บทสรุปเวทีคนช่างคิด ‘TechJam by KBTG’ พร้อมเผยโฉมผู้ชนะไปเวิร์คช้อปที่ Silicon Valley | Techsauce

บทสรุปเวทีคนช่างคิด ‘TechJam by KBTG’ พร้อมเผยโฉมผู้ชนะไปเวิร์คช้อปที่ Silicon Valley

จบลงไปแล้วกับอีกหนึ่งเวทีของคนช่างคิด ที่มาปล่อยของกันในโครงการTechJam by KBTG’ ซึ่งหลังจากการอุ่นเครื่อง เตรียมความพร้อมกันไปแล้วในงานTechJam Mixer Event’ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตอนนี้เราก็ได้ผู้ชนะจากทั้ง 3 ทีม ไปเวิร์คช็อปกันที่ Silicon Valley กันแล้ว

อย่างที่เราทราบกันธนาคารกสิกรไทย เป็นอีกหนึ่งธนาคารผู้ให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและ FinTech จนจัดตั้งหน่วยงานด้านเทคโนโลยีของตนเองในชื่อ KASIKORN Business-Technology Group หรือ เรียกสั้นๆว่า KBTG ขึ้นมา การจัดการแข่งขัน TechJam ในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนหนึ่งเวทีที่รวมพลกลุ่มคนช่างคิดให้มาปล่อยความคิดกันที่นี่

TechJam by KBTG เป็นการจัดงานครั้งแรกในรูปแบบของ Hackathon คือการแข่งขันกันแบบสดๆ โดยกำหนดเวลา พูดง่ายๆก็เหมือนกับการแข่งมาราธอน โดยผู้แข่งจะได้รับโจทย์ก่อนเริ่มงาน และต้องทำโจทย์ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งนอกจากการแก้โจทย์แล้ว เรื่องก็การมีสติและการบริหารเวลา หรือความอึดในการแข่งขันก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้นั้นพิชิตรางวัลได้

สำหรับการแข่งขันครั้งนี้อยู่ภายใต้ธีม ‘Human-centric AI’  คือการใช้ AI เน้นไปที่การใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นหลัก โดยการแข่งมีทั้งแบบเดี่ยวและทีม หากเป็นทีมก็ทีมละไม่เกิน  2 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่า เข้าแข่งขันส่วนใหญ่เป็นเด็กรุ่นใหม่ไฟแรง ที่น่าจับตา ที่น่าสนใจคือผู้ชนะบางคนไม่ได้ทำอาชีพในสายนี้ และบางคนเพิ่งไปเรียนเขียน code ไม่กี่สัปดาห์ก่อนการแข่งขัน ซึ่งการแข่งขันนี้มี 3 Track มาดูผลการแข่งขันแต่ละ Track กันเลย

Code Track

ใน Track นี้ จะมีโจทย์มาให้ผู้เข้าแข่งขัน เพื่อเขียนโปรแกรมและแก้โจทย์ตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยให้ได้คำตอบที่ดีที่สุด และเนื่องจากเป็นการแข่งขันครั้งแรกของ KBTG จึงไม่มี Baseline เทียบ ซึ่งวิธีการคิดคะแนนตามสูตรที่อธิบาย ก็เป็นแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยผู้ชนะเลิศสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาโจทย์ทุกข้อได้  โดยมีคำตอบที่ถูกต้องที่สุด และ optimize ที่สุด จากการคำนวนโดยระบบ เทียบกับผู้แข่งขันทั้งหมด ซึ่งผู้แข่งขันทุกคนให้ความร่วมมือในการทำโจทย์ด้วยดี ไม่ได้พยายาม hack หรือทำลายสูตรการแข่งขัน ทำให้ผลลัพธ์ของการแข่งขันได้คะแนน problem score ที่ตรงจริง และใกล้เคียงความยากของข้อจริงๆที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งที่ทีมงานต้องการ และผู้ชนะก็คือทีม AI shiteru ได้แก่ พีรจิตร ภาสุภัทร และ ธนภัทร์ คุ้มสภา

