Thailand E-commerce Landscape รวมธุรกิจในตลาด E-commerce ไทยแบบเจาะลึกปี 2020 | Techsauce

Thailand E-commerce Landscape รวมธุรกิจในตลาด E-commerce ไทยแบบเจาะลึกปี 2020

เพราะการดำรงชีวิตจับจ่ายใช้สอยในปัจจุบันทำได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น ผู้บริโภคสนใจสิ่งไหนก็สามารถเข้าอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาข้อมูล พร้อมเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์ ตกลงสั่งซื้อและรับของได้ภายในไม่กี่ชั่วโมงอย่างง่ายดาย ทั้งหมดนี้ทำให้คุณสามารถช้อปปิ้งได้โดยที่ไม่ต้องออกเดินทางไปยังหน้าร้าน

มูลค่าตลาด E-commerce ปี 2020

จากความสะดวกสบายในการช้อปปิ้งออนไลน์ และสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด19 (COVID-19)ในประเทศไทย เป็นแรงผลักให้ผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจกลุ่ม E-commerce มีแนวโน้มเติบโตขึ้นทุกปี คาดการณ์มูลค่าตลาด E-commerce ปี 2020 อาจมีมูลค่าสูงถึง 220,000 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 35% จากปีก่อนหน้าเลยทีเดียว

ผู้เล่นหน้าเก่าและหน้าใหม่ยังคงร้อนแรงในสมรภูมิ E-commerce

จากการแข่งขันทางธุรกิจกลุ่ม E-commerce ที่มากขึ้นทุกปี วันนี้ไพรซ์ซ่าได้รวบรวมผู้เล่นหน้าเก่า และผู้เล่นหน้าใหม่ในแวดวงธุรกิจนี้มาให้ทุกท่านได้ศึกษา แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจภาพ Thailand E-commerce Landscape ปี 2020 กันก่อน Thailand E-commerce Landscape สามารถแบ่งผู้เล่นทั้งหมดออกเป็น 4 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่

1. เครื่องมือการทำการตลาด (Marketing Tools)

กว่าที่แบรนด์จะเป็นที่รู้จักและประสบการณ์ความสำเร็จนั้น ไม่ได้ใช้เวลาเพียงแค่วันสองวันก็สามารถโด่งดังเป็นพลุแตกได้ แต่แบรนด์ต้องมีการวางแผนการตลาดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงโฆษณา การคิดรายการส่งเสริมการขาย การบริหารจัดการดูแลฐานลูกค้าที่ดี วางแผนช่องทางในการโปรโมท หรือจะเป็นประชาสัมพันธ์ให้แบรนด์ของเราเป็นที่รู้จักต่อผู้บริโภคมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้แบรนด์ของคุณประสบความสำเร็จ ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือการทำการตลาดต่างๆ จึงสำคัญกับแบรนด์ผู้ผลิตเป็นอย่างมาก

2.อีคอมเมิร์ซ (E-commerce Channel)

เมื่อแบรนด์ผู้ผลิตได้มีการเลือกใช้เครื่องมือในการทำ Marketing เรียบร้อยแล้ว ก็มาในส่วนของช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce ได้เลย เรียกได้ว่า ช่องทาง E-commerce เป็นหนึ่งในช่องทางที่ผู้ผลิตต่างๆควรที่จะเข้ามาแข่งขันในช่องทางนี้ได้แล้ว เนื่องจากว่าปัจจุบันเทคโนโลยี และความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตทำให้ไม่มีช่องวางระหว่างผู้ค้าและผู้ซื้ออีกต่อไป การจับจ่ายใช้สอยสามารถทำได้ง่ายๆที่บ้าน ในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที

ทำให้การขายผ่านแพลตฟอร์ม E-commerce กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแบรนด์ผู้ผลิตสามารถขายผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่

  • E-marketplace การนำสินค้าไปขายบนเว็บไซต์ตลาดสินค้าออนไลน์ ที่รวมร้านค้าหลายแห่งไว้ในที่เดียว ซึ่งเราสามารถไปเปิดร้านในนั้นได้ เช่น Lazada Shopee เป็นต้น
  • Social Commerce การขายออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เช่น Facebook, Instagram, หรือ Line@ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบัน Social Media หลายตัวได้เพิ่มฟังก์ชั่นสำหรับการขายสินค้า ทำให้ง่ายต่อการวางขายมากขึ้น
  • E-tailer/Brand.com คือการทำร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง ไม่ต้องผ่าน Marketplace คนกลาง ดังนั้นจึงไม่มีการถูกหักค่าคอมมิชชั่นเมื่อเราขายได้ ซึ่งสามารถเปิดร้านค้าออนไลน์เองผ่าน Webstore Platform ต่างๆ เช่น Tarad, LnwShop หรือเปิดร้านค้าออนไลน์เอง ทำเว็บเอง ขายเอง เช่น com และ Beauticool.com เป็นต้น

3. ระบบการชำระเงิน (Payment)

แน่นอนว่าเมื่อธุรกิจ E-commerce มีการเติบโตมากขึ้นในทุกๆปี สิ่งหนึ่งที่จะต้องเติบโตควบคู่กันไปนั่นก็คือ ระบบการชำระเงิน เมื่อเทคโนโลยีมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยเริ่มก้าวเข้าสู้สังคมยุคไร้เงินสด (cashless society) เห็นได้จากผู้คนเริ่มใช้เงินสดในชีวิตประจำวันน้อยลง และหันมาใช้บริการระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แทน ไม่ว่าจะเป็น การชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า การชำระบิลค่าบริการต่างๆ ทำให้การแข่งขันของระบบการชำระเงินมีความดุเดือดมากยิ่งขึ้นทั้งจากผู้เล่นธนาคารและกลุ่มบริษัทเอกชน

4. ระบบขนส่ง (Logistic)

จากพฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคดิจิทัลและการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ชที่สอดคล้องกัน ส่งผลให้ตลาดบริษัทขนส่งในไทยมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

จากการวิเคราะห์ของ SCB: Economic Intelligence Center โดยการคำนวณจากบริษัทขนส่งพัสดุในไทยรายใหญ่ประมาณ 22 ราย ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา 2017-2019 พบว่ามูลค่าตลาดของบริษัทขนส่งในไทยมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 40 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเลยทีเดียว เป็นผลให้การแข่งขันของธุรกิจบริษัทขนส่งมีความดุเดือด รุนแรงมากขึ้นทุกปี เห็นได้จากการกดราคาค่าบริการ เพื่อดึงดูดให้ผู้ประกอบการต่างๆหันมาใช้บริการขนส่งของตน ซึ่งระบบขนส่งก็ยังแบ่งออกยิบย่อยได้อีกเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ประกอบการและผู้บริโภค

ข้อมูลเเบบเจาะลึกในเเต่ละภาคส่วน

มาเริ่มจากกลุ่มของเหล่าเครื่องมือ Marketing การสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่น่าจดจำ เกือบทุกแบรนด์จะต้องผ่านการใช้บริการแพลตฟอร์มการทำมาเก็ตติ้ง (Marketing) เหล่านี้อย่างแน่นอน

Search engine

โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ได้แก่ Google / Bing / Baidu / yahoo

Shopping Search Engine

เว็บไซต์แพลตฟอร์มค้นหา ราคาสินค้า อาทิ Google Shopping , Priceza  ผู้ให้บริการเครื่องมือค้นหาสินค้า และบริการเปรียบเทียบราคาอันดับหนึ่งในประเทศไทย

Social Media AD Platform

การทำโฆษณาต่างๆผ่านแพลตฟอร์ม Social Media ที่เป็นที่นิยมทั่วโลกแพลตฟอร์ม Facebook และ Instagram สามารถจัดการโฆษณาผ่าน Business Manager ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดการโฆษณาออนไลน์และวางแผนการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการบัญชีโฆษณา (Ad Account) ได้หลายบัญชี พร้อมทั้งสร้างกลุ่มเป้าหมายเชิงลึกได้ และยังมีแพลตฟอร์มอื่นให้เลือกใช้หลากหลาย อาทิ Tiktok ad / twitter ad manager  /Youtube Ad / LINE Ads Platform ทางเลือกใหม่ในการทำโฆษณาผ่าน LINE ซึ่งจะต้องซื้อผ่าน Agency เท่านั้น ปัจจุบันในประเทศไทยมี Agency ให้บริการอยู่หลากหลายเจ้า

Email Marketing (EDM) 

