หลังจากที่เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ( TRUE ) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) ได้ประกาศควบรวม โดยได้รับการสนับสนุนจากเครือ CP และกลุ่ม Telenor ที่จะสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ซึ่งในการควบรวมครั้งนี้ทั้งสองจะมีการจัดตั้งบริษัทใหม่ ซึ่งเป็นบริษัทที่ร่วมทุนที่สองบริษัทจะเข้าไปถือหุ้นในสัดส่วนที่เท่ากัน และดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจก้าวสู่ Tech Company เพื่อผลักดัน Tech Hub ในประเทศไทย
นอกจากข่าวที่ทั้งสองบริษัทได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปแล้วนั้น เมื่อช่วงบ่ายขของวันเดียวได้มีการแถลงขาวถึงรายละเอียดเพิ่มของของดีลแห่งปีในครั้งนี้ โดยในงานนี้มีผู้บริหารจากทั้ง 2 ฝั่งมาร่วมแถลง นั่นคือ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ แห่งเครือ CP และคุณ Sigve Brekke แห่งกลุ่ม Telenor ซึ่งหนึ่งในประเด็นสำคัญที่น่าติดตามในครั้งนี้ คือ การมุ่งเน้นไปที่ เรื่องของ Thailand’s digital transformation โดยในบทความนี้เราจะเจาะไปที่ความร่วมมือทางธุรกิจที่จะส่งเสริมกันในด้านกลยุทธ์ หลังจากนี้ความาร่วมมือครั้งใหม่ของ True และDTAC เราจะเห็นอะไรบ้าง
ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ทั้งสองบริษัทจะอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะทางธุรกิจ รวมถึงลงนามข้อตกลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 จะดำเนินการขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นและหน่วยงานภาครัฐ และคาดว่าจะดีลจะเสร็จสิ้นภายในไตรมาสนี้ ซึ่งระหว่างนี้ทั้งสองบริษัทจะมีการวางแผนด้านความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง
ต้องบอกว่า แม้ว่าการใช้งานด้านโทรคมนาคมมีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเติบโตของเทคโนโลยี แต่สำหรับสนามนี้ผู้ให้บริการสัญญาณกลับมีบทบาทน้อยลง ทำหน้าที่เหมทอนผู้ที่ส่งสัญญาณเพียงอย่างเดียว ดังนั้นจึงถือเป็นสัญญาณอันตรายในอนาคตที่จะทำให้ความสามารถในการสร้างผลตอบแทนให้กับธุรกิจในอนาคตลดน้อยลง
สำหรับประเทศไทเอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างที่จะต้อง Transform ไปสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีหรือก้าวสู่การเป็น Thailand 4.0 -5.0 ที่ต่อจากนี้ทุกคนจะคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีอย่าง Cloud และ AI ดังนั้นในฐานะที่เป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานอย่างสัญญาญโทรศัพทืจะต้องปรับตัวเองเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ ด้วยการสร้างระบบนิเวศน์ดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการผลักดันการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยี การปฏิรูปการศึกษา การดึงดูดนักวิทยาศาสตร์ talent จากทั่วโลก และที่สำคัญคือ การสนับสนุนสตาร์ทอัพด้วยเช่นกัน
True -DTAC จะมีการปรับโครงสร้างสู่การเป็น Tech Company ซึ่งธุรกิจ telecom ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ โดยโครงสร้างธุรกิจใหม่จะประกอบได้ด้วย การให้บริการเครือข่ายสัญญาณ Telco (5G, 6G) AI IoT Digital Media Cloud Technology SPACE Technology VC/Tech Startup People 5.0 (Scientist Engineer)
สำหรับการลงทุนและให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพ บริษัทจะมีการจัดตั้ง Venture Capital ที่มุ่งเน้นลงทุนในสตาร์ทอัพไทย และสตาร์ทอัพต่างประเทศ ที่ตั้งในประเทศไทย โดยกองทุนมูลค่าประมาณ 100 – 200 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ยังมีแผนศึกษาด้านเทคโนโลยีอวกาศ เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจเช่นกัน
อย่างไรก็ตามจากดีลในครั้งนี้ สิ่งหนึ่งที่เราเห็น คือ หลังโควิด Big Player มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง แม้แต่ ธุรกิจโทรคมนาคม ที่ดูเหมือนว่าการเติบโตไม่ได้จะถูก Disrupt ไปอย่างรวดเร็วและรุนแรงเท่ากับอุตสาหกรรมอื่นๆ เพราะถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานของยุคดิจิทัล ยังต้องมีการทรานส์ฟอร์ม ไปสู่ Tech Company นอกจากนี้ความเปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา เทคโนโลยีที่ดูเหมือนไกลตัว กลับเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างใกล้ชิดขึ้น อันจะเห็นได้จาก Use Case in Real World ดังนั้นหลังจากนี้เรียกได้ว่าเราคงจะเห็นการประกาศทรานส์ฟอร์มของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับตัวให้สามารถสร้างการเติบโตได้ในอนาคต
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด