ปฏิบัติการช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีถือเป็นเคสที่ท้าทายที่สุดครั้งหนึ่งของโลก เหล่าอาสาสมัครจากหลายประเทศได้เดินทางมาเพื่อร่วมปฏิบัติภารกิจ อีกทั้งความท้าทายตลอดระยะเวลา 17 วันในการช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็น อากาศที่เบาบางในถ้ำพร้อมฝนที่ตกหนักส่งผลให้ระดับน้ำเพิ่มสูง สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเมื่อ จ่าเอก สมาน กุนัน หรือจ่าแซม เจ้าหน้าที่หน่วยซีลนอกราชการผู้อาสาช่วยเหลือได้หมดสติและเสียชีวิตระหว่างลำเลียงถังออกซิเจน นอกจากนี้ เทคโนโลยีทั้งเก่าและใหม่ที่ถูกส่งเข้ามาเพื่อให้ความช่วยเหลือนั้น ความท้าทายก็คือจะใช้มันเพื่อช่วยเหลือทีมหมูป่าให้ออกมาอย่างปลอดภัยได้อย่างไร
ดร.ธนา สราญเวชภัณฑ์ ผู้เชี่ยวชาญการสำรวจและขุดเจาะ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด กล่าวว่า “เราไม่รู้ว่าข้อจำกัดในสถานที่นั้นจะเป็นอย่างไร ทางเราจึงพยายามนำเทคโนโลยีทุกอย่างที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มาใช้ในการค้นหาครั้งนี้”
เทคโนโลยีที่ได้นำมาใช้ในครั้งนี้ก็ได้แก่ โดรนที่มีเลนซ์ซูมขนาด 30x จำนวนสามตัว กล้องถ่ายภาพความร้อน ที่ปกติถูกใช้เป็นเทคโนโลยีในการปฎิบัติการในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในลักษณะนี้อยู่แล้ว อย่างไรก็ตามได้มีการพบเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจ นั่นก็คือการสร้างแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศแบบ 3D จากด้านบน ที่จะทำให้เห็นทางที่จะสามารถเข้าถ้ำได้
“โดรนทำให้การค้นหาง่ายขึ้น” ดร.ธนา กล่าว “บางทีอาจจะมีทางเข้าถ้ำเป็นร้อยทาง เราไม่อาจรู้ได้ ดังนั้นแทนที่จะเดินเท้าไปดูแต่ละจุดว่ามีทางเข้าหรือไม่ การใช้โดรนค้นหานั้นทำให้พวกเราทำงานง่ายขึ้นเยอะ”
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ได้ทำการนำเครื่องจักรที่สามารถทำงานใต้น้ำ โดยจะมีสองแบบด้วยกัน แบบที่ต้องทำการควบคุมจากระยะไกลโดยมนุษย์ และโดรนใต้น้ำที่ยังคงอยู่ในระยะทดลองอยู่ โดยเจ้าเครื่องนี้จะมี “โซน่าสแกนเนอร์” ทำการสแกนใต้น้ำและทำการวาดแผนที่ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์สำหรับ นักดำน้ำที่ต้องทำงานในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโคลนอีกทั้งยังยากต่อการมองเห็น
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้มีการปรึกษากับทางหน่วยซีลที่ได้ทำการสำรวจในถ้ำ ก็ได้ทำการตัดสินใจว่าหากทำการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวมีความเสี่ยงเกินไป
ปัญหาที่ยากที่สุดในการทำการช่วยเหลือคือการสื่อสาร “วิทยุสื่อสารนั้นทำงานได้อย่างยากลำบากในพื้นที่ที่มืด เต็มไปด้วยน้ำ และอุปสรรคอื่นๆ” Uzi Hanuni CEO ของบริษัท Maxtech Networks กล่าว
บริษัทในอิสราเอลได้ส่งวิศวกรให้ความช่วยเหลือมายังไทย พร้อมกับอุปกรณ์วิทยุกว่า 17 เครื่อง เจ้าเครื่องเหล่านี้ สร้างโดยบริษัท Entel จากประเทศอังกฤษ ซอฟท์แวร์ได้ทำการพัฒนาโดย Maxtech ที่ทำให้พวกเขาสามารถทำการกระจายเสียงและถ่ายทอดสัญญาณได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งสามารถทำการสื่อสารได้ในระยะเวลาไกลกว่า 2 ไมล์ โดยไม่ต้องใช้สายหรือเครื่องรับสัญญาณใดๆ โดยเจ้าเครื่องนี้จะมีระบบ virtual networks ถูกออกแบบมาในกรณีฉุกเฉิน เช่น กรณีเกิดภัยพิบัติหรือในเวลานักดับเพลิงทำงานในสถานที่ห่างไกล ซึ่งเจ้าเครื่องนี้สามารถทำงานในพื้นที่ห่างไกลอย่างในภูเขาได้
