การที่พนักงานเป็น Brand Advocacy หรือมีส่วนร่วมในการเป็นกระบอกเสียงให้กับแบรนด์นั้นก็ย่อมเป็นเรื่องที่ดีไม่ใช่น้อย เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพนักงานมีความรักและภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ แล้วถ้าเกิดกรณีอย่างการที่พนักงานไม่ยอมแชร์เรื่องราวของแบรนด์ลงใน social media หรือมีส่วนร่วมน้อยกว่าที่คาดหวังไว้ องค์กรจะส่งเสริมให้พนักงานเป็นหนึ่งในกระบอกเสียงสำคัญได้อย่างไร?
การสร้าง Employee engagement อย่างการให้พนักงานประชาสัมพันธ์แบรนด์ในโซเชียลมีเดียนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด เนื่องจากพื้นที่ในโซเชียลมีเดียของแต่ละคนนั้นมีขอบเขตของการใช้งานไม่เหมือนกัน บางคนก็อาจจะแยกเรื่องงานจากพื้นที่นั้นอย่างชัดเจน เพื่อแชร์เรื่องราวกับคนใกล้ชิดเท่านั้น เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อแชร์ในสิ่งที่อยากจะเก็บไว้คนเดียว ไปจนถึงไม่ได้มีไว้เพื่อทำอะไรเลย
MIT Sloan เผยผลสำรวจในบทความ “When Employees Don’t Like Employers On Social Media,” พบว่า จากการที่หลายองค์กรได้พยายามให้พนักงานเป็นกระบอกเสียงของแบรนด์บน social media นั้น ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่ประสบผลสำเร็จ
แม้ว่าผู้บังคับบัญชาจะมีความคาดหวังให้พนักงาน (โดยเฉพาะพนักงานกลุ่มที่ยังอายุน้อยหรือชาวยุคดิจิทัล) มีส่วนร่วมในการเป็นกระบอกเสียงให้บริษัทในการประชาสัมพันธ์แบรนด์บน social media ไม่ว่าจะเป็น แชร์โพสที่สำคัญ การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงตำแหน่งงานว่าง ผลสำรวจพบว่าในภาพรวม พนักงานแสดงการมีส่วนร่วมของแบรนด์ในโซเชียลมีเดียในระดับที่ต่ำมาก
การศึกษาบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคแห่งหนึ่งยุโรป พบว่า พนักงานน้อยกว่าครึ่งติดตามแบรนด์บริษัทตัวเองในโซเชียลมีเดีย ทั้งใน Facebook, Twitter, Instagram และ LinkedIn และแน่นอนว่าเมื่อพนักงานไม่ใช่แฟนหรือผู้สนับสนุนหลักในผลิตภัณฑ์ของบริษัท สิ่งนี้ก็สามารถบ่งบอกได้ถึงระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากร และการมีผู้สนับสนุนที่มีศักยภาพ
แน่นอนว่าหลักๆ นั้นก็เป็นเรื่องของ “soft skills” โดยเราได้หยิบเคล็ดลับบางส่วนในการส่งเสริมพนักงานจากบทความดังกล่าวมาให้ได้ทราบกัน ดังนี้
1. เริ่มจากการสื่อสารอย่างชัดเจนและตรงไปตรงมา: ทำไมการมีส่วนร่วมของพวกเขาจึงสำคัญ? พนักงานจะต้องทำอย่างไรบ้าง? มี workflow ที่ชัดเจนไหม? เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการจากความร่วมมือนี้คืออะไร?
เมื่อพนักงานรู้สึกมีอำนาจในการรับผิดชอบต่อความสำเร็จของบริษัท พวกเขาก็ยินดีที่จะลงทุนในกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ของลูกค้า และยินดีที่จะแสดงพฤติกรรมการสร้างแบรนด์ผ่านเครือข่ายดิจิตอลทั้งบนเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย
2. เมื่อ Content คือราชา Context ก็คือราชินี: บอกพนักงานในการส่งคอนเทนต์ที่ใช่ ในเวลาที่ใช่ ให้กับคนที่ใช่ ระบุอีเวนท์เฉพาะที่คุณต้องการให้พนักงานช่วยกันสนับสนุน และต้องให้แน่ใจว่าพวกเขาไม่ลืมที่จะติด hashtag
3. มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน: การมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนและการสร้างขอบเขตนั้นเป็นสิ่งที่ดี บอกพนักงานว่าเขาสามารถทำอะไรเพื่อเป็นการสนับสนุนบริษัทได้บ้าง นี่อาจจะรวมถึงการชี้ถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
4. Tie-in ลงไปในอีเมล: หากพนักงานไม่สะดวกใจที่จะแชร์บนพื้นที่โซเชียลมีเดีย (เพราะว่ามีคนจำนวนมากที่ไม่สนใจเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานบนโลกออนไลน์) แต่พวกเขาไม่มีทางหลีกเลี่ยงในการสื่อสารผ่านอีเมลได้แน่นอน ดังนั้นหากคุณต้องการให้พนักงานเป็นกระบอกเสียงให้บริษัทอีกแรง ก็อาจจะให้พวกเขาโปรโมทแบรนด์ด้วยลายเซ็นต์แนบท้ายอีเมล์ก็ได้
5. ต้องสื่อสารเข้าไปให้ถึงจิตใจของพนักงาน: นอกจากนี้ ผู้เขียนยังแนะนำให้ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานกับแบรนด์เพื่อช่วยให้พนักงานเข้าใจถึงสิ่งที่แบรนด์ให้คำมั่นสัญญาไว้และสร้างความผูกพันทางอารมณ์กับคำมั่นสัญญานั้นให้ได้
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณต้องการให้พนักงานช่วยในเรื่อง Brand Advocacy อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจจะสร้างแผนกลยุทธ์ขึ้นมา ทำความเข้าใจว่าคุณต้องการอะไร กำลังจะเดินไปในทิศทางไหน ทำไปทำไม และจะต้องทำอะไรบ้างเพื่อไปให้ถึงจุดนั้น จากนั้นสื่อสารสิ่งเหล่านี้ไปยังคนของคุณ อธิบายทั้งข้อดีและข้อเสียของการแชร์เรื่องราวของแบรนด์ลงบนโซเชียลมีเดียอย่างชัดเจนและโปร่งใส ไม่ใช่แค่การเดินไปบอกพนักงานว่า “เรากำลังทำโปรเจคนี้อยู่” เพียงเท่านี้แล้วไม่มีความต่อเนื่องเพื่อแสดงถึงการให้ความสำคัญ อย่างไรก็ตามเรื่องของวิธีการสื่อสารและการทำงานในแต่ละองค์กรย่อมมีวัฒนธรรมหรือ Culture ที่แตกต่างกันออกไป
สำหรับองค์กรที่เข้าร่วมงาน Techsauce Culture Summit 2019 ทาง Techsauce มี Exclusive Corporate Packages ทั้งสำหรับองค์กรที่ต้องการทำ Employee Branding หรือต้องการนำ Solution มาจัดแสดงภายในงาน รวมทั้งกำลังมองหาโซลูชั่นสำหรับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ทาง Techsauce Media และ Job Board ประชาสัมพันธ์ตำแหน่งงานว่าง รวมทั้ง visibility ภายในงาน และอื่นๆ อีกมากมาย รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็คเกจในงานสามารถติดต่อได้ที่อีเมล [email protected] หรือโทร 02-015-5722
งาน Techsauce Culture Summit 2019 วันที่ 25-26 พฤศจิกายนนี้ ณ โรงแรม เอส 31 สุขุมวิทรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่: https://culturesummit.techsauce.co/
อ้างอิงเนื้อหาในบทความจาก MIT Sloan
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด