ถอดบทเรียนจาก Adobe กับความท้าทายขององค์กรในการทำ Digital Transformation | Techsauce

ถอดบทเรียนจาก Adobe กับความท้าทายขององค์กรในการทำ Digital Transformation

Techsauce Media ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมการประชุม Adobe Symposium 2019 ณ ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นงานที่ได้รวบรวมผู้นำในแวดวงธุรกิจทั่วโลกกว่า 4,000 คน ทั้งนักการตลาด ครีเอทีฟ และผู้ทำงานสาย IT รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านดิจทัล ภายในงานประกอบด้วย Event Showcase Keynote Workshop และกิจกรรมหลากหลายในเรื่องการใช้ความคิดสร้างสรรค์และข้อมูลในการพัฒนาประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น

ครั้งนี้ Techsauce ได้พบกับ Scott Rigby,  Head of Digital Transformation และพูดคุยในประเด็นของดิจิทัลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงตอบคำถามว่าเราจะปรับตัวเช่นไรในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

ข้อได้เปรียบสำหรับผู้เล่นที่มาทีหลัง

ถึงแม้จะตามหลังฝั่งตะวันตกมาก็ตาม แต่เอเชียได้ก้าวกระโดดเข้าสู่แพลตฟอร์มในรูปแบบโทรศัพท์มือถือ และจัดว่ามีบริการดิจิทัลจำนวนมากในระดับต้นๆ อีกทั้งยังเน้นในเทคโนโลยีด้านการค้าปลีกและการท่องเที่ยว ในขณะที่สถานะของเทคโนโลยีในแวดวงสื่อและการเงินยังอยู่ในจุดที่ไม่สูงมากนัก แต่ทั้งนี้คุณภาพของบริการทางการเงินนั้นก็นับว่าแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศในภูมิภาค เพราะบางประเทศจัดว่าเป็นผู้ริเริ่ม ในขณะที่บางประเทศยังคงแบบแผนเก่าๆ อยู่

อุปสรรคหลักของ Digital Transformation

ปัญหาที่พบเจอมากที่สุดคือวัฒนธรรมองค์กร การผลักดันให้พนักงานทุกคนเห็นคุณค่าของเทคโนโลยีอย่างแท้จริงเป็นเรื่องจำเป็น ในหลายกรณีพบว่า หลายบริษ้ทพยายามจะลงทุนและผลักดันด้านเทคโนโลยี แต่ไม่ได้เตรียมพร้อมในส่วนของการปรับโครงสร้างองค์กรและบุคลากรให้เข้ากับยุคของดิจิทัล มันคือการคิดและมองธุรกิจในมุมใหม่ตั้งแต่ระดับผู้นำ สำหรับผู้นำองค์กรหากไม่มีแรงผลักดันอย่างแท้จริงในการที่จะปรับเปลี่ยน คุณจะก็นำเอาแนวคิดใหม่อย่าง Digital matrix และการคิดวัดผลแบบ KPIs มาใช้ในองค์กร และผลก็คือหลายๆ บริษัทส่วนใหญ่ มักจะล้มเหลวในระยะ 6 เดือนแรก และจบที่การกลับไปใช้วิธีการเดิมๆ เพราะความไม่พร้อมขององค์กร

ปัญหาที่เกิดขึ้นคือบริษัทต้องเผชิญกับความท้าทายในด้านการปรับตัวขององค์กรมากกว่าปัญหาเฉพาะด้านทางเทคโนโลยี

ตำแหน่งไหนในองค์กรที่ควรจะปรับตัวมากที่สุด?

CMO ควรจะเป็นตำแหน่งแรกๆ ที่ปรับตัวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเพราะพวกเขาจะรู้จักผู้ใช้บริการหรือลูกค้าเป็นอย่างดีในหลายๆ ช่องทาง ทำให้พวกเขาเข้าใจพฤติกรรมของผู้ใช้งาน ดังนั้น CMO จึงมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ที่สำคัญ CMO และ CIO ควรทำงานควบคู่กันไป ในเอเชียเราไม่ค่อยได้พบเห็นตำแหน่ง CMO เหมือนในตะวันตก คุณอาจจะคุ้นเคยกับผู้อำนวยการด้านการตลาดมากกว่า แต่ไม่ใช่ตำแหน่งหัวหน้าเจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งในเอเชียควรมีการให้ความสนใจในการแต่งตั้งบุคคลที่จะมีหน้าที่ในการตัดสินใจ ซึ่งพวกเขาควรจะได้รับกรรมสิทธิ์ในการนำเอาเสียงของลูกค้ามาพัฒนาธุรกิจ นี่คือจุดเปลี่ยนที่หลายๆ ธุรกิจยังไม่นำไปปรับใช้

ควรมีการจับคู่กันระหว่าง Partner ต่างๆ อย่างเช่น CIO และ CTO เพื่อให้พวกเขาสามารถสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างชัดเจน และช่วยให้การทำงานเป็นไปตามข้อมูลที่ได้รับ

Centralized vs Decentralized Digital Transformation

ท้ายที่สุดมันก็ขึ้นอยู่กับว่าแผนการ Digital transformation ของคุณใหญ่แค่ไหน และควรจะมีสักคนที่ทำหน้าที่ในการผลักดันโครงการ Digital transformation ซึ่งในหลายๆ บริษัทที่ยังไม่ใหญ่มาก อาจมีการแบ่งงานและทักษะต่างๆ แยกออกจากกัน แต่เมื่อธุรกิจขยายใหญ่ขึ้นก็มักจะนำเอาตำแหน่งงานต่างๆ มารวมไว้ในที่เดียวกัน อย่างเช่น ทีมงานดิจิทัล และการตลาด และนี่ก็ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กรของคุณ เมื่อองค์กรเติบโตก็ควรเริ่มที่จะมีการจัดตั้งศูนย์กลางของการทำงานและรวบรวมข้อมูลหรือกลุ่มคนที่มีความเข้าใจงานของแต่ละแผนกและปฏิบัติงานในการสร้างกฏและปรับตัวองค์กร เพราะแต่ละแผนกล้วนมีงานของตนเอง คุณจึงจำเป็นต้องฝึกบุคลากรที่จะไปควบคุมดูแลภาพรวมและให้ความความรู้กับแต่ละแผนก ทุกธุรกิจจะต้องพบเจอกับเรื่องนี้ จึงควรมีการรวบรวมข้อมูลและกำหนดขอบเขตบริบทของเนื้องาน นี่คือวิวัฒนาการที่ทุกองค์กรต่างพบเจอ

การนำพาคนรุ่น Analogue ก้าวออกจาก Comfort zone

มีสองประเด็นที่ถูกพูดถึงเมื่อจะโน้มน้าวคนรุ่นเก่าว่าเราควรเปลี่ยนแปลง

อันดับแรกคือทีมผู้บริหาร โดยเฉพาะสำหรับเหล่าธุรกิจแบบดั้งเดิม พวกเขาเริ่มสายอาชีพมาในยุค Analogue ดังนั้นพวกเขาจึงคุ้นชินกับวิธีการทำธุรกิจในรูปแบบเก่าๆ และมีความกลัวต่อการยอมรับจุดเปลี่ยนใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงและเปิดใจยอมรับความเปลี่ยนแปลงจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ

ผู้บริหารจำเป็นต้องตระหนักว่าใต้ฝ่าเท้าของพวกเขานั้น มีพื้นดินที่พร้อมจะขยับและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หากไม่ยอมที่จะ Disrupt ตัวเอง คนอื่นก็จะเข้ามา Disrupt คุณ

คุณต้องเต็มใจที่จะเปลี่ยนแปลงธุรกิจของคุณหรือเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลง ไม่เช่นนั้นจะมีคนเข้ามาและเปลี่ยนให้คุณ

อันดับที่สองคือคุณต้องคิดให้แตกต่าง ตัวอย่างที่ดีคือ Petronis (บริษัท น้ำมันและก๊าซในมาเลเซีย) บริษัทได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแยกออกมาซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้าน Digital transformation เนื่องจากพวกเขารู้ดีว่าตนเองไม่ได้มีความเชียวชาญโดยเฉพาะในเรื่องนี้ จึงต้องการคนที่มีทักษะมาทำงานนี้และให้ความรู้กับทีมบริหาร โดยคณะกรรมการชุดพิเศษนี้จะได้รับงบประมาณด้านเทคโนโลยีและมีอำนาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในอนาคต ในขณะที่คณะกรรมการปัจจุบันดำเนินธุรกิจ ณ เวลานี้ นี่เป็นวิธีการใหม่ที่ดี เพราะหมายถึงว่าคุณรับรู้ถึงพื้นดินใต้เท้าคุณว่ามันกำลังจะเคลื่อนที่ แต่คุณก็เตรียมพร้อมไว้เสมอ

เราจะวัดผลสำเร็จของ Digital Transformation อย่างไร?

การเข้ามาของ Disruption เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่มันก็เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้

คุณต้องตระหนักอยู่เสมอว่า Disruption นั้นรวดเร็วมาก แต่ต่อจากนี้ไป Disruption จะไม่ช้าไปกว่านี้อีกแล้ว

นี่คือโอกาสของคุณในการปรับตัวเนื่องจากตอนนี้ Disruption ยังเคลื่อนตัวไม่เร็วนัก ในคำถามที่ว่าเราจะวัดผลของ Digital Transformation ได้อย่างไรนั้น ต้องเริ่มจากการที่คุณมองภาพความสำเร็จของคุณว่าเป็นรูปแบบไหน ดังนั้นคุณจำเป็นจะต้องสร้างแบบสอบถามในการวัดค่าความเปลี่ยนแปลง คุณต้องระบุ Matrix และ Baseline ไว้ตั้งแต่แรก ทั้งผลสำเร็จที่จับต้องได้และจับต้องไม่ได้ อย่าง วัฒนธรรมองค์กร และจะยิ่งท้าทายในกรณีที่คุณมีโครงการที่มีความทับซ้อนกันและคุณจำเป็นจะต้องหาให้ได้ว่าจุดไหนที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้ธุรกิจของคุณ ดังนั้นต้องมั่นใจว่าคุณได้ตรวจสอบและประเมินผลในทุกๆ ผลกระทบของการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ ตั้งแต่รายได้ ต้นทุน ความพึงพอใจของพนักงาน และอื่นๆ

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...

Responsive image

17 เรื่อง AI ต้องรู้ จากรายงาน AI Index 2024

Techsauce ได้สรุป 17 ประเด็นสำคัญจากรายงาน AI Index Report 2024 ซึ่งจัดทำโดย Stanford Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ที่รวบรวมประเด็นต่างๆ ของปัญญาประดิ...

Responsive image

แนะเทรนด์ลงทุนในสตาร์ทอัพปี 2024 พร้อมช่องทางใหม่ในการระดมทุนจากงาน KATALYST TALK MEETUP #3

บทความที่เอสเอ็มอี สตาร์ทอัพควรอ่านเพื่อเป็นไกด์ไลน์ในการเผชิญความท้าทายในปีนี้ จากการรับฟังภายในงาน KATALYST TALK MEETUP #3 ‘Navigating the Startup Challenges in 2024 and Beyond’...