ผู้ชนะเลิศ Code Track ทีม AI shiteru ได้แก่ พีรจิตร ภาสุภัทร และ ธนภัทร์ คุ้มสภา

ผู้เข้าแข่งขันทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า โจทย์ที่ให้มานั้นยากมาก โดยทั้งสองได้บอกว่า สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุดจริงๆ จึงต้องพยายามทำให้ได้คะแนนเยอะที่สุด ซึ่งการแข่งขันครั้งก็ ก็ไม่คาดคิดและเตรียมตัวจะชนะมาก่อน แต่สิ่งหนึ่งเลยที่สำคัญคือการกล้าลองเสี่ยงที่จะทำ จึงทำให้สามารถทำตามโจทย์ได้ออกมาเป็นผลคะแนนที่ดีที่สุด

Data track

 

การแข่งขันใน Data Track ทั้งในรอบคัดเลือก และรอบสุดท้าย จะเป็นการให้ผู้เข้าแข่งขันวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนหนึ่ง แล้วนำผลการวิเคราะห์ที่ได้ เพื่อไปทำนายข้อมูลอีกส่วนหนึ่งที่ถูกปิดซ่อนไว้ โดยจะให้ผู้เข้าแข่งขัน พยายามวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลการทำนายที่แม่นยำที่สุด โดยผู้ชนะได้ทำการศึกษาข้อมูลที่มีอย่างละเอียด และเลือกใช้วิธีการสร้างโมเดลที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ได้ ภายในเวลาที่จำกัด ทำให้สามารถทำนายข้อมูลได้แม่นยำสูงที่สุดในบรรดาทุกทีม นอกจากนี้ทีมผู้เข้าแข่งขันยังนำเสนอและอธิบายผลงานของตัวเองได้กระจ่างชัด เข้าใจง่าย รวมไปถึงสามารถเสนอแนวทางเพิ่มเติมเพื่อที่จะนำข้อมูลที่มีอยู่ ไปใช้สร้างมูลค่าทางธุรกิจด้านอื่นๆ ได้ โดย ผู้ชนะเลิศคือทีม M&Mได้แก่  ธนิพล วัฒนาอาษากิจ และ ณพเมธ เนยเมืองปัก

ผู้ชนะเลิศ Data Track ทีม M&M ได้แก่ ธนิพล วัฒนาอาษากิจ และ ณพเมธ เนยเมืองปัก

สิ่งหนึ่งที่เซอร์ไพร์สคือหนึ่งในผู้เข้าแข่งขันของทีมนี้เพิ่งเริ่มหัดเขียน Code  ไม่กี่เดือนก่อนการแข่งขัน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทั้งสองบอกว่า สิ่งสำคัญคือการตีโจทย์ให้แตก แบ่งสัดส่วนและให้น้ำหนักความสำคัญ โดยทีมให้ความสำคัญกับการจัดการข้อมูล 70% แล้วอีก 30% จึงเน้นไปที่การนำเสนอ ซึ่งถ้าหากจัดการกับข้อมูลได้ดีก็ทำให้นำเสนอได้ดี

Design Track

สำหรับ Trank นี้ เป็นการแข่งขัน “การออกแบบนวัตกรรมทางการเงินแห่งอนาคตสำหรับกลุ่ม Digital Natives” แบบมาราธอนเป็นเวลา 20 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่เวลา 10 โมงเช้าของวันที่ 26 ส.ค. 60 ไปสิ้นสุดที่การ pitch เพื่อนำเสนอผลงานบนเวที K-Stadium ในเวลาหกนาฬิกาตรงของวันที่ 27 ส.ค. 60 และตัดสินรอบสุดท้ายโดยทำการ pitching ทีมละ 10 นาที และ interview กับคณะกรรมการในส่วนของ Design Track สิ่งที่ TechJam ค้นหา คือนักออกแบบที่มีความสามารถรอบด้านอย่างลงตัว (Well Rounded)  ไม่เพียงแค่ออกแบบได้ดี แต่สามารถร่วมงานกับผู้อื่นได้ภายใต้ความกดดันอีกด้วย โดยผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปีนี้ เป็นทีมที่สามารถแสดงให้เห็นถึงศักยภาพดังกล่าวได้อย่างชัดเจนและครบถ้วน ซึ่งผู้ชนะเลิศคือทีม Consumotive ได้แก่ พัทยา อุประ และ สรรพวิชญ์ ศิริผล

