สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาหาอนาคต สู่การใช้ AI อย่างชาญฉลาดบนความรับผิดชอบ | Techsauce

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาหาอนาคต สู่การใช้ AI อย่างชาญฉลาดบนความรับผิดชอบ

ในยุคที่ AI ก้าวเข้ามามีบทบาทในโลกการทำงานและค่อยๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต ผ่านการเติบโตอย่างก้าวกระโดด และกำลังพัฒนาไปอย่างรวดเร็วโดยหลายภาคส่วน แต่เพียงแค่เติบโตอย่างเดียวอาจไม่พอ แต่เราต้องรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างถูกวิธีและมีจริยธรรม 

จึงเป็นที่มาของ KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาจากอนาคต ที่จัดขึ้นเป็นปีที่สอง ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2024 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นว่า AI จะสร้างความเป็นไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเปิดโอกาสครั้งใหม่ให้กับทุกคนให้สามารถสร้างสรรค์สิ่งที่คิดว่าเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ภายใต้การใช้งานที่ถูกต้องเพื่อป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ 

KBTG Techtopia ปีนี้ รวบรวมเทรนด์สำคัญที่ต้องจับตามองมาอย่างอัดแน่นถึงเกือบ 40 Session ผ่าน 3 Stage โดยสเตจแรก ‘Humanizing AI’ ที่พูดถึงเรื่องบทบาทของ AI และความสำคัญของมนุษย์ และในสเตจที่สอง ‘Exploring Horizon’ ที่มีไฮไลท์พิเศษ Exclusive Session จาก The Secret Sauce ที่มาแชร์เทรนด์เทคโนโลยี ที่กำลังมาแรงอย่าง Healthtech, BioTech, EdTech และเรื่องราวของธุรกิจที่น่าจับตามองของไทย และสเตจสุดท้าย ‘Inspiring Case’ ที่มีเหล่า Speakers มาเล่าถึงโปรเจกต์และ Lesson Learn ต่างๆ 

มอบประสบการณ์ความรู้สุดพิเศษและค้นหาแนวทางการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อใช้พลังของนวัตกรรมอย่างเต็มที่ สร้างสรรค์ความเป็นไปได้ใหม่ๆ อย่างมีวิธีการที่เหมาะสม โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากทั้งไทยและต่างประเทศ

ยุคสมัยของ AI และอนาคตของ AI Ecosystem

AI อยู่รอบตัวเรามานานและมีวิวัฒนาการต่อเนื่อง ความสามารถในเรียนรู้จากข้อมูลมหาศาลของ AI พาทุกคนก้าวสู่ยุคของ Machine Learning ตามมาด้วย Deep Learning และตอนนี้ก้าวเข้าสู่ช่วงพีคของการทำ AI Transformation

ใน Session Transform to Thrive in The Age of AI โดยคุณกระทิง เรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า มีสามสิ่งที่เราจะต้องโฟกัสเพื่อตอบรับยุคของ AI Transformation ได้แก่

  1. Generative AI 
  2. Computer Vision & Large Vision Model 
  3. Composite AI (Multidisciplinary AI)

ปัจจุบัน AI ที่เราใช้งานกันแพร่หลายมีทั้งในรูปแบบของผู้ช่วย Voice Assistant แชทบอท (Chatbot) และระบบจดจำใบหน้า (Visual Recognition) ในขณะที่องค์กรก็เริ่มนำ AI มาประยุกต์ใช้และเริ่มเห็นผลลัพธ์เบื้องต้น แต่คาดว่าต้องใช้เวลาอีก 6-10 ปี ที่บริษัทจะตระหนักถึงประโยชน์ของ AI จริงๆ สะท้อนว่าคนใช้ AI เร็วกว่า ปรับตัวได้ก่อนบริษัท

แต่จุดเปลี่ยนสำคัญจะเกิดในปี 2030 มี 'Domain-specific AI (Vertical AI)' ที่จะเข้ามาอยู่ในทุกอุตสาหกรรม และ 'Deep-Domain Knowledge' จะเป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยในปีเดียวกัน คาดว่า AI จะทำให้ GDP โลกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 15.7 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 566 ล้านล้านบาท) เฉพาะภูมิภาคเอเชียจะมี GDP เพิ่มกว่า 10% หรือประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ (ราว 36 ล้านล้านบาท) และผลิตภาพแรงงาน (Productivity) จะมีสัดส่วนมากถึง 55% ในการขับเคลื่อนการเติบโต ของ GDP ทั่วโลกในช่วงปี 2017-2030 จากการใช้ AI 

คุณกระทิงกล่าวถึงกฎพื้นฐานที่จะทำให้ทุกคนเข้าถึง AI ประกอบด้วย 4 ข้อ คือ

  1. นำ AI มาใช้ช่วยในเรื่องไอเดียเสมอ
  2. ให้มนุษย์มีส่วนร่วมในการใช้ AI ในทุกขั้นตอน เพราะถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด
  3. มอบหน้าที่ให้ AI เป็นเหมือนเพื่อนร่วมทาง
  4. อย่ายึดติดกับเครื่องมือ เพราะ AI มีวิวัฒนาการอย่างรวดเร็ว

ในขณะนี้เรากำลังอยู่ในจุดหักศอกแรกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สิ่งที่เราควรทำก็คือ การยอมรับความเปลี่ยนแปลงและมีความสุขไปกับมัน รวมถึงโฟกัสกับผลลัพธ์ในระยะยาว เพราะบางอย่างต้องใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล เช่นเดียวกับ KBTG ที่เป็นผู้บุกเบิกในการพัฒนา AI มายาวนานถึง 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2017 

นอกจากนี้การใช้ AI ในทางที่ถูกต้องและมีความรับผิดชอบต้องทำตั้งแต่เริ่มต้น โดยมี ‘คน’ เป็นหัวใจสำคัญข้อแรกและเป็นศูนย์กลางของการทำ Transformation ซึ่งต้องคิดเสมอว่า มันทำให้ชีวิตของใครดีขึ้น อย่างที่ KBTG ให้ความสำคัญเรื่อง Humans First x AI First Tranformation การทำให้พนักงานมีชีวิตที่ดีขึ้น ลูกค้าและสังคมมนุษย์ก็ต้องดีขึ้นก็เช่นกัน

KBTG มีหลักในการส่งมอบกลยุทธ์ธนาคารและความยั่งยืนผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี 4 ข้อ ได้แก่ 

  1. Delivering Value - ส่งมอบคุณค่าผ่านผลิตภัณฑ์ที่ใช้ AI
  2. Enhance Operation & Cost Efficiency - เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและการใช้จ่ายด้วย AI Automation
  3. Boosting Technology Capabilities - เพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยี
  4. Uplift People Capabilities - ยกระดับความสามารถของคนในองค์กร

คุณกระทิงกล่าวว่า สิ่งที่ KBTG กำลังทำอยู่ไม่ใช่แค่เพื่อบริษัทเท่านั้น แต่เพื่อสร้าง Ecosystem ด้าน AI และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย อีกทั้งได้ร่วมมือกับ Andrew Ng และ AI Fund เพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีความรู้ความสามารถด้าน AI จนเกิดเป็น MOU ระหว่าง KBTG x DeepLearning.AI x AIAT หรือ สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ผ่านการจัดตั้ง KBTG.AI Kampus และ Super AI Engineer Program ตั้งเป้าฝึก AI Engineer ไม่ต่ำกว่าปีละ 120 คน 

นอกจากนี้ยังได้ลงนามข้อตกลง MOU อีกฉบับ ระหว่าง AI Fund x KBTG x EEF หรือ กองทุนเพื่อความเสมอภาคและการศึกษา (กสศ.) เพื่อร่วมสร้าง ‘AI Assistant’ เพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้เด็กไทย และทำให้ครูมี AI เป็น Companion เพื่อช่วยให้เด็กไทยเข้าถึงการศึกษาที่ดีที่สุด

AI จะไม่ทำงานแทนคน แต่คนที่สร้างประโยชน์จาก Al ไม่ได้…จะถูกแทนที่

AI เป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถในการใช้งานได้อเนกประสงค์ เทียบได้กับไฟฟ้า ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนทุกอุตสาหกรรมในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา AI ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลายด้านต่อมนุษย์ กล่าวโดย คุณ Andrew Ng Managing General Partner, AI Fund & Founder of Landing AI หรือ นักวิจัยด้าน AI ชื่อดัง ผู้ก่อตั้ง DeepLearning.AI และผู้ร่วมก่อตั้ง Coursera

