หากสังเกตภาคธุรกิจในประเทศไทยช่วงไม่กี่ปีมานี้ นับเป็นยุคที่เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการผลักดัน Startup โดย Corporate ใหญ่ๆ แบบ CVC หรือ Accelerator ยังมีการหันมาจับมือทั้งในรูปแบบ Partnership และ Joint Venture ของเหล่า Corporate ทั้งหลาย ไม่ว่าจะอยู่ร่วม Ecosystem หรือไม่ก็ตามอีกด้วย อีกทั้งยังมีแนวโน้มจะเกิดความร่วมมือกันมากขึ้นอีกด้วย เหตุนี้เอง Techsauce จึงขอรวบรวมการจับคู่ธุรกิจของ Corporate ไทย นำเสนอเป็นภาพรวมพร้อมความคิดเห็นต่อแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นมาให้ได้ติดตามกัน
รวมตัวอย่างการประกาศความร่วมมือในประเทศไทยที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ปลายปี 2017
- SCB จับคู่ Airpay เพิ่ม Payment Platform หลากหลาย ขยายฐานการบริการ และรองรับรูปแบบ Cashless Payment
- The Mall ร่วมกับ SCB พัฒนาช่องทางการจ่ายเงินใหม่ เสริมแกร่งภาคบริการของธุรกิจ พร้อมรองรับสังคมไร้เงินสด
มกราคม ปี 2018
กุมภาพันธ์ ปี 2018
มีนาคม ปี 2018
- True Money จับมือ MRT ก็เป็นอีกความร่วมมือหนึ่งที่ขยาย Platform ไปยังด้านคมนาคมและไปถึงภาคบริการที่มีอยู่ในเครือข่าย MRT ตอบโจทย์ชีวิตในกรุงเทพมากขึ้น
- AIS x Rabbit LINE Pay เป็นการรวมบริการกระเป๋าเงินออนไลน์เข้ากับบริการช่องทางการชำระเงินออนไลน์ที่ครบวงจร ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นการจับมือครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2018
- GMM x Line TV ผู้ผลิต Content จับมือผู้พัฒนา Platform เพิ่มศักยภาพการแข่งขันในธุรกิจของทั้งสองรายไปพร้อมกัน
- แสนสิริ จับมือกับ Microsoft และ AIS ลงแรงร่วมกันทำ Sales Gallery ด้วยเทคโนโลยี VR ทำให้เกิดบริการดัดแปลงที่อยู่อาศัยตามความต้องการอย่างแท้จริง
- SCB จับมือกับ Julias Baer นับเป็นการขยายช่องทางไปยังผู้ใช้งานระดับบนที่รอคอยบริการระดับสูงอย่างใจจดใจจ่อ
- Accelerator ชั้นนำอย่าง Dtac Accelerator ยังจับมือกับ LINE SCALEUP ที่สร้าง Platform สำหรับผลักดัน Startup ด้วย Facility ของ LINE เอง ดึงให้บรรดา Startup ที่มีศักยภาพสนใจร่วมโครงการมากขึ้น
ภาพรวมของการร่วมมือ ผลจาก Digital Transformation?
เมื่อดูจากการร่วมมือที่เกิดขึ้นตอนนี้ Corporate ทั้งหลายที่จับมือกันล้วนมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและมองหาช่องทางใหม่ๆ ชัดเจน โดยมองถึงการเป็นผู้ Disrupt ก่อนที่จะถูก Disrupt เสียเองเลยทีเดียว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า Digital Transformation ซึ่งเกิดขึ้นด้วยอัตราเร่งที่น่ากลัว เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Corporate ต้องใช้วิธีนี้
หากเจาะที่แต่ละกลุ่มธุรกิจ เริ่มที่แวดวงเทคโนโลยีการเงินหรือ Fintech ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงโดยเทคโนโลยีอย่างหนักหน่วง แม้ว่าเทรนด์ของ Cashless Society จะยังไม่ชัดเจนนักในประเทศไทย แต่การที่ธนาคารหลายแห่งเริ่มทำการรุกคืบผนึกกำลังกับผู้พัฒนา Platform ใหม่ๆ และภาคธุรกิจบริการอื่นๆ ก็เป็นการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงซึ่งกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก
สำหรับธนาคารนับเป็นภาคบังคับที่ต้องขยับเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลง แต่ภาคธุรกิจบริการอื่นๆ ที่มีเทคโนโลยีอยู่แล้วก็ใช้โอกาสนี้เสนอ Platform ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่สะดวกขึ้น การจับมือกับองค์กรอื่นที่มีให้บริการแตกต่างกันก็จะช่วยขยายขอบเขตการให้บริการให้หลากหลาย อันหมายถึงฐานผู้ใช้ที่มากขึ้นนั่นเอง
นอกจากนี้ Corporate ที่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการใน Ecosystem เดียวกัน เช่น ผู้พัฒนา Content กับผู้พัฒนา Platform หรือผู้เชี่ยวชาญด้าน Retail กับผู้เชี่ยวชาญด้าน Platform ออนไลน์ เมื่อจับมือกันก็จะส่งเสริมให้ภาพรวม Ecosystem ของตัวเองแข็งแรงมากขึ้น
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือการจับมือระหว่าง Partner ที่ความเชี่ยวชาญไม่เกี่ยวข้องกันเลย แต่ร่วมมือกันแล้วนำไปสู่บริการรูปแบบใหม่ เช่น การผนึกกำลังของแสนสิริ ผู้พัฒนาอสังหาริมรัพย์ กับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Microsoft และ AIS เกิดเป็น Sales Gallery บน VR เปิดประสบการณ์ใหม่สำหรับผู้สนใจสินค้า หรือการที่แสนสิริจับมือกับธุรกิจใน Ecosystem ด้านคมนาคม นับเป็นการคิดนอกกรอบที่สร้างจุดแข็งของสินค้าที่ชัดเจน
ความเห็นของกองบรรณาธิการ: ผลกระทบจากการร่วมมือระหว่าง Corporate
- จากการประเมินเทรนด์ Startup เทคโนโลยี และ Corporate Innovation ประจำปี 2018 โดย Techsauce พบว่า Corporate ได้พ้นช่วงลองผิดลองถูก ไม่เพียงแต่ในฐานะของ Accelerator และ CVC แต่รวมถึงการ Partnership และ Joint Venture กับ Startup ที่มีศักยภาพการแข่งขันสูงมากขึ้น
- การร่วมมือกันที่เปิดโอกาสสู่ตลาดใหม่ ย่อมหมายถึงการมีคู่แข่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วยทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่นเมื่อผู้ให้บริการ Platform สำหรับ Content จับมือกับผู้ผลิต Content เพื่อพัฒนา Exclusive Content ร่วมกัน ผู้ผลิต Content รายอื่นๆ ก็จะกลายเป็นคู่แข่งกับผู้ให้บริการ Platform รายนั้นไปด้วย
- การผนึกกำลังของ Corporate ช่วยเพิ่มความเร็วด้านการแข่งขันให้ไล่ทันตลาดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนเกินคาดเดาขึ้นทุกวัน ทั้งยังอุดช่องว่างบริการที่เคยขาดอยู่ด้วย โจทย์ของ Startup ที่หวังจะเติบโตจากช่องว่างนั้นก็จะยากขึ้นด้วย Startup ที่หวังจะเข้าแก้ Pain Point ของ Corporate โดยไม่มีแผนสำหรับเติบโตด้วยตัวเองมีแนวโน้มลำบากมากขึ้นในอนาคต
- Corporate ไทยในกลุ่ม Food Tech, Agri Tech และ Health Tech เป็นกลุ่มที่เราอยากเห็นความร่วมมือมากที่สุด แต่ยังเกิดขึ้นน้อย ซึ่งเราอาจจำเป็นต้องมองถึงการพัฒนากลุ่ม Deep Tech ควบคู่กันไป
- วัฒนธรรมองค์กรจะเปิดกว้างมากขึ้น เดิมที การทำงานของ Corporate เน้นการทำทุกอย่างด้วยตัวเองภายในองค์กร ทำให้วัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายในค่อนข้างปิดเพื่อตอบโจทย์การทำงานภายในองค์กรเท่านั้น แต่เมื่อ Corporate รู้ว่าตัวเองขาดสิ่งใด และจำเป็นต้องจับมือเพื่อเสริมจุดนั้นกับ Corporate อื่นๆ วัฒนธรรมองค์กรจึงเปลี่ยนรูปแบบที่เน้นการเปิดกว้างเพื่อให้เหมาะกับความร่วมมือที่หลากหลายมากขึ้น
- ไม่เพียงแต่วัฒนธรรมองค์กรที่ถูกปรับให้ยืดหยุ่นขึ้นเท่านั้น แต่ Corporate Innovation จะได้รับความสำคัญมากขึ้น ทั้งจากรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป รวมถึงความต้องการผลลัพธ์ที่ต่างออกไป การสร้างหรือมองหา Corporate Innovation ที่ตอบโจทย์จะเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญให้การบริหารงานราบรื่นขึ้นจริง
- ในมุมของผู้บริโภค เทรนด์ใหม่จะขยับเข้ามาใกล้ตัวเราเร็วขึ้น ด้านการเงินอาจเป็น Cashless Payment ด้าน Content จะเกิดเนื้อหา Exclusive และเนื้อหาตรงตามสั่งหรือ On-Demand มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องผสานเทคโนโลยีหลากหลายจากการร่วมมือของผู้ให้บริการ
เมื่อความเร็วของ Digital Tranformation เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ การปรับตัวจึงเกิดขึ้น ซึ่งการผนึกกำลังกันก็เป็นหนทางหนึ่งสำหรับการปรับตัวเท่านั้น ต้องติดตามดูกันต่อไปว่า Corporate ไทยจะใช้ความร่วมมือระหว่างกัน Disrupt ภาคการผลิตและบริการได้สัมฤทธิ์ผลแค่ไหน และมีบทเรียนใดให้พวกเราเรียนรู้กันอีก