หรือที่เรียกกันว่า Electronic Direct Mail การทำการตลาดผ่านช่องทางการส่งอีเมล โดยจะส่งข้อมูลบริการหรือโปรโมชั่นต่างๆของธุรกิจให้แก่ลูกค้า เพื่อเป็นการกระตุ้นยอดขายและเพิ่มโอกาสในการซื้อซ้ำ ปัจจุบันมีให้เลือกใช้บริการหลากหลาย อาทิ

Mailchimp / Active Campanign / Sendgrid บริการที่เป็นที่นิยมทั่วโลก ใช้งานง่าย มีระบบจัดการฐานข้อมูลลูกค้า สามารถส่งอีเมลจำนวนมากพร้อมกัน และวัดผลได้อย่างแม่นยำ เหมาะสำหรับใช้สื่อสารในเชิงธุรกิจ

nipamail บริษัท นิภา เทคโนโลยี จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2539 โดย ดร. อภิศักดิ์ จุลยา เป็นบริษัทสัญชาติไทย ได้เปิดบริการด้าน E-mail Marketing ตั้งแต่ปี 2556 ภายใต้แบรนด์ NipaMail สำหรับผู้ที่ต้องการทำการตลาดผ่าน Email ประชาสัมพันธ์ข่าวสารถึงสมาชิก ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นสำหรับส่ง Email Marketing โดยเฉพาะ

Retarketing Platform

หลายๆคนอาจเคยมีประสบการณ์เข้าเว็บไซต์หนึ่ง แล้วพอออกไปใช้เว็บไซต์ที่สอง แต่โฆษณาของเว็บไซต์แรกยังตามมาให้เราเห็น นั่นเป็นเพราะว่า คุณได้ถูกเก็บข้อมูลเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Lead Generation) แล้วเรียบร้อย สิ่งเหล่านี้เรียกว่าการทำ Retarketing นั่นเอง ซึ่งมีผู้ให้บริการหลากหลายให้เลือกใช้อย่าง Google/ Facebook / criteo / Adroll

AD network

ตัวแทนรับลงโฆษณา และดูแลโฆษณาในเว็บไซต์ต่างๆให้ โดยโฆษณาจะปรากฏบนเว็บจากทั่วโลกที่เป็นพันธมิตรกับ Google โดยจะเน้นการโฆษณาที่มีการใช้แบนเนอร์ รูปภาพประกอบ ซึ่งไม่ว่าผู้ใช้จะคลิกไปที่เว็บไซต์ไหนก็จะเห็นโฆษณาของคุณ อาทิ Google Display Ad Network (GDN) / Facebook Audience Network / Taboola / bumq เป็นต้น

Affiliate Marketing

ปัจจุบันมีร้านค้าออนไลน์นิยมใช้รูปแบบการตลาดนี้กันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การให้ผู้ใช้แชร์ Link สินค้าต่างๆผ่านโซเชียลมีเดีย การแชร์เปรียบเสมือนการช่วยโฆษณาสินค้าของร้านค้าและผู้แชร์จะได้ผลตอบแทน หากเกิดการซื้อขายผ่าน link ที่แชร์นั่นเอง

ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มทำ Affiliate Marketing ที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักอย่าง Lazada Affiliate Program / Joy Pay ของ JD Central เพียงแค่แชร์สินค้า หน้าโฮมเพจ หรือหน้าแคมเปญใดก็ได้ของ JD CENTRAL บนสื่อสังคมออนไลน์ จากนั้นมีเพื่อนสั่งซื้อสินค้าผ่านลิงก์ของคุณภายใน 30 วัน เท่านี้ก็จะได้รับค่าคอมมิชชั่นเข้ากระเป๋าแบบเต็มๆ โดยที่ไม่ต้องลงทุนสต๊อกสินค้าแม้แต่บาทเดียว

Content Marketing

เป็นที่นิยมอย่างมากในยุคสมัยที่โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อของใครหลายคน ทำให้การทำ Content Marketing ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ (Facebook Fanpage) หรือเว็บไซต์ ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง

เริ่มต้นด้วย Pantip แหล่งคอมมูนิตี้ของคนไทย ไม่รู้ข้อมูลสินค้าไหน เพียงแค่พิมพ์ชื่อสินค้า และต่อท้ายด้วยคำว่า pantip จะปรากฏกระทู้พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความคิดเห็นมากมาย เป็นเว็บไซต์ที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี และยังคงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

