10 สัญญาณของ Toxic Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ | Techsauce

10 สัญญาณของ Toxic Culture หรือวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ

แน่นอนว่างานในทุกระดับมีความกดดันทั้งนั้น เคยรู้สึกไหมว่าการทำงานที่ได้รับมอบหมายนั้นเป็นเรื่องที่รับไหว ไม่ว่าจะท้าทายแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่ยากกว่างานคือการรับมือกับสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ยิ่งหากองค์กรคุณมี Toxic Culture หรือ 'วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นพิษ' ทั้งเรื่องคน เรื่องการเมือง พลังงานที่ลบๆ เรื่องกฏระเบียบที่ทำให้งานนั้นเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้งานไม่คืบหน้า หากคุณกำลังเผชิญกับปัญหาเหล่านี้อยู่ แต่ไม่แน่ใจว่าองค์กรของคุณเข้าข่ายการมี Toxic Culture หรือเปล่า นี่คือ 10 สัญญาณที่บ่งบอกว่าองค์กรของคุณมีวัฒนธรรมที่เป็นพิษเข้าให้แล้ว

‌1. คนในที่ทำงานไม่สื่อสารกัน

หากคุณรู้สึกว่าคนในที่ทำงานไม่สื่อสารกัน ไม่ยิ้ม ไม่มีการล้อเล่น และไม่ reinforce each other ที่ให้ความรู้สึกว่ามีความเป็นทางการมากกว่าจะเป็นกันเอง และดูเหมือนว่าคุณไม่มีความสุขในการทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนั้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะทำให้แขกที่มาเยี่ยมรู้สึกได้ถึงพลังงานบางอย่าง

‌2. ให้ความสำคัญเรื่องตำแหน่ง ลำดับขั้น 

การให้ความสำคัญเรื่องตำแหน่ง  ลำดับขั้น ไปจนถึงรายละเอียดงานที่ทำว่าตรงกับสิ่งที่สมัครงานมาทำตั้งแต่แรกหรือเปล่า อาจจะสังเกตได้ง่ายๆ เลยอย่างเวลาแนะนำตัวกับคนในที่ทำงาน พวกเขาบอกตำแหน่งและสถานะของเขาทันทีเลยหรือเปล่า ถ้าใช่ก็แปลว่านั่นคือหนึ่งในสัญญาณของวัฒนธรรมที่เป็นพิษแล้วล่ะ

‌3. ให้ความสำคัญกับกฏข้อบังคับมากกว่า

เรื่องกฏระเบียบและนโยบายในที่ทำงานนั้นมันสำคัญมากกว่าการให้ดุลยพินิจตามความเป็นจริง ทุกคนกลัวการทำผิดกฎเสียจนไม่กล้าทำอะไรออกนอกลู่นอกทาง ซึ่งบางครั้งคนเราก็ต้องออกนอกกรอบเสียบ้าง

‌4. ผู้จัดการและคนในทีมไม่สื่อสารกัน

หากผู้จัดการและคนในทีมหลีกเลี่ยงที่จะสื่อสารกัน หรือแทบจะไม่ได้สื่อสารกันเลย เมื่อถึงเวลาที่จะสื่อสาร ก็จะเป็นเรื่องการสั่งงานเท่านั้น ไม่มีเรื่องการให้ฟีดแบค ถามสารทุกข์สุกดิบ หรือการทำงานร่วมกันกับคนในทีมอื่นๆ

‌5. เมื่อคนในทีมอยู่ในสภาวะเครียด ก็ไม่มีใครยกประเด็นขึ้นมาพูดอย่างเปิดเผย

เมื่อคนในทีมอยู่ในสภาวะเครียด ไม่มีความสุข ก็ไม่มีการยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลืออย่างเปิดเผย คนที่เป็น HR แสดงความไม่เกี่ยวข้อง หรือแสดงความไม่พอใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องหยุมหยิมและไม่อยู่ในขอบเขตของความรับผิดชอบ หรือให้ความใส่ใจไปตามมารยาท ไม่ว่าจะกรณีใดก็ตาม เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้บ่อยครั้ง มันก็เป็นสิ่งหนึ่งที่จะปะทุทำให้เกิด Toxic Culture ได้เช่นกัน

