายแล้วคุ้มค่า และอะไรที่ไม่ควรจ่าย เพราะจ่ายแล้วไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร

1

อย่าลงทุนกับออฟฟิศโดยไม่จำเป็น

Navid Zolfaghari ที่ปรึกษาจาก 500 Startups แนะนำว่าไม่ควรลงทุนตกแต่งออฟฟิศให้มันดูอลังการเกินเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงเริ่มต้น เพราะมันจะกลายเป็นต้นทุนจมไปซะหมด ทางที่ดีคือไปใช้บริการเช่าพื้นที่ร่วมกับคนอื่นๆ หรือเช่าพื้นที่เล็กๆ ในบริษัทอื่นที่ยังพอมีที่ว่างจะดีกว่า

อีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่นิยมในกรุงเทพฯ บ้านเราก็คือ Co-working space ที่คิดค่าบริการหลายๆ แบบ ทั้งเหมาเป็นรายเดือน รายวัน รายชั่วโมงก็ยังมี

2

อย่าแจกของสมนาคุณ 

สติ๊กเกอร์โลโก้บริษัท เสื้อทีเชิร์ต หรืออะไรทำนองนี้ที่บริษัทใหญ่ๆ มักจะทำเป็นของที่ระลึกแจกลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ จริงๆ แล้วมันก็เป็นหน้าเป็นตาของบริษัท แต่ไม่น่าจะเหมาะกับสตาร์ทอัปที่เพิ่งก่อร้างสร้างตัวสักเท่าไร ลองนึกๆ ดูแล้วก็อาจจะจริง เพราะเสื้อยืดที่แจกมาอาจจะกลายเป็นชุดนอน สุดท้ายแล้วคนที่รู้จักโลโก้ของบริษัทคุณก็ไม่ได้มีเพิ่มขึ้นมาอยู่ดี นี่คือคำแนะนำจากที่ปรึกษาของ 500 Startups

3

คุณต้องการนักกฏหมาย ไม่ใช่บริษัทประชาสัมพันธ์

อย่าเพิ่มเรื่องปวดหัวให้ตัวเองด้วยการมีประเด็นทางกฏหมายกับบริษัทอื่นที่คุณต้องทำงานด้วย นั่นเป็นคำแนะนำจาก Jared Kim ผู้ก่อตั้ง WeGame ที่ถูกขายให้กับ Tagged ในปี 2011 “มันคือเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะเมื่อคุณเริ่มจ้างพนักงานคนแรกและเริ่มระดมทุน

ถึงแม้สตาร์ทอัปจะต้องประหยัดค่าใช้จ่าย แต่การจ้างที่ปรึกษาทางกฏหมายเป็นสิ่งที่ควรลงทุน การทำพลาดในเรื่องนี้อาจทำให้ชวดเงินจำนวนมากจากนักลงทุนที่สนใจในธุรกิจของคุณ

4

สองหน้าจอและเก้าอี้ที่นั่งสบายๆ 

ถ้ามันเป็นเรื่องความสะดวกสบายในการทำงานของลูกทีม จำไว้ว่าอย่าขี้งก เพราะมันมีผลกับประสิทธิภาพของงานที่ออกมาแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ที่ต้องใช้ร่วมกันหลายๆ หน้าจอ คอมพิวเตอร์แรงๆ และเก้าอี้ที่นั่งสบาย “นอกจากจะได้งานที่ดีแล้ว พนักงานของคุณก็จะรู้สึกขอบคุณด้วย” Jared Kim กล่าว

5

ใช้โซเชียลมีเดียอย่างฉลาด

บริษัทหลายๆ แห่งคิดว่าโซเชียลมีเดียเป็นของฟรี แต่มันไม่ใช่หรอก ซึ่งคุณอาจจะไม่เห็นผลลัพธ์ของมันในทันที แต่ถ้าจะพูดถึงในระยะยาวแล้ว มันจะเป็นการคืนทุนที่ดีแน่นอน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น การพูดว่าอยากให้มีแฟนเพจ 2,000 คน จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าคุณไม่รู้ว่าการมีแฟนเพจ 2,000 คนนั้นจะให้ประโยชน์กับแบรนด์ของคุณได้อย่างไร

6

การสัมมนาที่ไร้ประโยชน์

ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาบางงานไม่ใช่ถูกๆ วิธีที่ดีพอๆ กันโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายคือการสร้างคอนเนคชั่นกับผู้คนที่อยู่ในแวดวงนั้น แล้วลองนัดเขาไปนั่งจิบกาแฟพร้อมพูดคุยเรื่องที่สนใจ ก็อาจจะได้ผลที่ดีเช่นกัน

Jared Kim บอกว่า ตัวเขาเองจะไปงานสัมมนาก็ต่อเมื่อ 1). เขาเป็นผู้บรรยาย 2). เขามีนัดกับคนที่จะนำไปสู่ดีลในทางธุรกิจได้จริง และ 3). การสัมมนานั้นมีเรื่องที่เขาสนใจจะเรียนรู้

นอกจากนี้ เขายังบอกอีกว่า ส่วนมากแล้วคนจะมีข้ออ้างในการเข้าร่วมสัมมนาว่าเป็นการหาเน็ตเวิร์ก แต่สุดท้ายแล้ว เขาเชื่อว่ามันเป็นการเสียเวลาเปล่า

7

โฟกัสไปที่ผลิตภัณฑ์ จ้าง Outsource งานหลังบ้าน

ในฐานะซีอีโอของบริษัทที่เพิ่งตั้ง คุณควรจะโฟกัสไปที่โปรดักต์ ตลาด และการสร้างมันขึ้นมา ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาหลายๆ ชั่วโมงไปกับงานเอกสาร เช่น การจ่ายบิล รายงานประจำไตรมาสสำหรับนักลงทุน จ่ายเงินเดือนพนักงาน

Jared Kim บอกว่า ยังมีบริษัทหลายๆ แห่งที่ให้บริการ Outsource ทางด้านการเงิน บุคคล หรือบัญชี โดยที่คิดค่าจ้างสมเหตุสมผล ซึ่งัมนจะช่วยประหยัดเวลาให้คุณได้มาก

ที่มา : Forbes

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...