P2P Lending ในจีน สร้างปัญหาต่อผู้คนในประเทศได้อย่างไร? | Techsauce

P2P Lending ในจีน สร้างปัญหาต่อผู้คนในประเทศได้อย่างไร?

พาดู P2P Lending ในแง่ลบที่ประเทศจีนกันบ้าง หลังจากหลายๆ คนมองว่านี่คืออนาคตทางด้านการเงิน แต่ในจีนนั้นมีบริษัทให้กู้ยืมเงินออนไลน์ปิดตัวลงจนทำให้หญิงสาวคนหนึ่งตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง รวมถึงทำให้วัยรุ่นจีนต่างมีการกู้ยืมเงินมายกระดับชีวิตตัวเองมากขึ้น Edited Pixabay's Photos

บทความนี้เรียบเรียงข้อมูลจาก Bloomberg และ Financial Times

"หนูตัวเล็กเกินไปที่จะสู้กับพวกเขา" หญิงวัย 31 ปีจากจังหวัดเจ้อเจียง ในประเทศจีน เขียนจดหมายถึงพ่อแม่ของเธอเมื่อต้นเดือนกันยายน หลังจากสูญเสียเกือบ 40,000 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อบริษัทที่ให้กู้ยืมแบบ Peer-to-Peer (P2P Lending) ผ่านออนไลน์ได้ล้มละลายลง

P2P ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐก็หลบหนี ผู้ถือหุ้นก็ไม่เต็มใจที่จะรับผิดชอบใดๆ ส่วนเจ้าหน้าที่สอบสวนก็ไม่ดำเนินการอะไรต่อ หนูรู้สึกเหนื่อยมาก และไม่เห็นความหวังใดๆ เลย - หญิงวัย 31 ปี กล่าว

หลังจากนั้นผู้หญิงคนดังกล่าวก็แขวนคอตัวเอง จนเสียชีวิตในเวลาต่อมา

"อย่าเศร้าไปเลย" ข้อความของเธอกล่าวถึงพ่อแม่ "หนูแค่กำลังหนีออกมา แต่พ่อแม่ยังต้องมีชีวิตต่อไป หนูแค่สูญเสียความเชื่อมั่นต่อชีวิตในสังคมนี้ หนูไม่ได้กลัวความตาย แต่หนูกลัวการมีชีวิตอยู่"

เรื่องราวการเสียชีวิตและจดหมายของเธอได้เผยแพร่ในกลุ่มสนทนาบนเครือข่ายโซเชียลมีเดียชื่อดังในจีนอย่าง Weibo ไปเป็นที่เรียบร้อย

P2P Lending ในจีนเดินทางมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? ร้ายแรงขนาดนี้จริงหรือไม่?

P2P Lending ในจีน: ร้อนแรงแต่วุ่น

Photo: moerschy, Pixabay

การกู้ยืมเงินผ่านออนไลน์ในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นหลังจากการปรับลดเครดิตธนาคารในปี 2553 ตามด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจใช้เกิดการใช้จ่ายในช่วง 2 ปีหลังจากนั้นเพื่อต่อต้านวิกฤติการเงินโลก ต่อมาในปี 2555 ปริมาณสินเชื่อรวมก็หล่นมาอยู่ที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ซึ่งหลังจากนั้น คุณก็สามารถคู่อีกคนที่จะมาร่วมลงทุนในงานแต่งานได้ โดยคุณสามารถกู้เงินมาจ่ายค่าจัดเลี้ยงและการไปฮันนีมูนก่อนได้ หลังจากนั้นคุณก็เอาเงินสินสอดที่ได้จากงานแต่งไปคืนได้ในภายหลัง และยังมีภาคธุรกิจขนาดเล็กก็ต่างแสวงหาเงินกู้ยืมเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ โดยเปิดให้จ่ายเงินคืนเมื่อการผลิตเพิ่มขึ้น

รวมถึงดึงให้ดูดคนทั่วไปที่มีเงินในมือ สามารถปล่อยกู้แบบตัวต่อตัวได้มากถึง 50 ล้านคน ซึ่งพวกเขาได้รับผลตอบแทนมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ยอดการลงทุนเพื่อปล่อยกู้รวมเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ถือว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ปัจจุบัน P2P เสนอการลงทุนในรูปแบบ "ตั๋วเงินพาณิชย์" (Commercial Bill) หรือ "คำรับรองจากจากนายธนาคาร" (Bankers’ Acceptances) เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ ก็เหมือนกับพันธบัตรระยะสั้นที่ออกโดยธุรกิจขนาดเล็ก โดยตั๋วเงินดังกล่าวออกโดยบริษัท และมีธนาคาร(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกรรมในภาคธุรกิจ)เป็นผู้รับรอง

โดยตั๋วเงินดังกล่าวสามารถขายให้กับสถาบันการเงินอื่นๆ หรือธนาคารกลางก่อนครบกำหนดได้ ซึ่งบางกรณีมีคนถูกหลอกลวงผ่าน P2P Platform โดยนักลงทุนบางคนได้รับตั๋วเงินปลอมและไม่ได้รับเงินตามที่กำหนดไว้

"ความเสี่ยงบนแพลตฟอร์มจำนวนมากเหล่านี้ ไม่ได้ถูกสื่อสารออกไปให้ถึงนักลงทุนได้มากพอ" Zennon Kapron เตือน พร้อมกล่าวว่านอกจากนี้ยังกล่าวว่าผู้ที่อ้าง "การรับประกันผลตอบแทนและเงินต้น" ซึ่งเป็นข้อเสนอทั่วไปสำหรับนักลงทุน แต่ต้องรู้ด้วยว่า "มันไม่ยั่งยืน"

แน่นอนว่ารัฐบาลจีนก็พยายามขยายการควบคุมธุรกิจที่ไม่ได้อยู่ใต้การควบคุมของรัฐให้มากขึ้น ซึ่งกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้เป็นธนาคารแบบดั้งเดิม (Traditional Banking) จะถูกเรียกว่าเป็น 'ธนาคารเงา' (Shadow Bank) โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลภาคธนาคารในจีนก็เตือนด้วยว่าผู้ที่ปล่อยเงินผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการกู้เงิน P2P มีความเสี่ยงที่เงินตัวเองทั้งหมดจะสูญหายได้

ที่สำคัญ ถึงแม้ว่าปัญหาของแพลตฟอร์ม P2P ทั้งหมดจะไม่ได้มาจากการฉ้อฉลหรือหลอกลวง แต่ทางการก็ระบุว่าเว็บไซต์ที่ล้มละลายไปส่วนมากมีลักษณะ "นำเงินมาหมุน" หรือเป็น "Ponzi Scheme" (รูปแบบการลงทุนที่มีการจ่ายผลตอบแทนที่สูงผิดปกติ เงินที่ได้มาจากเงินลงทุนของสมาชิกรายใหม่)

พอดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาเป็นเหยื่อได้จำนวนหนึ่ง ก็จะทำการปิดตัวพร้อมเชิดเงินที่เราฝากไว้หนีหายไปกับสายลม

PPMiao ต้นเรื่องแห่งความวุ่นวาย

Photo: PPMiao

ผู้คนนับร้อยชีวิตระบุว่าเป็นเหยื่อของบริษัท P2P Lending อย่าง PPMiao ซึ่งเจ้าเดียวกับที่หญิงสาววัย 31 ปีได้ประสบพบเจอ โดยพวกเขาได้เดินเข้ามาที่นครเซี่ยงไฮ้เพื่อประท้วงในช่วงเดือนสิ่งหาคมที่ผ่านมา โดยพวกเขาเจอเพียงแค่ตำรวจและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่อยู่หน้า International Finance Center บริษัทที่เชื่อมต่อกับผู้กู้เงินที่มีสำนักงานชัดเจน

"เราสูญเสียทุกอย่าง และผมมีค่าเล่าเรียนของลูกชายวัย 3 ขวบที่กำลังจะเข้าเรียนในระดับอนุบาล ซึ่งใกล้ถึงกำหนดชำระในเดือนหน้าแล้ว" โดยรู้แค่ว่าเขาชื่อ Chen เป็นผู้กล่าวประโยคนี้ขึ้นมา หลังจากนั้นตำรวจควบคุมตัว Chen และส่งเขากลับไปยังบ้านเกิดที่มณฑลเจียงซี ใช้เวลา 14 ชั่วโมงในการเดินทางด้วยรถไฟ

ซึ่งแน่นอนว่ายังมีผู้เสียหายจากการล้มละลายของ PPMiao อีกนับ 4,000 ราย คิดเป็นมูลค่ารวม 117 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และยังมีคนอีกจำนวนที่เดินทางเข้ามาในเมืองสำคัญๆ ในจีนเพื่อขอรับการชดใช้ความเสียหาย

สัญญาณที่บ่งชี้ว่าบริษัท PPMiao กำลังจะไปไม่รอด เกิดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคมที่ผ่านมา โดยบริษัทดังกล่าวเปลี่ยนที่อยู่หางโจว ย้ายมาอยู่ในพื้นที่พัฒนาที่อยู่อาศัยที่เมืองหนาหนิง ซึ่งห่างออกไป 900 ไมล์ โดยอยู่ติดชายแดนประเทศเวียดนาม และีอกสัญญาณสำคัญเกิดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม 2561 บริษัทระบุว่าจะหยุดการจ่ายเงินให้กับนักลงทุนและประกาศยุติการให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม P2P แต่ก็ยังระบุว่าจะคืนเงินให้กับนักลงทุนภายในระยะเวลา 3 ปี

"เราพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้น เราสัญญาว่าเราจะไม่หนีไปไหน เราจะยังคงติดต่อกันได้อยู่ เราจะคืนเงินลงทุนให้กับทุกคนแบบตัวต่อตัว" PPMiao กล่าวในแถลงการณ์ โดยผู้ที่บริษัทติดหนี้ไว้น้อยกว่า 1,500 ดอลลาร์ส่วนใหญ่ได้รับเงินคืนแล้ว แต่จากการตรวจสอบด้วยการโทรไปยังเบอร์ที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับหนึ่ง กลับได้รับเป็นสัญญาณตอบรับอัตโนมัติเพียงอย่างเดียว

Yingcan Group บริษัทด้านการวิจัยข้อมูลในเซี่ยงไฮ้ ระบุว่า มีผู้ใช้บริการ P2P Lending ที่ปิดกิจการไปมากกว่า 400 แห่งแล้ว ส่วนที่เหลืออยู่ก็มีอยู่ที่ประมาณ 1,800 แห่ง ส่วน China International Capital คาดการณ์ว่าจะเหลือเพียง 200 แห่งหลังจากเกิดการเป็นล้มเป็นโดมิโนเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบนี้

Zennon Kapron กรรมการผู้จัดการ Kapronasia บริษัทด้านให้คำปรึกษาในเซี่ยงไฮ้กล่าวว่า

น่าตกใจอย่างยิ่งที่มันเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เราคิดว่านี่เป็นแค่จุดเริ่มต้นของการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมอันแสนยุ่งเหยิงในอุตสาหกรรม P2P

วัยรุ่นจีนมีแนวโน้มกู้เงินออนไลน์สูงขึ้น

Photo: rawpixel, Pixabay

ต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจของจีนที่เติบโตรวดเร็ว แม้จะมีข่าวที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่คนรุ่นใหม่ก็ยังพยายามวิ่งหนีจากวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมของคนจีนรุ่นเก่า ด้วยการกู้เงินมาจับจ่ายสินค้าฟุ่มเฟือยได้สะดวกยิ่งขึ้น

หนึ่งในวิธีการกู้ที่วัยรุ่นจีนนิยม คือ P2P Lending หรือ ระบบสินเชื่อออนไลน์ที่เปิดกว้างให้เด็ก ๆ สามารถกู้ยืมเงินได้ง่ายขึ้น โดยเป็นการปล่อยกู้ตรงระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ โดยไม่ต้องมีธนาคารเป็นตัวกลาง ต่างจากการกู้ผ่านธนาคารแบบเดิมที่ต้องการขอเอกสารเป็นจำนวนมาก และไม่ใช่การปล่อยกู้จากหลักทรัพย์ค้ำเหมือนรูปแบบดั้งเดิม

ซึ่งผู้ให้บริการอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากพฤติกรรมต่างๆ ของลูกค้า, การจับจ่ายใช้สอย, ความตรงต่อเวลาในการจ่ายหนี้ ฯลฯ โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาที่มีช่องทางกู้เงินออนไลน์ที่เพิ่มขึ้นมากนับ 100 ราย

ผลสำรวจจากธนาคารเพื่อการลงทุนของจีน (Chinese Investment Bank: CICC) ระบุว่า เมื่อปีที่แล้วยอดคงค้างของสินเชื่อเพื่อการบริโภค (Consumer Loans) ของจีนเติบโตถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ปี 2560 ที่ผ่านมามูลค่าหนี้ครัวเรือนของจีนสูงถึง 33 ล้านล้านหยวน คิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ซึ่งตัวเลขนี้ถือว่าสูงกว่าปี 2554 ถึง 2 เท่า

ส่วน Diyiwangdai (ตียีหวังไต๋) บริษัทผู้ให้บริการด้านการติดตามอุตสาหกรรมในจีนยังระบุด้วยว่า ปีที่แล้วยอดสินเชื่อคงค้างใน P2P Lending มีอยู่ประมาณ 1.2 ล้านล้านหยวน ทั้งที่อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงถึง 37 เปอร์เซ็นต์และยังมีค่าปรับเพิ่มหากจ่ายเกินเวลากำหนด

ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์บางคนก็กังวลว่า การสร้างหนี้ครัวเรือนจะส่งผลต่อการเติบโตของการบริโภคในระยะยาว เนื่องจากผู้บริโภคหันมาหารายได้เพิ่มขึ้นเพื่อการชำระหนี้เท่านั้น ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้โดยรวมของผู้บริโภคส่วนใหญ่จะทำให้เกิดความกดดันต่อผู้ให้กู้เงินซึ่งมีความเสี่ยงที่จะล้มละลาย และกลายเป็นเกิดวิกฤติทางการเงินในอนาคตได้

เรียบเรียงข้อมูลจาก Bloomberg และ Financial Times

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...