‌6. พูดเรื่องสิ่งที่ไม่ควรทำและข้อบกพร่องมากกว่าการเฉลิมฉลองชัยชนะเล็กๆ

หากผู้จัดการหรือหัวหน้ามักจะชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องมากกว่าการชื่นชม ให้รางวัล และไม่แสดงความรู้สึกขอบคุณเมื่อพนักงานได้ทำสิ่งที่น่าชื่นชม ก็เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นพิษ

7. คนในทีมไม่กล้าเสนอไอเดีย

คนในทีมไม่กล้าเสนอไอเดีย หรือไม่มีการเสนอไอเดียอะไรเลย อีกทั้งยังคอมเมนต์ไอเดียของคนอื่นว่านั่นมันดูเป็นไปไม่ได้และไม่รู้จะทำไปทำไม จริงๆ แล้วทุกคนควรเปิดรับไอเดียที่บางครั้งอาจจะดูเป็นไปไม่ได้ แล้วมาระดมสมองร่วมกันว่ามีทางที่ทำให้มันสำเร็จได้ยังไงบ้าง

‌8. มีการให้รางวัลเฉพาะเมื่อทำงานสำเร็จเท่านั้น

หากพนักงานได้รับคำชื่นชมก็เพราะได้ทำตามเป้าที่วางไว้เท่านั้น ไม่ใช่เพราะการที่พวกเขาแสดงความคิดเห็นหรือไอเดีย

‌9. การไม่รู้สึกถึงความเป็นครอบครัวเดียวกัน 

มีไม่กี่คนที่สามารถหัวเราะไปกับมุขตลกและสามารถล้อเล่นกันในทีมได้ พนักงานที่พูดตรงไปตรงมาอยู่ได้ไม่นาน พวกเขารู้สึกเบื่อหน่ายแล้วลาออกไป หรือไม่ก็ถูกเชิญให้ออกไปเมื่อสไตล์ของพวกเขาขัดแย้งกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่

10. มีสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความลับและความหวาดกลัว

คนในออฟฟิศมีการปิดประตูใส่กัน และมีการนินทาลับหลัง มีความกังวลว่าคนอื่นจะพูดถึงตนเองอย่างไร กังวลกับจุดยืนของตนเอง ใครจะอยู่ ใครจะไป และใครเป็นลูกรักของเจ้านาย

หากที่ทำงานของคุณตรงกับรายการในรายการนี้แสดงว่าวัฒนธรรมของคุณกำลังมีปัญหา อาจจะถึงเวลาหางานใหม่แล้วล่ะ หรือถ้าหากคุณยังเชื่อว่ายังไม่สายเกินไป อาจจะเริ่มด้วยการเปิดบทสนทนากับใครสักคนในทีมที่คุณเชื่อใจได้

กลับมาอีกครั้งกับงาน Techsauce Culture Summit 2021 วันที่ 25-26 มีนาคม 2564 นี้

Corporate จะสร้าง Innovation ‘คน’ ต้องพร้อม จะพัฒนาคนอย่างไร? สร้าง Culture องค์กรอย่างไรให้แข็งแกร่ง? มีอะไรอีกบ้างที่คุณต้องรู้ เตรียมหาคำตอบในงาน Techsauce Culture Summit 2021 งานที่ผู้บริหารต้องเข้าร่วม และ HR ทุกองค์กรห้ามพลาด วันที่ 25-26 มีนาคม 2564 นี้ ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิพิเศษก่อนใครที่นี่ https://bit.ly/33Bn5ki

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...

Responsive image

GAC รถแห่งเมืองกวางโจว ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ | Tech for Biz EP. 30

แบรนด์รถยนต์ที่เป็นความภูมิใจของคนกวางโจว สู่ขวัญใจแท็กซี่ยุคใหม่ คลิปนี้ Tech for Biz จะพาไปรู้จัก GAC ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติจีนอีกเจ้าที่กำลังบุกตลาดเมืองไทย...