 ใน Session The Opportunity and Risks in AI คุณ Andrew กล่าวว่า ถ้ามองในแง่ดี AI ถือเป็น ‘Collection of Tools’ หรือ ชั้นที่รวมเครื่องมือซึ่งช่วยให้เราทำงานต่างๆ ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น ในทางเทคนิคก็คือ ‘Supervised Learning’ การเรียนรู้ของ AI ในรูปแบบที่มีผู้สอน เพื่อให้คอมพิวเตอร์หาคำตอบได้เอง ซึ่งมีมาราว 10-15 ปีที่แล้ว (ปี 2010-2020 Large Scale Supervised Learning) และจึงเข้าสู่ยุค ‘Generative AI’ ในปี 2020 

ช่วงทศวรรษนี้เป็นเวลาของ ‘Generative AI’ ที่เราสามารถ Gen ได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง วิดีโอ ที่ให้ระบบเรียนรู้แล้วแยกข้อมูลออกมา (Data points) และใช้ Supervised Learning เรียนรู้และคาดการณ์คำต่อไปซ้ำๆ จนฉลาดขึ้น โดยคุณ Andrew ยกตัวอย่างการใช้งาน Supervised Learning เอาไว้ อาทิ

  • โฆษณาออนไลน์ (Input: โฆษณาและข้อมูลผู้ใช้งาน, Output: การคลิก)
  • รถไร้คนขับ (Input: ให้ข้อมูลรูปภาพและเรดาร์, Output: บอกตำแหน่งของรถคันอื่นๆ)
  • ระบบโลจิสติกส์ (Input: ป้อนเส้นทางเดินเรือ, Output: แสดงพลังงานที่ต้องใช้)

ถึงแม้ AI เป็นเทคโนโลยีอเนกประสงค์ที่สามารถช่วยในด้านต่างๆ เช่น บริการด้านสุขภาพ รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และธุรกิจธนาคาร กระทั่งทำงานแทนคนในบางหน้าที่ แต่ก็ยังไม่สามารถแทนตำแหน่งงานใดๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ควรมีการกำกับดูแลหรือควบคุมการใช้ AI โดยคุณ Andrew มองว่าต้องไปควบคุมการใช้ Application ไม่ใช่ควบคุมเทคโนโลยี เช่น การเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake News) บนโซเชียล สิ่งที่ควรควบคุมคือโซเชียลมีเดีย ไม่ใช่การควบคุมเทคโนโลยีที่ใช้สร้าง

การที่ Gen AI เข้ามามีบทบาทในการทำงาน ย่อมสร้างผลกระทบไม่มากก็น้อย หลายบริษัทจะอยากใช้ AI มากขึ้น นำไปสู่การลดต้นทุน สร้างการเติบโต โดยไม่มีเพดานด้านการใช้งาน AI งานบางอย่างก็จะได้รับผลกระทบ โดยมีบทวิเคราะห์เอาไว้ว่า ราวๆ 20-30% ของงานใช้ระบบอัตโนมัติแทนได้ เหลืองานอีก 70% ซึ่งก็มีให้ผู้คนทำมากพอ แต่นั่นหมายความว่า AI จะไม่มาทำงานแทนคน แต่คนที่ใช้ Al สร้างประโยชน์ไม่ได้ต่างหากที่จะถูกทดแทน

มองอนาคต AI ของไทย ผ่านยุทธศาสตร์ AI แห่งชาติ

ในยุคนี้ไม่มีใครปฏิเสธ AI ได้อีกแล้ว เทรนด์ AI ได้ถูกพัฒนาไปทั่วโลก และใน Session National AI Strategy Revisited: What Next For Thailand after Generated AI Disruption โดย ดร. ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการ NECTEC ดร. ชินวุฒิ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการ DEPA ดร. อักฤทธิ์ สังข์เพ็ชร ผู้อำนวยการสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ CMKL University และ ผศ.ดร. วรรณรัช สันติอมรทัต ประธานหน่วยบูรณาการประเด็นยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล AI และ Smart Electronics จาก TSRI มาร่วมพูดคุยอนาคตของ AI ไทย ผ่านแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

ดร.ชัย จาก NECTEC กล่าวว่า ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2022 และเป็นแผนระยะยาว มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริม AI Ecosystem ในประเทศไทย มีทั้งหมดห้ากลยุทธ์ด้วยกัน ได้แก่

  1. Ethics & Regulation ภายใต้การดูแลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เตรียมความพร้อมให้ประชาชนเกิดความตระหนักด้าน AI
  2. Infrastructure พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้พร้อมซึ่งรวมไปถึง Data Center ที่ให้บริการด้าน AI
  3. Workforce หรือการเพิ่มศักยภาพบุคลากรและการพัฒนาการศึกษาด้านปัญญาประดิษฐ์
  4. RDI หรือการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุน เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
  5. Promote หรือการส่งเสริมให้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบปัญญาประดิษฐ์ในภาครัฐและภาคเอกชน

ดร.ชินวุฒิ จาก DEPA กล่าวเสริมว่าสิ่งสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยโดยใช้ AI คือการเข้าใจและตามกระแสของเทคโนโลยีนี้ให้ทัน ธุรกิจจำนวนมาก โดยเฉพาะ SMEs ลังเลที่จะลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากต้นทุนและไม่คุ้นเคยกับ AI การสร้างความไว้วางใจในระบบ AI และการรับรองความปลอดภัยของระบบจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย การพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านกฎระเบียบที่สนับสนุนซึ่งเอื้อต่อการเติบโตและการนำไปใช้ของ AI ถือเป็นสิ่งจำเป็น

ถ้ากฏหมายตามไม่ทัน AI ให้จริยธรรมช่วยควบคุม

AI เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันได้เพียงปีกว่าเท่านั้น แต่สร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมได้เป็นวงกว้าง ใน Session Navigating Ethics and Governance Intelligent AI Landscape ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด Advisor จาก ETDA กล่าวว่า จากการสำรวจการใช้งาน AI ในประเทศไทย ETDA พบว่ามีเพียง 20% ที่พร้อมใช้งาน แต่ใช้งานอย่างลึกซึ้งในหลากหลายด้าน

GenAI เปรียบเสมือนเพื่อนคู่คิด ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายในชีวิตประจำวันหลากหลายด้าน แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเราเองคือคนที่จะต้องเป็นคนเลือกว่า เราโอเคกับมันหรือไม่ แต่หลายคนอาจมองข้ามเงื่อนไขการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ChatGPT ได้ระบุเอาไว้สามข้อ ได้แก่

  • Similarity of Content หรือ เนื้อหาที่ได้อาจจะไม่มีเอกลักษณ์ หรืออาจจะซ้ำกับคนอื่นได้
  • Our Use of Content ข้อมูลจะถูกนำไปเทรนโมเดลต่อ ซึ่งไม่ปลอดภัยกับข้อมูลที่เป็นความลับ
  • Accuracy มีโอกาสที่จะให้ข้อมูลผิดพลาด หรือ AI Hallucination

ซึ่ง AI นำไปสู่ปัญหาเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ด้านการใช้ข้อมูลแบบสาธารณะ ด้านการละเมิดเนื้อหา รวมถึงเนื้อหาที่ถูกสร้างโดย AI ว่าใครควรจะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ดร.ศักดิ์ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต้องให้ความสำคัญและต้องไปในแนวทางเดียวกัน

ดร. เอิ้น ปานระพี รพิพันธุ์ CEO จาก aHappener เชื่อว่าเราไม่จำเป็นต้องรอกฎหมายก่อนถึงจะใช้ AI อย่างรับผิดชอบได้ เพียงแค่ทำตามแนวทาง 4 ข้อ ก็จะช่วยให้เราใช้ AI ได้อย่างมีจริยธรรมและไม่สร้างความเดือดร้อนต่อตัวเองและสังคม ได้แก่

  1. Reliability ใช้ให้มีความน่าเชื่อถือ ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง
  2. Honestly มีความซื่อสัตย์ในการใช้งาน
  3. Respect เคารพผู้ที่จะเห็นงานของเรา 
  4. Accountability ใช้งาน AI อย่างรับผิดชอบ เพราะผลลัพธ์จะตกที่เรา

ดร.ศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมาย AI ที่ชัดเจน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถใช้งาน AI ได้อย่างอิสระ เพราะประเทศเรายังมีกฎหมายอื่นๆ รองรับและสามารถป้องกันเพื่อให้การใช้งาน AI เป็นไปอย่างสงบ ถึงแม้จะมีปัญหาคลุมเครือทางด้านกฎหมายลิขสิทธิ์และ DeepFake ที่กำลังอยู่ในการเปลี่ยนแปลงให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของ Generative AI

เปลี่ยนการแทนที่ด้วย AI สู่การใช้ IA เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี

ปัจจุบันเป้าหมายของการพัฒนา AI นั้นมุ่งไปสู่การยกระดับความสามารถให้ทัดเทียมหรือเหนือมนุษย์ เพื่อที่จะมุ่งไปสู่ AGI (Artificial General Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป ซึ่งไม่ได้คำนึงว่าจะเกิดผลกระทบต่อผู้คนอย่างไร 

ทุกคนมองข้ามความจริงที่ว่าถ้า AI ถูกนำมาใช้ในฐานะ Intelligent Augmentation (IA) ในการเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ การวิจัยเผย IA ช่วยให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นกว่าเดิม 

ใน Session 'From AI to IA: Living with AI via Intelligent Argument' Pattie Maes นักวิจัยและศาสตราจารย์จากสถาบัน MIT Media Lab มุ่งเน้นไปที่การใช้ AI เพื่อสนับสนุนประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์อย่างเหมาะสมที่สุดนั้นทำได้หรือไม่ และสนใจเป็นพิเศษที่จะใช้ AI สนับสนุนทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ระบบความจำ แรงจูงใจในการทำงานและการเรียนรู้ ไม่ขัดขวางผู้คนในการเข้าถึงประสิทธิภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 

นอกจากนี้ Pros. Pattie ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการออกแบบระบบ AI อย่างรอบคอบเพื่อให้ทำงานกับมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายคือเพื่อให้แน่ใจว่าระบบ AI ได้รับการออกแบบให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งมนุษย์และ AI ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างโมเดลที่พัฒนา เช่น

  • Memoro อุปกรณ์ช่วยเพิ่มความทรงจำ ที่จะบันทึกเสียงการสนทนา (โดยได้รับอนุญาต) และจะบอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้แบบเรียลไทม์ 
  • Mempal อุปกรณ์ที่ช่วยให้ชีวิตผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตคนเดียวเป็นเรื่องง่าย ด้วยระบบการถ่ายภาพและจดจำความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมแจกแจงเป็นเช็คลิสต์เช่น วางกุญแจไว้ตรงไหน ทานยาในวันนี้แล้วหรือยัง เป็นต้น

นวัตกรรม AI ที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและการเปลี่ยนแปลง

นอกจากความรู้จัดเต็มภายในงานแล้ว ในส่วนของ Product Demo ที่ได้นำเสนอในงานก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เริ่มต้นจาก Luna แชทบอทที่ใช้เทคโนโลยี THaLLE (ทะเล) โมเดลภาษา LLM จาก KBTG Labs ที่สามารถโต้ตอบภาษาไทยได้แบบไหลลื่น โมเดลนี้แตกต่างจากแชทบอททั่วไปโดยมีจุดมุ่งหมายสำหรับการใช้งานในรูปแบบเฉพาะกลุ่มเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการให้ข้อมูล เช่น การใช้กับการจัดการข้อมูลภายในของบริษัท เป็นต้น

ทางฝั่งของ MIT Media Lab ก็มีโมเดลที่น่าสนใจ ได้แก่ Future You หรือโมเดลแชทบอทที่จะทำให้เราสามารถคุยกับตัวเองในวัย 60 ปี งานวิจัยเผยว่า เพียงแค่ผู้ใช้งานใช้เวลากับโมเดลนี้เพียงสิบห้าหรือสามสิบนาทีต่อวัน ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ มีความกระตือรือร้นที่จะทําอะไรสักอย่างในทันที ความวิตกกังวลและความเครียดลดลง รวมถึงมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

Future You ถือเป็นเฟสแรกของการพัฒนา และสามารถทดลองใช้งานได้แล้วในเวอร์ชันภาษาอังกฤษ และได้เปิดตัวโมเดล Future Jobs ที่จะช่วยให้เราสามารถคุยกับตัวเองที่เป็นได้ในหลากหลายอาชีพที่สนใจ มีจุดมุ่งหมายอยู่ที่กลุ่มนักเรียนและนักศึกษา ซึ่งกำลังตามหาสิ่งที่ตัวเองอยากจะเป็นในอนาคต

ในส่วนของ AI สำหรับการเงินก็ไม่น้อยหน้าด้วยแอปพลิเคชัน Finly ที่เปรียบเสมือนเพื่อนที่ช่วยจัดการด้านการเงิน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยให้คนที่ไม่มีความรู้ด้านการเก็บเงินหรือการลงทุนและหลุดพ้นจากความไม่มั่นคงทางการเงิน จะทำความเข้าใจพฤติกรรมทางการเงินและข้อมูลเป้าหมายในชีวิตผ่าน AI และนำเสนอเป็นแผนที่สามารถทำได้จริงและสามารถปรับได้ตามต้องการทั้งระยะเวลาและจำนวนเงิน

ด้าน Microsoft ได้นำ Copilot for Microsoft 365 มาให้ผู้เข้าร่วมงานได้เรียนรู้วิธีใช้และทดลองใช้จริงกันในงาน ส่วนสตาร์ทอัพไทยอย่าง Lumio ก็ได้โชว์นวัตกรรมเสกความสวยอย่าง H3 3D Face Scanner เครื่องสแกนใบหน้าสามมิติคุณภาพสูง และ Beauty Designer Application ให้เราได้ทดลองออกแบบใบหน้าก่อนทำศัลยกรรมจริง

นอกจากนี้ยังมีบูธของ MFEC ที่จับมือกับ Cisco นำเสนอโซลูชันที่ช่วยยกระดับการทำงานในองค์กร เช่น ‘AISecOps’ ช่วยลดความซับซ้อนในงานด้าน Security ใช้ LLM ที่เหมาะสมกับ use-case ของลูกค้า และ ‘Cisco Hypershield’ เทคโนโลยีระบบรักษาความปลอดภัย ที่ช่วยอัปเดตระบบแบบอัตโนมัติในสภาพแวดล้อมจำลองและหลีกเลี่ยงผลกระทบของการอัปเดตระบบภายใน Data Center

KBTG Techtopia ถือเป็นงานที่เปิดโอกาสในการเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาใหม่ๆ ของ AI และเพื่อหารือเกี่ยวกับอนาคตของเทคโนโลยีนี้ เนื่องด้วย AI มีศักยภาพในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อทุกคน แต่ที่สำคัญคือต้องใช้อย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม

บทความนี้เป็น Advertorial

#KBTG #KBTGTechtopia #KBTGTechtopia2024 #ABlastFromtheFuture

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ชี้เป้า 5 เทรนด์การใช้ AI (Agent) พาธุรกิจโต ในปี 2025 โดย Salesforce

เผยแนวโน้มการใช้ AI เพื่อสร้างการเติบโตด้านรายได้ให้ธุรกิจ และอัปเดตความก้าวหน้าในการพัฒนา AI Agent ให้ทำงานได้อัตโนมัติ (Autonomous) โดย Salesforce...

Responsive image

‘ธนวัต สุตันติวรคุณ’ CEO ผู้ผันสู่โลกอนาคตจากระบบการเงินดั้งเดิม นำทีม Bitazza Thailand เสริมความเชื่อมั่นในสินทรัพย์ดิจิทัล

คุณธนวัต สุตันติวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทาซซ่า จำกัด หรือ Bitazza Thailand แพลตฟอร์มนายหน้าซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลชั้นนำของประเทศไทย มาเผยมุมมองเกี่ยวกับการบริหารธุร...

Responsive image

ทำไมคนสหรัฐฯ เดือดร้อนกับการแบน TikTok ? 3 เหตุผลที่ TikTok สำคัญกับชาวสหรัฐฯ มากกว่าที่คิด

เจาะลึก 3 เหตุผลที่การแบน TikTok อาจส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันมากกว่าที่คิด ทั้งด้านเศรษฐกิจ อาชีพ และการเชื่อมโยงในยุคดิจิทัล...