อย่างไรก็ตามเหล่านักดำน้ำชาวอังกฤษที่ได้พบทีมฟุตบอลเป็นกลุ่มแรกกลับเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีที่เก่ากว่าในการติดต่อสื่อสาร โดยใช้วิทยุสื่อสารภายในถ้ำหรือที่เรียกว่า HeyPhones ถูกสร้างเมื่อ 20 ปีที่แล้วโดยกลุ่ม British Caving Community ซึ่งค่อนข้างเทอะทะและเหมือนกับวิทยุทำมือ โดยระบบสื่อสารจะใช้คลื่นความถี่วิทยุต่ำ
หลังจากพบกลุ่มทีมฟุตบอลแล้ว ทางการไทยได้ทำการติดตั้งเครื่องมือที่จะช่วยในการสื่อสารบริเวณถ้ำให้สะดวกยิ่งขึ้น นักดำน้ำได้มีความพยายามในการโยงสายไฟ Fiber Optic ในถ้ำเพื่อทำการที่จะทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันภายในถ้ำได้
แม้ว่าจะพบทีมฟุตบอล แต่สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีอุปสรรคคือระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นภายในถ้ำตลอดเวลา อีกทั้งยังมีรายงานว่าเด็กๆ ว่ายน้ำได้ไม่คล่องนัก ดังนั้นจะมีสองทางเลือกด้วยกัน คือต้องเสี่ยงที่จะทำการสอนเด็กดำน้ำ โดยต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษในการช่วยครั้งนี้ อีกทางเลือกก็คือรอให้ระดับน้ำลดลง แต่นั่นหมายถึงการที่จะต้องยืดเวลาต่ออีกหลายเดือน เพราะในตอนนี้เพิ่เข้าสู่ฤดูฝน แม้ว่าทางการจะได้ทำการสูบน้ำออกทำให้น้ำลดระดับไปกว่า 40 เปอร์เซ็น อย่างไรก็ตามก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี
นอกจากนี้อีกหนึ่งความน่าจะเป็นไปได้ก็คือการทำการเจาะผนังถ้ำ แต่กลุ่มทีมฟุตบอลนั้นได้ติดอยู่ในพื้นที่ที่มีความกว้างเพียง 800-1,000 เมตรเท่านั้น ความพยายามในการช่วยเหลือพวกเขาโดยการขุดเจาะนั้นจึงค่อนข้างเสี่ยงเนื่องจากไม่สามารถหาตำแหน่งที่ชัดเจนของกลุ่มเด็กได้ “หากเราทำการเจาะไม่แน่อาจจะคลาดจากพวกเขาในระยะเมตรหรืออาจจะเป็นไมล์ เราไม่สามารถรู้ได้เลย” Gary Mitchell assistant chairman ของ British Cave Rescue Council (BCRC) กล่าว
John Volanthen และ Richard Stanton เป็นนักดำน้ำกลุ่มแรกที่ได้พบกับกลุ่มทีมฟุตบอล หลังจากนั้นก็ได้มีความพยายามในการหาตำแหน่งที่แน่ชัดจากด้านนอก
นอกจากนี้ยังมีอีกเครื่องมือที่สามารถใช้ในการบอกตำแหน่งที่ชัดเจนได้แต่ยังคงมีความเสี่ยงอยู่ นั้นคือเครื่อง radio kit ที่สามารถบอกตำแหน่งในชั้นหินแข็งได้ในระยะกว่า 300 เมตร เจ้าเครื่องนี้มีชื่อว่า Brain Pease ตั้งตามชื่อผู้ออกแบบ ถูกประกอบขึ้นจากแต่ละชิ้นส่วนอย่างรวดเร็วในครั้งนี้นี่เอง
ในทางกฤษฎีแล้วนักดำน้ำที่ได้รับการฝึกนั้นสามารถทำการว่ายน้ำเป็นไกด์ในการพาเด็กออกไปได้ ความจริงก็คือ มันไม่ได้ง่ายแบบนั้น
Gary Mitchell กล่าวว่า “ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ แต่มันอาจจะต้องใช้การพลังการขนย้ายค่อนข้างมาก โดยปกติแล้วถ้าเป็นถ้ำเล็กๆ แบตเตอรี่จะต้องใช้พลังไฟ 9 โวลต์ แต่ในสถานการณ์แบบนี้นั้นหมายถึงการที่คุณจะต้องว่ายน้ำและขนแบตเตอรี่ใหญ่ขนาดคันรถ ซึ่งมันค่อนข้างเสี่ยง และมันไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถบอกให้นักดำน้ำเตรียมพร้อมในเรื่องแบบนี้ได้”
ดร.ธนา สราญเวชภัณฑ์ กล่าวว่า "หนทางที่ง่ายที่สุดคือการลดระดับน้ำในถ้ำ" เช่นเดียวกันกับโดรนและหุ่นยนตร์ ทาง ปตท. ได้ทำการสนับสนุนเครื่องปั๊มน้ำ ท่อน้ำ และวิศวกรในการช่วยเหลือ โดยสามารถทำการสูบน้ำได้ 120 ล้านลิตร ภายในเวลา 75 ชั่วโมง
โดรนและอุปกรณ์ใต้น้ำสุดไฮเทคอาจจะเป็นไฮไลท์ของแต่ละสำนักข่าว แต่จริงๆ แล้วชุด radio kits ทำโดย tinkerers ที่เป็นส่วนผสมระหว่างเทคโนโลยีเก่าและใหม่นั้นได้เป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้ช่วยให้ปฏิบัติการในครั้งนี้สำเร็จ
อ้างอิงข้อมูลจาก: Wired
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด