Startup จะเอาตัวรอดอย่างไรในสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย โดย Tim Draper | Techsauce

Startup จะเอาตัวรอดอย่างไรในสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย โดย Tim Draper

Tim Draper นักลงทุนมหาเศรษฐี ผู้ก่อตั้ง Draper Associates, DFJ และ the Draper Venture Network เขายังทำหน้าที่เป็นผู้นำแห่งการลงทุนในด้าน Bitcoin, Blockchain, ICOs และ cryptocurrencies เพื่อการสร้างผู้ประกอบการแห่งอนาคต เขายังได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย Draper University of Heroes ที่งาน Techsauce Global Summit 2020: Special Edition ที่ผ่านมา Techsauce ได้มีโอกาสนั่งสนทนากับ Tim Draper เขาได้มาแบ่งปันประสบการณ์และมุมมองของเขา เกี่ยวกับการลงทุนในเทคโนโลยี เพื่ออนาคต

Tim draper

การมาเยือนของอินเตอร์เน็ตนั้น ได้เปิดโลกแห่งการค้าขาย หลายๆประเทศเริ่มปล่อยเสรีทางการค้า เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า แต่แล้ว ความสัมพันธ์ก็ได้เปลี่ยนไป จากความร่วมมือกลายเป็นการแข่งขัน ซึ่งก่อให้เกิดผู้แพ้และผู้ชนะในการค้า ซ้ำยังส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของทุกฝ่าย

ถ้าโลกนี้ มีคนแค่สองคน คนหนึ่งมีบ้าน อีกคนหนึ่งมีแปลงเพาะปลูก แล้วพวกเขาเลือกที่จะไม่ช่วยเหลือกัน คนหนึ่งก็จะตายเพราะขาดอาหาร ส่วนอีกคนก็จะตายเพราะเขาไม่มีที่อยู่

การค้าไม่ควรถูกมองว่าเป็นการแข่งขัน แต่ควรเป็นการร่วมมือกันระหว่างหลายๆฝ่าย การร่วมมือนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้โลกหมุนต่อไปได้ เพราะพวกเราทุกคนคือส่วนหนึ่งของวงจรห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะในช่วงเวลาวิกฤตโรคระบาดปัจจุบันนี้  ต้องอาศัยการร่วมมือมากขึ้นเป็นอย่างยิ่ง เมื่อห่วงโซ่อุปทานนั้นเกิดปัญหา มันจะส่งผลต่อผู้คนมากมาย อย่างเช่น รายงานจากองค์การสหประชาชาติ ในเรื่องผลกระทบจากสภาวะโควิด-19 ได้ระบุว่า มีประชากรถึง 135 ล้านคน ที่ขาดแคลนอาหาร ซึ่งเป็นผลกระทบทางตรงจากสภาวะโรคระบาดครั้งนี้ อีกทั้งการประกาศจากรัฐบาลทั่วโลก ให้ประชากรหลีกเลี่ยงการเดินทางและหยุดการทำธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเป็นอย่างมาก

Tim Draper

สภาวะโควิด-19 ยังเป็นตัวเร่งปฏิกริยา ที่ทำให้ภาคเอกชนนั้น มีการยอมรับและปรับใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยเฉพาะประชาชนที่ต้องมีการกักตัวอยู่ในบ้านของตัวเอง ทำให้พวกเขาได้มีโอกาสที่จะทดลองเทคโนโลยีต่างๆมากขึ้น อาทิเช่น Virtual Reality หรือ Cryptocurrency อีกด้วยสภาวะเศรษฐกิจและค่าเงินที่ไม่แน่นอน จึงทำให้ประชาชนเลือกหาสกุลเงินทางเลือกมากขึ้น 

เกือบทุกอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการมาเยือนของอินเตอร์เน็ต ทั้งอุตสาหกรรมการสื่อสาร การธนาคาร และความบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีล้ำสมัยอย่าง Cryptocurrency ยังส่งผลต่อการธนาคารและการค้าขาย จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ที่ต้องมีค่าบริการ 2.5-4 เปอร์เซ็น สู่การจ่ายค่าสินค้าหรือบริการผ่านสกุลเงินดิจิตอลที่ตัดค่าบริการออกไปทั้งหมด และเมื่อพูดถึงข้อมูลประชากร ปัจจุบันนี้ ในกลุ่มผู้ใช้งาน Cryptocurrency ทุกๆ 14 คน จะมีผู้ใช้งานเพศหญิงเพียง 1 คนเท่านั้น ทั้งๆที่ เพศหญิงนั้น มีส่วนร่วมในการซื้อขายมากถึง 80 เปอร์เซ็น ดังนั้น ถ้าผู้ใช้งานเพศหญิงมีจำนวนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงด้านการธนาคารจะเร็วขึ้นอีก 

ในช่วงสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่มั่นคงเยี่ยงนี้ นักลงทุนหลายๆรายต่างเลือกที่จะถอนการลงทุน แต่คุณ Draper กลับมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล เขายังได้กล่าวว่า โรคระบาดครั้งนี้ เปรียบเสมือนจุดเริ่มต้นของการรีเซ็ตระบบเศรษฐกิจ และจะเป็นโอกาสสำคัญให้กับเหล่าสตาร์ทอัพที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ให้พวกเขามีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด และศักยภาพที่จะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่อไป

มุมมองใหม่กับหน้าที่ใหม่ของรัฐบาลในโลกเศรษฐกิจ

ด้วยการเปิดพรหมแดนระหว่างประเทศให้ประชาชนสามารถทำการเคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระ ภาคเอกชนจึงมีตัวเลือกในการเปลี่ยนสถานที่ประกอบการได้ตามความต้องการ หนึ่งในตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุด บริษัทสกุลเงินดิจิตอลอย่าง Binance ที่ก่อตั้งโดยคุณ Changpeng Zhao ได้เริ่มธุรกิจในประเทศจีน ก่อนจะเกิดปัญหาทางด้านนิติกรรม Binance จึงได้ทำการย้ายไปสู่ประเทศสิงค์โปร และในปัจจุบัน บริษัทตั้งอยู่ในประเทศมัลต้า ในทวีปยุโรป ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ต้องมีการย้ายที่ตั้งบริษัทนี้ ล้วนเป็นเพราะนโยบายของรัฐบาลที่ไม่ได้มีการสนับสนุนกับการประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงต้องเปลี่ยนจุดยืนในโลกธุรกิจ จากที่เคยเก็บภาษีเพื่อต่อเติมโครงสร้างพื้นฐาน กลายเป็นผู้ให้เช่าโครงสร้างพื้นฐาน อาทิเช่น การศึกษา การคมนาคม และ สาธารณูปโภคอื่นๆ โดยถ้ารัฐบาลไม่สามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการทำธุรกิจ หรือความต้องการของประชาชนไม่ได้มีการเติมเต็ม ประชาชนอาจจะทำการย้ายออกจากประเทศ ซึ่งส่งผลต่อระดับทรัพยากรมนุษย์ในประเทศนั้นๆ แต่ในทางกลับกัน ถ้ารัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านมีการสร้างสาธารณูประโภคพื้นฐานที่เหมาะสมต่อการประกอบธุรกิจ อาจจะส่งผลให้ประเทศนั้นมีความดึงดูดมากขึ้น เพื่อที่จะสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมต่อการลงทุนนั้น นอกจากโครงสร้างพื้นฐานที่ดีแล้ว รัฐบาลต้องมีนโยบายที่สนับสนุนด้านการลงทุน การสร้างตลาดที่มีความเปิดกว้าง และการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ดีอีกด้วย

Startup จะเอาตัวรอดอย่างไรในสภาพแวดล้อมที่ไม่อำนวย

บริษัทยักษ์ใหญ่หลายๆ แห่ง มีการสร้างบริษัท VC ของตนเอง บริษัท VC เหล่านี้ มีโครงสร้างที่คล้ายกับบริษัท Startup เพื่อช่วยให้การปรับเปลี่ยนในการทำงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว การปรับเปลี่ยนนี้ จึงเป็นภัยต่อบริษัท Startup อย่างมาก เพราะบริษัทใหญ่สามารถใช้โอกาสนี้ เพื่อปิดกั้นตลาดและสกัดการเติบโตของ Startup อีกหนึ่งอุปสรรคที่อาจจะเป็นภัยต่อ Startup คือ การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่แพร่หลาย ซึ่งทำให้การแข่งขันดุเดือดมากขึ้น และยังทำให้ไอเดียทางธุรกิจของคุณ มีโอกาสไปซ้ำกับธุรกิจอื่นๆ ได้โดยง่าย เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ผู้ที่กำลังคิดริเริ่มธุรกิจจึงต้องมีความคิดใหม่ และต้องมีความแหวกแนวมากพอที่จะทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงมาแข่งขันด้วย อีกหนึ่งจุดแข็งที่ Startup มี คือความสามารถในการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว Startup จึงสามารถปรับใช้เทคโนโลยีได้เร็วกว่าบริษัทใหญ่ และยังทำให้พวกเขาสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าบริษัทใหญ่อยู่ตลอดเวลา แต่จากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในการทำธุรกิจ คือการทำให้ลูกค้ามีความพึงพอใจในสินค้าหรือบริการของคุณ

และถ้าคุณคือคนที่มีไอเดียที่จะสร้างธุรกิจ หรือเป็นผู้ประกอบการในประเทศที่ยังไม่พัฒนาด้านเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัย Draper University online ต้องการคนอย่างคุณ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะให้คำปรึกษาและการช่วยเหลือในการก่อตั้งธุรกิจ และสำหรับนักเรียนดีเด่นในโครงการ ทางมหาวิทยาลัยยังมีการเชิญเข้าสู่โครงการพิเศษอย่าง Draper University hero training ที่ได้สร้างผู้ประกอบการมากความสามารถมากมายอีกด้วย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...