WFH ตกยุค? Amazon vs Google กับอนาคตการทำงาน เมื่อยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีเลือกเส้นทางสู่ความสำเร็จต่างกัน | Techsauce

WFH ตกยุค? Amazon vs Google กับอนาคตการทำงาน เมื่อยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีเลือกเส้นทางสู่ความสำเร็จต่างกัน

การระบาดของ COVID-19 ได้เปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานไปอย่างสิ้นเชิง หลายบริษัทหันมาใช้นโยบาย Work From Home (WFH) เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน แต่เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Amazon กลับประกาศยกเลิกนโยบาย WFH สั่งพนักงานกลับเข้าออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์ สร้างความฮือฮาและกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลก ขณะที่ Google ยังคงยืนหยุ่น เลือกใช้โมเดล Hybrid ผสมผสานการทำงานในออฟฟิศและที่บ้าน จุดประกายให้เกิดคำถามถึงอนาคตของการทำงานยุคใหม่

Google

Amazon: คืนชีพวัฒนธรรมองค์กร เดินหน้าสู่ “สตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในโลก”

Andy Jassy ซีอีโอของ Amazon ประกาศผ่านบันทึกข้อความถึงพนักงาน ให้กลับเข้าทำงานที่ออฟฟิศ 5 วันต่อสัปดาห์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม 2025 โดยให้เหตุผลว่า การทำงานร่วมกันในออฟฟิศจะช่วยเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร และเพิ่มความแข็งแกร่งของทีม

เราอยากทำงานเหมือนสตาร์ทอัพยักษ์ใหญ่ นั่นหมายถึงการที่ต้องคิดไอเดียใหม่ๆ เพื่อลูกค้าอยู่เสมอ ทำงานเร็วๆ เพราะโอกาสสำคัญๆ นั้นต้องรีบคว้า ต้องรับผิดชอบงานของตัวเอง มีความเป็น Ownership ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ทำงานอย่างกระตือรือร้น ประหยัด และร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด - Andy Jassy

นอกจากนี้ Amazon ยังประกาศปรับโครงสร้างองค์กร ลดจำนวนผู้จัดการลง เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และให้อำนาจการตัดสินใจแก่พนักงานมากขึ้น

Google: ยึดมั่นในความยืดหยุ่น มุ่งเน้นประสิทธิภาพเหนือสถานที่ทำงาน

ในทางกลับกัน Google เลือกที่จะยืนหยุ่นกับนโยบายการทำงานแบบ Hybrid โดยให้พนักงานเข้าออฟฟิศ 3 วันต่อสัปดาห์

Sundar Pichai ซีอีโอของ Google เน้นย้ำถึงความสำคัญของ “ประสิทธิภาพในการทำงาน” มากกว่าสถานที่ทำงาน

กุญแจสำคัญของการทำงานแบบยืดหยุ่น คือการรักษาประสิทธิภาพในการทำงาน แม้จะทำงานจากที่ไหนก็ตาม - Sundar Pichai

Google เชื่อมั่นว่า รูปแบบการทำงานแบบยืดหยุ่นจะช่วยดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ ส่งเสริมความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม โดยไม่จำเป็นต้องยึดติดกับการทำงานในออฟฟิศแบบเดิมๆ

เสียงสะท้อน: เมื่อการ Work From Home อาจเป็นอุปสรรคต่อนวัตกรรม

Eric Schmidt อดีต CEO และประธานบริษัทของ Google กลับมีมุมมองที่แตกต่างออกไป เขา วิพากษ์วิจารณ์นโยบาย WFH ของ Google อย่างรุนแรง โดยมองว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ Google ตามหลังคู่แข่งในด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI)

Google เลือกแล้วว่าความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน การกลับบ้านเร็ว และการทำงานจากที่บ้านมีความสำคัญมากกว่าการชนะ - Eric Schmidt 

Eric Schmidt เชื่อว่า การทำงานหนัก การทุ่มเทเวลา และการทำงานร่วมกันในออฟฟิศ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพด้าน AI ประสบความสำเร็จ เขาจึง สนับสนุนให้พนักงานกลับเข้าออฟฟิศ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่วิดีโอการบรรยายของ Eric Schmidt ถูกเผยแพร่ออกไป เขาก็ได้ออกมาขอโทษและยอมรับว่า พูดผิดไปเกี่ยวกับ Google "พูดผิดไปเกี่ยวกับ Google"


ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการทำงานยุคใหม่

การตัดสินใจของ Amazon และ Google สะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายขององค์กรยุคใหม่ ในการสร้างสมดุลระหว่างวัฒนธรรมองค์กร ประสิทธิภาพการทำงาน และความพึงพอใจของพนักงาน ทั้งสองบริษัทต่างเลือกเส้นทางที่แตกต่างกัน โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ “ความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืน”

ในท้ายที่สุด ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับการทำงานยุคใหม่ องค์กรแต่ละแห่งต้องพิจารณาถึงบริบท วัฒนธรรม และเป้าหมายของตนเอง เพื่อเลือกรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมที่สุด และนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว

อ้างอิง cnbc, Benzinga

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...

Responsive image

นวัตกรรมใหม่ จะสร้างโอกาส หรือเข้ามา Disrupt ธุรกิจแบบเดิมๆ ? ส่องความเห็นจาก CEO ชั้นนำในยุคนวัตกรรม

อนาคตกำลังมาถึงเร็วขึ้นเรื่อยๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ผุดขึ้นมากมาย และกำลังเปลี่ยนโฉมธุรกิจทั่วโลกอย่างรวดเร็ว แต่คำถามสำคัญคือ นวัตกรรมอะไรบ้างที่กำลังขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้? ใครคือผ...