คุณฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ (President) ของ True Digital Park, Taavi Rõivas อดีตนายกรัฐมนตรีของ Estonia และ Paul Papadimitriou ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Intelligencer ร่วมพูดคุยกันใน Panel Discussion ที่ชื่อว่า "The Digital Entrepreneurial Ecosystems: What are the key ingredients?" โดยทั้งสามคนมีมุมมองในการสร้างระบบนิเวศหรือ Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการในยุคดิจิทัลที่แตกต่างกันออกไป
ใน Session นี้ ผู้อภิปรายต่างมีบทบาทใน Ecosystem ต่างกันออกไป โดยมีทั้งผู้ประกอบการ ผู้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจได้เต็มศักยภาพ และรัฐบาลที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย-บริหารประเทศ หลายประเทศพยายามเลียนแบบ Silicon Valley แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จดังที่ต้องการมากนัก
คำถามก็คือเราขาดส่วนผสมหรือปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้การสร้าง Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการยุคดิจิทัลประสบความสำเร็จ?
Paul Papadimitriou ผู้ก่อตั้งและ CEO of Intelligencer ตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนหนึ่งที่ทำให้การพัฒนา Ecosystem สำหรับผู้ประกอบการไม่ประสบความสำเร็จก็มาจากการที่หลายๆ รัฐบาลต้องการจะสร้าง Ecosystem แค่ให้เหมือนกับ Silicon Valley ในสหรัฐอเมริกา แต่กลับมองข้ามการดึงดูดคนที่มีความสามารถ (Talent) เข้ามาร่วมงานด้วย
สภาพแวดล้อมของ Silicon Valley กลายเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มีความสามารถ ซึ่งคนนั้นอาจเป็นคนที่นั่งทำงานอยู่ในร้านกาแฟก็อาจกลายเป็นผู้ร่วมลงทุน (Venture) ที่กำลังทำงานอยู่ร่วมกันด้วยก็ได้
ซึ่งบรรยากาศแบบนี้เองที่ทำให้เกิด Spill-over Effect จากการที่มีคนเก่งจำนวนมากเกิดขึ้นมาใน Silicon Valley แต่กลับยังไม่ประสบความสำเร็จเสียที
แนวคิด Human Capital Management ของแกรี่ เบเคอร์ ซึ่งได้ทำการศึกษาวิจัยถึงแนวทางในการที่จะทำให้การลงทุนทางเศรษฐกิจเกิดผลลัพธ์มากที่สุด และพบว่าการลงทุนที่ดีที่สุดคือ การลงทุนในการพัฒนามนุษย์ เนื่องจากการที่มนุษย์พัฒนาขึ้นนั้นจะทำให้เกิด Spill-over Effect กล่าวคือ เมื่อมนุษย์พัฒนาขึ้นแล้วก็มักจะนำเอาสิ่งที่ได้รับจากการพัฒนานั้นมาพูดคุยต่อในที่ทำงาน ทำให้ความรู้หรือทักษะที่ได้รับแพร่กระจายออกไปสู่ผู้อื่น เกิดการพัฒนาอย่างเป็นลูกโซ่
ที่มา: Gaius Jusk Think
โดยอดีตนายกรัฐมนตรีของ Estonia อย่าง Taavi Rõivas ก็เล่าประสบการณ์จากการบริหารประเทศ โดยมองว่าการเกิด Spill-over Effect ส่งผลดีต่อ Estonia อย่างเห็นได้ชัด โดยดูได้จากความสำเร็จของ Skype เป็นตัวอย่าง
ซึ่ง Taavi ก็ระบุว่า Entrepreneurial Ecosystem ของผู้ประกอบการใน Estonia ซึ่งมีอยู่จำนวนมากก็มีการติดต่อและเชื่องโยงเข้ากับผู้ก่อตั้ง Skype ทั้งแบบส่วนตัวและร่วมงานกันอย่างจริงจัง ซึ่งสิ่งนี้เองทำให้ผู้ประกอบการของ Estonia มีความได้เปรียบในเชิงมูลค่า (Valuable Advantage) ในการนำ Startup ของพวกเขาไปสู่ความสำเร็จต่อไป
