เทคนิคการ Pitch พิชิตใจนักลงทุน | Techsauce

เทคนิคการ Pitch พิชิตใจนักลงทุน

ภาพจาก http://nextviewventures.com/

ในโลกของ Startups ที่ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ด้วยไอเดียแปลกใหม่ ใครจะคิดว่าแอปพลิเคชันแชร์รูปภาพธรรมดาๆ อย่าง Instagram จะมีมูลค่าหลายหมื่นล้านเหรียญสหรัฐในวันนี้ ดูเหมือนว่าแค่คุณมีไอเดียกับทีมงานที่สามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้ คุณก็ประสบความสำเร็จแล้ว หากแต่ว่าปัญหาหนึ่งที่ Startups หลายๆคนประสบก็คือเรื่องของเงินทุน วันนี้เราจะมาแนะนำแนวทางให้คุณได้ลองเอาไปใช้เวลาต้อง Pitch งานให้กับผู้ลงทุน

1. ค่าของคนอยู่ที่คนของใคร

มีคนเคยบอกว่า "รู้อะไร ไม่สู้รู้จัก" สิ่งสำคัญที่จะทำให้ Startups ประสบความสำเร็จได้ก็คือเครือข่ายและการสร้างสายสัมพันธ์กับคนอื่น เวลาเราต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน เราจะคำนึงถึงพวก VC เป็นหลัก แต่นั่นก็เพราะว่า VC รู้จักคนมากมาย และโดยส่วนมากล้วนแต่มี connection สามารถทำอะไรได้อย่างรวดเร็ว เช่น แค่พวกเขายกโทรศัพท์โทรหาเพื่อนไม่กี่คนก็สามารถจัดการเรื่องต่างๆ ได้

ตัวเราเองก็สามารถจะรู้จักผู้คนและมีเครือข่ายเป็นของเราได้เหมือนกัน ถ้าเราอยากรู้จักและมีความสัมพันธ์กับกลุ่มนักลงทุน เราก็ต้องออกไปทำความรู้จักกับพวกเขา ลองเจอผู้คนในงานอีเวนท์ต่างๆ หรือพยายามเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่เราหมายปองไว้ รวมไปถึงแลกนามบัตรกับนักลงทุนเมื่อมีโอกาส ซึ่งภายหลังเราจะสามารถติดต่อเขาได้ ของพวกนี้อาจจะไม่เกิดขึ้นชั่วข้ามคืนแต่ถ้าทำไปเรื่อยๆ เราก็จะเริ่มรู้จักนักลงทุนมากขึ้นและเพิ่มโอกาสให้เราได้ไป pitch งานกับพวกเขา

2. เสนองานให้เข้าใจง่ายและกระชับ

ถึงแม้เราจะรู้เรื่องทุกอย่างเกี่ยวกับงานหรือโครงการที่เราทำอยู่ แต่มันสำคัญมากที่เราสามารถถ่ายทอดข้อมูลให้เข้าใจง่ายด้วยเวลาอันสั้น เราต้องอธิบายไอเดียให้เหล่า VC เข้าใจภายในครั้งแรกที่พวกเขาได้ยิน คนส่วนใหญ่จะปฏิเสธเพียงเพราะพวกเขาไม่เข้าใจ บางทีคุณอาจจะได้ขึ้นลิฟท์กับนักลงทุนและคุณต้องบอกเขาให้ได้ว่างานที่คุณทำอยู่มันเกี่ยวกับอะไรภายในเวลาก่อนที่นักลงทุนจะเดินออกจากลิฟท์ เพราะนั้นอาจจะเป็นเพียงโอกาสเดียวที่คุณจะได้เสนองานให้กับนักลงทุนที่คุณเฝ้ารอ

ลองอ่านเพิ่มเติมได้ที่ The Perfect Elevator Pitch พูดอย่างไรให้โดนใจในไม่กี่วินาที [infographic]

3. สร้างความแตกต่าง (อย่างเหมาะสม)

พยายามสร้างความแตกต่างให้ตัวเองเวลาเราไป pitch งานกับนักลงทุน เพราะพวกนักลงทุนย่อมเจอกับ Startups หลายต่อหลายคน อย่าทำให้พวกเขาคิดว่าเราเป็นแค่ Startups อีกรายที่เข้ามา ต้องทำอย่างไรเพื่อจะให้เขาจดจำเราได้ เราอาจจะทำการบ้านและศึกษาเหล่านักลงทุนมาเรียบร้อยว่าพวกเขาชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร บางทีสิ่งนี้จะทำให้นักลงทุนประทับใจและนี้เป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดถึง

4. เรียนรู้จากคำปฏิเสธ

แน่นอนว่ามันต้องมีเหตุการณ์เวลาเราไป pitch งานให้นักลงทุนฟังและพวกเขาปฏิเสธที่จะร่วมงานด้วย เมื่อเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นเราควรจะทบทวนตัวเองและเอาผลตอบรับที่ได้ไปแก้ไขให้ดีขึ้น เราอาจจะลองพูดคุยหรืออีเมลไปถาม VC ถึงเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงปฏิเสธงานของเรา และมีอะไรที่เราสามารถจะทำให้พวกเขาลองพิจารณาถึงงานของเราอีกรอบ

5. มองความเป็นจริงและเสมอภาคเป็นหลัก

เมื่อเราต้องมานั่งตกลงเรื่องสัญญา แน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่ต้องคุยกันก็คือเรื่องของตัวเลข เช่น เมื่อคุณมาลงทุนกับเราด้วยจำนวนเงินเท่านี้ จะทำให้คุณได้รับการเป็นหุ้นส่วนกี่เปอร์เซ็นก็ว่ากันไป หากแต่ว่าโดยส่วนตัวของ Startups เราจะมีตัวเลขที่อยากได้ไว้ในใจอยู่แล้ว ซึ่งตัวเลขนั้นจะสื่อได้ถึงราคาที่เราจะยอมตกลง อย่าไปมองถึงจุดที่ไม่สามารถเป็นไปได้ บางทีมันอาจจะมีนักลงทุนที่เข้ามาแสวงผลประโยชน์โดยการเอาเปรียบเรา แต่ถ้าเราสามารถหาจุดกึ่งกลางที่ไม่ทำให้ใครเสียผลประโยชน์ได้ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงข้อเบื้องต้นที่เราอาจจะดึงความสนใจให้เหล่านักลงทุนได้ อย่างไรก็ดี เราต้องระลึกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของเราว่าอยู่ในระดับไหน มีดีเพียงพอที่จะนำเอาไปเสนอให้กับเหล่านักลงทุนได้ครับ

ที่มา: entrepreneur

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...