ผู้ชนะเลิศ Design Track ทีม Consumotive ได้แก่ พัทยา อุประ และ สรรพวิชญ์ ศิริผล

สำหรับทีม Consumotive ก็เป็นอีกทีมที่ไม่ได้เรียนด้านออกแบบมาโดยแต่ตรง แต่เป็นมืออาชีพในรูปแบบที่เรียกว่า Inter Disciplinary คือผู้ที่มีการศึกษาและความเชี่ยวชาญในรูปแบบที่ผสมผสานความรู้ความสามารถและประสบการณ์จากหลายแขนงไว้ในคนเดียวกัน โดยทั้งสองบอกว่าเขานั้นได้ทำในเรื่องเล็กๆที่สามารถเป็นไปได้จริงๆ บางคนอาจคิดเรื่องที่ใหญ่แต่ทำจริงไม่ได้

ด้านกรรมการได้ให้ความเห็นว่า การที่ผู้ชนะเลิศไม่ได้มาจากสายการเรียนที่เรียนมานั้น สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการทางด้านบุคลากรที่กำลังเปลี่ยนไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำงานในยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม  และยังชี้ให้เห็นถึงของโหว่ในระบบศึกษาที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อันถูกออกแบบมาในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่เน้นการสร้างบุคลากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Single-discipline Expert) เป็นหลัก

ในยุคของการปฏิวัติทางนวัตกรรม ที่ทุกภาคธุรกิจ กำลังถูกเปลี่ยนแปลงและ Disrupted โดยนวัตกรรมทางเทคโนโลยีและรูปแบบทางธุรกิจใหม่ ๆ นั้น ภาคการศึกษาจำเป็นที่จะต้องถูกเปลี่ยนแปลงและ Disrupted เช่นกัน  เช่น การผลิตบุคลากรในรูปแบบใหม่ ที่มีความเหมาะสมกับรูปแบบและสภาพแวดล้อมในการทำงานในยุคปัจจุบัน บุคลากรที่เป็น Inter Discipline ที่มีความสามารถคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์แบบ Divergence และบุคลากรที่มีจิตวิญญาณ รวมทั้งแนวคิดแบบ Entrepreneur  เป็นต้น

ทั้งนี้ ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันในแต่ละ Track จะได้ไปศึกษาดูงาน และร่วมทำเวิร์คช้อปที่ซิลิคอน วัลเลย์ ซึ่งเป็นคอมมูนิตี้ด้านไอทีที่นักพัฒนาต้องไปสัมผัสให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิตกับ Google พร้อมตั๋วเครื่องบินและค่าใช้จ่ายตลอดการเดินทางที่สหรัฐอเมริกา และรางวัลอื่น ๆ สำหรับรองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 รวมมูลค่ากว่า 3 ล้านบาท

จากการจัดกิจกรรม TechJam by KBTG 2017 ซึ่งได้รับความร่วมมือจากพันธมิตรชั้นนำ เช่น LINE และ Google เพื่อสนับสนุนเทคโนโลยีใหม่อย่างแชทบอท ปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และโมบายแอพดีไซน์ ให้แก่ผู้เข้าร่วมแข่งขันประกอบไปด้วยนิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ถือเป็นเวทีให้คนเหล่านี้ได้แสดงไอเดีย ความคิดสร้างสรรค์ และเป็นการจุดประกายสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กลุ่มนักพัฒนา ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ KBTG  ที่เน้นสร้างนวัตกรรมทางการเงินให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน ให้ใช้ชีวิตได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ดังนั้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดบริการใหม่ ๆ ได้จริง

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...