นอกจากนี้ ผลลัพธ์เชิงบวกของ Spill-over Effect ดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอบการหรือคนที่มีเก่งๆ มีความสามารถที่ประสบความสำเร็จ เกิดความกระตือรือร้น อยากที่จะนำความรู้หรือคำแนะนำต่างๆ มาช่วยให้เกิดคนเก่งๆ ที่มีความสามารถขึ้นมาใหม่ต่อไป
คุณฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ของ True Digital Park เห็นว่าหากเราสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตเดิมๆ ของนักเรียนได้สำเร็จ อาจช่วยให้แก้ปัญหาของการศึกษาในประเทศไทยที่มีความท้าทายอยู่ได้ ซึ่งวิถีชีวิตของนักเรียนมักจำกัดแค่การไปเรียนที่โรงเรียน และเมื่อเลิกเรียนก็จะเข้าไปใช้เวลาที่ห้างสรรพสินค้า
ซึ่งคุณฐนสรณ์มองว่าภาคเอกชนน่าจะมีส่วนช่วยให้การสร้างพื้นที่ เช่น ที่ร้านกาแฟ กลายเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับนักเรียนได้
ขณะที่อดีตนายกฯ เอสโตเนีย ได้อธิบายถึงของความสำคัญของการศึกษา โดยระบุว่าเอสโตเนียได้ลงทุนขนาดใหญ่ หากมองย้อนกลับไปเมื่อ 26 ปีที่แล้วที่เอสโตเนียได้รับอิสรภาพ ก็ตัดสินใจลงทุนด้านการศึกษา เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี ทั้งๆ ที่การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนต้องใช้ DOS เพื่อสร้างแฟ้มด้วยซ้ำไป
ซึ่ง Paul ก็มองว่าการเรียนรู้เปรียบเสมือนการสร้างโครงสร้างเลโก้ ชิ้นส่วนของตัวต่อและการเรียนการสอนสามารถส่งเสริมให้ได้ แต่ในที่สุดก็จะขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเองที่จะใส่อิฐตัวไหนและจะสร้างขึ้นมามันเป็นรูปแบบไหน
Taavi เน้นว่าความต้องการให้รัฐบาลจะต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและตรากฎหมายแบบไร้กระดาษเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของประเทศ โดยยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เข้าสู่ระบบดิจิทัล โดยเฉพาะสำหรับประเทศที่ขาดแคลนการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม รัฐบาลของประเทศนั้นๆ ต่างให้ความสนใจอยู่ ซึ่งประเทศเหล่านั้นจำเป็นต้องเข้าใจถึงปรากฏการณ์ต่างๆ เช่น Gig Economy และ ICO
ในขณะเดียวกัน Paul ย้ำว่าบทบาทของรัฐบาลไม่ควรถูกจำกัดว่าเป็นแค่ "แหล่งเงินทุน" เพียงอย่างเดียว โดยควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกฎหมายมากขึ้น โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานและกฎหมายล้มละลาย เนื่องจากกฎหมายในปัจจุบันทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถสร้างรายได้ด้วยตนเองได้มากนัก การออกกฎหมายควรเปิดทางให้ผู้ประกอบการสามารถล้มเหลวและไม่ต้องรับภาระจากความล้มเหลวที่เกิดขึ้นมาได้ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ การร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลกับเอกชนก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยคุณฐนสรณ์แสดงความเห็นว่ารัฐบาลควรเปิดช่องให้ภาคเอกชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบายของรัฐบาลได้
จึงเป็นการตอกย้ำว่ารัฐบาลจำเป็นที่จะต้องเข้าใจและตระหนักถึงความต้องการของภาคเอกชนด้วยเช่นกัน
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด