10 สาเหตุที่ทำให้ Fin Tech Startups ล้มเหลว | Techsauce

10 สาเหตุที่ทำให้ Fin Tech Startups ล้มเหลว

Fintech กำลังฮอตฮิตในวงการ Startup ยิ่งนัก ชนิดที่ธนาคารก็กังวลต้องรีบจัดตาดูกันว่า เขาทำอะไรอยู่ มีจุดไหนที่จะพาร์ทเนอร์หรือทำร่วมกันได้บ้าง อย่างไรก็ตามการทำ Fintech ให้สำเร็จ ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะเป็นธุรกิจที่มีกฎระเบียบเยอะ ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความเข้าใจ  ไม่ว่าจะจากภาคการเงินและกฎหมายมาให้คำปรึกษา หาสมาชิกที่มีประสบการณ์มาเสริมทีม วันนี้เรามี 10 สาเหตุทำไม Fintech Startup ถึงล้มเหลวมาให้อ่านกัน จากคำแนะนำของผู้คลุกคลีวงการนี้มาโดยตลอด Pascal Bouvier venture partner แห่ง Santander InnoVentures นักลงทุนด้าน Fintech โดยเฉพาะ

fail-cropped

ไม่ได้ไตร่ตรองเรื่องใบอนุญาตดีพอ

บางทีคุณอาจจะคิดว่าคุณเปิดบริษัทเทคโนโลยีขึ้นมา หน้าที่ของคุณก็คือสร้างซอฟต์แวร์อย่างเดียว แต่ถ้าคุณกำลังดำเนินธุรกิจสาย Fintech ในบางหมวดที่มีกฎระเบียบมากมาย คุณอาจจะต้องมีใบอนุญาตเพื่อมารับรองในเรื่องต่างๆ หรือไม่ก็ต้องปรึกษากับนักกฎหมายหรือผู้ที่รอบรู้  Startups หลายรายลืมคิดไปว่าอุตสาหกรรมการเงินนั้นมีกฎเกณฑ์อยู่มาก เราควรจะศึกษากฎหมายที่มีอยู่  และรวมไปถึงสิ่งต่างๆ ที่คุณต้องมีในการขอใบอนุญาต หากคุณไม่รู้ ไม่ต้องอายที่จะถามนักกฎหมายหรือใครก็ได้ที่มีความรู้ มันอาจช่วยลดเวลาและประหยัดเงินของคุณได้ในภายหลัง นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณวางแผนธุรกิจได้ดีขึ้นอีกด้วย ที่สำคัญแต่ละประเทศก็มีกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน จงศึกษาแต่ละตลาดไว้ให้ดี

ไม่ได้คิดว่าต้องใช้อะไรบ้างในการระดมทุนจาก strategic investors

กรณีนี้กำลังเกิดขึ้นในต่างประเทศ เมื่อคุณตัดสินใจที่จะระดมทุนจากธุรกิจธนาคารหรือสายประกันขึ้นมา คุณต้องทำการบ้านมาให้ดี อาจจะมีกฎระเบียบที่ต้องดูและขออนุมัติ เอกสารอะไรที่ต้องใช้ วัฒนธรรมองค์กรที่ต้องทำงานร่วมกันกับผู้ซึ่งจะมาถือหุ้นในบริษัทของคุณในอนาคต

 

ไม่ยอมทำตามในสิ่งที่ควรจะทำ

หากคุณไม่ยอมที่จะทำตามกฎระเบียบ หรือถ้าคุณไม่สามารถแสดงให้เห็นว่าตัวคุณเอง มีความกระตือรือร้นที่จะทำตาม ไม่ว่าจะเป็นการจ้างคนที่พร้อมจะเข้ามาทำทุกอย่าง หรือตัวคุณเองไม่ยอมสร้างกฎเกณฑ์ให้กับบริษัทขึ้นมา ไม่ช้าคุณและบริษัทก็จะประสบปัญหาอย่างแน่นอน บางทีกฎระเบียบก็เป็นสิ่งที่ดี ที่ทำให้บริษัทเดินไปข้างหน้าได้

ไม่ได้เลือกนักลงทุนที่มีพื้นฐานด้าน FinTech มาก่อน

ถ้าหากจะมีอุตสาหกรรมไหนที่ต้องใช้ทั้งประสบการณ์ ความรู้ความเข้าใจ และความละเอียดต่างๆ หนึ่งในนั้นก็คงต้องมีที่เกี่ยวกับบริการด้านการเงิน ถ้าหากนักลงทุนของคุณมีประสบการณ์มาก่อนหน้านี้ ก็จะช่วยแนะนำสิ่งต่างๆ ได้มากมาย รวมถึงแนะนำว่าควรจะไปหาใครด้วย เมื่อเรามีปัญหา

หลงคิดว่า FinTech จะเติบโตเหมือน Tech Startup ทั่วไป

หากคุณกำลังคิดแบบนี้อยู่ต้องบอกว่าผิดถนัดเลย เพราะเรื่องของ “เงิน” จะมีแนวคิดที่แตกต่างออกไป ทุกๆ คนย่อมระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายเงินในกระเป๋าของตัวเองเสมอ พวกเขาไม่ได้เขาถึงสิ่งเหล่านี้ได้เหมือนโซเชียลเน็ตเวิร์คต่างๆ พวกที่ทำด้านบริการที่เกี่ยวกับการเงินจะระวังมากเรื่องของเงิน และปัจจัยความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงที่กระทบกับลูกค้าหรือตัวผู้ให้บริการเอง

ทำความเข้าใจกับพฤติกรรมของตัวเงิน เครดิต การออม การใช้จ่ายและช่องทางค้าปลีก รวมไปถึงระดับองค์กรใหญ่ๆ ให้ดี จะช่วยทำให้คุณทำธุรกิจง่ายขึ้น Startups ที่ไม่ศึกษาสิ่งเหล่านี้อาจต้องมาตกใจทีหลังว่าทำไม พวกเขาถึงเติบโตได้ช้าอาทิเช่น การทำงานหรือการขายผลิตภัณฑ์ให้กับสถาบันการเงินอาจใช้เวลานานกว่าที่พวกเขาคิดเลยทีเดียว

คิดว่าแข่งกันที่ราคาแล้วสักวันคุณจะชนะ

มีหลาย Startups พยายามที่จะออกแบบแอปพลิเคชันที่ช่วยเหลือด้านการเงิน ในราคาที่ถูกกว่าและมีเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำกว่าคู่แข่ง แต่ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าคนอื่นมีศักยภาพในการ scale ธุรกิจได้มากกว่าฃ แล้วมาตัดราคาขายแข่งกับคุณ เท่ากับคุณแพ้และถูกบีบให้ออกจากตลาดเลย เพราะฉะนั้น คิดให้ดีๆ ก่อน หาจุดต่างของผลิตภัณฑ์ของเราให้ดีที่จะแข่งกับคนอื่น ไม่ใช่ที่ราคาอย่างเดียว

คิดว่าคุณสามารถแข่งขันและสู้ได้ด้วย IP (Intellectual Property)

ถ้าคุณคิดว่าเทคโนโลยีจะเป็นตัวที่ป้องกันคุณจากคู่แข่งได้แล้วหล่ะก็ มันก็เป็นไปได้ที่ 1) บริษัทขนาดใหญ่อาจมีธุรกิจใน Portfolio ที่มี IP คล้ายกับคุณ 2) เทคโนโลยีของคุณอาจโดนปรับแต่งโดยคนอื่นและเอาไปใช้ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมากนัก เรื่องนี้เป็นจริงในหลายๆ ภาคธุรกิจ ไม่ใช่แค่ใน Fintech ถ้าคุณคิดว่าโมเดลธุรกิจที่พึ่งเพียง IP อย่างเดียวบางทีคุณอาจจะเริ่มมีปัญหาแล้วละ

คิดว่าการทำ Payments เป็นเรื่องง่าย

Payments ดูเหมือนเป็นภาคบริการในสาย Finance ที่ดูจะเริ่มต้นและเข้าถึงได้ง่ายแต่มันก็เป็นสิ่งที่ยากที่สุดถ้าเราจะทำให้มันประสบความสำเร็จเช่นกัน มี Startups หลายคนที่ล้มเหลวไปลองคิดดูว่ามันยากแค่ไหนที่จะขายของให้ลูกค้า ไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใดก็ตาม แล้วลองคูณเข้าไปอีก 2-3 เท่า นี้คือความยากของ payments คุณอาจจะต้องไปขายองค์กรใหญ่ ผู้ใช้งานรายย่อย พ่อค้าและธนาคาร เพราะฉะนั้นควรจะเตรียมตัวไว้ให้ดี

 

มองข้ามในเรื่องกฎหมาย

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงเรื่องให้บริการด้านการเงิน กฎหมายเป็นสิ่งที่เข้มงวดมาก ลองคิดดูว่าคุณเอากฎหมายด้านความปลอดภัยมาใส่ในตลาดเงินทุน ลองคิดถึงกฎหมายที่คุ้มครองผู้กู้ยืม และรวมไปถึงกฎหมายความเป็นส่วนตัวต่างๆ เมื่อเราต้องเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า คุณควรจะศึกษาเรื่องของกฎหมายให้ดี เฉกเช่นเดียวกับแผนธุรกิจ

ไม่ได้ให้ความสนใจกับวงจรธุรกิจ (Business Cycle)

ไม่ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะขึ้นหรือลง ย่อมส่งผลกระทบกับธุรกิจของคุณ คุณควรจำลองและนึกถึงสถานการณ์จริงขึ้นมาว่าถ้าเกิดเศรษฐกิจของประเทศแปรปรวน ดอกเบี้ยสูงขึ้น เช่น ถ้าคุณพัฒนา Lending Platform ขึ้นมา จะเป็นอย่างไร ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมาในหลายๆ รูปแบบ บริษัทของคุณจะอยู่ได้ไหม

โดยสรุปแล้วถ้าคุณกำลังจะทำ Fintech ให้ทำการบ้านให้หนักๆ เรียนรู้ตลาดนี้และผู้เล่นให้ดี ใครเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของคุณ เรียนรู้เรื่องกฏหมายโดยเฉพาะด้านการเงิน กฏระเบียบต่างๆ ค้นหาผู้เชี่ยวชาญร่วมทีมตั้งแต่ต้น เรียนรู้จากคนเหล่านี้ และนำคำแนะนำของพวกเขามาประยุกต์ใช้กับแผนธุรกิจ และผลิตภัณฑ์ตั้งแต่เริ่ม Fintech นั้นมีความแตกต่างในตัวพอสมควร เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่นๆ ดังนั้นจงทำการบ้านให้เยอะๆ เอาไว้

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Secure Corporate Internet บริการใหม่ที่ ‘ตอบโจทย์ธุรกิจยุคดิจิทัล’ เข้าใจทุกเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ของธุรกิจ จาก AIS Business

บทความนี้ Techsauce อยากชวนมารู้จักกับ Secure Corporate Internet อินเทอร์เน็ตองค์กรที่มีระบบรักษาความปลอดภัยครอบคลุมตลอด 24 ชั่วโมง บริการใหม่เพื่อธุรกิจในยุคดิจิทัล!...

Responsive image

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future เจาะเวลาหาอนาคต สู่การใช้ AI อย่างชาญฉลาดบนความรับผิดชอบ

สรุปเนื้อหาจากงาน KBTG Techtopia: A Blast From the Future นำเสนอเนื้อหาสุด Exclusive จากทั้ง 3 Stage โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชั้นนำจากทั้งไทยและต่างประเทศ เจาะเวลาหาอนาคต สู่ก...

Responsive image

Ertigo สตาร์ทอัพไทยที่อยากแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าเป็นผู้ให้บริการ TeleRehab ในอาเซียน

ERTIGO สตาร์ทอัพไทยที่ต้องการแก้ปัญหา Office Syndrome ตั้งเป้าการเป็นผู้ให้บริการ Telerehab ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้...