มาต่อกันที่ ปันโปร เพจโปรโมชั่นเจ้าแรกของประเทศไทย เป็นที่รู้จักในหมู่แบรนด์สินค้า ร้านอาหารต่างๆที่อยากจะใช้บริการโปรโมทให้แบรนด์ของคุณเป็นที่รู้จักมากขึ้น นอกจากนั้นยังมีเพจอื่นๆอีกมากมายอาทิ ชอบช้อป – ShobShop / SALE HERE เป็นต้น

Cash back  

Shopback / dealcha / rebatemango / Cashback World Thailand / mycashback แพลตฟอร์มช้อปปิ้งออนไลน์ มีโปรโมชั่น โค้ดส่วนลด เหมือนเว็บไซต์ช้อปปิ้งทั่วไป แต่ที่พิเศษคือจะได้เงินคืนกลับมาด้วย

Supporting

E-commerce Enabler

ผู้ให้บริการและผู้ช่วยด้านการตลาด (Marketing) ที่จะช่วยสร้างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ รวมถึงคิดกลยุทธ์ดูแลธุรกิจ E-commerce ให้ตั้งแต่ต้นจนจบ อย่าง acommerce / N-Squared / JetCommerce / silken

Training

บริการให้ความรู้ อบรมตามหัวข้อต่างๆที่สนใจ ซึ่งจะช่วยให้บุคลากรสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนได้พัฒนาองค์ความรู้ให้เท่าทันปัจจุบันเสมอ อาทิ หลักสูตรอบรมให้แก่นักธุรกิจ SMEs ที่จัดโดยธนาคาร เช่น AEC Business Leader ของธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการแบบเจาะลึก เหมาะสำหรับนักธุรกิจ และผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเตรียมความพร้อมและเริ่มต้นธุรกิจในภูมิภาคอาเซียนให้ประสบความสำเร็จ / SCB SME / Krungthai MMS / Krungsri Business Talk สำหรับลูกค้า SME เพื่อให้ข้อมูลและมุมมองการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล ตลอดจนแบ่งปันประสบการณ์การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม เป็นต้น

Finance for Online Sellers

มาถึงกลุ่มธนาคาร ที่เหมาะสำหรับ SMEs พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ อย่าง Kbank ที่ได้จับมือกับ LAZADA ปฏิวัติวงการเงินกู้ผู้ขายออนไลน์ รองรับการเติบโตของธุรกิจ E-commerce สนับสนุนเงินกู้ให้กับผู้ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มลาซาด้า ให้เข้าถึงเงินกู้ได้ง่ายขึ้น กดปุ่มขอเงินกู้ปั๊บ รู้ผลอนุมัติไว 1 นาทีรับเงิน

รวมทั้งยังมี SCB ที่จับมือกับ LAZADA อีกเช่นกัน ในการปล่อยสินเชื่อออนไลน์ได้ทันทีไม่ต้องขอเอกสาร เจาะกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์

E-commerce Channel

เมื่อแบรนด์เลือกใช้เครื่องมือในการทำการตลาดแล้ว อีกหนึ่งช่องทางขายออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมในประเทศไทยเป็นอย่างมาก คือ E-commerce ในที่นี้ ไพรซ์ซ่า ได้แบ่งออกเป็น 3 ช่องทาง ได้แก่

1. Marketplace

C2C ให้บริการติดต่อซื้อขายระหว่างพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยกับผู้บริโภค

  • เจ้าใหญ่ผู้นำตลาด Marketplace อย่าง Lazada และ Shopee นอกจากนี้ยังมีแพลตฟอร์ม Marketplace C2C ที่รวบรวมสินค้าเกษตรกรไทยอย่าง Thailandpostmart ที่เป็นช่องทางการกระจายสินค้าเกษตร สินค้าชุมชน และสินค้าโอทอปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมให้บริการจัดส่งถึงมือผู้บริโภคในระยะเวลา 1 – 2 วันทำการ โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบรายละเอียดของสินค้า และสั่งซื้อ พร้อมชำระเงินค่าสินค้าออนไลน์ได้ทันที

B2C ให้บริการติดต่อซื้อขายระหว่างธุรกิจผู้จัดจำหน่ายสินค้าโดยตรงถึงผู้บริโภค

  • ตัวอย่างเช่น LazMall / Shopee Mall / JD Central / WeMall / NocNoc

B2B ให้บริการติดต่อซื้อขายระหว่างหน่วยงานธุรกิจถึงหน่วยงานธุรกิจ

  • ตัวอย่างเช่น OfficeMate / pantavanij / thaitrade

Cross-boarder

  • ซื้อขายสินค้าข้ามพรหมแดนยักษ์ใหญ่ของจีนอย่าง Alibaba และแพลตฟอร์มอื่นเช่น ebay / jd.com / amazon / Taobao

2. Social Commerce

ธุรกิจออนไลน์ไทย 95% ขายสินค้าผ่าน Social Commerce ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยมากที่สุดในโลก (Source : Paypal Asia Social commerce report 2018) แน่นอนว่าแพลตฟอร์มที่นิยมเป็นอย่างมากก็คงหนีไม่พ้น Facebook / Twitter / IG

ทั้งยังมีบริการใหม่อย่าง Facebook Marketplace บริการที่ให้สมาชิกสามารถค้นหาและโพสต์สินค้าและบริการที่ต้องการซื้อหรือขายระหว่างผู้คนที่อยู่ในละแวกเดียวกัน โดยใช้การส่งข้อความผ่านบริการ Messenger เพื่อติดต่อและนัดพบกันตามสถานที่ต่างๆ ที่จะใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าหรือบริการนั้น

นอกจากนี้แพลตฟอร์มที่ให้บริการด้าน Chatbot ดูแลเรื่องการตอบข้อความ อำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า ก็มีให้เลือกใช้อีกมากมาย เช่น Chatpify/ Chatfuel และบริษัทสัญชาติไทยอย่าง botio และยังมีบริการด้าน Order Management ดูแลจัดการเรื่องสต๊อกสินค้าให้อย่าง xCommerce / Zort / Page365 เป็นต้น

3. e-Tailer

การขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งนั่นคือจะไม่ผ่านแพลตฟอร์มกลาง โดยแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. Webstore Platform/Software แพลตฟอร์มบริการเปิดร้านค้าออนไลน์ให้แก่พ่อค้าแม่ค้าอาทิ LnwShop / BentoWeb / Tarad

2. B2C Multi-Category เว็บไซต์รวบรวมหลากหลายหมวดให้ได้เลือกช้อป เช่น Central / Shopat24 / Robinson / TVdirect

3. B2C Vertical เว็บไซต์ที่โดดเด่นเฉพาะตามหมวดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น

  • กลุ่ม Electronics เครื่องใช้ไฟฟ้า อย่าง Powerbuy / Jib ที่มีบริการส่งฟรีภายใน 3 ชั่วโมง / Advice เป็นต้น
  • กลุ่ม Home & Living รวมเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้าน Homepro / Koncept furniture SB Design Square เป็นต้น
  • กลุ่ม Fashion & Apparel เสื้อผ้าแฟชั่น Pomelo / Zara / Uniqlo / H&M เป็นต้น
  • กลุ่ม Beauty ความสวยความงาม Watson / Konvy / Beauticool เป็นต้น
  • กลุ่ม Book&Entertainment หนังสือ Kinokuniya / B2S / Se-ed เป็นต้น
  • กลุ่ม Grocery สินค้าอุปโภคบริโภค Makroclick / Tops / Tescolotus / BigC / CP Freshmart และ Grocer lock
  • กลุ่ม Insurance ประกันออนไลน์ Priceza Money / Tip insure / Frank เป็นต้น

Payments

ต่อมาเข้าสู่ขั้นตอนระบบการชำระเงิน ปัจจุบันเนื่องจากธุรกิจ E-commerce ได้รับความนิยม จึงทำให้ระบบ Payment มีการแข่งขันกันมากขึ้น ทั้งจากผู้เล่นธนาคารและกลุ่มบริษัทเอกชน ในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ Payment Gateway และ E-Wallet          

กลุ่ม Payment Gateway ผู้เล่นอย่าง Omise เป็นระบบรับชำระเงินและจัดการเงิน โดยสามารถควบคุมได้เองทุกอย่าง ดูแลแบบครบวงจรตั้งแต่จบการขายที่หน้าเว็บไซต์ของร้านค้า ไม่มีป็อปอัพกวนใจ หรือการส่งผู้ซื้อไปยังหน้าต่างใหม่ / 2C2P บริการชำระเงินออนไลน์เช่นเดียวกัน เป็นที่นิยมมากเห็นได้ว่าบริษัทใหญ่ๆที่ต้องมีระบบชำระเงินออนไลน์ส่วนใหญ่จะใช้บริการจากเจ้านี้

กลุ่ม E-Wallet

  • Bank ระบบการชำระเงินจากแอพพลิเคชั่น (Mobile Banking) ตรงจากธนาคาร เริ่มด้วยแม่มณีจาก SCBeasy จากการสร้างความไว้วางใจให้แก่พ่อค้าแม่ค้า สู่ของมงคล ที่ต้องมีแม่มณีตั้งไว้หน้าร้านแทบทุกร้านจนกลายเป็นคาแรกเตอร์ของ SCBeasy และแอพพลิเคชั่นธนาคารอื่นๆอีกมากมายเช่น KPlus / Krungthai NEXT / KMA (กรุงศรี) / Thanachart Connect / TMB Touch / UOB Mighty Thailand / Bualuang mBanking
  • Pure Wallet  กระเป๋าเงินออนไลน์สะดวกสบาย ไม่ต้องพกเงินสด จ่ายบิลค่าน้ำค่าไฟค่าบัตรเครดิตอย่าง true money wallet / rabbit line pay ซื้อสติ๊กเกอร์ธีมไลน์ต่างๆและไว้เติมเงินขึ้นขนส่งสาธารณะอย่าง BTS เป็นต้น
  • E-commerce wallet กระเป๋าเงินสำหรับแอพพลิเคชั่นของ E-commerce อย่าง LAZADA ที่มี LAZADA Wallet สามารถเติมเงินและชำระเงินสำหรับไว้ใช้ซื้อของในแอพได้

Logistics & Fulfilment 

การแข่งขันในธุรกิจระบบขนส่งก็ร้อนแรงดุเดือดไม่แพ้กัน ไพรซ์ซ่าได้แบ่งกลุ่มไว้ 6 กลุ่มดังนี้

  • 3PL หรือ Third Party Logistics การให้บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการขนส่งมาทำหน้าที่บางอย่างหรือเกือบทั้งหมด เช่น ระบบขนส่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น อาทิ ไปรษณีย์ไทย / Kerry / Flash express เป็นต้น
  • 3PL Export ที่เชี่ยวชาญด้านการขนส่งต่างประเทศอย่าง DHL / smeshipping
  • Fulfillment บริการช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ มีทั้งระบบจัดการสต๊อกสินค้า การแพ็คสินค้า และจัดส่งให้ถึงมือลูกค้า เช่น siam outlet / meowlogis / shipyours เป็นต้น
  • Shipping Aggregator ตัวกลางบริษัทขนส่งสินค้า ที่ได้รวบรวมบริการขนส่งพัสดุเจ้าต่างๆ เข้ามาอยู่ในระบบ เช่น shippop / easyparcel / Smartship
  • On Demand แพลตฟอร์มบริการรับส่งสินค้าตามความต้องการ อาทิ Grab / Lineman / Lalamove / เป็นต้น
  • Parcel Locker ระบบตู้ล็อคเกอร์ทางเลือกใหม่ในการจัดส่งสินค้า เสมือนตู้ไปรษณีย์ที่ผสมผสานเทคโนโลยี สร้างความสะดวกสบายให้ผู้ใช้งานมากขึ้น ผู้ให้บริการได้แก่ Kerry / Lockbox / box24corp

สุดท้ายสำหรับองค์กรและหน่วยงานภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่-เล็กในการดำเนินธุรกิจอย่าง ThaiEcommerce หรือสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยให้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการทําธุรกิจ พร้อมช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจประเทศไทยพัฒนา และเกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง และยังมีองค์กรอีกมากมายที่พร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการทุกท่านอาทิ DBD กรมพัฒนาธุรกิจการค้า / ETDA สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ / สสว. SME / DITP กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ / DAAT Digital Advertising Association

บทความโดย priceza.com

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...